ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
ถ้าเห็นอนิจจังก็เท่ากับเห็นทุกขังและอนัตตา http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=60726 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 01 ก.ย. 2021, 09:17 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | ถ้าเห็นอนิจจังก็เท่ากับเห็นทุกขังและอนัตตา | ||
อนิจจานุปัสสนานี้ เนื่องจากเป็นตอนที่ว่าด้วยการกำหนดอนิจจลักษณะจึงเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้ว ถ้านักปฏิบัติสามารถกำหนดจนเห็นอนิจจสัญญาแล้วความสำคัญผิดว่าเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ก็จะไม่ปรากฏ แต่ในกรณีของความสำคัญผิดว่า"เป็นสุขหรือตัวตนของเรา"นั้นล่ะ จะอธิบายอย่างไร กิเลสที่ยังยึดมั่น ถือมั่นว่าสุขหรือตัวตนของเรายังมีอยู่หรือไม่อย่างไร? วิสัชนาว่า กิเลสที่ยึดมั่นถือมั่นดังกล่าว ไม่สามารถ เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เนื่องจากว่านักปฏิบัติผู้ที่เห็นอนิจจลักษณะอย่างแท้จริงแล้วย่อมไม่เกิดความสำคัญ ผิดในสิ่งที่ตนเห็นว่าเที่ยงนั้นว่าเป็นสิ่งที่มีความสุขหรือตัวตนของเราไปอย่างแน่นอน แต่ที่จริงแล้ว เมิ่อท่านเหล่านั้นนำเอาธรรมที่ตนเห็นแจ้งในความไม่เที่ยงมาพิจารณาดูก็จะสามารถตัดสินใจได้อย่าง เด็ดขาดว่า เมื่อธรรมที่ไม่เที่ยงก็ย่อมทุกข์ทรมาน ไม่ใช่เป็นสิ่งที่พอใจแต่เป็นสิ่งที่ใครๆ ก็สามารถ บังคับควบคุมให้อยู่ในอำนาจได้ ดังนี้เป็นต้น การเห็นทุกข์และอนัตตาด้วยการพิจารณาอย่างนี้ ก็ถือได้ว่ารู้โดยประจักษ์แจ้งเช่นเดียวกัน ดังพระพุทธดำรัสในพระบาลีอังคคุตตรนิกายว่า โค้ด: อนิจฺจสญฺญา ภาเวตพฺพา อสฺสมิมานสมุคฺฆาตาย อยิจฺจสญฺญิโน ภิกฺขเว อนตฺตสญฺญา สญฺฐาติ อนตฺตสญฺญี อสฺมิมานสมุตฺฆาตํ ปาปุณาติ ทิฏฺเฐวธมฺเม นิพฺพานํ (องฺ.นวก. ๒๗/๑/๒๙๒)
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 02 ก.ย. 2021, 04:52 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ถ้าเห็นอนิจจังก็เท่ากับเห็นทุกขังและอนัตตา |
พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อถอนอัสมิมานะความถือตน ภิกษุทั้งหลาย อนัตตสัญญาย่อมตั้งขึ้น (ปรากฏโดยธรรมชาตื) แก่ผู้ที่เห็นอนิจจลักษณะ อนึ่ง ผู้ที่เห็นอนัตตลักษณะนั้นย่อมเข้าถึง การกำจัดถอนอัสมิมานะ และเข้ถึงพระนิพพานในทิฏฐธรรม(ภพปัจจุบัน)ได้แน่นอน ในข้อความแห่งพระบาลีที่ยกมานี้ พึงทราบว่าข้อความที่เป็นประเด็นสำคัญในเรื่องอนิจจานุปัสสนา ได้แก่"อนัตตสัญญาย่อมตั้งขึ้น(ปรากฏโดยอัตโนมัติ)แก่ผู้ที่เห็นอนิจจลักษณะ" ส่วนคำว่าอัสมิมานะ ถ้าเป็นชนิดที่เกิดขึ้นในสันดานของพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี ท่านเรียกว่า ยาถามานะ ซึ่งเป็นมานัที้เกิดขึ้นด้วยอำนาจของความยึดมั่นในการงาน หรือการกระทำบางอย่างที่เป็นสิ่งดีและมีเกียรติ แต่มิได้มีความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน หรืออัตตา ด้วยอำนาจของทิฏฐิ เหมือนอย่างปุถุชน คนสามัญทั่วไป ด้วยว่าพระอริยะทั้วหลาย ท่านละทิฏฐิได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว ได้รู้สภาพความจริงของ นามรูปหมดทุกอย่างแล้ว เพียงแต่ยังมีอัสมิมานะหลงเหลืออยู่จึงทำให้ท่านเหล่านั้นเกิดวิจารณญาณ ตลอดถึงอาการทางกายและวาจาโดยทำนองว่า เราก็รู้ได้ เราก็พูดเป็น ทำดป็น ดังนี้เป็นต้น มานะที่เกิดในสันดานของพระอริยบุคคลนี้ มีลักษณะคล้ายกับสักกายทิฏฐิบ้างเป็นบางส่วน ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงเรียกว่าอัสมิมานะ ดังกล่าว ทิฏฐิมานะ แม้ในกรณีที่ว่า สัมมาทิฏฐิแห่งอริยมรรคเบื้องบนเป็นผู้ ละมิจฉาทิฏฐินั้น หมายถึงการละอัสมิมานัดังกล่าวนั้นเอง(ท่านเรียกอัสมิมานะว่ามิจฉาทิฏฐิในกรณีนี้) การที่จะละอัสมิมานันี้ได้โดยเด็ดขาดนั้นจะต้องลัด้วยอรหัตตมรรคเท่านั้นจึงจะละได้ อนึ่ง ถ้านักปฏิบัติรู้แจ้งนามรูปว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยงก็เท่ากับได้รู้แจ้งความเป็นอนัตตาไปด้วย และเมื่อรู้แจ้งความเป็นอนัตตาแล้วย่อมสามารถละความถือตัวที่เรียกกันว่าอัสมิมานะ ด้ววอรหัตตมรรคโดยเด็ดขาดได้อย่างแน่นอน ดังนั้น ในการที่จะละอัสมิมานะได้นั้นพระผู้มี พระภาคเจ้าจึงได้ทรงชี้แนะให้พากันเจริญอนิจจสัญญาดังที่อรรถกถาจารย์ได้อธิบายไว้ว่า โค้ด: อนตฺตสญฺญา สณฺจาตีติ อนิจฺจลกฺขเณ ทิฏฺเฐ อนตฺตบกฺขณํ ทิฏฺฐเมวโหติ เอเตสุ หิ ตีสุ ลกฺขเณสุ (องฺ.อฏฺ.๓/๒๘๖)
เอเกกสฺมึ ทิฏฺเฐ อิตรทฺวยํ สณฺฐาตีติ, เตน วะตฺตํ อนิจฺจสญฺญิโน ภิกฺขเว อนตฺตสญฺญา สณฺฐาตีติ. |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 02 ก.ย. 2021, 14:14 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ถ้าเห็นอนิจจังก็เท่ากับเห็นทุกขังและอนัตตา |
ข้อที่ว่า"อนัตตสัญญาย่อมตั้งขึ้น" นั้น หมายความว่า เมื่อได้เห็นอนิจจลักษณะแล้ว ก็ถือว่าได้เห็น อนัตตลักษณะด้วย จริงอยู่ ในบรรดาไตรลักษณ์ทั้ง ๓ นั้น ถ้าเห็นลักษณะใดลักษณะหนึ่งแล้ว ก็ชื่อว่าย่อมเห็นไตรลักษณ์ที่เหลือด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อนัตตสัญญา ย่อมตั้งขึน(ปรากฏโดยธรรมชาติ) แก่ผู้ที่เห็นอนิจจลักษณะ ตามข้อความแห่งพระบาลีและอรรถกถาที่ยกมานี้ ชี้ให้เห็นว่า เมื่อนักปฏิบัติพิจารณาเห็นอารมณ์ โดยอนิจจลักษณะแล้ว เมื่อนำอารมณ์ดังกล่าวมาพิจารณาอีกก็จะเห็นทุกขลักษณะ และ อนัตตลักษณะด้วย ดังนั้น ในการดับกิเลสที่จะเกิดขึ้นเพราะความยึดมั่นว่า สุข มีตัวตนจึงถือได้ว่า ดับเหมือากับกิเลสที่ยึดมั่นถือมั่นว่าเที่ยงทุกประการ จะแตกต่างก็เฉพาะที่นิจจลักษณะนั้น นักปฏิบัติสามารถเห็นได้ในอารมณ์ที่ประจักษ์โดยตรง ส่วนทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะ เป็นลักษณะที่เห็นโดยอนุโลม เทียบเคียงกับอนิจจลักษณะที่ตนได้เห็นอย่างประจักษ์แล้วนั่นเอง ข้อความต่อไปนี้เป็นข้อความเปรียบเทียบซึ่งได้ยกมาจากคัมภีร์สัมโมหวิโนทนีอรรถกถา แห่งวิภังคปกรณ์ หน้า ๕๕ มีใจความดังนี้ โดยปกติแล้ว ชนทั้งหลายเมื่อเห็นภาชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ถ้วย แก้วหรืออื่นๆ หลุดตกแตก จากมือก็จะพากันกล่าวว่า"มันเป็นความไม่เที่ยง"นี้ถือว่าอนิจจลักษณะปรากฏชัดจึงได้พากันกล่าว ออกมาเช่นนี้ แต่ถ้าเป็นแผลพุพองตามร่างกายหรือบาดแผลอื่นๆ ก็มักจะพากันกล่าวว่าฎเป็นทุกขฺ" นี้ถือว่าเป็นทุกขลักษณะปรากฏชัดเหมือนกัน ส่วนอนัตตลักษณะนั้นเป็นลักษณะที่ไม่ปรากฏชัด ประดุจความมืดยากที่ยากที่จะรู้หรือสังเกตได้ยากที่จะอธิบายให้เข้าใจได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เท่านั้นที่ทรงสามารถอธิบายอนัตตลักษณะให้กระจ่างแจ้งได้ |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 03 ก.ย. 2021, 08:20 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ถ้าเห็นอนิจจังก็เท่ากับเห็นทุกขังและอนัตตา |
อนึ่ง ลักษณะทั้งอนิจจังและทุกขังจะปรากฏชัดอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จอุบัติขึ้น หรือไม่ก็ตาม ส่วนอนัตตลักษณะนั้นจะปรากฏเป็นที่รู้จักก็เฉพาะในกาลที่อุบัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เท่านั้น แม้กระทั่งผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ นอกศาสนา เช่น พระโพธิสัตว์นามว่าสรภังคะหรือคณาจารย์อื่นๆ ก็สามารถสอนได้เฉพาะอนิจจลักษณะแบะทุกขลักษณะเท่านั้นไม่สามารถสอนอนัตตลักษณะ ได้เลย ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้ระบุไว้โดยตรงแต่ก็พึงทราบได้โดยการสันนิษฐานว่า ถ้าท่านเหล่านั้น มีความสามารถที่จะแสดงอนัตตาได้ก็ควรที่จะแสดงแก่บริษัทของตนให้บรรลุมรรคผลได้ นอกจากนี้ พระอรรถกถาจารย์ยังได้อธิบายไว้ว่า โค้ด: อนตฺตลกฺขณปญฺญาปนญฺหิ อญฺญสฺส กสฺสจิ อวิสโย. สพฺพญฺญุพุทฺธานเมววิสฺโย. เอวเมเมตํ อนตฺตลกฺขณํ อปากฏํ ตสฺมา สตฺถา อนตฺตลกฺขณํ ทสฺเสนฺโต อนิจฺเจน วา ทสฺเสติ ทุกฺเขน วา อนิจฺจทุกฺเขหิ วา. แท้จริงแล้ว การบัญญัติ(หรือการแสดง)อนัตตลักษณะไม่ใข่วิสัยของคนทั่วๆไป แต่เป็นวิสัย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้(จึงรู้ว่า) อนัตตลักษณะที่ว่านี้เป็นลักษณะที้ไม่ ปรากฏชัด ดังนั้น พระบรมศาสดาเมื่อทรงประสงค์จะแาดงอนัตตลักษณะมห้ปรากฏ พระองค์ จึงต้องแสดงโดยลักษณะของ อนิจจัง ลักษณะของทุกขัง หรือทั้งลักษณะของอนิจจังและทุกขัง (แต่มิได้ทรงแสดงอนัตตลักษณะโดยตรง นี้เป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งที่ให้รู้ว่า อนัตตลักษณะนั้นรู้ได้ยากยิ่ง) เกียวกับบุคคลนอกพระพัทธศาสนานั้น แม้ว่าจะรู้อนิจจลักษณะและทุกขลักษณะได้ก็ตาม แต่ลักษณะที่รู้ดังกล่าวนั้นยังมิใช่ไตรลักษณ์ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาอย่างแท้จริง เป็นเพียง ลักษณะที่เนื่องด้วยสมมติบัญญัติเท่านั้น หมายความว่า อนิจจลักษณะกล่าวคือการแตกของถ้วย แก้วเป็นต้นนั้นไม่เกี่ยวกับนามรูปได้ด้วยวิปัสสนาญาณ แต่มีความเกี่ยวเนื่องเฉพาะกับถ้วยแก้ว เป็นต้นอันเป็นบัญญัติ ดังนั้น อนิจจลักษณะดังกล่าวจึงเป็นของปลอม มิใช่บักษณะอย่างแท้จริง แม้ในเวลาที่มีคนตาย ต่างก็รู้กันว่าเป็นเรื่องอนิจจัง อนิจจังที่ว่านี้ไม่ใช่อนิจจาลักษณะที่แท้จริง เพราะยังไม่ใช่ขั้นรูปรมัตถ์ และลักษณะความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับบุคคลสามัญทั่วไป เพราะการถูก หนามทิ่มแทงหรือถูกของมีคมอย่างมดอย่างหนึ่งเข้า ความทุกข์ดังกล่าวนั้น ก็ยังไม่ปรากฏโดยปรมัตถ์ เพราะมัวแต่ไปหลงยึดติดกับตัวบุคคลซึ่งเป็นบัญญัติอยู่ เพราะฉะนั้นจึงไม่เกี่ยวกับนามรูปปรมัตถ์ แต่อย่างใดด้วยเหตุที่รู้เพียงแค่อนิจจลักษณะ และทุกขลักษณะที่ยังอยู่ในขั้นบัญญัติเท่านั้น จึงทำให้คณาจารย์นอกศาสนาทั้งหลายไม่สามารุที่จะล่วงรู้อนัตตบักษณะอันแท้จริงได้ |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 03 ก.ย. 2021, 17:27 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ถ้าเห็นอนิจจังก็เท่ากับเห็นทุกขังและอนัตตา |
ในข้อความที่ได้ยกมาจากพระบาลีอังคุตตรนิกายและอรรถกถาก่อนหน้านี้นั้นพึงทราบว่าเป็นข้อความ ที่แสดงไตรลักษณ์อย่างแท้จริง ซึ่งมีลักษณะอาการคือ เกิดขึ้นแล้วดับ ถูกทารุณด้วยความเกิดดับ และไม่เป็นไปตามอำนาจความปรารถนา ถ้าผู้ใดสามารถเห็น ลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ชื่อว่าย่อมสามารถเห็นลักษณะที่เหลือได้ทั้งหมด ในคัมภีร์สัมโมหวิโนทนีอรรถกถา ท่านก็กล่าวยืนยันว่า การที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอนิจจลักษณะ นั้นเพราะทรงประสงค์ที่จะให้รู้อนัตตลักษณะด้วย แต่ลักษณะทั้งสองข้างต้นนั้นจะต้องเป็นลักษณะ ของไตรลักษณ์อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นวิสัยที่จะรู้ได้ด้วยวิปัสสนาญาณ โดยถ้าว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว ลักษณะทั้งสองก็เป็นสิ่งที่รู้ได้ยากพอๆกับอนัตตลักษณะทีเดียว มีแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะ สามารถสั่งสอนเรื่องนี้ได้ ดังนั้น พระอาจารย์ผู้รจนามูลฎีกาแห่งสัมโมหวิโนทนีอรรถกถาจึงได้อธิบายไว้ว่า โค้ด: อนตฺตลกฺขณปญฺญาปนสฺส อญฺเญสํ อวิสยตฺตา อนตฺตลกฺขณทีปกานํ อนิจฺจทุกฺขลกฺขณานญฺจ ปญฺญาปนสฺส อวิสยตา ทสฺสิตา โหติ. เอวํ ปน ทึปฺปญฺญาปนตา เตสํ ทุรุปฏฺฐานตาว โหติ. (มูลฎี.๒/๔๓) |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 04 ก.ย. 2021, 07:11 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ถ้าเห็นอนิจจังก็เท่ากับเห็นทุกขังและอนัตตา |
เนื่องจาก(ท่านได้แสดงว่า)การตรัสรู้แล้วสามารถสอนอนัตตลักษณะนั้นไม่ใช่วิสัยของบุคคลอื่น ยกเว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น การตรัสรู้แล้วสามารถสอนอนิจจลักษณะและทุกขลักษณะ ที่แท้จริง ซึ่งส่องให้เห็นอนัตตลักษณะดังกล่าวก็เป็นที่ท่านแสดงไว้ว่า ไม่ใช่วิสัยของบุคคลอื่นเช่นกัน ก็สาเหตุที่ยากต่อการแสดงให้เห็นปานนี้นั้นเป็นเพราะว่า อนิจจลักษณะและทุกขลักษณะเหล่านั้น เป็นสิ่งที่ปรากฏยาก อธิบายว่าการที่บุคคลไม่สามารถเห็นอนัตตลักษณะนั้น เนื่องจากไม่สามารถเห็นอนิจจลักษณะ ตัวจริง เพราะถ้ารู้ลักษณะทั้งสองอย่างตามตามความเป็นจริงแล้วย่อมสามารถรู้อนัตตลักษณะได้เช่นกัน สำหรับการตรัสรู้แล้วสามารถสอนลักษณะของไตรลักษณ์ อันแท้จริงได้นั้น เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่มีใครสามารถทำได้ แบะการที่ไตรลักษณ์ตัวจริงเป็นสิ่งที่ยากต่อการแสดงให้บุคคลอื่นเข้าใจตามได้นั้น เป็นเพราว่าลักษณะอันแท้จริงเหล่านั้นเป็นปรากฏการที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถที่ไม่จะเห็นได้โดยง่ายนั่นเอง อนิจจลักษณะและทุกขลักษณะที่เป็นตัวส่องให้เห็นอนัตตลักษณะตามที่ท่านแสดงไว้ในคัมภีร์ฎีกานั้น หมายถึงลักษณะที่เป็นปรมัตถ์อย่างแท้จริงซึ่งเป็นวิสัยของญาณเหล่านั้นที่จะกำหนดได้ ไม่ใช่เป็นลักษณะ เหมือนกับอนิจจังในเรื่องของถ้วยลามแตก(ในที่นั้นเป็นเพียงบัญญัติ ไม่ใช่ปรทัตถ์) ซึ่งไม่สามารถที่จะ เป็นเหตุให้เห็นอนัตตลักษณะเกิดได้เลย ดังนั้น ในอนุฎีกาท่านจึงได้อธิบายไว้ว่า โค้ด: น หิ ฆฏเภทกณฺฎกเวธาทิวเสน ลพฺภมานา อนิจฺจทุกฺขตา สตฺตานํ เอกนฺตโตอนตฺตตาธิคมเหตู โหนฺติ, ปจฺจยปฺปฏิพทฺธตาอภณฺหสมุปฏิปีฬนาทิวเสน ปน สพฺภมานา โหนฺติ, ตถา หิ จกฺขาทีนิ กมฺมาทิมหาภูตา ทิปจฺจยปฺปฏิพทฺธวุตฺตีนิ, ตโต เอวมฺภูตานิ จ อวสวตฺตนโต อนตฺตกานีติ ปริคฺคเห ฐิเตหิ สมุปจิตญาณสมฺ ภาเรหิ ปสฺสิตุํ สกฺกา. (อนุฎี.๒/๔๖) |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 04 ก.ย. 2021, 11:55 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ถ้าเห็นอนิจจังก็เท่ากับเห็นทุกขังและอนัตตา |
จริงอย่างนั้น อนิจจลักษณะและทุกขลักษณะที่ได้อำนาจแห่งการเห็นหม้อแตกและถูกหนามทิ่มแทง เป็นต้น ไม่ใช่เหตุที่จะทำให้เหล่าสัตว์บรรลุถึงความเป็นอนัตตาได้โดยตรง ส่วนที่จะเป็นได้โดย ตรงนั้นจะต้องเป็นอนิจจลักษณะและทุกขลักษณะที่ได้มาด้วยอำนาจแห่งความเกี่ยวข้องกับเหตุปัจจัย และการทรมานเบียดเบียนอยู่เนืองนิตย์เป็นต้น อย่างเช่นนักปฏิบัติผู้ตั้งอยู่ในการกำหนดนามรูป ซึ่งเป็นผู้ที่เคยสั่งสมบารมีอันเป็นพื้นฐานของวิปัสสนาญาณมาแล้วย่อมสามารถที่จะเห็นนามรูป อายตนะทั้งหลายมีจักขุประสาทเป็นต้นที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับเหตุปัจจัยในอดีต เช่น กรรมเป็นต้นและเหตุปัจจัยในปัจจุบัน เช่นมหาภูตรูปเป็นต้นว่า เป็นอนิจจัง คือสิ่งที่ไม่เที่ยง เพราะเหตุว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ก่อนแต่เกิดขึ้นมาใหม่ และพอเกิดขึ้นมาแล้วก็ดับหายไป(นอกจากนี้) ยังสามารถเห็นว่าเป็นทุกขัง คือเป็นทุกข์ เพราะเหตุว่า เป็นสิ่งที่ถูกเบียดเบียนทรมานอยู่ทุกขณะ และยังสามารถเห็นต่อไปอีกว่า อายตนะที้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ดังกล่าวล้วนเป็นสิ่งที่หาอัตตามิได้ หรือเป็นสิ่งที้ไม่ใช่อัตตา เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจที่ขอ |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 04 ก.ย. 2021, 17:01 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ถ้าเห็นอนิจจังก็เท่ากับเห็นทุกขังและอนัตตา |
ข้อควรจำ ในขณะที่นามรูปอันเป็นอารมณ๋กำลังปรากฏทางทวาร ๖ อยู่นั้นญาณอันรู้แจ้งอารมณ์เหล่านั้นว่าเป็น สิ่งไม่เที่ยงโดยอาจจะเนื่องมาจากการได้พิจารณาเห็นความเกิดดับของนามรูปตามความเป็นจริง หรืการได้พิจารณาเห็นเฉพาะความดับของร฿ปนามอย่างเดียวท่านเรียกว่า อนิจจานุปัสสนา และ เนื่องจากเป็นญาณที่สามารถรู้ได้โดยตรงจึงเรียกว่า ปัจจักขอนิจจานุปัสสนา และเมื่อนักปฏิบัติ ได้รู้นามรูปอันเป็นอารมณ์ปัจจุบันโดยประจักษ์แจ้งด้วยอนิจจานุปัสสนาแล้วก็จะสามารถทราบนามรูป อันเป็นอารมณ์ในอดีตและอนาคตได้ว่าเป็นสิ่งที่มีสภาพอย่างเดียวกันกับอารมณ์ปัจจุบันที่เรากำลัง รู้เห็นอยู่นี้ ก็ญาณที่สามารถทราบในลักษณะทำนองนี้ ท่านเรียกว่า อนุมานอนิจจานุปัสสนา หรือ อันวยญาณ(ญาณที่คล้อยตาม) อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นปัจจักขอนิจจานุปัสสนาหรืออนุมานอนิจจานุปัสสนาก็ล้วนแต่เริ่มต้นมาจาก สัมมสนญาณทั้งสิ้น พอมาถึงภังคญาณก็เริ่มทำการละกิเลสได้ ดังนั้น ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ตอนว่าด้วยเรื่องภังคญาณ ท่านจึงได้แสดงไว้อย่างบริบูรณ์อย่างนี้ว่า อนิจฺจโต อนุปสฺสนฺโต นิจฺจสญฺญํ ปชหติ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |