วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2021, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Gautama-Buddha-Transparent-PNG.png
Gautama-Buddha-Transparent-PNG.png [ 242.57 KiB | เปิดดู 280 ครั้ง ]
อาสวักขยญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ถึงที่สุดแห่งกิเลส, หยั่งรู้ได้ทันถึงความดับไปแห่งกิเลส ซึ่งจะมีในผู้ที่ได้ "อภิญญาตัวที่หก" อันนำไปสู่การบรรลุอรหันตผล โดยอาสวักขยญาณนี้ มีได้ในพระอรหันต์ทุกองค์ แต่ในพระพุทธเจ้าทรงรู้ได้ทุกสิ่ง เพราะมีสิ่งที่เรียกว่า "สัพพัญญูญาณ" อันมิใช่ "อาสวักขยญาณ" แต่พระอรหันตสาวกทั่วไปจะมีเพียง "อาสวักขยญาณ" ไม่ได้มีสัพพัญญูญาณ จึงไม่อาจรู้ได้ทุกสิ่ง ทว่าแม้ไร้ซึ่งสัพพัญญูญาณ ก็ไม่ใช่ปัญหาของการถึงซึ่งนิพพานเลย เพราะเพียง "อาสวักขยญาณ" ก็เพียงพอแล้ว ดังนั้น จึงมีวลีอธิบายอีกอย่างว่า "ใบไม้หนึ่งกำมือ" หมายถึง พระอรหันตสาวก สามารถถึงซึ่งพระนิพพานได้โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรู้ทุกสิ่ง ใช้เพียงอาสวักขยญาณก็เพียงพอแล้ว ส่วนที่พระพุทธเจ้าต้องรู้ได้ทุกสิ่งนั้น เพราะเป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นพระพุทธเจ้า ทำให้ปวงสัตว์ทั้งหลาย เชื่อมั่น, ศรัทธา, ไม่มีความคลางแคลงใจในธรรม จึงจะสามารถบรรลุธรรมที่ฟังจากพระพุทธเจ้าได้ เนื่องจาก "นิพพาน" นี้ เป็นสิ่งที่ละเอียดเกินไปกว่าบุคคลทั่วไปจะเข้าใจได้จึงจำเป็นต้องแสดงสัจธรรมความจริงทั้งหลายทั้งปวงให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย เกิดความศรัทธาเป็นเบื้องต้น เท่านั้นเอง ด้วยเหตุนี้เอง พระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น จึงมิได้มีไว้เพื่อความหลุดพ้นทุกข์หรือรู้แจ้งถึงพระนิพพานโดยตรงเลย เป็นเพียง "องค์ประกอบหนึ่ง" ที่เสริมให้ผู้ฟังเกิดความเลื่อมใสศรัทธา และหมดความลังเลสงสัยในธรรม เท่านั้นเอง ส่วนธรรมที่ทำให้ผู้ฟังบรรลุนั้น ล้วนเป็น "ใบไม้หนึ่งกำมือ" ทั้งสิ้น อันจะส่งผลให้ผู้ฟังได้ถึงซึ่ง "อาสวักขยญาณ" อันแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ด้วยเหตุนี้ "แม้ได้อ่านไตรปิฎกจนเจนจัดแล้ว" ก็ไม่อาจบรรลุธรรมได้เลย เพราะธรรมที่ได้นั้นล้วนไม่ใช่ธรรมที่เรียกว่า "ใบไม้หนึ่งกำมือ" อุปมาดั่งคนป่วย ไปเอายาของผู้อื่นมากินเอง โดยไม่ได้พบหมอ ไม่มีการสนทนาสอบถามประวัติอาการป่วย ไม่มีการวิเคราะห์คนไข้ ผู้ป่วยไม่ยอมพบหมอ (พระพุทธเจ้า) ผู้ป่วยผู้นั้นคิดว่าไปเอายามากินเองก็ได้ แล้วก็กินยาทั้งหมดไป แต่ไม่อาจหายได้เลย เพราะไม่รู้ว่าตัวเอง "ป่วยเป็นอะไร" ตั้งแต่แรกแล้ว นั่นเอง ดังนั้น การอ่านไตรปิฎกและรู้ถึงพระธรรมทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น จึงได้เพียง "สุตมยปัญญา" เท่านั้น จนตราบเมื่อได้พบ "ผู้มีธรรมแท้" และได้รับ "พระธรรมใบไม้หนึ่งกำมือ" ที่แก้โรคโง่เฉพาะตัวของคนๆ นั้นแล้ว จึงจะบรรลุธรรมได้อย่างแท้จริง อนึ่ง "อาสวักขยญาณ" นั้น ไม่ใช่ญาณที่หยั่งถึงซึ่งพระนิพพาน เป็นญาณพื้นๆ กำลังญาณไม่มาก ได้จาก "ขณิกสมาธิ" เท่านั้น เพียงมีสติว่องไวเท่าทัน กิเลสที่ดับไปเอง (ตามความไม่เที่ยง เพราะกิเลสไม่มีแก่นธรรม ไม่มีธาตุใดๆ เป็นแก่นสาร ไม่เหมือนจิตที่มี "มโนธาตุ" เป็นแก่นสารอยู่ กิเลสจึงไม่เที่ยงเกิดแล้วดับไปตามธรรมชาติได้) ก็นับเป็นอาสวักขยญาณแล้ว แต่ที่พระอรหันต์ได้แจ้งในนิพพานได้นั้น ไม่ใช่ด้วยอาสวักขยญาณเท่านั้น แต่เพราะศรัทธาในพระพุทธเจ้า เชื่อเรื่องนิพพานที่พระพุทธเจ้าตรัส แม้ตนไม่อาจหยั่งถึงได้ด้วยตนเอง แต่อาศัยอาสวักขยญาณ ก็ช่วยให้แจ้งในเรื่องนิพพานได้ด้วยศรัทธาคือเชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้านั่นเอง อนึ่ง พึงเข้าใจว่าอาสวักขยญาณไม่ใช่ญาณที่หยั่งถึงซึ่งนิพพานได้เอง

การรับ "พระธรรมหนึ่งกำมือ" นั้น ยังคงทำได้ ด้วยพระพุทธเจ้าทรงให้สัจวาจาไว้แก่ปวงสัตว์ทั้งหลายว่าจะทรงดูแลพระพุทธศาสนาจนถึงอายุพุทธกาล ๕,๐๐๐ ปี และทรงยืนยันว่าพระอรหันต์จะไม่ขาดลงไปถ้าบุคคลตั้งใจใฝ่ในธรรมของพระพุทธองค์จริงๆ ดังนั้น เราทุกคนสามารถขอรับ "พระธรรมหนึ่งกำมือ" ที่เหมาะสมเฉพาะแต่ละบุคคลได้ "เสมอ" และ "ตลอดเวลา" โดยไม่ต้องไปหาสังขารของพระพุทธเจ้าได้ที่ไหน ท่านทรงอยู่เหนือกาลเวลา, อยู่เหนือสังขาร, อยู่เหนือชาติภพใดๆ แล้ว (แต่ยังมีภาวะการดำรงอยู่ก็เท่านั้นเอง เมื่อหมดภาระหน้าที่ใน ๕,๐๐๐ ปีนี้แล้ว แม้่แต่ภาวะการดำรงอยู่ ก็ไม่จำเป็น) ขอเพียงบุคคลมีจิตศรัทธาตรงต่อพระพุทธเจ้าจริงๆ พระพุทธเจ้าแท้จริง ไม่ใช่พระพุทธรูปศักดิสิทธิ์ที่ไหน, หลวงปู่ หลวงพ่อ ผู้เลิศอภิญญาคนใด, เจ้าลัทธินิกาย สายใด, วัดใด, ประเทศไหน ฯลฯ เมื่อจิตมีศรัทธาตรงทางแล้ว ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง เพราะปวงสัตว์ทั้งหลายย่อมสามารถอาศัยบารมีพระพุทธเจ้าเป็น "สรณะ" ได้แน่นอน! (เรื่องนิพพาน พึ่งตนเองแค่เพียง ๒๐% ก็ได้ ที่เหลืออีก ๘๐% บารมีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งได้ครับ แต่ถ้าเรื่องกรรมส่วนตัวเองที่นอกเหนือไปจากเรื่องนิพพาน ควรพึ่งตัวเอง ๘๐% ที่เหลือจึงพึ่งพระโพธิสัตว์)

อาสวักขยญาณ ไม่ใช่ญาณหยั่งถึงนิพพาน

อาสวักขยญาณ ที่ทำให้บรรลุธรรมนั้น แท้แล้วมิใช่ญาณหยั่งรู้นิพพาน แต่เป็นญาณหยั่งรู้ว่ากิเลสสิ้นไปแล้วเท่านั้นเอง (ถ้าเป็นพระสาวกที่ญาณไม่สูง หยั่งถึงนิพพานเองไม่ได้ ก็จะใช้ความศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วจิตตรงกับจุดนี้ก็คือ ตรงกับประตูนิพพานก็จะบรรลุอรหันต์ได้แม้ญาณจะหยั่งไม่ถึง)

ต่างกันอย่างไร? การรู้ว่ากิเลสสิ้นไปแล้ว อาจอธิบายไม่ได้ว่านิพพานเป็นอย่างไร ส่วนญาณหยั่งรู้นิพพานนั้น จะอธิบายถึงนิพพานได้เยอะแยะ แต่เขากลับตอบไม่ได้ว่า กิเลสสิ้นไปเมื่อไร? อย่างไร? สิ้นแบบไหน?

อันนั้นแหละ เช็คได้ว่าใครถึงอาสวักขยญาณจริง

ปัจเจกโพธิญาณ อาจมีญาณหยั่งถึงนิพพานได้ แต่ไม่ใช่อรหันตสาวก

อีกแบบหนึ่งคือ ผู้ที่มีญาณหยั่งไกลหรือลึก หรือทะลุทะลวงถึงแก่นแท้ได้ แม้แต่นิพพาน เขาก็มีญาณหยั่งถึงได้ สามารถตรัสรู้นิพพานเองได้ ตรัสรู้เองเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ แต่ยังมี "สักกายทิฏฐิ" อยู่ จึงยังไม่ถึงวาระบรรลุธรรมนี่เรียกว่า "ปัจเจกโพธิญาณ" เป็นผู้ได้ญาณ พร้อมที่จะตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้าแล้ว เพียงแต่รอวาระถึงพร้อมเมื่อไรเท่านั้น เขาจะรู้เรื่อง "นิพพาน" ดี เพราะมีญาณหยั่งถึงได้ นั่นเอง แต่ญาณนี้ มิใช่ "อาสวักขยญาณ" ไม่ใช่ญาณของพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ทำให้หลายคนหลงทาง คิดว่า เขาเหล่านี้เป็นพระอรหันต์แล้ว บรรลุอรหันต์แล้ว บ้างอยู่ในเพศบรรพชิต ยิ่งน่าหลงไหลไปใหญ่ในที่สุด ก็แห่แหน ยกย่องแต่งตั้งกันเองให้เป็น "พระอรหันต์" เจริญรอยตามพระเทวทัตต่อด้วยการตั้งสำนักปฏิบัติตามแนวทางของตน ที่ตนคิดว่าถูกต้องแต่หารู้ไม่ว่า สิ่งที่ตนได้เป็นเพียง "ปัจเจกโพธิญาณ" มิใช่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร