วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 14:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2021, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




SmartSelectImage_2021-09-29-09-12-41.jpg
SmartSelectImage_2021-09-29-09-12-41.jpg [ 26.94 KiB | เปิดดู 846 ครั้ง ]
หากต้องการเข้าผลจิตที่ได้บรรลุแล้วนั้นเกิดขึ้นอีก(คือต้องการเสวยนิพพานสุขด้วยผลจิตที่ตนได้แล้ว)จะต้องกำหนดอาการปัจจุบันของกายและจิตด้วยความมุ่งหวังที่จะเข้าผลจิตอีก ธรรมดาการเจริญวิปัสสนาครั้งแรกของปุถุชน จะเริ่มปรากฏจาก นามรูปปริเฉทญาณ แต่ในกรณีของพระอริยะบุคคล จะเริ่มจาก อุทยัพพยญาณนี้เป็นหลักตายตัว ดังนั้น เมื่อกำหนดความเกิดดับแล้ว อุทยัพพยญาณก็จะปรากฏ และสมบูรณ์ขึ้นตามลำดับของญาณ จากนั้นจึงจะเข้าสังขารุเปกขาญาณ ซึ่งเป็นการกำหนดที่ละเอียดอ่อนที่สุด และเมื่อญาณนั้นสมบูรณ์เต็มที่แล้ว จิตก็จะเข้าถึงนิพพาน แล้วผลจิตก็เกิดขึ้นเหมือนแต่ก่อน อนึ่ง ผลจิตนี้เองบางทีก็เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว แต่สำหรับผู้ที่สามารถเข้าผลสมาบัติได้ไม่กำหนดเวลาแน่นอน บางครั้งก็นานถึง ๕ นาที ๑๐ นาที ๑๕ นาที ๓๐ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง

ในคัมภีร์อรรถกถาท่านได้อธิบายว่า ผลจิตสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งตลอดวันทั้งคืนก็ได้ คือจะเกิดขึ้นเท่ากับที่ได้กำหนดเวลาไว้ว่า จะเข้านานสักเท่าไร สำหรับในปัจจุบัน บางคนที่มีสมาธิญาณแก่กล้าสมบูรณ์ก็สามารถเข้าได้นานเป็นชั่วโมงสองชั่วโมง ซึ่งตรงกับคำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์เหมือนกัน ถ้าหากกำหนดเวลาไว้ว่า เมื่อใดที่เราต้องการหยุดขอให้ผลจิตจงดับไปได้ เช่นนี้เราจะออกจากผลสมาบัติเมื่อใดก็ได้ แต่ถึงกระนั้นหากสมาบัติดำเนินไปนานถึง ๑-๒ ชั่วโมงแล้ว จิตที่พิจารณาไตร่ตรองก็จะเกิดขึ้นในระหว่างเป็นช่วงๆไป ครั้ณเรากำหนดจิตที่เข้ามาแทรกนี้สัก ๔-๕ ครั้งมันก็จะดับไป แล้วผลจิตก็จะเกิดขึ้นอีก จะเห็นได้ว่า ผลจิตจะตั้งอยู่ได้นานจนกว่าจะพึงพอใจ และในผลจิตขณะที่ผลจิตนี้เกิดอยู่ จิตใจจะตั้งมั่นมุ่งกำหนดแต่นิพพานเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่รับรู้อารมณ์อื่นใดทั้งสิ้น เพราะขึ้นชื่อว่านิพพานย่อมมีสภาพเฉพาะตัวคือหลุดพ้นจากโลกนี้และโลกหน้าและรูปนามที่เป็นสังขารธรรมทั้งปวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2021, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ด้วยเหตุนี้เวลาเข้าผลสมาบัติ เราจะไม่รับรู้อะไรที่เกี่ยวกับโลกนี้และโลกหน้า ได้เลย ถึงแม้ว่าอารมณ์ทั้งหลายมีรูป เสียง กลิ่น รสจะปรากฏ แต่ก็จะกำหนดอารมณ์ใดๆไม่ได้เลย ทำให้อิริยาบทมีความมั่นคง ซึ่งตรงกับพุทธพจน์ที่ว่า อปฺปนาชวนํ อินิยาปถมฺปิ สนฺนาเมติ อัปปนาชวนจิตย่อมยังอิริยาบถให้ตั้งอยู่ได้ ถ้าหากเข้าสมาบัติในท่านั่งอยู่ กิริยาอาการนั่งก็จะตั้งมั่นอยู่เหมือนเดิมไม่มีแม้แต่จะโอนหรือโยกไปมา แต่พอวิถีแห่งผลจิตดับไปแล้ว อาการต่างๆ เช่น การไตร่ตรอง พิจารณาถึงสภาวะที่เข้าถึงและความสงบก็ดี ตลอดถึงการกำหนดเห็นอารมณ์ต่างๆที่มีรูปร่างเป็นตัวเป็นตน หรือความคิดต่างๆก็ดี อย่างใดอย่างหนึ่งจะปรากฏขึ้นก่อนหลังจากนั้นการกำหนดอย่างต่อเนื่องก็ดี ความแจ่มใสเบิกบานก็ดี การพิจารณาเป็นต้นก็ดี ก็จะเกิดขึ้นตามความเหมาะสม แม้จะกำหนดได้ตลอดในตอนแรกๆ ผลจิตจะเกิดขึ้นเป็นช่วงๆไม่ต่อเนื่องกัน โดยมีการกำหนดความเกิดดับที่ปรากฏขัดเป็นอารมณ์

ถ้าวิปัสสนาสมบูรณ์ดีแล้ว ถึงแม้จะเพิ่งออกจากผลสมาบัติ แต่การกำหนดก็จะเป็นไปอย่างละเอียดอ่อน โดยเฉพาะการสมาทานเพื่อที่จะให้ได้ผลเร็ว หรือเพื่อให้ตั้งอยู่ในผลนานๆนั้น ควรจะทำในตอนแรกๆเท่านั้น อย่าให้กระวนกระวายในอันเนื่องมาจากการสมาทานนั้น เพราะว่า ถ้าหากวิปัสสนาญาณยังไม่บริบูรณ์เพียงพอ หรือเป็นช่วงที่สมาธิกำลังแก่กล้าขึ้นเรื่อยๆ อาการขนลุกขนพอง อาการหาว อาการสั่น อาการถอนใจอาจเกิดขึ้นได้ และอาจทำให้อารมณ์ที่กำหนดอยู่ตกไปได้ หรือบางทีในขณะที่กำลังกำหนดอารมณ์ได้จังหวะดีเป็นพิเศษอยู่นั้น ก็เกิดความคิดว่า"คงจะถึงแล้วกระมังนี่" จึงทำให้อารมณ์ตกไปก็มี ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรระวัง หากเผลอคิดพิจารณาไป ก็ให้รีบกำหนดความคิดพิจารณานั้นทันที บางคนเมื่อมีอารมณ์ตกแล้วจึงบรรลุผลจิตก็มี พึงทราบว่า ถ้าสมาธิญาณมีกำลังไม่ดีพอก็จะไม่สามารถถึงผลโดยเร็วได้ หรือถึงแม้จะได้แต่ก็ไม่สามารถตั้งมั่นอยู่ได้นาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2021, 04:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคท่านกล่าวไว้ว่า ถา ผลสมาปตฺตีติ ? ยา อริยผลสฺส นิโรเธ อปฺปนา ซึ่งแปลว่า การเข้าผลสมาบัติ คืออะไร ? (ตอว่า) คือความเกิดขึ้นแห่งจิตที่ประกอบด้วยอริยะผล เป็นเหมือนกับการได้เข้าไปถึงภายในพระนิพพานอันเป็นที่ดับของนามรูป สังขารทั้งปวง ดังนั้น จึงทำให้ทราบได้ว่า ผลสมาบัติ ก็คือการอุบัติขึ้นของจิต ที่ประกอบกับอริยผล ส่วนปุถุชนเนื่องจากยังไม่เคยบรรลุอริยผลมาก่อน จึงไม่สามารถเข้าผลสมาบัติได้ ส่วนพระอริยะนั้นสามารถเข้าผลสมาบัติได้ทุกองค์ แต่มีข้อแม้อยู่อย่างหนึ่ง คือจะสามารถเข้าสมาบัติได้เฉพาะในผลสมาบัติที่เป็นผลของตนเท่านั้น แต่ไม่สามารถเข้าผลสมาบัติในผลที่ตนได้มาแล้วและผล ที่ตนยังไม่เคยได้

เกจิวาทะอธิบายไว้ว่า ในกรณีของการเข้าผลสมาบัตินั้น ผู้เข้าต้องเป็นพระอนาตามี และพระอรหันต์เท่านั้นจึงจะสามารถเข้าได้ ส่วนพระโสดาบันและพระสกทาคามี เนื่องยังมีสมาธิไม่บริบูรณ์จึงไม่สามารถเข้าได้ นี้เป็น มติของเกจิอาจารย์ที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเท่านั้นแต่จริงๆ แล้วแม้แต่ปุถุชนก็สามารถเข้าโลกียสมาบัติได้ ส่วนพระอริยะ เช่น พระโสดาบัน พระสกทาคามี ไฉนเลยจะเข้าผลสมาบัติไม่ได้ ดังนั้น พึงทราบว่าจะเป็นพระอริยบุคคลประเภทใดก็สามารถเข้าผลสมาบัติที่ตนบรรลุแล้วได้เช่นกัน

นอกจากนี้ ในพระบาลีปฏิสัมภิทามรรคได้แสดงไว้ว่า โสดาปตฺติผลสมาปตฺตตฺถาย สกทาคามิผลสมปตฺตตฺถาย อุปฺปาทํ อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู ซึ่งเป็นการแสดงโสดาปัตติผลสมาบัติและสกทาคามิผลสมาบัติโดยตรง เพราะฉะนั้น ชื่อว่าพระอริยะแล้วย่อมสามารถเข้าถึงผลสมาบัติของตไได้อว่างแน่นอน ซึ่งข้อนี้ใยคัมภีร์วิสุทธิมรรคท่านก็ได้กล่าวยืนยันไว้เหมือนกัน

อนึ่ง ถ้าเป็นพระอริยะแล้วยังไม่สามารถเข้าผลสมาบัติได้ ก็จะให้ผู้คนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเพราะท่านยังมีสมาธิและอินทรีย์อื่นๆยังไม่แก่กล้าพอ จึงไม่สามารถเข้าผลสมาบัติได้ ซึ่งจริงแล้วไม่ใช่ เพราะการที่สมาธิและอินทรีย์อื่นๆจะแก่กล้าได้นั้นจะต้องได้รับการอบรมฝึกฝยวิปัสสนาอยู่เนืองๆ และเมื่อสมาธิและอินทรีย์อื่นๆ แก่กล้าแล้ว ก็จะเข้าผลสมาบัติได้ แต่จะอย่างไรก็ตาม การที่พระอริยะสามารถเข้าผลสมาบัติได้บ่อยครั้งนั้น อาจเป็นเครื่องยืนยันเกี่ยวกับความแก่กล้าของอินทรีย์ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2021, 12:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




SmartSelectImage_2021-09-29-09-12-41.jpg
SmartSelectImage_2021-09-29-09-12-41.jpg [ 26.94 KiB | เปิดดู 846 ครั้ง ]
ผลสมาบัติวิถี

การเข้าผลสมาบัติ เป็นการเข้าอยู่ในอารมณ์พระนิพพาน ที่ได้มาจากอริยผล ฌาน อันบังเกิดแล้วแก่ตน เพื่อเสวยโลกุตตรสุข ซึ่งเป็นความสงบสุขที่พึงเห็น ประจักษ์ได้ในปัจจุบัน

พระนิพพาน ที่เป็นอารมณ์ของผลสมาบัตินั้นมีชื่อ ๓ ชื่อหรือมี ๓ อาการคือ

๑. อนิมิตตนิพพาน หมายถึงว่า ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่มัคคผลนั้น เพราะเห็นความ ไม่เที่ยง อันปราศจากนิมิตเครื่องหมาย คือ อนิจจัง โดยบุญญาธิการแต่ปางก่อน แรงด้วยสีล เมื่อเข้าผลสมาบัติก็คงมีอนิมิตตนิพพาน เป็นอารมณ์

๒. อัปปณิหิตนิพพาน หมายถึงว่า ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่มัคคผลนั้น เพราะเห็นความ ทนอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปรไป อันหาเป็น ปณิธิ ที่ตั้งไม่ได้ คือทุกขัง โดยบุญญาธิ การแต่ปางก่อนแรงด้วยสมาธิ เมื่อเข้าผลสมาบัติ ก็คงมี อัปปณิหิตนิพพาน เป็น อารมณ์

๓. สุญญตนิพพาน หมายถึงว่า ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่มัคคผลนั้น เพราะเห็นความ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ อันเป็นความว่างเปล่า คืออนัตตา โดยบุญญาธิการ แต่ปางก่อนแรงด้วยปัญญา เมื่อเข้าผลสมาบัติ ก็คงมี สุญญตนิพพาน เป็นอารมณ์

บุคคลที่เข้าผลสมาบัติได้ต้องเป็นพระอริยบุคคล คือเป็น โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี หรือ พระอรหันต์ ที่ต้องด้วยวิโมกข์ ๘ มาก่อน ส่วนปุถุชนจะเข้าผลสมาบัติไม่ได้เลย เป็นอันขาด

พระอริยเจ้าที่จะเข้าผลสมาบัติ ก็เข้าได้เฉพาะอริยผลที่ตนได้ ที่ตนถึงครั้ง สุดท้ายเท่านั้น แม้อริยผลที่ตนได้และผ่านพ้นมาแล้วก็ไม่สามารถจะเข้าได้ กล่าวคือ

โสดาบัน ก็เข้าผลสมาบัติได้แต่ โสดาปัตติผล

สกทาคามี ก็เข้าผลสมาบัติได้แต่ สกทาคามีผล เท่านั้น จะเข้าโสดา ปัตติผล ซึ่งถึงแม้ว่าตนจะเคยได้เคยผ่านเคยพ้นมาแล้ว ก็หาได้ไม่

อนาคามี ก็เข้าผลสมาบัติได้แต่เฉพาะ อนาคามีผล

พระอรหันต์ ก็เข้าผลสมาบัติได้แต่อรหัตตผลโดยเฉพาะเช่นกัน

อริยบุคคล ผู้จะเข้าผลสมาบัติ กิจเบื้องต้นก็จะต้องตั้งความปรารถนาว่า จะเข้าผลสมาบัติเป็นเวลา .... (ตามความประสงค์ที่จะเข้าอยู่สักกี่ชั่วโมง หรือกี่วัน) ขอให้ผลจิตที่เคยปรากฏมาแล้วนั้น จงบังเกิดขึ้นตามความปรารถนานี้เถิด

ขณะที่ตั้งความปรารถนา(อธิษฐาน) นี้ กามจิตอันเป็นมหากุสลญาณสัมปยุตต สำหรับพระอริยเบื้องต่ำ ๓ หรือ กามจิตอันเป็นมหากิริยาญาณสัมปยุตต สำหรับ พระอรหันต์ก็เกิด มีวิถีจิตซึ่งเรียกว่า อธิฏฐานวิถี ดังนี้

น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช

ต่อจากอธิฏฐานวิถี ก็เจริญวิปัสสนาภาวนา มีไตรลักษณ์แห่งรูปนามเป็น อารมณ์ เริ่มแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นไป ผลจิตก็จะเกิด วิถีจิตนี้ชื่อว่า ผลสมาบัติวิถี มีวิถีดังนี้

น ท มโน อนุโลม อนุโลม อนุโลม อนุโลม ผล ผล ผล ฯลฯ ฯลฯ อนุโลม ๔ ขณะ สำหรับมันทบุคคล หรืออนุโลม ๓ ขณะ สำหรับติกขบุคคล ต่อจากอนุโลม ผลจิตก็เกิดเรื่อยไปเป็นจำนวนมากมาย ไม่สามารถที่จะประมาณได้ จนครบกำหนดเวลาที่ตนปรารถนาไว้ ผลจิตจึงจะหยุดเกิด แล้วก็เป็นภวังคจิตต่อไป ตามปกติ

อนึ่ง จิตในผลสมาบัติวิถีนี้ ไม่เรียกว่า บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู เหมือนอย่างในมัคควิถี แต่เรียก อนุโลมอย่างเดียวทั้ง ๔ ขณะ เพราะผลสมาบัติวิถี นี้ ไม่ได้ทำการประหารกิเลส เหมือนอย่างในมัคควิถี เป็นแต่จิต ๔ ดวงนี้เกิดขึ้น เพื่ออนุโลมให้จิตถึงพระนิพพาน หรือให้แนบแน่นในอารมณ์พระนิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2022, 05:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




novice-icon001.png
novice-icon001.png [ 456.83 KiB | เปิดดู 846 ครั้ง ]
..........

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร