วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2021, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




IE-family-on-bench (1).png
IE-family-on-bench (1).png [ 48.33 KiB | เปิดดู 572 ครั้ง ]
หลักสมถะที่เป็นฐาน

หลักปฏิบัติที่แสดงไว้ในบาลี คือพระไตรปิฎก แม้จะมาในที่ต่างแห่ง ก็มักมีข้อความบรรยายไว้อย่าง
เดียวกัน เป็นสำนวนแบบที่ค่อนข้างตายตัว ว่าโดยทั่วไป

สำนวนแบบที่แสดงหลักปฏิบัติครบทั้งสมถะและวิปัสสนาต่อเนื่องกัน มีอยู่ ๒ สำนวน และทั้งสอง
สำนวนล้วนแสดงหลักปฏิบัติที่เรียกได้ว่าเป็นวิปัสสนาครอบยอดสมถะ คือ บำเพ็ญสมถะจนครบถ้วน
บริบูรณ์ ถึงสุดยอดของสมถะก่อนแล้ว จึงหันมาเจริญวิปัสสนาต่อท้าย จัดได้ว่าเป็นมาตรฐานการปฏิ
บัติแบบสูงสุด

ในที่นี้ จะคัดมาให้ดูทั้ง ๒ แบบ และเพื่อให้คำอธิบายชัดเจน กับทั้งเพื่อให้สมเป็นมาตรฐานสูงสุดแท้จริง
จึงจะคัดเอาข้อความที่บรรยายการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทั้งสองสำนวน ดังนี้

สำนวนที่ ๑ เป็นแบบที่พบบ่อย และคุ้นตากันที่สุด แสดงฌาน ๔ ต่อด้วยวิชชา ๓

“ดูกรอัคคิเวสสนะ เรานั้นแล (ฉันอาหารหยาบ ให้กายได้กำลังแล้ว) สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน...บรรลุทุติยฌาน...บรรลุตติยฌาน...บรรลุจตุตถฌาน...อยู่

“เรานั้น ครั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีฝ้ามัว ปราศจากอุปกิเลส เป็นของนุ่มนวล
ควรแก่งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุติญาณ (ญาณที่ให้ระลึกถึง
ขันธ์อันเคยอาศัยอยู่ในก่อนได้ – ระลึกชาติได้)...(วิชชาที่ ๑ นี้แล เราบรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี
อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว...)

“เรานั้น ครั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ...อย่างนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่อ จตูปปาตญาผณ(ณาณกำหนดรู้จุติและ
อุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปตามกรรม)...(วิชชาที่ ๒ นี้แล เราบรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี
อวิชชาถูกกำจัดแล้ว...แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว...)

“เรานั้น ครั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ...อย่างนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่อ อาสวักขยญาณ (ญาณที่ทำให้สิ้นอา
สวะ = ตรัสรู้), เรานั้น รู้ชัดตามที่มันเป็นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้,ทุกขนิโรธคามินีปฏิ
ปทา รู้ชัดตามที่มันเป็นว่า เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา,
เรานั้น เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ

“เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว, เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่
ควรทำได้ทำแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ ไม่มี; (วิชชาที่ ๓ นี้แล เราบรรลุแล้วในปัจฉิมยาม
แห่งราตรี อวิชชาถูกกำจัดแล้ว...แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว...)”

สำนวนแบบที่ ๑ ซึ่งบรรยายลำดับการปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมของสาวกโดยทั่วไป ก็มีข้อความอย่าง
เดียวกันนี้ ต่างแต่เพียงไม่มีข้อความในวงเล็บ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2021, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




lake-4723860_960_720.png
lake-4723860_960_720.png [ 140.05 KiB | เปิดดู 572 ครั้ง ]
นอกจากนั้น บางแห่งกล่าวถึงการน้อมจิตไปเพื่อวิชชาถึง ๘ ประการ มิใช่วิชชาเพียง ๓ เหมือน
ในที่นี้ และบางแห่งกล่าวถึงการน้อมจิตไปเพื่อวิชชาข้อสุดท้าย คือ อาสวักขยญาณเพียงอย่างเดียว

สำนวนที่ ๒ พบน้อยกว่าสำนวนแรก และไม่ค่อยมีผู้สังเกต สำนวนนี้แสดงสมาบัติ ๘ พร้อมทั้งนิ
โรธ ต่อด้วยวิชชาที่ ๓ คือ อาสวักขยญาณ อันได้แก่การบรรลุอรหัตต์

“ดูกรอานนท์ เรานั้นแล สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลกรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน...เมื่อ
เราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกาม ยังกวนใจได้ อันนับว่ายังเป็นความข้อง
ขัด (อาพาธ) แก่เรา...; เราจึงได้มีความคิดว่า ถ้ากระไร ระงับวิตกวิจารเสียได้ เราพึงบรรลุทุติย
ฌาน ฯลฯ

“โดยสมัยอื่นอีก (= ต่อมาอีกคราวหนึ่ง)...เรานั้น...บรรลุทุติยฌาน...; เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิตก ยังกวนใจได้ อันนับว่าเป็นความข้องขัดแก่เรา...; เราจึงได้มีความ
คิดว่า ถ้ากระไร...เราพึงบรรลุตติยฌาน ฯลฯ

“โดยสมัยอื่นอีก...เรานั้น...บรรลุตติยฌาน...; เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประ
กอบด้วยปีติ ยังกวนใจได้ อันนับว่าเป็นความข้องขัดแก่เรา...; เราจึงได้มีความดำริว่า ถ้ากระไร...เรา
พึงบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ

“โดยสมัยอื่นอีก...เรานั้น...บรรลุจตุตถฌาน...; เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประ
กอบด้วยอุเบกขา ยังกวนใจได้ อันนับว่าเป็นความข้องขัดแก่เรา...; เราจึงได้มีความดำริว่า ถ้ากระ
ไร โดยความก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง...เราพึงบรรลุอากาสานัญจายตนะอยู่ ฯลฯ

“โดยสมัยอื่นอีก...เรานั้น...บรรลุอากาสานัญจายตนะ...; เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ
ที่ประกอบด้วยรูปธรรม ยังกวนใจได้ อันนับว่าเป็นความข้องขัดแก่เรา...; เราจึงได้มีความดำริว่า ถ้า
กระไร เราก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะเสียโดยประการทั้งปวง...พึงบรรลุวิญญนัญจายตนะอยู่ ฯลฯ

“โดยสมัยอื่นอีก...เรานั้น...บรรลุวิญญาณัญจายตนะ...; เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ
ที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนะ ยังกวนใจได้ อันนับว่าเป็นความข้องขัดแก่เรา...; เราจึงได้มีความ
ดำริว่า ถ้ากระไร เราก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียโดยประการทั้งปวง...พึงบรรลุอากิญนัญ
จายตนะอยู่ ฯลฯ

“โดยสมัยอื่นอีก...เรานั้น...บรรลุอากิญจัญญายตนะ...; เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ
ที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนะ ยังกวนใจได้ อันนับว่าเป็นความข้องขัดแก่เรา...; เราจึงได้มีความ
ดำริว่า ถ้ากระไร เราก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะเสีย พึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ ฯลฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2021, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




img_2609.png
img_2609.png [ 129.23 KiB | เปิดดู 572 ครั้ง ]
“โดยสมัยอื่นอีก...เรานั้น...บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ..; เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา
มนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนะ ยังกวนใจได้ อันนับว่าเป็นความข้องขัดแก่เรา...; เราจึง
ได้มีความดำริว่า ถ้ากระไร เราก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะเสีย พึงเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิ
โรธอยู่ ฯลฯ

“โดยสมัยอื่นอีก เรานั้น เห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว...เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่,
และเพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายก็ได้ถึงความหมดสิ้นไป

“ดูกรอานนท์ ตราบใด เรายังเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งอนุบุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้ ทั้งโดยอนุโลม
และปฏิโลมอย่างนี้ไม่ได้ ตราบนั้น เราก็ยังไม่ปฏิญาณในโลก พร้อมทั้งเทพ ทั้งมาร ทั้งพรหม ในหมู่
สัตว์ พร้อมทั้งสมณพรามณ์ ทั้งเทวะและมนุษย์ ว่าเราได้ตรัสรู้แล้วซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ; ต่อ
เมื่อใดแล เราเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งอนุบุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการเหล่านี้ ทั้งโดยอนุโลมและปฏิ
โลมอย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณในโลก...ว่าเราได้ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ;

“ก็แล ญาณทัศนะ เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า เจโตวิมุตติของเราเป็นอกุปปา (ไม่กำเริบ, ไม่กลับกลาย) นี้เป็น
อันติมชาติ บัดนี้ ภพใหม่อีก ไม่มี”

สำนวนแบบที่สองนี้ ที่บรรยายลำดับขั้นการปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมของสาวกโดยทั่วไป ก็มีข้อความ
เหมือนอย่างนี้ ต่างแต่มีเฉพาะตัวหลักที่แสดงขั้นตอน ไม่มีรายละเอียด ดังนี้

“ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล้ว...สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐม
ฌาน...บรรลุทุติยฌาน...บรรลุตติยฌาน...บรรลุจตุตถฌาน..บรรลุอากาสานัญจายตนะฌ.
บรรลุวิญญาตนะ...บรรลุอากิญจัญายตนะ...บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ...บรรลุสัญญาเวทยิตนิ
โรธ, เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายก็หมดสิ้นไป”

การที่เจาะจงยกเอาคำบรรยายการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าขึ้นมาเป็นตัวอย่างแสดงสำนวนแบบทั้งสอง
ก็เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันไว้ก่อนว่า สำนวนแบบทั้งสองนี้ แม้จะดูเสมือนต่างกัน แต่ก็มีสาระอย่างเดียว
กัน เพราะทั้งสองอย่าง เป็นการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน และพระพุทธเจ้าย่อมตรัสรู้
หนเดียว

ผู้ศึกษาหลักปฏิบัติตามสำนวนแบบทั้งสองนี้ มักมีความเข้าใจสับสนคลาดเคลื่อน อันเกิดจากการอ่าน
สำนวนแรกอย่างเดียวบ้าง สำนวนหลังอย่างเดียวบ้าง โดยพิจารณาตามตัวหนังสือ และมิได้สืบสวน
เทียบเคียงกับหลักที่ปรากฏในที่อื่นๆ ให้เห็นความสอดคล้องกลมกลืนกัน ความเข้าใจสับสนคลาด
เคลื่อนเหล่านั้น ที่เป็นข้อสำคัญมี ๓ อย่าง คือ

๑ เข้าใจว่า ต้องได้วิชชา ๒ อย่างแรกก่อน จึงจะบรรลุอาสวักขยญาณ คือ เข้าใจว่า ปุพเพสานุสติญาณ
และ จำเป็นสำหรับการตรัสรู้

๒ เข้าใจว่า การได้ฌาน ๔ เป็นบาทฐานเพียงพอที่จะให้บรรลุวิชชาทั้ง ๓ หรือรวมไปถึงอภิญญาทั้ง ๖

๓ เข้าใจว่า บรรลุอาสวักขยญาณ หรือตรัสรู้ได้ ในสัญญาเวทยิตนิโรธ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2021, 06:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




EpOVzHLU8AA07V3.jpg
EpOVzHLU8AA07V3.jpg [ 88.56 KiB | เปิดดู 572 ครั้ง ]
นอกจากนี้ ยังปรากฏว่ามีผู้เข้าใจคลาดเคลื่อน แปลกไปอีก ที่น่ารู้ ๒ อย่าง คือ

๔ เข้าใจว่า หลักปฏิบัติที่บรรยายในสำนวนแบบสองอย่างนั้น เป็นปฏิปทาแห่งการตรัสรู้ ๒
อย่างต่างหากกัน

๕ เข้าใจว่า ขั้นตอนของการปฏิบัติและการบรรลุผลสำเร็จต่างๆ ตามคำบรรยายนั้น ดำเนินไป
ภายในเวลาที่ต่อเนื่องกัน เป็นหนเดียวคราวเดียว

การแก้ความเข้าใจพลาดเหล่านี้ เป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปฏิบัติไปในตัว

ข้อที่ ๑ พึงเข้าใจว่า วิชชา ๒ ข้อต้นไม่จำเป็นสำหรับการตรัสรู้ (หมายถึงการบรรลุ อรหัตตผล
หรือการประจักษ์แจ้งนิพพาน) คือ ไม่จำเป็นต้องได้ปุพเพสานุสติญาน และจตูปปาตญานก่อน
จึงจะตรัสรู้ได้ เหตุผลและหลักฐานอย่างง่ายๆ คือ

ก) หลักปฏิบัติตามสำนวนแบบที่หนึ่งบางแห่ง ไม่มีวิชชา ๒ ข้อต้น กล่าวคือ เมื่อดำเนินมาถึงฌาน ๔
แล้ว น้อมจิตที่เป็นสมาธิดีแล้วไปเพื่ออาสวักขยญานทีเดียว ไม่กล่าวถึงปุพเพนิวาสานุสติญาณ
และจุตูปปาตญาณเลย แสดงว่าการปฏิบัติอย่างนี้ ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่อาจทำได้

ข) ในสุสิมสูตร มีพุทธพจน์แสดงไว้ชัดเจนว่า พระอรหันต์ปัญญาวิมุต แม้เป็นผู้หลุดพ้นเป็นอิสระ
แล้ว ไม่ยึดติดในขันธ์ ๕ และเห็น ปฏิจจสมุปบาท แต่ก็ไม่สามารถแสดงฤทธิ์ต่างๆ ไม่มีทิพยโสต ไม่มี
เจโตปริยญาณ ไม่มีปุพเพนิวาสานุสติญาณ ไม่มีทิพจักษุคือจุตูปปาตญาณ และไม่ได้สันตวิโมกข์
คืออรูปสมาบัติ พูดสั้น ๆ ว่าไม่ได้โลกิยอภิญญา ๕ และไม่ได้อรูปฌาน ได้แต่อาสวักขยญาณ
อย่างเดียว

ค) การบรรลุอภิญญา ๖ (ซึ่งรวมวิชชาทั้ง ๓ อยู่ด้วยแล้ว) ไม่ว่าข้อใดๆ ย่อมอาศัยจิตที่ฝึกอบรมดี
แล้วด้วยสมาธิที่ประณีตถึงขั้น เมื่ออบรมจิตมีสมาธิดีพอแล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่ออภิญญาข้อนั้นๆ
ตามประสงค์ คือ นำจิตไปใช้เป็นบาทฐานสำหรับสร้างอภิญญาข้อที่ตนต้องการ ไม่จำเป็นว่าต้อง
ผ่านอภิญญาข้อนี้ก่อนแล้ว จึงจะก้าวไปสู่อภิญญาข้อนั้นได้ ดังมีหลักอยู่ว่า

“(ด้วยสมาธิที่อบรมดีแล้ว) เธอจะน้อมจิตไป เพื่อรู้จำเพาะประจักษ์แจ้งซึ่งอภิญญาสัจฉิกร
ณียธรรม (สิ่งที่พึงทำให้ประจักษ์ด้วยการรู้จักจำเพาะ) อย่างใดๆ ก็ย่อมถึงภาวะที่สามารถเป็น
พยาน ในธรรมนั้นๆ ได้ ในเมื่อ อายตนะ (เหตุ) มีอยู่; กล่าวคือ ถ้าเธอจำนง...อิทธิวิธา...ก็ย่อมถึง...,
ถ้าเธอจำนง...ทิพยโสต...ก็ย่อมถึง..., ถ้าเธอจำนง..เจโตปริยญาณ....ก็ย่อมถึง..., ถ้าเธอจำนง..
.ปุพเพนิวาสานุสติ...ก็ย่อมถึง..., ถ้าเธอจำนง...ทิพยจักษุ...ก็ย่อมถึง..., ถ้าเธอจำนง...อาสวักขัย...
ก็ย่อมถึงภาวะที่สามารถเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ได้ ในเมื่ออายตนะมีอยู่”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2021, 06:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed_2.jpg
unnamed_2.jpg [ 96.53 KiB | เปิดดู 572 ครั้ง ]
สมาธิที่อบรมดีพอที่จะใช้เพื่อการนี้ หมายถึงสมาธิขั้นใด ได้กล่าวมาบ้างแล้ว และจะมีกล่าว
ถึงในข้อที่ ๒ ต่อไปด้วย

ข้อ ๒ สมาธิในจตุตถฌาน คือฌานที่ ๔ เป็นสมาธิระดับสูงสุด แม้แต่สมาธิในฌานสมาบัติที่
สูงขึ้นไป คือ ในอรูปฌานทั้งหลาย ก็จัดเป็นสมาธิในระดับจตุตถฌานทั้งสิ้น เพราะอรูป
ฌานทั้งหลาย ก็มีองค์ฌานเพียง ๒ อย่างเหมือนกับจตุตถฌาน คือมี อุเบกขาและเอกัค
คตา และถือได้ว่า จตุตถฌานเป็นฌานที่ใช้ประโยชน์ได้สากล เช่น จะใช้เป็นบาทแห่ง
วิปัสสนาก็ได้ เป็นบาทแห่งอภิญญาก็ได้ เป็นบาทแห่งนิโรธสมาบัติก็ได้ ดังนี้เป็นต้น

อย่างไรก็ดี แม้สมาธิในอรูปฌานจะเป็นสมาธิระดับจตุตถฌานก็จริง แต่ข้อพิเศษก็มีอยู่
คือ สมาธิในอรูปฌานประณีตลึกซึ้ง ห่างไกลจากปัจจนีกธรรมคือสิ่งรบกวน มากกว่า
สมาธิในจตุตถฌานสามัญ และแม้อรูปฌานด้วยกัน ก็ประณีตกว่ากันยิ่งขึ้นไปตาม
ลำดับขั้น

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่า ผู้ที่ได้จตุตถฌานแล้วบรรลุ อรหัตตผลท่านยังไม่เรียกว่าเป็น อุภ
โตภาควิมุตยังเป็นแต่เพียงปัญญาวิมุต ต่อเมื่อได้อรูปฌานสักขั้นใดขั้นหนึ่งแล้ว จึงจะเป็น
อุภโตภาควิมุต โดยนัยนี้ คำของอรรถกถาที่ว่าใช้จตุตถฌานเป็นบาทนั้น จึงยังมีข้อแม้ คือ
ในบางกรณี อาจใช้สมาธิระดับจตุตถฌานสามัญก็ได้ แต่ในบางกรณี ต้องใช้สมาธิระดับ
จตุตถฌานที่ประณีตขึ้นถึงขั้นอรูปฌานที่เหนือขึ้นไป

ดังได้แสดงหลักฐานให้เห็นแล้วว่า พระปัญญาวิมุต ตามความหมายที่เคร่งครัด หรือโดยนิปริ
ยาย เป็นผู้ได้แต่อาสวักขยญานอย่างเดียว ไม่ได้วิชชาหรืออภิญญาอื่นๆ และไม่ได้แม้แต่
อรูปสมาบัติ ดังนั้น การได้วิชชาครบ ๓ หรืออภิญญาครบ ๖ จึงเป็นวิสัยของพระอุภโตภาค
วิมุต ซึ่งได้สมาบัติถึงขั้นอรูปแล้ว

อาศัยเค้าความจากบาลีเช่นนี้เป็นฐาน อรรถกถาได้อธิบายวิธีการเจริญอภิญญาอย่างพิสดาร
ซึ่งพอสรุปได้ความว่า เบื้องแรก เมื่อเจริญสมถะจนได้ฌาน ๔ แล้ว ให้เจริญต่อไปอีกจนได้สมา
บัติครบ ๘ แต่จำกัดว่าต้องเป็นสมาบัติที่ได้ในกสิณ ๘ (คือยกเว้นอาโลกกสิณและอากาส
กสิณ) ครั้นแล้ว ฝึกสมาบัติทั้ง ๘ นั้นให้คล่องแคล่วโดยทำนองต่างๆ เป็นการเตรียมจิต
ให้พร้อม พอถึงเวลาใช้งานจริง คือจะทำอภิญญาให้เกิดขึ้นก็ดี จะใช้อภิญญาแต่ละครั้งก็ดี ก็
เข้าฌานเพียงแค่จตุตถฌาน แล้วน้อมเอาจิตนั้นไปใช้เพื่ออภิญญาตามความต้องการ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2021, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




858-8588119_old-tree-png-image-background-old-tree-png.png
858-8588119_old-tree-png-image-background-old-tree-png.png [ 325.57 KiB | เปิดดู 572 ครั้ง ]
ย้ำข้อสรุปว่า ในการฝึกเตรียมจิตไว้ ต้องใช้สมาบัติ ๘ แต่ในเวลาทำอภิญญา ก็เข้าฌานเพียงจตุ
ตถฌานเท่านั้น ทั้งนี้เพราะว่า เมื่อเข้าสมาธิถึงจตุตถฌานแล้ว จิตซึ่งเคยอบรมมาดีแล้วด้วยส
มาบัติ ๘ พอมีสมาธิถึงระดับจตุตถฌาน ก็มีความประณีตเป็นพิเศษ ยิ่งกว่าจิตของผู้ได้ลำพัง
แต่จตุตถฌานล้วนๆ เมื่อตัดตอนเอาตรงนี้ ท่านจึงกล่าวว่า ใช้จตุตถฌานเป็นบาทของ อภิญ
ญาตรงกับที่ท่านพูดไว้อีกสำนวนหนึ่งว่า จิตที่พร้อมด้วยองค์ ๘ (โดยการอบรมด้วยสมาธิระดับ
จตุตถฌาน ถึงขั้นอรูปสมาบัติ) อย่างนี้เป็นของเหมาะแก่การน้อมเอาไปใช้ จึงเป็นบาท คือ
เป็นปทัฏฐานแห่งการประจักษ์แจ้งด้วยการรู้จำเพาะ ซึ่งอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมทั้งหลาย

อย่างไรก็ดี มีข้อยกเว้นว่า สำหรับท่านผู้มีบุพโยคะ (คือมีความเพียรที่ทำมาแต่ปางก่อนเป็นพื้น
อุปนิสัยหรือเป็นทุนเดิม) แรงกล้าแล้ว เช่น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอัครสา
วก เป็นต้น ไม่ต้องฝึกฝนครบกระบวนวิธีตามลำดับก็ได้ และสร้างความชำนาญเพียงในจตุต
ถฌานล้วนๆ ก็เพียงพอที่จะทำอภิญญาให้เกิดได้ ไม่จำเป็นต้องสร้างความชำนาญในอรูปสมาบัติ

ในกรณีของพระพุทธเจ้า แม้ไม่อ้างบุพโยคหรือบุพเหตุอย่างอรรถกถาว่า ก็เห็นได้ชัดว่า สำ
นวนแบบ ๒ อย่างที่ยกมาอ้างข้างต้นสอดคล้องกัน และกลมกลืนกับหลักที่ได้แสดงมานี้ กล่าวคือ

- สำนวนแบบที่ ๑ แสดงว่า ในคืนวันตรัสรู้ คือในตอนใช้การ พระพุทธเจ้าทรงเข้าฌานถึงจตุ
ตถฌานแล้ว ทรงน้อมจิตมุ่งไปใช้เพื่อให้เกิด วิชชา ๓ ทีละอย่าง แต่ในเวลาก่อนหน้านั้น พระองค์
ได้ทรงอบรมพระทัยของพระองค์เป็นพื้นฐานไว้ด้วยสมถะอย่างดีแล้ว คือทรงได้สมาบัติครบ ๘
ตั้งแต่ทรงอยู่ในสำนักของอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุททกดาบส รามบุตร

- และตามสำนวนแบบที่ ๒ ก็แสดงว่า พระองค์ได้ทรงฝึกปรือความชำนาญในสมาบัติทั้งหลาย
มาโดยตลอดตามลำดับ

ข้อ ๓ คำบรรยายลำดับการปฏิบัติ ตอนว่าด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธ มักชวนให้ผู้ที่อ่านทีแรก หรือ
ผู้ที่อ่านแล้วไม่สอบสวนความสืบต่อไป เกิดความเข้าใจผิดว่า เมื่อเข้าสมาบัตินี้แล้ว ก็ตรัสรู้หรือ
บรรลุอรหัตตผลต่อไปภายในสมาบัตินั้นเลย ดังความในบาลีว่า

“...ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่, เพราะเห็น
ด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายก็หมดสิ้นไป”

พึงเข้าใจว่า ความในบาลีนี้ ท่านเล่าเฉพาะลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติและการบรรลุผลแท้ๆ ไม่
กล่าวถึงเหตุการณ์และรายละเอียดต่างๆ ในระหว่าง ผู้อ่านพึงมองในลักษณะที่เป็นขั้นตอนต่างๆ
ไม่ใช่มองในแง่เป็นการเล่าเรื่องราวอันหนึ่งอันเดียว ผู้ศึกษาจะมองเห็นความหมายของบาลีท่อน
นี้ชัดขึ้น เมื่อพิจารณาคำบรรยายที่แสดงรายละเอียดมากกว่านี้ ในบาลีอีกแห่งหนึ่ง ดังนี้

“ภิกษุนั้น...ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ อยู่,
เมื่อใดภิกษุเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งสมาบัตินั้นนั่นแหละ (เมื่อนั้น) จิตของเธอก็เป็นของนุ่มนวล ควร
แก่งาน; ด้วยจิตที่นุ่มนวล ควรแก่งานนั้น สมาธิอันหาประมาณมิได้ (สมาธิที่กว้างขวาง ประณีต
ดีล้ำเลิศ) ย่อมเป็นสิ่งที่เธออบรมแล้วเป็นอย่างดี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2021, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Black-Ox-Animal-Transparent-Images.png
Black-Ox-Animal-Transparent-Images.png [ 242.29 KiB | เปิดดู 572 ครั้ง ]
“ด้วยสมาธิอันหาประมาณมิได้ ที่อบรมอย่างดีแล้ว (นั้น) เธอจะน้อมจิตมุ่งไปเพื่อประจักษ์แจ้งด้วย
ความรู้จำเพาะ ซึ่งอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมอย่างใดๆ ก็ย่อมถึงภาวะที่สามารถเป็นพยานในธรรม
อย่างนั้นๆ ได้ ในเมื่ออายตนะมีอยู่ (กล่าวคือ) ถ้าเธอจำนง...อิทธิวิธา...ก็ย่อมถึง...ถ้าเธอจำนง...ทิพ
ยโสต...ก็ย่อมถึง... ฯลฯ ถ้าเธอจำนง...อาสวักขัย...ก็ย่อมถึงภาวะที่สามารถเป็นพยานในธรรม
อย่างนั้นๆ ได้ ในเมื่ออายตนะมีอยู่”

เมื่อเทียบกับบาลีบทหลังนี้แล้ว ก็จะมองเห็นข้อความในบาลีบทแรกที่ว่า “เข้าถึงสัญญาเวทิยิตนิโรธ.
..” กับ “เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายก็หมดสิ้นไป” แยกห่างกันออกไปเป็นคนละตอน ตอน
แรกคือ “เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ...” เป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่ตอนหลัง โดยช่วยเตรียมจิตอบรมสมาธิ
ไว้ให้พร้อม ตอนหลังคือ “เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายก็หมดสิ้นไป” ได้แก่ อาสวักขยญาน
ซึ่งในกรณีของพระพุทธเจ้า ก็ได้แก่การตรัสรู้นั่นเอง ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า สำนวนแบบทั้งสอง มีเนื้อ
ความบรรจบตรงกันเป็นอันเดียวในที่สุด

ข้อ ๔ เท่าที่ชี้แจงแก้ความเข้าใจพลาดข้อก่อนๆ มาตามลำดับ ก็พอจะทำให้มองเห็นแล้วว่า สำนวน
แบบสองอย่างนั้น เป็นเพียงการพูดถึงแง่ด้านขั้นตอนต่างๆ ของปฏิปทาเดียวกัน สำนวนแบบที่ ๑ มุ่ง
แสดงการปฏิบัติและบรรลุผลขั้นสุดท้าย เมื่อนำเอาสมถะซึ่งได้ฝึกอบรมไว้ก่อนแล้วมาใช้ประโยชน์
ในทางอภิญญาและวิปัสสนาจนเสร็จสิ้น สำนวนแบบที่ ๒ มุ่งแสดงขั้นตอนของการฝึกอบรมสมถะ
ในระหว่าง และกล่าวถึงผลสุดท้ายของวิปัสสนาครอบปลายไว้ พอให้มองเห็นจุดหมายที่จะเชื่อม
โยงไปถึง

โดยนัยนี้ ความเข้าใจผิดพลาดข้อ ๔ ที่ว่าสำนวนแบบทั้งสองแสดงปฏิปทาแห่งการตรัสรู้ ๒ อย่าง
ต่างหากกัน จึงเป็นอันตอบเสร็จไปแล้วพร้อมกับข้อก่อนๆ

ข้อ ๕ ความเข้าใจเกี่ยวกับระยะเวลาในการปฏิบัติและบรรลุ ได้ชี้แจงไปบ้างแล้วในข้อ ๒ และข้อ ๓
มีข้อควรย้ำเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า

สำนวนแบบที่ ๑ แสดงการบรรลุวิชชา ๓ ของพระพุทธเจ้า ห่างเวลากันเพียงวิชชาละยามของราตรี
แต่ในกรณีของบุคคลอื่น การบรรลุวิชชา ๓ หรืออภิญญา ๖ แต่ละข้อ อาจใกล้ชิดกันอย่างนี้ หรือ
ห่างกันนานเป็นเดือนเป็นปีก็ได้

ส่วนสำนวนแบบที่ ๒ ที่แสดงการปฏิบัติด้านสมาบัติของพระพุทธเจ้า มีข้อความช่วยบ่งชัด
ให้เห็นว่า มีช่วงเวลาในระหว่างการบรรลุผลแต่ละขั้น แต่สำนวนอย่างเดียวกันนั้น ที่บรรยายการ
บรรลุผลของพระสาวกหรือบุคคลอื่นๆ ไม่มีข้อความบอกช่วงเวลา ชวนให้เข้าใจว่าเป็นเรื่องต่อเนื่อง
ในคราวเดียวกัน

เพื่อมิให้เข้าใจผิด จึงขอย้ำไว้อีกว่า การปฏิบัติและบรรลุสมาบัติขั้นหนึ่งๆ นั้น สาวกหรือผู้ปฏิบัติ
ทั้งหลายอาจใช้เวลามากน้อยแตกต่างกันไป คำบรรยายที่เป็นสำนวนแบบนั้น เพียงแต่แสดง
ขั้นตอนของการปฏิบัติและบรรลุผลไว้ให้ทราบเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2021, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_pfklu6lNS71wtg8hyo1_500.png
tumblr_pfklu6lNS71wtg8hyo1_500.png [ 390.67 KiB | เปิดดู 572 ครั้ง ]
ความข้อนี้ มีหลักฐานช่วยยืนยันอยู่บ้างบางกรณี ตัวอย่างที่ชัด คือกรณีของพระสารีบุตร ตามความ
ในทีฆนขสูตร มีเรื่องว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเกี่ยวกับเวทนาและเรื่องอื่นๆ แก่ทีฆนขปริพา
ชก ที่ถ้ำสุกร-ขาตา ภูเขาคิชฌกูฏ พระสารีบุตรซึ่งกำลังถวายงานพัดอยู่เบื้องพระของพระผู้มีพระ
ภาค พิจารณาธรรมไปตามกระแสพระธรรมเทศนา และได้บรรลุอรหัตตผล เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ
ท่านอุปสมบทแล้วได้กึ่งเดือน

ถ้าอ่านดูแต่ลำพังสูตรนี้ อาจเห็นไปได้ว่า พระสารีบุตรบวชมาแล้วสองสัปดาห์ ยังไม่ได้บรรลุผล
สำเร็จอะไรเพิ่มเติมจากที่ได้ธรรมจักษุเมื่อก่อนมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ครั้นได้ฟังพระธรรม
เทศนาแก่ทีฆนขครั้งนี้ ก็บรรลุอรหัตตผลทันที แต่เมื่ออ่านอนุปทสูตร ประกอบด้วย ก็ทราบได้ว่า
ระหว่างเวลากึ่งเดือนนั้น พระสารีบุตรได้ปฏิบัติธรรมก้าวหน้ามาตามลำดับ โดยเจริญวิปัสสนาควบ
คู่กับฌานสมาบัติ อย่างที่เรียกว่า ยุคนัทธสมถวิปัสสนา คือ สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน ตั้งต้น
แต่ปฐมฌาน จนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งแสดงว่าท่านบรรลุอนาคามิผลแล้วก่อนฟังทีฆนขสูตร
เมื่อฟังทีฆนขสูตรนี้ ท่านก็ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง คือบรรลุอรหัตตผลเป็นขั้นสุดท้าย และการเจริญสมถะ
วิปัสสนาคู่กันของท่านก่อนหน้านั้น ได้ดำเนินมาตลอดเวลาถึง ๑๕ วัน

ปัญหาอีกอย่างหนึ่งซึ่งควรตอบไว้ด้วย ณ ที่นี้ คือข้อที่ว่า พระอรหันต์บรรลุมรรคผลก่อนแล้ว จึง
เจริญสมถะเพิ่มเติมจนได้ฌานสมาบัติและอภิญญาได้หรือไม่?

พูดถึงฌานสมาบัติก่อน ตามหลักที่ได้อธิบายมาแล้ว ผู้ปฏิบัติที่เป็นวิปัสสนายานิก ซึ่งไม่ได้ฌานมา
ก่อน เมื่อบรรลุอริยมรรค สมาธิย่อมแนบสนิทเป็นอัปปนาถึงขั้นปฐมฌาน และหลังจากนั้นไป ผู้บรรลุ
นั้นสามารถเข้าผลสมาบัติด้วยฌานระดับปฐมฌานนั้น เพื่อเป็นทิฏฐธรรมสุขวิหารต่อไปได้เรื่อยๆ
ในเวลาที่ต้องการ

ตามหลักนี้ ผู้บรรลุมรรคผลจึงได้ปฐมฌานเป็นอย่างต่ำ ปัญหามีว่า พระอรหันต์ผู้ได้ฌานขั้นต่ำ จะ
เจริญสมถะต่อให้ได้ฌานสมาบัติที่สูงขึ้นไปได้หรือไม่ ปัญหาข้อนี้ ถ้าตอบตามมติของอรรถกถาฎีกา
ก็ว่าได้ และโอกาสที่จะได้ก็น่าจะมีมากขึ้นด้วย เพราะมีภาวะจิตที่ช่วยให้สมาธิประณีตเข้มแข็งยิ่ง
กว่าก่อน ท่านจึงอาจเจริญขึ้นมา เพื่อเป็นเครื่องเสริมการเสวยผลทางจิตที่เรียกว่าทิฏฐธรรมสุขวิหาร

ส่วนอภิญญา คำตอบก็คงว่าได้เช่นเดียวกัน แต่คงต้องพูดต่อไปว่า พระอรหันต์ไม่ขวนขวายที่จะทำ
อภิญญาที่ท่านยังไม่ได้ ทั้งนี้เพราะประการแรก พระอรหันต์ย่อมไม่ปรารถนาฤทธิ์อำนาจพิเศษอะไร
เพื่อประโยชน์แก่ตัวท่าน ประการที่สอง ไม่มีเหตุผลเพียงพอเกี่ยวกับประโยชน์เพื่อผู้อื่น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2021, 11:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cow-pdt.png
cow-pdt.png [ 176.23 KiB | เปิดดู 572 ครั้ง ]
ในแง่การทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นนั้น ถ้าการทำฤทธิ์ทำอภิญญาเป็นกระบวนการที่ยาก และกิน
เวลา อย่างที่บรรยายไว้ในวิสุทธิมัคค์ พระอรหันต์ย่อมนำเอาเวลาและความเพียรนั้นไปใช้ใน
การสั่งสอนธรรมแก่ประชาชน เป็นการทำอนุสาสนีปาฏิหาริย์ที่พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญว่า
เลิศประเสริฐกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ทั้งปวง ดีกว่าจะมาวุ่นวายกับโลกิยอภิญญา ที่เสี่ยงต่อโทษ
มักนำให้มหาชนผู้ยังมีกิเลส ลุ่มหลงอยู่ในโลกแห่งความเลือนลาง วุ่นวายกับสิ่งที่ลับๆ ล่อๆ
หรือผลุบๆ โผล่ๆ ไม่อาจให้จะแจ้งชัดเจน และไม่ขึ้นต่อวิสัยของตน ทำให้ละเลยความเพียรพยา
ยามที่จะทำการต่างๆ ตามเหตุผลสามัญของมนุษย์ กลายเป็นผู้คอยหวังพึ่งปัจจัยหรืออำนาจดล
บันดาลจากภายนอก ซึ่งเป็นการขัดต่อหลักพื้นฐานของพระพุทธศาสนา

พระอรหันต์ท่านใด แม้จะไม่ได้โลกิยอภิญญา ไม่สามารถแสดงฤทธิ์อะไรได้ แต่ท่านก็มีฤทธิ์อย่าง
หนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นฤทธิ์แบบอริยะ หรืออารยฤทธิ์ คือสามารถทำใจมองบุคคลและสิ่งซึ่ง
ไม่น่ารัก น่าเกลียด น่าชัง ให้เป็นผู้ที่น่าเมตตา เป็นสิ่งไม่น่ารังเกียจได้ สามารถทำใจมองบุคคล
และสิ่งที่น่าใคร่ น่าติดใจ ให้เป็นสิ่งอนิจจัง ตกอยู่ในคติธรรมดาแห่ง สังขาร ไม่น่าผูกใจรักฝากใจให้
ซึ่งเป็นฤทธิ์ที่ประเสริฐกว่าการเดินน้ำ ดำดิน เหาะได้ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นฤทธิ์ที่มิใช่
อริยะ หรือไม่ใช่อารยฤทธิ์ อาจให้เกิดโทษได้ ไม่ทำให้หลุดพ้น

โลกิยอภิญญาทั้งหลาย ไม่ใช่สาระของพระพุทธศาสนา แม้พระพุทธศาสนาไม่เกิดขึ้น ไม่มีอยู่
อภิญญาเหล่านี้ก็มีได้ เป็นของมีมาก่อนพุทธกาล และมีได้ภายนอกพุทธศาสนา มิใช่เครื่องแสดง
ความประเสริฐของบุคคลหรือของพระพุทธศาสนา

คุณค่าและความประเสริฐของอภิญญาเหล่านี้ จะมีต่อเมื่อเป็นของท่านผู้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส
บรรลุอาสวักขัยแล้ว แต่ถ้าเป็นของปุถุชน ก็เป็นของมีโทษร้ายไม่ยิ่งหย่อนกว่าคุณ

หากเป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส บรรลุอาสวักขัยเพียงอย่างเดียว หรือแม้แต่ดำรงอยู่ในอริยภูมิ
ที่ต่ำกว่านั้น เป็นผู้มีศีล ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิสมบูรณ์ ก็ยังประเสริฐกว่ามีอภิญญาเหล่านั้นครบ
ทั้ง ๕ แต่ไม่มีความดีงามเช่นนั้น

ด้วยเหตุนี้ พระอรหันตสาวกของพระพุทธเจ้าส่วนมาก จึงเป็นพระปัญญาวิมุต โดยมิได้เลื่อน
เปลี่ยนฐานะขึ้นไปอีกแต่ประการใด และอีกมากมายหลายท่าน แม้เป็นอุภโตวิมุตแล้ว ก็มิได้ทำ
อภิญญา ๕ เหล่านั้นให้เกิดขึ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2022, 13:50 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร