วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 11:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2021, 12:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า วิสุทธิ (ความหมดจด) พึงทราบว่าคือพระนิพพานอันปราศจากมลทินทั้งปวง อันบริสุทธิ์ที่สุด

คำว่า วิสุทธิมรรรค คือ ทางแห่งความหมดจด (พระนิพพาน) นั้น

คำว่า มรรค เป็นแนวทางที่บรรลุถึง อนึ่ง ทางแห่งความหมดจดนั้น ในบางสูตรแสดงไว้หมายถึง

๑. วิปัสสนา ดังข้อความว่า

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา

เมื่อใด บุคคลยั่งเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้น เขาเบื่อหน่ายในทุกข์ [เบญจขันธ์] ความเบื่อหน่าย
ในทุกข์นี้เป็นทางแห่งความหมดจด

กึ่งคาถาว่า สพฺเพ สงฺขารา นิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
(เมื่อใด บุคคลหยั่งเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง)
หมายความว่า ในขณะที่ภังคญาณแก่กล้าผู้ปฏิบัติธรรมย่อมรู้เห็นด้วยอนุมานญาณ
ที่คล้อยตามปัจจักขญาณ สังขาร คือรูปนามทั้งปวงไม่เที่ยง

บาทคาถาว่า อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข (เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์)
หมายความว่า ในเวลานั้นเขาย่อมเบื่อหน่ายด้วยนิพพิทาญาณในทุกข์
คือรูปนามที่ตนเห็นว่าน่ากลัวและเป็นโทษด้วยภยญาณ
และอาทีนวญาณ นัยนี้คำว่า อถ แปลว่า เมื่อนั้น

อีกอย่างหนึ่ง กึ่งคาถา สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
(เมื่อใด บุคคลหยั่งเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง)
หมายความว่า เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมรู้เห็นว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยงด้วยสัมมสนญาณ
เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ในภายหลังที่บรรลุอุทยัพพญาณเป็นต้นแล้ว
ตามนัยนี้คำว่า อถ แปลว่า ในภายหลัง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2021, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ฌานและปัญญา ดังข้อความว่า

นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส นตฺถิ ปญฺญ อฌายโต
ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญา จ ส เว นิพฺพานสนฺติเก
เมื่อไม่มีปัญญา ก็ไม่มฌาน(การเพ่ง)เมื่อไม่มีญาน ก็ไม่มีปัญญา
ผู้ใดมีทั้งฌานและปัญญา ผู้นั้นนับว่าอยู่ใกล้นิพพาน

ปัญญา คือ ปัญญาที่ประกอบด้วยความเพียรอันก่อให้เกิดฌาน ส่วนฌาน (การเพ่ง)
คือ สมาธิที่เป็นเหตุให้เกิดปัญญา ดังข้อความว่า

สมาธิโต ภิกฺขเว ภิกฺขุ ยถาภูตํ ปชานาติ ปสฺสติ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง

ข้อความว่า อยู่ใกล้นิพพาน เป็นสำนวนทางภาษาที่หมายความว่าบรรลุนิพพาน
ดังคำว่า อยู่ในสถานที่ของพระศาสดา คือ เข้าไปหาพระศาสดา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2021, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. กรรม เป็นต้น ดังข้อความว่า

กมฺมํ วิชฺชา จ ธมฺโม จ สีลํ ชีวิตมุตฺตมํ
เอเตน มจฺจา สุชฺฌนฺติ นโคตฺเตน ธเนน วา


เหล่าสัตว์หมดจดด้วยคุณธรรม ๕ ประการนี้ คือ

๑. กรรม (มรรคเจตนา เจตนาที่ประกอบด้วยมรรคจิต)
๒. วิชชา (ปัญญาที่ประกอบด้วยมรรคจิต, สัมมาทิฏฐิ)
๓. ธรรม [คือ อริยมรรค] (สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ)
๔. ศีล (สัมมาวาจา และสัมมากัมมันตะ)
๕. การเลิ้ยงชีพอันประเสริฐ (สัมมาอาชีวะ) หาใช่หมดจดด้วยวงศ์สกุลทรัพย์ไม่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2021, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. ศีล เป็นต้น ดังข้อความว่า

สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน ปญฺญวา สุสมาหิโต
อารทฺธวีริโย ปหิตตฺโต โอฆํ ตรติ ทุตฺตรํ

ผู้สมบูรณ์ด้วยศีลเสมอ มีปัญญา (ทั้งโลกียะและโลกุตตระ) ตั้งมั่น
ปรารภความเพียร มีใจมุ่งมั่น (สู่พระนิพพาน) ย่อมข้ามห้วงกิเลสอันข้ามได้ยาก

ศีล เป็นต้นในเรื่องนี้กล่าวถึงธรรม ๖ ประเภท คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ๓ อย่าง
และวิริยะที่เป็นความเพียรเผากิเลส

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2021, 11:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๕. สติปัฏฐาน เป็นต้น ดังข้อความว่า

เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย,ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา.


"ภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นทางสายเดียวที่จะทำให้เหล่าสัตว์บริสุทธิ์ ล่วงพ้นความโศก
และรำพันคร่ำครวญได้ ดับความทุกข์และโทมนัสได้ บรรลุอริยมรรค และเห็นพระนิพพานได้
หนทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ"

แม้สัมมัปปธานเป็นต้นก็มีนัยเดียวกัน แต่ทรงแสดงโดยหมายถึงศีลเป็นต้น โดยวิสัชนาของปัญหานี้

ข้อความที่กล่าวว่า แต่ทรงแสดงโดยความหมายถึงศีลเป็นต้นในวิสัชนาของปัญหานี้ หมายความว่า
ทางหมดจดที่เรียกว่า "วิสุทธิมรรค" ที่คัมภีร์นี้จะกล่าวถึงเป็นธรรม ๖ ประเภท คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ๓ อย่าง
และวิริยะที่เป็นความเพียรเผากิเลส ส่วนคัมภีร์ที่กล่าวถึงความหมดจดก็ได้ชื่อว่า "วิสุทธิมรรค" โดยผลูปจาระ
โดยกล่าวถึงผลโดยใช้เหตุเป็นชื่อของผล ดังคำว่า ติปุสํ ชโร(ไข้ทับทิม)คุโฬ เสมฺโห(เสลดน้ำอ้อย)
ซึ่งหมายถึง ไข้ที่เกิดจากกินทับทิมและเสลดที่เกิดจากการดื่มน้ำอ้อย

อุทาหรณ์อีกอย่างหนึ่งในเรื่องนี้ คือ พระนิพพานเป็นเหตุให้เกิดผลโดยความสิ้นไปของราคะเป็นต้น
เพราะอริยะบุคคลผู้หยั่งเห็นพระนิพพานอยู่ย่อมกำจัดกิเลสในขณะนั้น การกล่าวว่า ราคาทีนํ ขโย
นิพฺพานนฺติ ขโยปจาเรน วุตฺโต. ติปุสํ ชโรคุโฬเสโมฺหติอาทีสุ วิย ผลูปจาเรน วุตฺตนฺติ เวทิตตพฺพํ

อนึ่ง ความสิ้นไปของราคะเป็นต้นย่อมมีได้ด้วยการบรรลุธรรมใด ธรรมนั้นแม้มีสภาพไม่สิ้นไป
ก็กล่าวว่า ความสิ้นไปของราคะเป็นต้นชื่อว่า พระนิพพาน ได้โดยชื่อของความสิ้นไป(อันเป็นผล)
ดังคำกล่าวโดยชื่อของผลว่า ติปุสํ ชโร(ไข้ทับทิม) คุโฬ เสโมฺห(เสลดน้ำอ้อย) เพราะเป็นเหตุที่มี
กำลังแห่งความสิ้นไปของราคะเป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 70 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร