ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ก่อนที่จะเจริญวิปัสสนา
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=60601
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 24 ก.ค. 2021, 17:41 ]
หัวข้อกระทู้:  ก่อนที่จะเจริญวิปัสสนา

วิธีการสำรวมก่อนที่จะเจริญวิปัสสนา

ก่อนที่จะเจริญภาวนา ถ้าต้องการรักษาอินทรีย์สังวรให้หมดจดในเบื้องต้น
จะต้องรักษาสติสังวร.ขันติสังวรและวิริยะสังวรก่อน ส่วนวิธีการรักษา พึงทราบ
ตามนัยที่มาในคัมภีร์อัฏฐสาลินี(อภิ.อฏ.๑/๑๐๗)ดังนี้

"ตสฺส อิมินานา นิยมิตวเสน ปริยามิตวเสน
สมุทาจารวเสน อาภุชิตวเสน จ กุสลํ นาม ชาตํ โหติ."


จำกัดขอบเขตของจิต

นักปฏิบัติที่ดีควรจำกัดคิดของตน เป็นต้นว่า เราจะคิดแต่สิ่งที่ดีและ
เป็นกุศล หรือเราจะพูดหรือการกระทำแต่สิ่งที่ดีงามเป็นบุญเป็นกุศลเท่านั้น
โดยจะพยายามให้กุศลจิตบังเกิดขึ้นในทวารแม้ทั้ง ๖ และพยายามตั้งสติป้องกัน
มิให้อกุศลจิตเกิด จะต้องไม่โกรธเคืองไม่ว่ากรณีใดๆ จะต้องอดทนและอดกลั้น
ในทุกสถานการณ์

ผู้ที่สามารถบังคับจิตได้อย่างนี้แม้บางครั้งจะเผชิญกับสิ่งที่เป็นเหตุให้อกุศลเกิด
เขาก็จะไม่เกิดแยแสต่ออารมณ์นั้น คือจะไม่ยอมคิดในแง่ที่เป็นอกุศลกับสิ่งเหล่านั้น
จินตนาการของเขาจะวนเวียนอยู่แต่ในวิถีแห่งกุศลเสียเป็นส่วนส่วนมากเช่นคนที่คิดหรือ
ปรารถนาจะให้ทานด้วยศรัทธาที่แรงกล้าถ้าเขาได้ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแม้จะมีค่ามาก
ปานใด เขาก็จะคิดถึงการให้ทานเป็นลำดับแรกลืมแม้กระทั้งเก็บไว้ใช้สำหรับตนเอง
นี้เป็นลักษณะการทำสังวรบริสุทธิ์หมดจด โดยวิการจำกัดหรือกำหนด หรือที่
เรียกเป็นภาษาบาลีว่า นิยมิตะ

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 25 ก.ค. 2021, 03:53 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ก่อนที่จะเจริญวิปัสสนา

เปลี่ยนอกุศลให้เป็นกุศล

ในกรณีที่อกุศลจิตบังเกิดขึ้นให้พยายามเปลี่ยนอกุศลจิตนั้นเป็นกุศล สมมติว่า
เห็นสตรีเพศแล้วเกิดราคะ ก็ควรทำใจอย่างนี้ คือสตรีที่มีวัยรุ่นเดียวกัน มารดาก็คิดว่า
เป็นมารดาของเรา ถ้าสตรีที่มีวัยเดียวกับพี่สาวหรือน้องสาว ก็ให้คิดว่าเป็นพี่สาว
น้องสาวแท้ๆ ของเรา แล้วก็พยายามนึกถึงทุกข์ของเธอ แล้วทำให้เกิดความกรุณา
เมตตาสงสาร ปรารถนาดีตัวเธอ อีกนัยหนึ่ง ให้เจริญอสุภะสัญญา คือ พยายาม
สร้างภาพในใจ ให้มองเห็นสิ่งที่เป็นปฏิกูลที่มีอยู่ในตัวเธอ เช่น ขี้หู ขี้ตา น้ำมูก น้ำลาย
อุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น


อีกนัยหนึ่งพยายามเปลี่ยนอารมณ์ คือ ไม่ต้องไปสนใจในตัวเธอที่เป็นสตรีนั้นเลย
ให้หันมาคิดถึงพระปริยัติที่เคยเล่าเรียนมา โดยกระทำการถาม การสอน
การสาธยายเป็นต้น เพื่อให้อารม์ที่ไม่ดีเปลี่ยนไป นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนจิต
หรือเปลี่ยนอารมณ์ ด้วยการพิจารณา ที่เรียกว่า ปฏิสังขารนัย เช่น พิจารณาโดยมูลปริญญา
ที่มีปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาของสติปัฏฐานสูตร พิจารณาโดยความเป็นสิ่งของที่ผ่านหูผ่านตา
มาเยือนชั่วคราว พิจารณาโดยความเป็นตาวกาลิกวัตถุ คือเป็นสิ่งชั่วครู่ชั่วยาม หรือโดยให้เป็น
ขันธ์ อายตนะ ธาตุ นี้เป็นลักษณะการทำให้สังวรบริสุทธิหมดจด โดยวิธีการปริณามิตะกล่าวคือ
การเปลียนอารมณ์หรือเปลี่ยนจิต

สืบต่อกุศลจิตให้คงอยู่สืบต่อเนื่อง

ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นว่า การเปลี่ยนอกุศลจิตไปเป็นกุศลจิตนั้น มีอยู่หลายวิธี
แต่ทั้งนี้ควรทำให้จิตอยู่ในกรอบแห่งกุศลอยู่ตลอดเวลา อย่าปล่อยให้อกุศลจิตได้มี
โอกาสเกิดขึ้น ซึ่งถ้าหากนักปฏิบัติสามารถกระทำได้เช่นนี้ ก็จะทำให้ทวารทั้ง ๖ กลายเป็น
ที่เข้าที่ออกของกุศลธรรมเพียงอย่างเดียว นี้เป็นลักษณะการทำให้สังวรบริสุทธิหมดจด
โดยวิธีการสมุทาจาระกล่าวคือ การรักษาอารมณ์มิให้ขาด

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 25 ก.ค. 2021, 04:20 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ก่อนที่จะเจริญวิปัสสนา

เจริญโยนิโสมนสิการ

(มองโลกในแง่ดี)

ทุกครั้งที่เผชิญกับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง จะต้องโยนิโสมนสิการ หมายความว่า
จะต้องคิดไปในทางที่ดีที่ถูกต้องด้วยเหตุผล เพื่อกุศลจิตจะได้บังเกิดขึ้น
ตัวอย่างเช่น คนที่ไม่เคยกระทำผิดอะไรๆ มาก่อน แต่ถูกสังคมประณามหรือติเตียน
ผู้นั้นจะต้องโยนิโสมนสิการ(หรือมองโลกในแง่ดี)หรือมองหาต้นเหตุว่า ที่คนอิ่นเขา
ติเตียนเรานั้นเพราะเขาไม่รู้ข้อเท็จจริง แล้วสักแต่ว่าพูดไปตามที่เขานึกคิด ซึ่งก็เป็น
ธรรมดาของคนที่มีปากที่ไม่ได้รับการอบรมฝึกฝนสำรวม แต่ถ้าเขาเหล่านั้นล่วงรู้
ความจริงว่าอะไรคืออะไรแล้ว พวกเขาก็คงจะต้องเสียใจที่ได้ประณามคนอื่นผิดๆ
ส่วนสาเหตุที่ตัวเราเองทั้งๆที่ในชาตินี้ไม่ได้กระทำผิด แต่กลับถูกประณามนั้น จะต้อง
มาจากการที่เราเคยประณามผู้อิ่นที่ไม่มีความผิดไว้ในชาติก่อนๆ เป็นแน่ ด้วยเศษกรรม
ที่ได้กระทำไว้ในวัฏฏะจึงต้องเป็นเช่นนี้ ก็การมองโลกในแง่ที่ดี ด้วยเหตุผลอย่างนี้
ท่านเรียกว่า การเจริญโยนิโสมนสิการ

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 25 ก.ค. 2021, 04:45 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ก่อนที่จะเจริญวิปัสสนา

อีกนัยหนึ่ง

ควรโยนิโสมนสิการ อย่างนี้ว่า ชื่อว่าคนที่ประณามหรือติเตียนผู้อื่น แท้จริงแล้ว
ก็เป็นเพียงโทสจิตตุปบาทและจิตตขรูปเท่านั้น คือ เป็นเพียงรูปนามขันธ์ ๕ เท่านั้น
ไม่มีตัวบุคคล ตัวตน เราเขาใดๆ ก็รูปนามขันธ์ ๕ นี้ โดยธรรมชาติแล้ว เป็นสิ่งที่เกิดดับ
อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น รูปนามที่เป็นผู้ประณามในตอนนั้นจึงดับไปหมดแล้ว เหลือแต่รูปนาม
ใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นและกำลังดับอยู่ จึงไม่ควรที่จะโต้ตอบ เพราะถ้าโต้ตอบก็จะทำให้
โต้ตอบผิดด้วยว่า ผู้ประณามก็ดับไม่แล้ว ส่วนที่เกิดมาใหม่ ก็ไม่ใช่รูปนามเดิม ดังนั้น จึงมิใช่
ผู้ที่เคยด่าประณามเรา ซึ่งเราไปโต้ตอบเราก็ผิดเช่นเดียวกัน ก็ในเมื่อรูปนามมันดับไปแล้ว
หากเราโกรธก็เท่ากับเราโกรธผิดคน อุปมาเหมือนคนที่มีความแค้นต่อพ่อแม่ของผู้อื่น
เมื่อพ่อแม่ของคนเหล่านั้นตายไปแล้ว เขาก็ยังมีความแค้นต่อลูกหลาน โหลน ของผู้ตายอีก
จนกระทั่งล้างแค้นจนสำเร็จฉันนั้น

การที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น เพราะการมนสิการนั้น มีขอบเขตกว้างมาก
จึงมิอาจที่จะนำมาแสดงหรือกล่าวได้ทั้งหมด อนึ่งการใช้ปัญญาพิจารณาอย่างสมเหตุสมผล
เมื่อยังกุศลธรรมให้บังเกิดขึ้น ล้วนเป็นโยนิโสมนสิการทั้งสิ้น "การทำใจในแง่ดี" ไว้เพียงแค่นี้

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 25 ก.ค. 2021, 05:42 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ก่อนที่จะเจริญวิปัสสนา

ขอให้นักปฏิบัติ

ขอให้นักปฏิบัติพยายามชำระ อินทรีย์สังวรศีล ของตนให้หมดจดโดยการยัง
อกุศลจิตอย่างเดียวให้ดำเนินไปทางทวาร ๖ ด้วยวิธีการนิยตะการกำจัดหรือ
กำหนดขอบเขตของจิต และด้วยวิธีอื่นๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ถ้าผู้ใดมีปกติปฏิบัติ
ตามที่กล่าวมาแล้ว เขาก็จะมีสติพิเศษ ซึ่งสตินี้แหละ ท่านเรีกว่า"สติสังวร" ถ้าว่า
บางครั้งมีอกุศลจิตเข้ามาแทรก ก็ขอให้รีบกำหนดโดยทันทีที่สติระลึกได้ แล้ว
อธิษฐานจิตว่า ว่าเราจะไม่คิดเช่นนั้นอีกแล่ว การอธิษฐานจิตเช่นนี้ก็เป็นการชำระ
อินทรีย์สังวรศีลได้ โดยการเปรียบเหมือนการออกจากอาบัติ หรือการพ้นโทษจากวินัยพระ
ด้วยวิธีการแสดงอาบัติ(อันเป็นวิธีการปฏิญาณตนและอธิษฐานตั้งใจต่อหน้าผู้อื่น
ว่าจะไม่ทำเช่นนี้อีก) โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ปฏิบัติเช่นนี้ ถ้าประสบกับอนิฏฐารมณ์
(อารมณ์ที่ไม่ชอบใจ) ก็สามารถที่จะอดกลั้นหรือวางเฉยต่ออารมณ์นั้นได้ การอดกลั้น
เช่นนี้ ท่านเรียกว่า "ขันติสังวร" ส่วนความเพียรพยายามเพื่อให้อกุศลวิตก เช่น กามวิตก
เหล่านั้นที่ได้เกิดขึ้นแล้วในสันดานของตน ท่านเรียกว่า "วิริยสังวร"

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 25 ก.ค. 2021, 07:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ก่อนที่จะเจริญวิปัสสนา

อย่าคิดว่าง่าย

นัยทั้งหมดที่ได้แสดงมาแล้ว ล้วนเป็นแนวทางที่ดี ดูผิวเผินจะนึกว่าง่าย แต่ถ้าลอง
ปฏิบัติดูแล้ว จะเห็นว่าไม่ง่ายอย่างที่คิด ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าธรรมดาจิตที่ขาดการ
เจริญภาวนา เป็นจิตที่มีสภาพหยาบกระด้าง ดื้อรั้น และมักละเมิดเข้าไปหาอารมณ์
ที่ต้องห้ามบ่อยๆ ไม่ค่อยอยู่ในอำนาจคำสั่ง

มีบางตนคิดว่าการเจริญภาวนาให้สมบูรณ์ได้นั้น จะต้องมีศีล ๔ ประเภทบริสุทธฺ์ และคิดว่า
แม้ผู้ที่มิได้เจริญภาวนาก็สามารถทำ อินทรีย์สังวร บริสุทธิ์ได้ จริงๆ แล้วความคิดแบบนี้
ไม่ตรงกับอรรถกถา ฎีกา ที่ท่านกำชับนักหนาว่า ให้ดำรงจิตมั่น ในอารมณ์สักแต่ว่าเห็นหรือ
ได้ยิน อย่าปล่อยให้กิเลสเกิดขึ้นเพราะอารมณ์เหล่านั้น นี้เป็นการสั่งกำชับไว้

ทุกครั้งที่วิญญาณรับอารมณ์บุคคลที่ไม่ได้เจริญภาวนา จะไม่สำรวมระวังเพื่อมิให้อกุศล
หรือกิเลสเกิดขึ้นได้เลย ทั้งนี้เพราะว่าแม้พลววิปัสสกบุคคล(ผู้สำเร็จวิปัสสนาชั้นสูง)เองก็ตาม
ก็ไม่สามารถที่จะสำรวมได้ในทุกขณะจิต ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า กิเลสที่บุคคลควรละด้วย
อินทรีย์สังวรนั้นไม่ใช่กิเลสประเภท"วีติกกมะ"กิเลสที่กิเลสที่ละเมิดทางกายทางวาจา แต่เป็น
กิเลสประเภทปริยุฏฐาน ฟุ้งขึ้นทางใจ และอนุสัย มีอยู่ส่วนลึกของจิตใจเท่านั้น และตัว อินทรีย์
สังวรเองก็เป็นศีลโดยทางอ้อม ต่างกับปาติโมกข์สังวรศีลที่เป็นศีลโดยตรง ส่วนองค์ธรรมของ
สังวรนี้ ได้แก่ สติ ญาณ ขันติ และวิริยะ ซึ่งจัดเข้าในสมาธิ(จิตตสิกขา) และปัญญาสิกขาเท่านั้น
ดังนั้น อินทรีย์สังวรนี้จึงนับเข้าภาวนา ดังจะเห็นได้ในพระบาลีจูฬนิทเทสและอรรถกถาของบาลี
สุตตนิบาต ได้อธิบาย องค์ธรรมของคำว่า ญาณ สังวร ด้วยมรรคญาณ สรุป การที่จะสำรวมอินทรีย์
สังวรให้บริบูรณ์ได้นั้น จะต้องอยู่ในการเจริญภาวนา

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 25 ก.ค. 2021, 10:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ก่อนที่จะเจริญวิปัสสนา

จิตที่ถูกฝึกด้วยภาวนามาดีแล้ว ย่อมเป็นสภาวะที่ละเอียดอ่อนสุภาพว่าง่าย
และอยู่ในความควบคุมยิ่งถ้าภาวนาแก่กล้ามากเท่าใด อินทรีย์สังวรก็ยิ่งจะหมดจด
ขึ้นไปเรื่อยๆและถ้าภาวนาถึงความบริบูรณ์เมื่อใดอินทรีย์สังวรก็ยิ่งจะถึงความบริบูรณ์
ด้วยเช่นกัน ข้อนี้พึงดูเรื่องพระมหาติสสเถรในวิสุทธมรรคเป็นตัวอย่าง ก็พระมหาเถระ
รูปนี้ เป็นผู้เจริญอสุภภาวนา(อสุภกัมมัฏฐาน)โดยสม่ำเสมอ วันหนึ่งท่านได้เห็นสตรี
ผู้หนึ่งเกิดอารมณ์หัวเราะเสียงดัง พอท่านเห็นฟันของสตรีผู้นั้นท่านก็ได้เจริญ
อสุภสัญญากัมมัฎฐานจนได้ปฐมฌาน เเล้วเจริญวิปัสสนากระทั้งบรรลุอรหันตผล
ดังที่ท่านบันทึกไว้เป็นร้อยกรองในวิสุทธิมรรค ดังนี้

https://www.google.com/url?sa=t&source= ... 7201613212
โค้ด:
ตสฺสา ทนฺตฏฺฐิกํ ทิสฺวา ปุพฺพสญฺญํ อนัสฺสรี
ตตฺเถว โส ฐิโต เถโร  อรหตฺตํ อปาปุณิ.

(วิสุทฺธิ ๑/๒๐)

คำว่า "ปุพฺพสญฺญํ อนุสฺสรี" ในคาถาข้างต้นนี้ แสดงว่าพระเถระเป็นผู้ที่เคย
เจริญอสุภกัมมัฏฐานที่เกี่ยวกับการพิจารณากระดูกมาแล้วอย่างช่ำชอง ด้วนเหตุนี้
ท่านจึงสามารถกำหนดได้อย่างรวดเร็วจนเป็นเหตุไปสู่การบรรลุ ในกรณีของ
นักปฏิบัติทั่วๆไปก็เช่นเดียวกัน หากเดินตามแนวกาากำหนดของพระเถระรูปนี้
ก็จะเป็นผู้ที่มีภาวนากัมมัฏฐานอยู่ติดตัวอยู่เสมอ เมื่อเห็นอารมณ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็นำ
ออกมาใช้ได้ทันต่อเหตุการณ์ ต่างกับบุคคลผู้ไม่เคยมีภาวนาประจำซึ่งไม่อาจทำเช่นนั้นได้

เจ้าของ:  sssboun [ 25 ก.ค. 2021, 20:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ก่อนที่จะเจริญวิปัสสนา

ลุงหมาน เขียน:
ขอให้นักปฏิบัติ

ขอให้นักปฏิบัติพยายามชำระ อินทรีย์สังวรศีล ของตนให้หมดจดโดยการยัง
อกุศลจิตอย่างเดียวให้ดำเนินไปทางทวาร ๖ ด้วยวิธีการนิยตะการกำจัดหรือ
กำหนดขอบเขตของจิต และด้วยวิธีอื่นๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ถ้าผู้ใดมีปกติปฏิบัติ
ตามที่กล่าวมาแล้ว เขาก็จะมีสติพิเศษ ซึ่งสตินี้แหละ ท่านเรีกว่า"สติสังวร" ถ้าว่า
บางครั้งมีอกุศลจิตเข้ามาแทรก ก็ขอให้รีบกำหนดโดยทันทีที่สติระลึกได้ แล้ว
อธิษฐานจิตว่า ว่าเราจะไม่คิดเช่นนั้นอีกแล่ว การอธิษฐานจิตเช่นนี้ก็เป็นการชำระ
อินทรีย์สังวรศีลได้ โดยการเปรียบเหมือนการออกจากอาบัติ หรือการพ้นโทษจากวินัยพระ
ด้วยวิการแสดงอาบัติ(อันเป็นวิธีการปฏิญาณตนและอธิษฐานตั้งใจต่อหน้าผู้อื่น
ว่าจะไม่ทำเช่นนี้อีก) โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ปฏิบัติเช่นนี้ ถ้าประสบกับอนิฏฐารมณ์
(อารมณ์ที่ไม่ชอบใจ) ก็สามารถที่จะอดกลั้นหรือวางเฉยต่ออารมณ์นั้นได้ การอดกลั้น
เช่นนี้ ท่านเรียกว่า "ขันติสังวร" ส่วนความเพียรพยายามเพื่อให้อกุศลวิตก เช่น กามวิตก
เหล่านั้นที่ได้เกิดขึ้นแล้วในสันดานของตน ท่านเรียกว่า "วิริยสังวร"


อินทรีย์สังวรศีลได้ โดยการเปรียบเหมือนการออกจากอาบัติ หรือการพ้นโทษจากวินัยพระ
ด้วยวิการแสดงอาบัติ

:b8:

อนุโมทนา สาธุ ด้วยครับ ตรงนี้ตกหล่นไปหรือป่าวครับลุง

:b8:

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 25 ก.ค. 2021, 20:55 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ก่อนที่จะเจริญวิปัสสนา

อ้างคำพูด:
อินทรีย์สังวรศีลได้ โดยการเปรียบเหมือนการออกจากอาบัติ หรือการพ้นโทษจากวินัยพระ
ด้วยวิการแสดงอาบัติ


ขอบคุณครับสายตาแหลมมากๆ
ขอบคุณอีกครั้งที่เป็นแฟนคลับพันธ์ุแท้ติดตามอ่านใกล้ชิด
ได้แก้ไขเรียบร้อยแล้วครับ ต่อไปต้องระมัดระวังให้มากขึ้น
หายากมากสำหรับผู้ที่คอยชี้ข้อบกพร่องให้คนอื่น

ขอบคุณครับ

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 26 ก.ค. 2021, 05:08 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ก่อนที่จะเจริญวิปัสสนา

โค้ด:
จะต้องปฏิเสธกิเลสเพี่อคุ้มครองทวารทั้ง ๖

บุคคลผู้ไม่ภาวนาประจำไว้ในใจ แต่เป็นผู้เคยสร้างบารมีกรรมเก่ามาก่อน
แม้จะสามารถพิจารณาภาวนากัมมัฏฐานได้ด้วยอำนาจบารมีที่ตนได้สั่งสมมาก็ตาม
แต่การพิจารณาอสุภภาวนาของเขา ย่อมเป็นไปได้แค่เพียงภาวนาสามัญแต่ไม่
อาจกล่าวว่าเป็นผู้ยังอินทรีย์สังวรให้หมดจดอย่างสมบูรณ์ได้

คำกล่าวของพระอรรถกถาจารย์และพระฎีกาจารย์ ที่กำชับไว้อย่างหนักแน่นว่า
ขั้นต้นจะต้องปฏิเสธกิลสมิให้เกิดขึ้นในทวารทั้ง ๖ ตามที่ได้กล่าวไว้มาแล้วนั้น
จึงเป็นคำที่มุ่งมั่นให้บุคคลคุ้มครองทวารด้วยการภาวนานั่นเอง

ดังนั้นก่อนที่จะเจริญภาวนา ถ้าต้องการชำระอินทรีย์สังวรให้หมดจดก็ควร
ปฏิบัติตามนัยที่กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยทำตามเท่าที่จะสามารถทำได้
แต่ถ้าจะให้บริบูรณ์จริงๆ ก็จะต้องลงมือปฏิบัติภาวนาอย่างเคร่งครัด ในขณะเดียวกัน
ก็ไม่ควรเสียเวลาคิดกับสิ่งที่ไม่เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เช่น คิดว่า ถ้าหากยังทำ
อินทรีย์สังวรให้หมดจดได้ไม่เต็มที่แล้วไซร้ จะสามารถเจริญวิปัสสนาได้หรือไม่ ดังนี้
เป็นต้น ขอให้ทราบทราบไว้ด้วยว่าสังวรทั้งหมดจะถึงความบริบูรณ์ไปเองในขณะ
ที่เจริญภาวนาอยู่

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 26 ก.ค. 2021, 05:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ก่อนที่จะเจริญวิปัสสนา

โค้ด:
ข้อควรจำเกี่ยวกับพระภิกษุ

ข้อควรจำเกี่ยวกับสังวรศีลของภิกษุ
ในเบื้องต้น ผู้เป็นภิกษุควรจะต้องชำระปาติโมกขสังวรศีล และอาชีวปาริสุทธิศีล
ให้หมดจดก่อน ที่กล่าวเช่นนี้เพราะว่าศีล ๒ อย่างนี้ไม่บริสุทธิ์ก็จะเป็นอาณาวีติกกมันตราย
ต่อพระภิกษุรูปนั้น คือจะเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุฌาน มรรค ผล แก่เธอโดยเฉพาะปาติโมกข
สังวรศีลแล้วนับว่าสำคัญมาก เพราะเป็นรากฐานของอาชีวปาริสุทธิศีล ซึ่งปาติโมกขสังวรศีล
หมดจด อชีวปาริสุทธิศีลก็เป็นอันว่าหมดจดไปด้วย ส่วนอาชีวปาริสุทธิเองก็ถือว่าเป็น
ปัจจัยสำคัญต่อปาติโมกขสังวรศีลเช่นดียวกัน หมายความว่าภิกษุเลิ้ยงชีพโดยทุจริต
ก็จะทำให้ปาติโมกสังวรศีลด่างพร้อยถึงขั้นขาด ดังนั้น ถ้าต้องการจะต้องรักษาปาติฏิโมกข
สังวรศีลให้หมดจด ก็จะต้องละเว้นจากทุจริตมิจฉาชีพโดยประการทั้งปวง

ส่วนศีลอีกสองอย่างคืออินทรียสังวรศีลและปัจจยสันสิตศีลนั้น ถ้ามีความพร้อมก็ควร
ชำระให้หมดจด ก่อนที่จะปฏิบัติเช่นกัน เพราะถ้าศีลทั้งสองนี้บริสุทธิ์หมดจด ก็จะทำให้
ผู้ปฏิบัติไม่เกิดวิปฏิสารกล่าวคือความกระวนกระวายใจ แต่ในขณะเดียวกันถ้าศีลทั้งสอง
ไม่บริสุทธิ์ก็ไม่ถึงกับการเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติแต่อย่างใด ดังนั้นผู้ปฏิบัติไม่ควร
จะต้องคิดมาก ขอให้แต่ปาติโมกขสังวรศีลและอาชีวปารสุทธิศีลบริสุทธิก็เป็นอันเริ่มปฏิบัติ
ได้ซึ่งถ้าปฏิบัติภาวนาโดยตรงต่อเนื่องอย่างจริงจังแล้ว ความบริสุทธิ์แห่งศีลทั้งสี่ประการ
ก็จะถึงความบริสุทธิ์หมดจดโดยอัตโนมัติ
โค้ด:
อาณาวีติกกมันตรายจะนำไปตั้งหัวข้อใหม่
คือ อ้นตราย ๕ อย่าง

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 27 ก.ค. 2021, 05:39 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ก่อนที่จะเจริญวิปัสสนา

ศีลวิสุทธิสำหรับคฤหัสถ์

ศีลวิสุทธิสำหรับคฤหัสถ์ไม่กว้างขวางเหมือนกับพระภิกษุ ผู้เป็นคฤหัสถ์
สามารถรักษาศีลวิสุทธิให้บริบูรณ์ได้โดยการรักษาเบญจศีล(ศีล ๕) หรือ
อาชีวัฏฐมกศีล(ศีล ๘)สำหรับศีลทั้งสองนี้ แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันบ้างใน
บางสิกขาบท แต่ความเป็นศีลวิสุทธินั้นไม่แตกตางกันเลย ที่เป็นเช่นนี้เพราะด้วย
อำนาจของการรักษาซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน ดังต่อไปนี้

ผู้ที่จะรักษาศีล ๕ ให้บริบูรณ์อย่างแท้จริงนั้น มิใช่จะรักษาเฉพาะแค่เพียง
สิกขาบท ๕ ข้อเท่านั้นที่มีปรากฏโดยตรง แต่จะต้องรักษาศีลที่มีรักษณะเหมือนกัน
เช่น เหมือนกันโดยความเป็นวจีกรรม เป็นต้น อย่างมุสาวาสสิกขาบทอันเป็นสิกขาบท
ที่ว่าด้วยการกล่าวเท็จ ซึ่งเป็นข้อห้ามโดยตรงในสิกขาบท แต่ในเวลาปฏิบัติสิกขาบท
นี้จริงๆ มิใช่จะเว้นเฉพาะมุสาวาท(กล่าวเท็จ)อย่างเดียว แต่จะตองรักษาวจีกรรม
เหล่านี้ด้วย คือ ปิสุณวาจา "การพูดส่อเสียด" ผรุสวาจา "การพูดคำหยาบ"และ
สัมผัปปลาปะ"พูดไร้สาระ" ดังนั้น จึงเท่ากับเป็นผู้รักษากายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ โดย
บริบูรณ์ ก็ผู้งดเว้นจากทุจริตธรรม ดังกล่าว ย่อมเป็นผู้ไม่กอบมิจฉาชีพ ด้วยเหตุนี้
เบญจศีลหรือศีล ๕ จึงมีค่าเท่ากันกับอาชีวัฏฐมกศีล หรือศีล ๘

แม้ว่าผู้รักษาอาชีวัฏฐมกศีลได้ครบ ก็ชื่อว่าเป็นผู้รักษาศีลข้อที่ว่าด้วยการงดเว้นสุราปานะ
(ดื่มสุรา)ด้วย ในฐานะที่สุราปานะ"การดื่มสุรา"เป็นการละเมิดในกามคุณอย่างหนึ่ง จึงจัด
เข้าในกาเมสุมิจฉาจาร เมื่อเป็นเช่นนี้ อาชีวัฏฐมกศีลจึงไม่ต่างกันกับศีล ๕ ทั่วไป ฉะนั้น
การรักษาศีลทั้งสองประเภทนั้น หากได้รักษาประเภทใดประเภทหนึ่งแล้ว ศีลอีกประเภท
หนึ่งที่เหลือก็เป็นอันรักษาไปด้วยโดยปริยาย

การงดเว้นจากกายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ ที่มิได้เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงชีพ ท่านกล่าวว่าเป็น
ปาติโมกขสังวรศีล แต่ถ้ามีความเกี่ยวข้องกับการเลิ้ยงชีพ ก็จะเป็นอาชีวปาริสุทธิศีล

ในเรื่องของอาชีวะ "อาชีพการเลี้ยงอัตภาพ" ตามที่กล่าวมาข้างต้นนี้ พึงทราบความแตกต่าง
ศีลของบุคคลทั่วไปกับศีลของพระภิกษุดังนี้ คือผู้เป็นภิกษุ ถ้าทำการเลี้ยงชีพผิดก็จะต้องอาบัติ
และความสุจริตทางอาชีพพร้อมกันได้ในขณะใดขณะหนึ่ง คือ ขณะที่ลงมือทำหรือขณะที่ใช้สอย
ปัจจัยอันได้มาจากการกระทำนั้น

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 27 ก.ค. 2021, 10:42 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ก่อนที่จะเจริญวิปัสสนา

แต่สำหรับของบุคคลทั่วไป ถ้าหากการล่วงละเมิดอาชีพสุจริต อาชีวปาริสุทธิศีล
ก็จะขาดเฉพาะที่ล่วงละเมิดด้วยกายกรรมและวจีกรรมเท่านั้นส่วนในขณะ
ที่ใช้สอยปัจจัยที่ได้มาด้วยการทุจริตนั้นอาชีวปาริสุทธิศีลไม่ขาด เพราะในขณะนั้น
ไม่มีการล่วงละเมิดปรากฏ ดังนั้น ในกรณีของบุคคลทั่วไปนี้ ถ้าล่วงละเมิดแล้ว
จึงไม่จำเป็นสละสิ่งของที่ได้มาเหมือนกับที่ภิกษุกระทำและหากในครั้งต่อไป
ไม่มีการล่วงละเมิดอีก อชีวปาริสุทธิศีลก็กลับบริสุทธิ์เหมือนเดิม

ตามที่กล่าวมานี้จะเห็นว่าอินทรีย์สังวรเป็นสิ่งปฏิบัติยาก แม้แต่ผู้ที่เป็นพระภิกษุ
ก็ยังยากที่จะปฏิบัติให้อินทรีย์สังวรบริบูรณ์ก่อนเจริญวิปัสสนาได้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงบุคคลสามัญทั่วไป

ปัจจยนิสสิตศีลแม้จะไม่เกี่ยวกับคฤหัสถ์โดยตรง แต่เนื่องจากเทศนานี้เป็นพระสูตร
จึงกล่าวได้ว่าแม้จะมิใช่พระภิกษุแต่ถ้าบริโภคใช้สอยปัจจัยโดยเด็ดขาด
การพิจารณา ก็ย่อมทำให้อกุศลจิตหนาแน่นขึ้นได้เช่นกัน

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 27 ก.ค. 2021, 14:09 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ก่อนที่จะเจริญวิปัสสนา

ในขณะที่กำลังเจริญวิปัสสนาอยู่ ศีลทั้ง ๕ ประเภทจะบริสุทธิ์ทุกอย่าง
ด้วยอำนาจของภาวนาจิต ซึ่งในกรณีนี้มีบางท่านคิดว่า ก่อนที่เราจะลงมือปฏิบัติ
เราจะต้องรักษาศีลให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง นานเป็นวันๆ เป็นเดือนๆ หรือเป็นปีๆก่อน
จึงจะปฏิบัติได้ผล แต่ว่าในพระไตรปิฎก อรรถกาและฎีกา ไม่ปรากฎว่ามีการ
กำหนดระยะเวลาในการรักษาศีลก่อนที่จะลงมือปฏิบัติไว้เลย ดังนั้น ความคิดของ
บุคคลนั้นจึงถือเป็นประมาณไม่ได้ จริงอยู่ ผู้ที่จะเข้าปฏิบัตินั้น หากเป็นพระภิกษุ
ผู้ต้องอาบัติก็จะต้องแก้ไขอาบัตินั้นให้บริสุทธิ์เหมือนเดิมก่อนถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว
อาบัตินั้น จะเป็นอาณาวีติกกมันตราย คือ เป็นอุปสรรคขัดขวางมิให้ภิกษุบรรลุธรรม
ฌาน มรรค ผล ดังนั้น จึงจำเป็นต้องจำเป็นจะต้องแก้ไขก่อนเข้าปฏิบัติได้ทันที
เพราะถ้าบารมีพร้อม ก็สามารถบรรลสมาธิ วิปัสสนา มรรค ผล ได้ทันที

ศีล ๕ เป็นศีลที่สำคัญมากสำหรับคฤหัสถ์ ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นคนที่นับถือ
พุทธศาสนา หรือศาสนาอื่นก็ตาม เขาก็จะไม่บกพร่องการรักษาศีล ๕ ดังนั้น
พึงทราบว่าหากศีล ๕ ของผู้ใดขาดผู้นั้นก็ต้องมีโทษทันที ด้วยว่าโทษหรือคุณ
ของศีล ๕ นั้นมีอยู่โดยธรรมชาติ มิใช่เป็นโทษหรือคุณที่เกิดขึ้นเพราะ
พระพุทธองค์ตรัสหรือบัญญัติไว้ ดังนั้น จึงจัดเป็นอาณาวีติกกมันตราย ขอเพียงแต่
อย่าได้ล่วงละเมิดต่ออานันตริยกรรม ๕ ภิกขุนีทูสกรรมและอริยูปวาทกรรม คฤหัสถ์
ก็สามารถลงมือปฏิบัติได้ ถ้าบารมีบริบูรณ์เมื่อไหร่ก็มีสิทธิ์บรรลุได้ทันที แต่ถ้า
ล่วงละเมิดกรรมดังกล่าวแล้ว ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะบรรลุ
ธรรมขั้นสูงได้อย่างแน่นอน

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/