วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 04:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2021, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โค้ด:
อกุสลกมฺมปเถสุปาณาติปาโต อทินฺทานํ มิจฺฉาจาโรมุสาวาโท มิจฺฉาทิฏฺฐิติ
อิเม ปฐมฌาณวชฺฌา ปิสุณวาจา ผรุสวาจา พฺยาปาโทติ ตโย ตติยญาณวชฺฌา
สมฺผปฺปลาปาภิชฺฌา จตุตฺถฌาณวชฺฌา.
(วิสุทธิ.๒/๓๖๙)

ในอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างนั้น อกุศลกรรมบถ ๕ คือ
ปาณาติบาต(ฆ่าสัตว์)
อทินนาทาน(ลักทรัพย์)
กาเมสุ มิจฉาจาร(ประพฤติผิดประเวณี)
มุสาวาท(พูดหลอกลวงให้ผู้อื่นเสียผลประโยชน์)
และมิจฉาทิฏฐิ
เป็นธรรมที่ละได้ด้วย โสดาปัตติมรรค

อกุศลกรรมบถ ๓ อย่างคือ
ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด)
ผรุสวาจา(พูดหยาบคาย)
พยาบาท(การจองเวร)
เป็นธรรมที่ละได้ด้วยอนาคามิมรรค

สัมผัปปลาปะ(พูดจาไร้สาระ)
อภิชฌา(คิดครอบครองสมบัติของผู้อื่น)
ธรรม ๒ อย่างนี้พึงละได้ด้วยอรหัตตมรรค

ประโยคบาลีข้างต้นนี้ พึงทราบว่า เพราะกรรมบถที่อนาคามิมรรคละได้ และอรหัตตมรรคละได้
นั้นท่านไม่ได้กล่าวโดยเอวศัพท์มาจำกัดความทั้งนี้เพื่อการให้รู้ว่า ปิสุณวาจา ผรุสวาจา พยาบาท
สัมผัปปลาปะ และ อภิชฌา เฉพาะที่เป็นเหตุให้ไปเกิดในอบายนั้นถูกละได้ตั้งแต่ปฐมมรรคแล้ว

ส่วนสกทาคามี(ทุติยมรรค)ซึ่งไม่ระบุไว้นั้นสามารถละกามราคะและพยาบาทชนิดหยาบที่ไม่เป็นเหตุ
ให้ตกอบายได้ สำหรับกามราคะและพยาบาทอย่างละเอียดที่หลงเหลืออยู่นั้นละด้วยอนาคามิมรรค
ส่วนอรหัตตมรรคที่กล่าวว่าละ สัมผัปปลาปะและอภิชฌาได้นั้นหมายถึงสัมผัปปลาปะ และอภิชฌาทีเกี่ยว
ข้องในภวราคะเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2021, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โค้ด:
อกุสลจิตฺตุปฺปาเทสุ จตฺตาโร ทิฏฺฐิสมฺปยุตฺตา วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺโต
จาติ ปญฺจ ปฐมญาณวชฺฌาว เทฺว ปฏิฆสมฺปยุตฺตา ตติยญาณวชฺฌา. เสสา จตุตฺถ ญาณวชฺฌา.
(วิสุทธิ. ๑/๓๖๙)

ในอกุศลจิตตุปบาท ๑๒ ดวง ปฐมมรรคละได้สิ้นเชิง ๕ ดวง คือทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ดวง
วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑ ดวง อนาคามิมรรคละได้ ๒ ดวง คือ ปฏิฆะสัมปยุตตจิต ๒ ดวง
ส่วนอกุศลจิตที่เหลือ คือ ทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ ดวง และอุทธัจจสัมปยุตตจิต ๑ ดวงละได้ด้วยอรหัตตมรรค

แม้ในบทบาลีนี้ก็พึงทราบว่าเพราะอกุศลจิตตุปบาทที่ละด้วยอนาคามิมรรค และอรหัตตมรรคนั้น
ท่านไม่ได้กล่าวโดยใส่เอวศัพท์เข้ามากำกับ(บังคับ) ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้รู้ว่า ทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
และโทสะ(ปฏิฆะ) ๒ เฉพาะที่เป็นเหตุให้ไปบังเกิดในอบายนั้นสามารถละได้ตั้งแต่ปฐมมรรคมาแล้ว
หลังจากนั้นก็จะเหลือแต่ส่วนที่เป็นอนปายคมนียะ คือ ไม่สามารถส่งให้ไปอบายได้ สกทาคามิมรรค
สามารถละอกุศลจิตได้ ดังนี้ ที่สัมปยุตกับกามราคะและปฏิฆะส่วนที่หยาบและอุทธัจจะส่วนหนึ่ง
ซึ่งเป็นส่วนที่เรียกว่า ปทาเนกัฏฐะ แต่สำหรับอกุศลจิตตุปบาท ๖ ดวงที่สัมปยุตกับกามาราคะและปฏิฆะ
ชนิละเอียดและอุทธัจจสัมปยุตตจิตส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนที่เรียกว่า ปหเนกัฏฐะ(ซึ่งยังละไม่ได้เด็ดขาด
ด้วยมรรคเบื้องต่ำ)พึงละได้ด้วยอนาคามิมรรค ธรรมที่เหลือคือทิฏฐิวิปปยุตตจิตทีเกี่ยวกับภวราคะ(๔)
และอุทธัจจสัมปยุตตจิตที่เหลือพึงละได้ด้วยอรหัตตมรรค ด้วยการอธิบายมานี้จะเห็นว่าอกุศลทั้งหมด
สามารถละได้ด้วยมรรคจิต ๔ ตามความสามารถของมรรคนั้นๆ

อนึ่ง คำว่า ปหาเนกัฏฐะ หมายถึงปหาตัพพธรรมส่วนหนึ่งที่มีระดับเดียวกันกับธรรมที่บุคคลเดียว
กำลังละอยู่ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ธรรมที่สัมปยุตกัน แต่ก็สามารถสงบระงับไปพร้อมกันกับกิเลสธรรมที่
กำลังละได้ตามอำนาจของอริยะมรรคเป็นธรรมที่พลอยติดร่างแหไปกับเขาด้วย หมายความว่า
เป็นธรรมที่ตั้งอยู่ในจิตสันดานของบุคคลคนเดียวกันกันซึ่งกำลังละกิเลสชนิดอื่นอยู่ และเมื่อละกิเลสนั้น
ได้แล้วปหาเนกัฏฐธรรมที่ว่านี้ก็พลอยถูกละไปด้วย(ข้อนี้พึงศึกษาเรื่อฝการละอุทธัจจะ)

อนึ่ง หลักฐานที่ว่า พระโสดาบันสามารถละกิเลสคือทิฏฐิวิปปยุตและโทสจิตเฉพาะที่เป็นเหตุให้ไปอบาย
นั้นมาจากบาลีธัมมสังคณีดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2021, 04:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โค้ด:
จตฺตาโร ทิฏฺฐิคตวิปฺยุตฺตโลภสหคตจิตฺตุปฺปาทา, เทฺว
โทมนสฺสสหคตจิตฺตุปฺปาทา. อิเม ธมฺมา สิยา ทสฺสเนน ปหาตพฺพา.
กตเม ธมฺมา น ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ? อุทฺธจฺจสหคโต จิตฺตุปฺปาโท.
กตเม ธมฺมา ภาวนาย ปหาตพฺพา ? อุทฺธจฺจสหคโต จิตฺตุปฺปาโท. 

ด้วยประโยคพระบาลีธัมมสังคณีที่ยกมานี้ แสดงให้เห็นว่า อุทธัจจสัมปยุตจิตนั้นไม่ใช่
วิสัยของพระโสดาบันที่จะพึงละ และก็ไม่ใช่วิสัยของพระอรหัตตมรรคอย่างเดียวเท่านั้น
แต่เป็นวิสัยของอริยมรรคเบื้องบน ๓ ช่วยกันละตามลำดับ จริงอยู่อุทธัจจะในสันดาน
ของพระสกทาคามีและพระอนาคามีไม่หยาบเหมือนปุถุชน และพระโสดาบัน เพราะฉะนั้น
จึงรู้ได้ว่า อริยมรรคเบื้องบน ๓ ต่างก็ทำการละอุทธัจจะด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่สกทาคามี
และอนาคามียังละไม่หมด กระทั่งถึงพระอรหัตตมรรค อุธัจจะจึงหมดไปโดยสิ้นเชิง

อกุศลธรรมที่พึงละที่ท่านเรียกว่ปหาตัพพธรรม (ซึ่งไม่ได้แสดงไว้ทั้งในคัมภีร์วิสุทธิมรรค)
ยังมีอีกมากมาย แต่เป็นการละอกุศลธรรมเหล่านั้น เฉพาะที่มีองค์ธรรมพิเศษนั้น พึงทราบว่า
เหมือนกับวิธีการละที่ได้แสดงไปแล้วในตอนที่ว่าด้วยสังโยขน์เป็นต้นนั่นเอง ส่วนที่มีองค์ธรรม
ที่ไม่พิเศษ(ชื่อต่างกันแต่องค์ธรรมเหมือนกัน)นั้นให้ถือเอทตามวิธีการละของอริยมรรคทั้ง ๔
จากอกุศลจิตตุปบาทที่เกี่ยวข้อฝได้ตามสมควร สมดังที่อาจารย์ผู้รจนาวิสุทธิมรรคมหาฎีกา
ได้สั่งไว้ว่า
โค้ด:
จิตฺตุปฺปาทคฺคหเณน เจตฺถ มกฺขปฬาสมายาสาเฐยฺย
ปมาทถมฺภสารมฺภาทีนํ สงฺคโห กโตติ ทฏฺฐพฺพํ.
(วิสุทฺธิ.ฎี. ๒/๕๕๑)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 52 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร