วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2021, 15:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิปสฺสนา ปเนสา ติวิธา โหติ สงฺขารปริคฺคณฺหนกวิปสฺสนา ผลสมาปตฺติวิปสฺสนา นิโรธสมาปตฺติวิปสฺสนาติ. ตตฺถ สงฺขารปริคฺคณฺหนกวิปสฺสนา มยฺทา วา โหตุ ติกฺขา วา, มคฺคสฺส ปทฏฺฐานํ โหติเยว. ผลสมาปตฺติวิปสฺสนา ติกฺขาววฏฺฏติ มคฺคาภาวนาสทิสา. นิโรธสมาปตฺติวิปสฺสนา ปน นาติมนฺทนาติติกฺขา วฏฺฏติ.[/size]

(วิสุทฺธิ. ๒/๓๙๔. ปฏิสํ.อฏฺ ๑/๓๓๓)

วิปัสสนานี้มี ๓ อย่าง คือ
๑. วิปัสสนาที่กำหนดรู้กองสังขารเพื่อบรรลุอริยมรรค
๒. วิปัสสนาที่กำหนดเพื่อผลสมาบัติ
๓. วิปัสสนาที่กำหนดเพื่อนิโรธสมาบัติ
ในวิปัสสนา ๓ อย่างนั้นวิปัสสนาที่กำหนดรู้กองสังขาร ไม่ว่าจะเชื่องช้า หรือปราดเปรื่องย่อมเป็นเหตุให้ได้มรรคโดยตรงทั้งสิ้น (ถ้าวิปัสสนาเชื่องช้า จะทำให้เกิดทันธาภิญญามรรค ถ้าปราดเปรื่อง จะทำให้เกิดขิปปาภิญญามรรค นี้เป็นความแตกต่างระหว่างเชื่องช้ากับปราดเปรื่อง ก็เมื่อใด วิปัสสนาถึงพร้อมด้วยคุณลักษณะของวุฏฐาคามินี เมื่อนั้นย่อมสามารถเป็นเหตุให้มรรคบังเกิดขึ้นโดยตรง)

ส่วนวิปัสสนาที่กำหนดเพื่อผลสมาบัติ มีความหมายเหมือนกันกับมรรคภาวนา (เพราะเป็นไปโดยอาการที่ปราศจากสังขารและปัจจัยให้กับผลซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์เหมือนกับมรรค) ดังนั้น จะต้องเป็นวิปัสสนาที่ปราดเปรื่องอย่างเดียวจึงจะเหมาะสม ส่วนวิปัสสนาที่กำหนดเพื่อนิโรธสมาบัตินั้น จะต้องไม่เชื่องช้าหรือปราดเปรื่องจนเกินไปจึงจะไม่เหมาะ

คำว่า วิปัสสนาที่กำหนดผลสมาบัติจะต้องปราดเปรื่อง นี้เป็นคำกล่าวที่มุ่งถึงวิปัสสนาของผู้ที่เริ่มต้นเข้าผลสมาบัติใหม่เพราะว่าในอรรถกถาแห่งปฏิสัมภิทามรรคได้กล่าวไว้อย่างนี้ว่า

สงฺขารุเปกฺขาย ติกฺขภาเว สติ กิเลสปฺปหาเน สมตฺถสฺส มคฺคสฺส สมฺภวโต ตสฺสา ติกฺขภาวทสฺสนตฺถํ เววจนปเทหิ สห ทฬฺหํ กตฺวา มูลปทานิ วุตฺตานิ. ผสฺสนิรุสฺสาหภาเวน สนฺตสภาวตฺตา มคฺคายตฺตตฺตา ย มนฺทภูตาปิ สงฺขารัเปกฺขา ผลสฺส ปจฺจโย โหตึติ ทสฺสนตฺถํ มูลปทาเนว วุตฺตานีติ เวทิตพฺพานื.
[size=110](ปฏิสํ. อฏฺ.๑/๒๙๒)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2021, 06:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(ในวาระของมรรค) พึงทราบว่าเมิ่อสังขารุปกขาฐาณมีความปราดเปรื่องย่อมเป็นเหตุให้มรรคที่มีความสามารถในการทำลายกิเลสเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ท่านจึงกล่าวที่เป็หลักใหญ่ๆ (มี อุปฺปาทํ เป็นต้น) โดยเสริมบทที่เป็นไวพจน์(๑๐ บท)มาสนับสนุน เพื่อแสดงความปราดเปรื่องแห่งสังขารุเปกขาญาณนั้น ส่วนในวาระของผลสมาบัติ พึงทราบว่า ท่านกล่าวเฉพาะบทหลักใหญ่ๆ เท่านั้น(บท ๕ บทมี อุปฺปาทํ เป็นต้น) เพื่อแสดงให้เห็นว่าสังขารุเปกขาญาณนี้ จะมีความเชื่องช้าก็ย่อมสามารถเป็นเหตุปัจจัยให้กับผลได้ เพราะสังขารุเปกขาในผลเป็นสภาวธรรมที่สงบ โดยปราศจากความขวนขวายดิ้นรน และเพราะสังขารุเปกขาในผลเป็นสิ่งที่ได้มาโดยอาศัยมรรค*

อนึ่ง เมื่อสามารถเข้าผลสมาบัติได้โดยต่อเนื่องแล้ว แม้ว่าสังขารุเปกขาญาณจะเชื่องช้า ก็สามารถเข้าถึงผลได้ จึงจะเห็นได้ว่าตรงตามคำในอรรถกถาที่ท่านกล่าวไว้ไม่ผิด


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

*ไม่ใช่เป็นธรรมที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ แต่เป็นผลพลอยได้จากการบรรลุมรรค จึงเรียกได้ว่า เป็นสภาวธรรมเก่าที่กลังมาเกิดขึ้นอีก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2021, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาทิฏฐิ ละมิจฉาทิฏฐิ เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นอปริหายิกธรรม
เป็นธรรมที่ไม่นำความเสื่อมมาให้ มี ๓ ระดับ

๑. ปุพพภาคสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิขั้นพื้นฐาน เช่น ความเชื่อในกรรมและผลของกรรม ว่ามีจริง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

๒. วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิที่พิจารณารูปนามเห็นเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่อยู่ในการบังคับบัญชา (เห็นเป็นอนิจลักษณะ ทุกขลักษณะอนัตตลักษณะ ของรูปนามขันธ์ ๕ )

๓. โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิในอริยมรรค เรียกว่า เป็นความเห็นถูกต้องที่แท้จริง คือ เกิดในที่มรรคจิตเกิด เป็นหนึ่งในองค์มรรค ๘

สัมมาทิฏฐิมี ๓ ระดับ คือ ช่วง ระดับต้น ระดับกลาง ระดับโลกุตตระ เพราะฉะนั้น บุคคลที่มีสัมมาทิฏฐิอย่างถูกต้อง สำหรับทิฏฐิในที่นี้เป็นการพูดรวมทั้งปุพพภาควิปัสสนา และโลกุตตระ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2021, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อานิสงส์ของผลสมาบัติ
การที่จะได้เสวยโลกุตตรสุขหลังจาดที่ได้บรรลุมรรคผลแล้ว จะต้องเข้าผลสมาบัติโดยก่อนเข้าจะต้องกำหนดระยะเวลาให้แน่นอนในขณะที่เข้าผลสมาบัติย่อมได้รับประโยชน์ คือการอยู่อย่างสงบปราศจากทุกข์ทั้งมวล นี้แหละคือประโยชน์ หรืออานิสงส์ของการเข้าผลสมาบัติ

ลักษณะการเข้าถึงสมาบัติ

เทฺวโขอาวุโสปจฺจยา อนิมิตฺตาย เจโตวิมุตฺติยา สมาปตฺริยา สพฺพนิมิตฺตานญฺจ อมนสิการกาโร. อนิมิตฺตาย จ ธาตุยา มนสิกาโร

พระบาลีดังกล่าวนี้มาในมหาเวทีลลสูตร(ม.มู.๑๒/๔๕๘/๔๐๗) ซึ่งมีใจความว่า ขณะที่กำหนดสังขารนิมิตอันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นอารมณ์อยู่ดีๆ ก็ได้สลัดทิ้งอารมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ถัดจากนั้นช่วงขณะที่จิตเข้าถึงนิพพานธาตุ อันสงบปราศจากอารมณ์ต่างๆนั่นแหละ คือการเข้าผลสมาบัติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2021, 11:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับลำดับกระบวนการเข้าผลสมาบัตินั้น พึงทราบตามนัยคัมภีร์วิสุทธิมรรคดังนี้

ผลสมาปตฺตตฺถิเกน หิ อริยาสาวเกน รโทคเตน ปฏิสลฺลีเนน อุทยพฺพยาทิวเสน สงฺขารา ปสฺสิตพฺพา. ตสฺส ปวตฺตานุปุพฺพวิปสฺสนสฺส สงฺขารารมฺมณโคตฺรภุญาณานฺตรา ผลสมาปตฺติวเสย นิโรเธ จิตฺตํ อปฺเปติ. ผลสมาปตฺตินินฺนตาย เจตฺถ เสกฺขสฺสาปิ ผงเมว อุปฺปชฺชติ น มคฺโค.

(วิสุทฺธิ. ๒/๓๘๗)

ในเบื้องต้นพระอริยสาวกผู้ต้องการจะเข้าผลสมาบัติ ต้องหลีกเร้นหาที่เงียบสงัดอยู่ตามลำพังแล้วพึงกำหนดนามรูป(สังขาร)ที่กำลังเกิดดับอยู่ไปตามลำดับญาณตั้งแต่อุทยัพพยญาณ เป็นต้น แล้วหลังจากนั้น ทันทีที่พระอริยะผู้กำหนเวิปัสสนามาตามลำดับญาณกระทั่งถึง สังขารุเปกขาญาณ แล้วต่อด้วยโคตรภูญาณซึ่งมีสังขารเป็นอารมณ์ และถัดจากนั้นจิตก็จะเข้าถึงนิโรธ(นิพพาน) ตามอำนาจของผลสมาบัติ ในที่นี้ถึงแม้จะเป็นพระเสกขบุคคล แต่มรรคก็ไม่เกิดขึ้น จะเกิดได้เฉพาะผลจิตเท่านั้น เพราะได้น้อมไปในผลสมาบัติแล้วนั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร