วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2021, 08:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1633472927476.jpg
FB_IMG_1633472927476.jpg [ 22.49 KiB | เปิดดู 1355 ครั้ง ]
สันตานุสัย

กิเลสที่มีอยู่ในสันดานของปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามีทั้งหลาย ซึ่งเป็นกิเลสที่ยังละไม่ได้ด้วยมรรคและอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อถ้ามีเหตุปัจจัยพร้อม กิเลสดังกล่าวนี้ท่านเรียกว่าสันตานานุสัยกิเลสกิเลสดังกล่าวซึ่งพร้อมที่จะเกิดขึ้นในสันดานของบุคคลเหล่านั้นท่านเรียกว่า เป็นกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ เปรียบเหมือนผู้ป่วยเป็นโรคกระเสาะกระแสะ ยังไม่หายขาด ซึ่งถูกถามว่า สบายดีหรือ เขาก็จะต้องบอกว่า"ไม่สบาย" ทั้งๆทีทตอนถูกถามนั้นตนเองก็ไม่มีไข้ และต่อไปก็ยังจะต้องมีไข้อีกดังนั้น จึงตอบว่าไม่สบายฉันใด อนุสัยนี้ก็ฉันนั้น คือกิเลสเหล่านี้ถีงแม้จะมิได้ปรากฏขึ้นอยู่ใปัจจุบันด้วยอำนาจแห่งขณะ ๓ คืออุปาทะ ฐีติ ภังคะก็ตาม แต่เนื่องจากเคยเกิดขึ้นมาก่อนและจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในภายภาคหน้า จึงชื่อว่าเป็นกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ คือพร้อมที่จะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อในจิตสันดานของแต่ละบุคคลซึ่งมีมากน้อยไม่เท่ากัน

อนึ่ง โดยปกติ อนุสัยกิเลสมีทั้งหมด ๗ อย่าง ซึ่งสามารุเกิดได้ในจิตสันดานของปุถุชน ส่วนพระโสดาบันและพระสกทาคามีนั้นเนื่องมาจากได้ละทิฏซิและวิจิกิจฉาได้โดยเด็ดขาดแล้วจึงเหลืออนุสัยเพียง ๕ อย่างเท่านั้นที่จะเกิดขึ้นได้ สำหรับพระอนาคามีเนื่องจากท่านละกิเลสได้เกือบหมดจึงเหลือเพียงอนุสัย ๓ อย่าง คือ ภวราคะ มานั และอวิชชาเท่านั้นที่จะมีสิทธิ์เกิดขึ้นได้อีก

เกี่ยวกับความเกิดขึ้นของอนุสัยนี้ยังมีอุปมาอีกข้อหนึ่งคือเปรียบเหมือนบุคคลผู้บริโภคเนื้อสัตว์เป็นประจำ แต่ก็มีบางครั้งที่ไม่ได้บริโภค ซึ่งเขาถูกผู้คนถามว่า ท่านบริโภคเนื้อสัตว์อยู่หรือไม่ เขาก็จะต้องตอบว่า บริโภค ทั้งๆที่ขณะนั้นเขาก็ไม่ได้บริโภคเลย หากแต่ว่าตนเคยบริโภคมาก่อนแล้วแม้ขณะนั้นจะไม่ได้บริโภคก็ตาม แต่ก็จะบริโภคในเวลาต่อไปอย่างแน่นอนฉันใด การนอนเนื่องของอนุสัยภายในจิตสันดานของบุคคลนั้นก็ฉันนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2021, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1633471765658.jpg
FB_IMG_1633471765658.jpg [ 21.07 KiB | เปิดดู 1308 ครั้ง ]
ข้อความที่ว่าด้วยเรื่องอนุสัยกิเลสนั้นมีมาในพระบาลียมก ดังนี้

อนาคามิสฺส อวิชฺชานุสโย จ มานานุสโย จ ภวราคานุสโย จ อนุเสนฺติ เปฯ ทฺวินฺนํ ปุคฺคลานํ อวิชฺชานุสโย จ กามราคานุสโย จ ปฏิฆานุสโย จ มานานุสโย จ ภวราคานุสโย จ อนุเสนฺติ โน จ เตสํ ทิฏฺฐานุสโย จ วิจิกิจฺฉานุสโย จ อนุเสนฺติ. ปุถุชฺชนสฺส อวิชฺชานุสโย จ อนุเสติ, กามราคานุสโย จ ปฏิฆานุสโย จ มานานุสโย จ ทิฏฺฐานุสโย จ วิจิกิจฺฉานุสโย จ ภวราคานุสโย จ อนึเสนฺติ.[/size]

(อภิ.ย. ๓๘/๑๓/๓๔๐)

อวิชชานุสัย มานานุสัย และภวราคานุสัยย่อมนอนเนื่องในสันดานของพระอนาคามี ฯลฯ อวิชชานุสัย กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย มานานุสัย และ ภวราคานุสัยย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคล ๒ จำพวก คือ พระโสดาบัน และพระสกทาคามี ส่วนทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัยย่อมไม่นอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลทั้ง ๒ จำพวกดังกล่าว อวิชชานุสัย กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และภวราคานุสัยย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของปุถุชน

ตามพระบาลีที่ยกมานี้ มิใช่เป็นการแสดงว่า อนุสัยจะต้องเกิดขึ้นในจิตดวงเดียวกันและในขณะเดียวกัน ด้วยว่ากามราคะกับภวะราคะก็ดี ราคะกับปฏิฆะและวิจิกิจฉาก็ดี ปฏิฆะกับมานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา และราคะก็ดี มานะกับทิฏฐิ วิจิกิจฉา และปฏิฆะก็ดี ทิฏฐิกับวิจิกิจฉาก็ดี ภวราคะกับมานะก็ดี เป็นธรรมที่ไม่เกิดร่วมกัน แต่ทรงแสดงคู่กันไว้นั้นพึงทราบว่า เป็นการแสดงด้วยอำนาจความเป็นอนุสัย เพราะเหตุว่าอนุสัยกิเลสนั้น มิใช่เป็นกิเลสที่กำลังอยู่ในช่วงของการอุบัติ(อุปปาทะ ฐีติ ภังคะ) เหมือนอย่างปริฏยุฏฐานกิเลส และวีติกกมกิเลส แต่เป็นกิเลสที่เกิดขึ้นในสันดานของบุคคลนั้นๆ แล้วก็จะเปลี่ยนชื่อจากอนุสัยเป็นปริฏยุฏฐานกิเลสไป ดังนั้น อนุสัยกิเลสจึงเป็นเพียงกิเลสที่นอนเนื่องอยู่เท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2021, 04:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่งตามพระบาลีจากคัมภีร์ยมกได้ยกมาแสดงถึงความนอนเนื่องร่วมกันของกามราคะและปฏิฆะ(ซึ่งเจตสิกที่เกิดขึ้นต่างกัน)ดังนี้ว่า
โค้ด:
ยสฺส กามรานุสโย อนุเสติ. ตสฺส ปฏิฆานุสโย อนุเสตีติ. อามนฺตา. ยสฺส กามราคานุสโย อุปฺปชฺชติ ปฏิฆานุสโย อุปฺปชฺชตีติ. อามนฺตา.
(อภิ.ย.๓๘/๓.๓๓๐/๓๓๕.๕๔๓)

(ปุจฉาว่า) กามราคานุสัยนอนเนื่องอยํในสันดานของบุคคลใด ในสันดาลของบุคคลนั้นมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่หรือไม่(วิสัชนาว่า) มี

(ปุจฉาว่า) กามราคานุสัยกำลังเกิดขึ้นในสันดาลของบุคคใด ในสันดานของบุคคลนั้น ปฏิฆานุสัยกำลังเกิดขึ้นอยู่หรือ(วิสัชนาว่า) ใช่ กำลังเกิด

และในคัมภีร์อรรถกถาซึ่งแก้บาลียมดท่านได้กล่าวอธิบายไว้ว่า
โค้ด:
ยมฺหิ สนฺตาเน อนุสยา อปฺปหีนา. ยมฺหิ วา ปน เนสํ สนฺตาเน อุปฺปตฺติปจฺจเย สติ อุปฺปตฺติ อนิวาริตา. ตตฺถ อนุปฺปชฺชนกฺขเณปิ อุปฺปนฺนปฺพฺพญฺเจว กาลนฺตเร อุปฺปชฺชมานกญฺจ อุปาทาย ยสฺส  กามราคานุสโย อุปฺปชฺชติ. ตสฺส ปฏิฆานัสโย อุปฺปชฺชติเยว นาม.
อนุสัยยังไม่ถูกละเด็ดขาดโดยสันดานใด หรืออีกอย่างหนึ่ง การอุบัติขึ้นแห่งอนุสัยเหล่านั้นในสันดานใดมิได้ถูกห้าม(ห้ามยังไม่ได้หรือยังละไม่ได้ด้วยสมถะหรือวิปัสสนา) ในเมื่อปัจจัยที่จะทำให้เกิดขึ้นมีอยู่ ในสันดานดังกล่าวนั้น ถึงแม้ว่าจะมิใช่ช่วงขณะที่กิเลสกำลังเกิด แต่ก็เรียกว่าเป็น ยสฺส กามราคานุสโย อุปฺปชฺชติ. ตสฺส ปฏิฆานุสโย อุปฺปบฺชติ=กามราคานุสัยเกิดในสันดานของบุคคลใเ ปฏิฆานุสัยก็เกิดในสันดานของบุคคลนั้นได้เหมือนกัน เพราะอาศัยการเทียบเตียงกับกิเลสที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและที่จะเกิดขึ้นในกาลข้างหน้า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2021, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อความแห่งอรรถกถาที่ยกมาข้างต้นนี้มีจุดประสงค์ให้รู้ว่าในสันดาน(ภายใน)ของบุคคลผู้ยังไม่สามารถที่จะห้ามเพื่อมิให้กิเลสเกิดขึ้นในเมื่อมีปัจจัยเอื้ออำนวยให้เกิดขึ้น กิเลสก็สามารถที่จะแผลงฤทธิเกิดขึ้นมาได้ เรียกตามบาลีว่าถามคตะ(มีพลัง)กิเลส ๗ ประการที่เป็นถามคตะนี้แหละชื่อว่านอนเนื่องเป็นอนุสัยภายใน

อนึ่ง ในคัมภีร์มูลฎีกาอธิบายว่า ข้อที่ว่า ถามคตะนี้มีความเกี่ยวข้องกับอนุสัย ๗ อย่างเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับกิเลสเหล่าอื่น เพราะฉะนั้น ถึงแม่จะเป็นกิเลสที่ยังไม่ได้ละโดยเด็ดขาดด้วยมรรค แต่ถ้าไม่เป็นถามคตะก็ไม่เป็นอนุสัย

อีกนัยหนึ่ง ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านได้อธิบายไว้ว่า มิใช่เฉพาะกิเลสที่ยังละไม่ได้โดยเด็ดขาดด้วยอรินะมรรคเท่านั้นที่ชื่อว่าอนุสัย แม้แต่กิเลสที่ยังไม่ได้ข่มไว้ ด้วยสมถะหรือวิปัสสนาก็ชื่อว่าอนุสัยเช่นกัน

ตามพระบาลีแลัอรรถกถาที่ยกมานี้ พึงทราบว่า อนุสัยดังกล่าวไม่ว่าจะอยู่ภายในสันดานของปุถุชนหรือพระเสกขบุคคลก็ตาม ซื่อว่านอนเนื่องอยู่ตลอดเวลา คือไม่ว่ากาลไหนๆ เช่น แม้แต่ขณะที่เกิดกุศลจิต วิปากจิต ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต หรือจุติจิต อนุสัยดังกล่าวก็ยังนอนเนื่องอยู่เหมือนเดิม หรือแม้แต่ภายในสันดานของ
อสัญญสัตตบุคคลก็ยังนอนเนื่องอยู่ ส่วนเวลาที่อกุศลจิตเกิดขึ้นนั้นยิ่งไม่จำเป็นต้องเอ่ยถึง(เพราะอนุสัยก็คือกิเลส กิเลสก็คืออกุศล ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีความสงสัยเหมือนจิตอื่นๆ)กิเลสทั้งหลายดังกล่าว ที่นอนเนื่องในสันดานภายในของปุถุชนและพระเสกขบุคคล ซึ่งอาจเป็นทั้ง ๗ อย่างเลย หรือ ๕ อย่าง หรือ ๓ อย่าง ก็ล้วนมีชื่อว่า สันตานานุสัยส่วนธรรมที่จะสามารถละอนุสัยเหล่านั้นชนิดถอนรากถอนโคนได้ ก็มีแต่มรรคเท่านั้น ส่วนธรรมอื่นๆ วิปัสสนาก็ละด้วยการข่มไว้ชั่วคราวเท่านั้น(วิปัสสนาละได้ด้วยอำนาจวิกขัมภนะดูในวิสุทธิมรรค)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2021, 11:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ดังที่ได้กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่าเรื่องของอนุสัยนั้นมีความเกี่ยวข้องกับอนิจจานุปัสสนาซึ่งเป็นประเด็นหลัก ประเด็นหนึ่งที่กำลังกล่าวถึงในปริเฉทนี้ โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า อนิจจานุปัสสนาละนิจจสัญญาได้นั้น ถ้าจะสรุปความตามนัยที่อธิบายมาแล้วจะเห็นได้ว่า เป็นการละ อารัมมณานุสัย ปริยุฏฐานกิเลส และวีติกกมกิเลสที่เนื่องมาจากอนุสัยนั้น พร้อมทั้งกรรมและวิบาดได้ด้วยอำนาจตทังคปหาณ ดังนั้นพึงทราบว่าข้อความของวิสุทธิมรรค อนิจฺจานุปสฺสนํ ภาเวนฺโต นิจฺจสญฺญํ ปชหติ. ผู้เจริญอนิจจานุปัสสนา ย่อมละนิจจสัญญาได้ นั้นท่านประสงค์เอาการละด้วยตทังคปหาณดังกล่าว

ถ้าเห็นอนิจจังก็เท่ากับเห็นทุกขังและอนัตตา

อ่านกระทู้ที่เชื่อมต่อ
viewtopic.php?f=66&t=60726

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร