วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 12:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2021, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_oykxhhGzqn1wtg8hyo1_500.png
tumblr_oykxhhGzqn1wtg8hyo1_500.png [ 217 KiB | เปิดดู 1030 ครั้ง ]
การรู้สติสัมโพชฌงค์

เมื่อปฏิบัติจนแก่กล้า การกำหนดก็บริสุทธิ์เริ่มต้นตั้งแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นไป
แล้วนั้น สติที่ปรากฏย่อมมีความคมชัดและแก่กล้า ราวกะว่าตามติดในอารมณ์
ที่กำหนดทุกครั้งเลยทีเดียว รูปนามที่เกิดดับในขณะนั้น เป็นราวกะเข้า
มาสู่จิตที่กำลังกำหนดโดยอัตโนมัติเลยที่เดียวทันทีที่กำหนดอารมณ์หนึ่งๆไปแล้ว
อารมณ์อื่นๆก็เตรียมพร้อมที่จะปรากฏขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราวกะว่าจับจิตที่
กำหนดนั้นเข้าไปฝังอยู่ภายในอารมณ์นั้น และราวกะว่า เป็นการเอาอารมณ์ที่พึง
กำหนดรู้นั้นมาฝังเข้าไปภายในจิตที่กำหนดนั้นก็มิปาน ดังนั้นพระอัฏฐกถาจารย์
จึงได้กล่าวไว้ในคัมภีร์อัฏฐกถาว่า"สติดังกล่าวนั้นมีลักษณะเป็น
โค้ด:
อปิลาปนลักษณะ"

หมายถึง มีหน้าที่สัมปยุตธรรมทั้งหลายไม่ให้ล่องลอยออกไปจากอารมณ์ หรือ
เคลื่อนย้ายไปจากอารมณ์ และมีหน้าที่ทำให้อารมณ์นั้นไม่หลุดออกจากจิตที่
กำหนดด้วย ก็สติที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบคมนั้นได้ชื่อว่าเป็นสติสัมโพชฌงค์ ในฐานะที่
เป็นธรรมที่ก่อให้เกิดมรรคญาณ

https://www.google.com/url?sa=t&source= ... 8077896957

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2021, 05:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




caption.jpg
caption.jpg [ 102.97 KiB | เปิดดู 983 ครั้ง ]
การรู้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ทุกครั้งที่มีการกำหนดนั้น โยคีอาจรู้สภาวะที่เป็นจริงของรูปนามอย่างใด
อย่างหนึ่งที่ปรากฏเป็นพิเศษซึ่งเป็นรูปนามที่นับเนื่องเข้าในอารมณ์ที่ตนกำหนด
อยู่นั้นได้ และอาจกำหนดรู้แม้กระทั่งจุดเริ่มต้นของการเกิดแห่งรูปนามเหล่านั้น
ราวกะว่าอารมณ์นั้นกำลังโผล่ศีรษะเข้าไปภายในจิตที่กำหนดฉันนั้น และอาจ
กำหนดรู้แม้กระทั่งการดับหรือการหายไปของรูปนามเหล่านั้นในทันทีได้ด้วย
และอาจรู้ลักษณะที่เป็นไตรลักษณ์อย่างแจ่มแจ้ง คือรู้อาการที่ไม่เที่ยงเรียกว่า
"อนิจจลักษณะ" อาการที่ไม่ดี เป็นทุกข์ ไม่น่าพอใจ ซึ่งเรียกว่า "ทุกขลักษณะ"
อาการที่ไม่เป็นไปตามความปรารถนาของตน ไม่อยู่ในการบังคับบัญชา ไม่ใช่เรา
ไม่ใช่เขา ซึ่งเรียกว่า"อนัตตลักษณ"ได้อย่างแจ่มแจ้งทีเดียว ก็แลญาณที่รู้นี้
ท่านเรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

https://www.google.com/url?sa=t&source= ... 8116665893
https://www.google.com/url?sa=t&source= ... 8117708571

อีกประการหนึ่ง ธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เกิดขึ้น
๑. การสอบถาม
๒. การทำร่างกายและเครื่องใช้ให้สะอาด
๓. การปรับอินทรีย์ ๕ ให้สู่ความสมดุลยกัน
๔. การหลีกเว้นคนมีปัญญาทราม
๕. การสมาคมกับคนมีปัญญาดี
๖. การพิจารณาธรรมที่ต้องสอดส่องด้วยญาณอันลึกซึ้ง และ
๗. การน้อมจิตไปในธัมมวิจยะนั้น

โค้ด:
อาหารปัจจัยของธัมมวิจยะ


ข้อนี้ สมดังที่พระผู้มีพระภาคทรงเทศนาไว้ว่า :-
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลมีอยู่ ธรรมทั้งหลาย
ที่มีโทษและที่หาโทษมิได้มีอยู่ ธรรมทั้งหลายชั้นทรามและชั้นปราณีตมีอยู่ ธรรม
ทั้งหลายที่ส่วนเปรียบด้วยของดำและมีส่วนที่เปรียบเทียบของขาวมีอยู่ การหมั่น
มนสิการโดยชอบในกุศลธรรมเป็นต้นเหล่านั้น นี้นับเป็นอาหารปัจจัยที่ย่อมเป็นไป
เพื่อทำให้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือย่อมเป็นไปเพื่อความภิญโญยิ่ง
เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มที่
เกิดขึ้นแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2021, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




storm-ocean-nature-fog-wallpaper-preview.jpg
storm-ocean-nature-fog-wallpaper-preview.jpg [ 96.75 KiB | เปิดดู 933 ครั้ง ]
การรู้วิริยสัมโพชฌงค์
ทุกขณะของการกำหนดนั้นความพยายามอย่างคงเส้นคงวาไม่ยิ่งไม่หย่อน
จนเกินไปย่อมปรากฏเกิดขึ้น ในบางครั้ง โยคีอาจทำความเพียรดึงเกินไปใน
อิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งจึงทำให้เกิดภาวะความเครียดลุกลี้ลุกลยในภายหลังได้
ในช่วงเวลาเช่นนั้นอาจทำให้เกิดสภาวะฟุ้งซ่านจนทำให้จิตที่กำหนดนั้นไม่
ปรากฏเท่าที่ควร แต่ในบางครั้ง หากเริ่มต้นโดการทำความเพียรที่ย่อหย่อนแล้ว
อาจจะทำให้ภายหลังยิ่งเกิดภาวะย่อหย่อนลงไปได้อีก ในกรณีเช่นนี้ จะทำให้เกิด
ถีนมิทธะกล่าวคือความง่วงเหงาหาวนอนหรือความเชื่องซึมได้ จนอาจทำให้การ
การกำหนดสตินั้นเป็นไปอย่างเลือนลาง ไม่คมชัดเท่าที่ควร เพราะฉะนั้น โยคีพึง
กระทำความเพียรให้ถูกต้องตั้งแต่ต้น นั่นก็คือไม่ควรให้ตึงจนเกินไปและไม่ให้
หย่อนจนเกินไป หากตึงเกินก็ปรับอยู่ในระดับปานกลาง หากหย่อนก็ควรปรับ
ให้สม่ำเสมอ เมื่อโยคีสามารถปรับระดับความเพียรของตนให้สม่ำเสมอคงเส้น
คงวาเช่นนี้แล้วก็จะไม่เกิดลุกลี้ลุกลนหรือดึงเครียดจนเกินไป ความฟุ้งซ่าน
ก็จะไม่เกิดขึ้นเนื่องจากยังมีพยาปาระกล่าวคือความขวนขวายเอาใขใส่ใน
อารมณ์อยู่ จึงทำให้ถีนมิทธะความง่วงเหงาหาวนอนไม่เกิด โยคีนั้นก็จะสามารถ
กำหนดได้ทุกๆครั้งที่อารมณ์นั้นปรากฏโดยไม่ให้เล็ดลอดไปแม้แต่อารมณ์เดียว
ก็การเพียรพยายามกำหนดได้อย่างต่อเนื่องเช่นนี้ เรียกว่า วืริยสัมโพชฌงค์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2021, 04:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




boat-1014711_1280.jpg
boat-1014711_1280.jpg [ 79.67 KiB | เปิดดู 933 ครั้ง ]
การรู้ปิติสัมโภชฌงค์และปัสสัทธิสัมโภชฌงค์

ความปราบปลื้มยินดีหรือความพึงพอใจแห่งจิตที่ทำการกำหนดอยู่ในแต่ละ
ครั้งนั้น เรียกว่า ปิติสัมโพชฌงค์ ความสงบร่มเย็นแห่งจิตโดยปราศจากพยาปาระ
กล่าวคือความขวนขวายหรือความตื่นตัวแห่งจิตนั้น เรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ทั้งปิติและปัสลัทธินี้ ย่อมเกิดขึ้นอย่างชัดเจนมากในเบื้องต้นแห่งการเกิด
อุทยัพพยญาณ อนึ่ง ในเวลาที่ปัสสัทธิเกิดนั้น จะทำให้โยคีรู้สึกมีความยินดี
อย่างหาที่สุดมิได้ทั้งนี้เพราะความสัมผัสกับความสงบสุขอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน
ดังที่พระธรรมเทศนาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้ว่า สพฺพรตี
ธมฺมรตี ชินาติ.
ความปราบปลื้มยินดีในธรรมสูงส่งกว่าความยินดีใดๆ

ความยินดีในสภาวะธรรมนั้ ย่อมเหนือกว่าความยินดีใดๆ โยคีสามารถสังเกต
เห็นได้ว่า ในทุกเวลานั้นดีอยู่เสมอ จิตดีอยู่ในทุกขณะนั่นเอง เพราะเนื่องจากว่ามี
สุขเวทนาอยู่ในทุกกิริยาอาการทั้งทางด้านกายและจิต ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การยืน
การนั่ง การนอน การคู้เข้า การเหยียดออก และการกำหนดรู้ ก็ล้วนแต่มสุขเวทนา
ปรากฏอยู่ จึงทำให้มีความรู้สึกดีในทุกเวลาทุกที่ทุกสถาน ด้วยอำนาจของปิตินั้น
จึงทำให้โยคีเป็นราวกะว่าได้นั่งอยู่บนเปลหรือชิงช้า รู้สึกซาบซ่าไปทั่ว และด้วย
อำนาจของปัสสัทธินั้น โยคีก็จะรู้สึกกับนั่งนิ่งอึ้งราวกับว่าไม่ได้ทำการ
กำหนดอะไรเลย เป็นความสงบ เป็นความเย็น แต่จะอย่างไรก็ตามในช่วงที่
เข้าถึงภังคญาณ เป็นต้นนั้น ทั้งปิติและปัสสัทธินี้ จะปรากฏชัดในบางครั้งบางคราว
เท่านั้น ไม่เหมือนกับตอนที่อยู่ในขั้นอุทยัพพญาณต้นๆ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม
เมื่อโนคี เข้าถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว ในบางครั้งอาจเกิดอาการแห่งปีติและ
ปัสสัทธิ นี้อยู่อย่างต่อเนื่องนานทีเดียว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2021, 04:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




54-1.jpg
54-1.jpg [ 132.06 KiB | เปิดดู 983 ครั้ง ]
กวรรู้สมาธิสัมโพชฌงค์

ทุกขณะของการกำหนดนั้นความตั้งมั่นโดยไม่ฟุ้งซ่านไปในอารมณฺต่างๆ
แต่การจดจ้องอยู่ในอารมณ์ที่ตนกำหนดนั้น เป็นเหมือนว่าจิตนั้นเข้าไป
ประชิดแนบอยู่กับอารมณ์นั้นอยู่ตลอดเวลา ก็จะเกิดขึ้นแก่โยคีนั้น ความตั้งมั่น
ดังกล่าวเกิดขึ้น แล้วจะกระทำให้โยคีสามารถกำหนดได้ตามความเป็นจริง ไม่ว่าจะ
เป็นสภาวะลักษณะของรูปนามที่ตนนำมากำหนดก็ดี และไตรลักษณ์มีอนิจจลักษณะ
เป็นต้นที่เห็นการเกิดขึ้นอย่างแก่กล้าและมีพลัง ท่านเรียกว่า ขณิกสมาธิ ซึ่งก็คือ
สมาธิสัมโพชฌงค์นั่นเอง

โค้ด:
อาหารปัจจัยของสมาธิ

อีกประการหนึ่ง ทรงเทศนาอาหารปัจจัยของสมาธิไว้ว่า :-
ภิกษุทั้งหลาย สมถนิมิต นิมิตคือความสงบ อัพยัคคนิมิต นิมิตคือ ความไม่
ฟุ้งซ่านมีอยู่ การหมั่นมนสิการโดยชอบในนิมิตทั้งสองนั้น นี้นับเป็นอาหารปัจจัยที่
ย่อมเป็นไปเพื่อทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือย่อมเป็นไปเพื่อความ
ภิญโญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งสมาธิสัมโพชฌงค์
ที่เกิดขึ้นแล้ว

ธรรม ๑๑ ประการย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ คือ
ความทำวัตถุให้สละสลวย ๑
ความปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน ๑
ความฉลาดในนิมิต ๑
ความยกจิตในสมัย ๑
ความข่มจิตในสมัย ๑
ความทำจิตให้ร่าเริงในสมัย ๑
ความเพ่งดูจิตอยู่เฉยๆ ในสมัย ๑
หลีกเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ ๑
คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ ๑
พิจารณาวิโมกข์ ๑
น้อมจิตไปในสมาธินั้น ๑.

บรรดาบทเหล่านั้น ความทำวัตถุให้สละสลวย และความปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2021, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




70.jpg
70.jpg [ 78.88 KiB | เปิดดู 984 ครั้ง ]
การรู้อุเบกขาสัมโพชฌงค์
สภาวะที่คอยปรับอินทรีย์ ให้สม่ำเสมอไม่ให้ย่อหย่อนและไม่ยิ่งจนเกินไปใน
ขณะที่กำหนดอยู่นั้น ก็จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน สภาวะที่ทำให้เกิดความสม่ำเสมอ
ไม่ให้โอนเอียงไปในด้านใดด้านหนึ่งท่านเรียกว่า ตัตตรมัชฌัตตตา นั่นคืออุเบกขา
สัมโพชฌงคื
นั่นเอง ก็อุเบกขานี้ ตนเองก็ยากที่จะเข้าใจ และยากที่จะอธิบาย
ให้คนอิ่นเข้าใจด้วย แต่ว่าผู้ที่เข้าถึงญาณทั้งหลายมีอุทยัพพยญาณเป็นต้นแล้ว
ย่อมสามารถรู้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดังกล่าวได้ง่าย เพราะสภาวะนั้นได้เกิดขึ้น
อย่างชัดเจนแล้วในขันธสันดานของตนนั่นเอง
โค้ด:
ธรรม ๕ ประการย่อมทำให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์เกิดขึ้น

๑. ความเป็นกลางๆ ในสัตวบัญญัติ
๒. ความเป็นกลางๆ ในสังขารทั้งหลาย
๓. การหลีกเว้นคนผู้มีความสาละวนในสัตว์และสังขาร
๔. การสมาคมกับคนเป็นกลางๆ ในสัตว์และสังขารทั้งหลาย และ
๕. การน้อมจิตไปในอุเบกขานั้น
โยคีบุคคลเมื่อยังธรรมเหล่านี้ให้เกิดขึ้นอยู่ ด้วยอาการทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่า
เจริญสัมโพชฌงค์ ๓ ประการมีปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นต้นให้เกิดขึ้น ฉะนี้
โค้ด:
อาหารปัจจัยของอุเบกขาสัมโพชฌงค์

และอีกประการหนึ่ง ทรงเทศนาไว้ว่า :-
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งของอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การหมั่น
มนสิการโดยชอบในธรรมเหล่านั้น นี้นับเป็นอาหารปัจจัยที่ย่อมเป็นไป เพื่อทำ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น หรือย่อมเป็นไปเพื่อความภิญโญยิ่ง
เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งอุเบกขาสัมโภชฌงค์
ที่เกิดขึ้นแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2022, 06:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1660911064929.jpg
1660911064929.jpg [ 53.73 KiB | เปิดดู 1030 ครั้ง ]
:b1: :b1: :b1:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร