ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
จิตตวิสุทธิ http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=60573 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 16 ก.ค. 2021, 16:27 ] |
หัวข้อกระทู้: | จิตตวิสุทธิ |
ความบริสุทธิ์แห่งจิต หรือจิตที่บริสุทธิ์ คำว่า จิตตวิสุทธิ เรียกโดยใช้จิตเป็นประธาน แต่ความจริงแล้ว โดยตรง หมายถึง สมาธิ คือ เมื่อสมถสมาธิ และวิปัสสนาสมาธิ มีความแก่กล้าพอ นีวรณธรรม หรือนิวรณ์ทั้งหลายที่มีการรับ อารมณ์นั้น ๆ ก็ไม่สามารถที่จะเข้ามาหรือเกิดขึ้นในระหว่างได้ สมาธิตั้งมั่นเพ่งอยู่ในสมถะอารมณ์ และวิปัสสนาอารมณ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและชัดเจน จนสมาธิดังกล่าวได้ชื่อว่า เป็นจิตตวิสุทธิโดยมุขยนัย หรือโดยตรง ก็ด้วยอำนาจของสมาธินี้แล แม้จิตเจตสิกที่เกิดร่วมกันหรือจิตเจตสิกที่มาด้วยกันกับสมาธินั้น ย่อมหมดจดจากนิวรณ์ไปด้วย สมาธิ ๓ ประการ สมาธิที่ได้ชื่อว่า จิตตวิสุทธินี้แบ่งเป็น ๓ ประการ คือ โค้ด: ๑. ขณิกสมาธิ ๒. อุปจารสมาธิ ๓. อัปปนาสมาธิ ในบรรดาสมาธิทั้ง ๓ ประการเหล่านั้น สำหรับบุคคลผู้เจริญสมถภาวนานั้น เมื่อจิตปราศจากนิวรณ์ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างแห่งการกำหนดแล้วนั้น กามาวจรสมาธิ หรือสมาธิที่เป็นไปในกามาวจรก็จะเกิดขึ้น โดยมี ปฏิภาคนิมิต ก็ดี พระคุณมีพุทธคุณอันมีความบริสุทธิ์ผุดผ่องเป็นอย่างยิ่งเป็นต้นก็ดี เป็นอารมณ์ กามาวจรสมาธิชื่อว่า เป็นอุปจารสมาธิ ซึ่งหมายถึง สมาธิที่เกิดขึ้นในส่วนที่ใกล้กับอุปจารฌาน จึงเรียกว่าอุปจารสมาธิ |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 16 ก.ค. 2021, 17:58 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: จิตตวิสุทธิ |
ในสมาธิทั้งหลายเหล่านั้น สมาธิที่เป็นไปลักษณะของกสิณ อสุภะ กายคตาสติ อานาปานสติ พรหมวิหาร และอรุปปกรรมฐาน ได้ชื่อว่าเป็นอุปจารสมาธิโดยมุขยนัย หรือโดยตรง ส่วนสมาธิที่ เรียกว่า อนุสติ ๘ ปฏิกูลสัญญา และธาตุววัฏฐาน ได้ชื่อว่าเป็นอุปจาร สมาธิโดยอ้อม เพราะไมใช่สมาธิที่เกิดขึ้นใกล้กับอัปปนาโดยตรง เป็นเพียงสมาธิที่มีลักษณะหมดจดจากนิวรณ์เหมือนกับธรรมที่เป็น อุปจารสมาธิแท้เท่านั้นเอง จึงชื่อว่า อุปจารสมาธิไปด้วย รูปฌาน ๔ หรือรูปฌาน ๕และอรูปฌาน ๔ รวมเป็นสมาบัติ ๘ หรือ ๙ ได้ชื่อว่าอัปปนาสมาธิ หมายถึง สมาธิที่ตั้งมั่นอย่างไม่คลอนแคลน ในอารมณ์ทั้งหลายมีกสิณเป็นต้น ราวกะว่าเข้าไปฝังอยู่ในอารมณ์ นั้นๆ ทีเดียว นี้คือลักษณะของอัปปนาสมาธิ สำหรับบุคคลที่เจริญวิปัสสนาภาวนาแล้ว เมื่อศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและปัญญาแก่กล้าเต็มที่แล้ว สมาธิของบุคคลนั้นย่อมเกิด อย่างต่อเนื่อง การกำหนดย่อมเป็นไปอย่างต่อเนื่องชัดเจนมาก นิวรณ์ที่จินตนาการยึดอารมณ์นั้นๆไม่สามารถที่จะโผล่เข้ามาแห่ง สมาธินั้นได้ ในช่วงเวลานั้นเอง สมาธิที่มีการเพ่งตั้งมั่นในอารมณ์รูปนาม ทุกๆครั้งที่โยคีกำหนด ย่อมแก่กล้าและปรากฏชัดอย่างเต็มที่ ก็สมาธิ เช่นนี้ท่านเรียกว่า ขณิกสมาธิ หมายถึง สมาธิที่ตั้งมั่นอยู่ ในช่วงที่จิตอยู่ในการกำหนดเท่านั้น |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 18 ก.ค. 2021, 16:36 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: จิตตวิสุทธิ |
โค้ด: จิตตวิสุทธิของสมถยานิกบุคคล ในบรรดาสมาธิ ๓ ประการนั้น ไม่ว่าจะเป็นอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิ โยคีกำหนดวิปัสสนาโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานสมาธิทั้งสองนั้นท่านเรียกว่า สมถยานิกบุคคล หมายถึง บุคคลผู้ที่นำเอาสมถะเป็นเครื่องนำทาง หรือนำไปสู่มรรคผลนิพพาน โดยอาศัยสมถะเป็นยานพาหนะด้วยเหตุนี้ อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ จึงชื่อว่า เป็นจิตตวิสุทธิ เป็นที่อาศัยของบุคคล ผู้เป็นสมถยานิกะ โค้ด: จิตตวิสุทธิของวิปัสสนายานิกบุคคล บุคคลผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ โดยมีได้อาศัยอุปจรสมาธิและอัปปนาสมาธิทั้งสอง ได้ชื่อว่าเป็นวิปัสสนายานิกบุคคล หมายถึงบุคคลผู้มีวิปัสสนาล้วนๆ เป็นเครื่องนำทาง หรือบุคคลผู้ไปสู่มรรคผลนิพพาน โดยอาศัยวิปัสสนาล้วนๆเป็นยานพาหนะด้วยเหตุนี้ ขณิกสมาธิเท่านั้นได้ชื่อว่าเป็นจิตตวิสุทธิซึ่งเป็นที่อาศัยของสุทธิยานิกบุคคลนั้น อนึ่ง ลำดับคำพูดเบิ้องต้นนั้น ทั้งหมดมีความสอดคล้องกับอรรถกถา และฎีกาดังต่อไปนี้ โค้ด: จิตฺตวิสุทฺธิ นาม สอุปจารา อฏฐสมาปตฺติโย. สมาบัติ ๘ พร้อมทั้งอุปจารสมาธิ ได้ชื่อว่า จิตตวิสุทธิ (วิสุทธิ ๒/๒๒๒)
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 19 ก.ค. 2021, 03:45 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: จิตตวิสุทธิ |
ข้อความในวิสุทธิมรรคที่ยกมาข้างต้นนี้ แม้จะไม่ได้กล่าวถึงขณิกสมาธิ แต่ในฎีกา อรรถกถาและพระไตรปิฎกทั้งหลายที่จะแสดงดังต่อไปนี้นั้น มีปรากฏ อยู่นั่นเทียว เพราะฉะนั้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้ปฏิบัติพึงจดจำไว้ดังนี้ การที่ท่านไม่ ได้แสดงขณิกสมาธิไว้ต่างหากนั้น เพราะเหตุผลหลายประการ เช่น ๑. เพราะต้องการที่จะยกเอาวิธีปฏิบัติของสมาถยานิกะมาแสดงเป็นประธาน หรือตัวอย่างเท่านั้น ๒. เพราะต้องการที่จะแสดงจิตตวิสุทธิอันจะเพียรพึงพยายามปฏิบัติเป็นเอกเทศ ในลำดับแรก ๓. เพราะขณิกสมาธินั้นเป็นสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าในวิปัสสนาจิตตุปบาท ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นในส่วนเบื้องต้นอยู่แล้ว ๔. เพราะเป็นการแสดงขณิกสมาธิที่เป็นวิปัสสนาซึ่งมีลักษณะเหมือนอุปจารสมาธิ ในฐานะที่เป็นสมาธิที่ปราศจากนิวรณ์เช่นกัน จึงถูกสงเคราะเข้าในอุปจารสมาธิ นั้นเอง เหมือนกับในอรรถกถามหาสติฐานสูตรที่ว่า เสสา ทฺวาทสปิ อุปจาร กมฺมฏฺฐานาเนว. "ที่เหลือแม้ ๑๒ จัดเป็นอุปจารกรรมฐานนั่นเทียว" ด้วยเหตุผลหลายประการดังที่ได้ยกมานี้ท่านจึงได้แสดงขณิกสมาธิไว้เป็น เอกเทศต่างหาก ถ้าโยคีมีความเข้าใจเช่นนี้ ก็จะทำให้มีความสอดคล้องกับหลักฐาน ที่มาในพระคัมภีร์ต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นนี้ ขอให้ตั้งใจดูสาธกหลักฐานที่จะยกมาดังต่อไปนี้ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |