วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 15:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2021, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกขานุปัสสนา

ตั้งแต่ทุกขานุปัสสนาเป็นต้นไปนี้ จะอธิบายเฉพาะข้อความที่พิเศษแตกต่างจาอนิจจานุปัสสนา เท่านั้น ดังนั้น ข้อความที่ซ้ำกันหรือคล้ายกันก็จะละไว้ ถ้าท่านใดเกิดสงสัยก็ให้ไปดูที่เรื่องอนิจานุปัสสนาได้

ญาณที่กำหนดเห็นนามรูปสังขารเป็นทุกข์เรียกว่าทุกขานุปัสสนา หมายความว่า ในขณะที่นักปฏิบัติกำลังกำหนดนามรูปตามสภาพที่เป็นจริงก็จะเห็นนามรูปถูกความเกิด-ดับล้อมรุมทำร้าย จึงเห็นนามรูปเป็นทุกข์

ขันธ์ ๕ หรือที่เรียกกันว่า นาม รูป ซึ่งมีความเกิด-ดับ ปรากฏในทวาร ๖ นั้นชื่อว่า ธรรมอันเป็นทุกข์ เพราะเหตุที่ถูกความเกิดดับเบียดเบียน อาการที่ถูกความเกิด-ดับเบียดเบียนนั้น ท่านเรียกว่าทุกขลักษณะ(ลักษณะเป็นเครื่องสังเกตุให้รู้ว่านี่คือทุกข์) ส่วนญาณที่กำหนดเห็นทุกขลักษณะอันเป็นเหตุให้รู้ว่านามรูปเป็นทุกข์นั้น เรียกว่าทุกชานุปัสสนา และแม้แต่การกำหนดเห็นว่า เป็นสิ่งที่น่ากลัวน่าเกลียด น่าขยะแขยง หรืออะไรอื่นๆ ที่เป็นไปในทางที่ไม่ดี ก็ล้วนแล้วแต่เรียกว่าทุกขาวิปัสสนาทั้งสิ้น
โค้ด:
ยทนิจฺจํ ตํ ทุก์ขนฺติ วขนโต ปน ตเทว ขนธปญฺจกํ ทุกฺขํ. กสฺมา ?
อภิญฺหปฺปฏิปิฬนา. อภิณฺหปฺปฏิปฺปีฬนากาโร ทุกฺขลกฺขณํ
(วิสุทธิ. ๒/๓๑๓)

ก็เพราะมีพุทธดำรัสว่า"ธรรมใดไม่เที่ยง ธรรมนั้นเป็นทุกข์" ฉะนั้นจึงรู้ได้ว่า)ขันธ์ ๕ ดังกล่าวเป็นทุกข์ ถามว่า "เพราะสาเหตุอะไรจึงเป็นทุกข์" ตอบว่า "เพราะถูกความเกิดดับล้อมรุมเบียดเบียนอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นจึวเป็นทุกข์ จริงอยู่อาการที่ถูกความเกิดดับเบียดเบียน อยู่ตลอดเวลา ท่านเรียกว่า ทุกขลักษณะ"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2021, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกขลักษณะ ๓ ประการ

ทุกขลักษณะโดยทั่วไป มี ๓ ประการ ดังนี้
๑. ทุกขทุกขลักษณะหรือทุกขทุกขตา หมายถึงอาการของทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นได้ทางกายและใจ
๒. วิปริณามทุกขลักษณะหรือวิปริณามทุกขตา หมายถึงอาการที่ไม่เที่ยงหรืออาการที่แปรเปลี่ยนของสุขเวทนาที่เกิดขึ้นทางกายและทางใจ
๓. สังขารทุกขลักษณะหรือ สังขารทุกขตา หมายถึงอาการที่ถูกความเกิดดับของสังขารเบียดเบียนแทรกแซง

ก็ข้อความที่ยกมาข้างต้นนั้น ท่านต้องการแสดงเฉพาะสังขารทุกขลักษณะเท่านั้น เพราะเห็นว่าเป็นลักษณะทีมีความเกี่ยวเนี่องกับเตภูมกสังขาร(สังขารในไตรภูมิ)ทั้งหมด ดังที่พระฏีกาจารย์ท่านได้ไขความไว้ว่า ตีสุ ทุกฺขตาสุ สงฺขารทุกฺตาว พฺยปินี.(วิสุทธิ.ฎี. ๒/๔๓๓)=ในบรรดาทุกขลักษณะทั้ง ๓ ประการนั้นสังขารทุกขตานั้น ครอบคลุมไปในสังขารทั้งหมดทั้งปวง

นามรูปมีความเกิดดับทางทวาร ๖(ประสาท ๖) อยู่ อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาผู้ใดมิได้กำหนดรูปนามดังกล่าว ย่อมสามารถที่จะรู้อาการที่ถูกความเกิด-ดับเบียดเบียนได้ และผู้ที่มิได้ใส่ใจอารมณ์นั้น ถ้ายํในอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเวลานานๆ จนเกิดอาการเมื่อยขบ หรือทุกขเวทนาอย่างอื่นจนทนไม่ไหว เขาก็จะเปบี่ยนอิริยาบถใหม่ โดยปราศจากกำหนดเวทนาดังกล่าวคือไม่กำหนดเวทนาดังกล่าวให้เห็นเป็นเพียงสภาวธรรมเมื่อเป็นเช่นนี้เวทนานั้นก็จะไม่ปรากฏเนื่องจากถูกอิริยาบถใหม่ปิดบังเอาไว้ทำให้ไม่อาจเห็นแม้แต่ทุกขลักษณะกล่าวคือทุกขเวทนาความเจ็บปวด จัดเป็นทุกขเวทนาที่หยาบ มีลักษณะปรากฏชัดกว่าทุกขลักษณะที่เหลือ ดังนั้น การที่จะเห็นทุกขที่เหลือคืวิปริณามทุกข์ และสังขารทุกข์ได้นั้นจึงเป็นเรื่องยาด เมื่เป็นเช่นนี้ ทุกขานุปัสสนาตัวจริงจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2021, 12:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ที่กำหนดรูปดังกล่าว ย่อมสามารถรู้อาการที่ถูกความเดิด-ดับเบียดเบียนได้ และเมื่อใส่ใจอาการเหล่านั้นแล้ว ก็จะสามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงหรือความดับไปของสุขเวทนาในอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งอแล้วกลายมาเป็นทุกขเวทนามาแทน ซึ่งเรียกว่า วิปริณามทุกขลักษณะ ในขณะเดียวกันก็สามารถกำหนดรู้แม้กระทั้งทุกขเวทนาความเจ็บปวด เช่นความเมื่อยขบอาการเหน็บชาเป็นต้น โดยเห็นเป็นเพียงสภาวธรรม ธรรมดาของสังขารเท่านั้นและสามารถกำหนดได้ทันอาการที่เกิดขึ้น เช่น ในเวลาที่เวทนามีความเจ็บปวดสุดขีดจนต้องเปลี่ยนอิริยาบถ ขณะกำลังเปลี่ยน ขณะที่เปลี่ยนแล้วซึ่งทำให้ทุกขเวทนาหายไป และสุขเวทนาใหม่ก็เข้ามาแทนที่ นักปฏิบัติผู้ที่สามารถกำหนดได้เช่นนี้ชื่อว่า เป็นผู้เพิกอิริยาบถที่เป็นตัวปิดบังทุกข์ออกได้ ดังนั้นแม้แต่ทุกขเวทนา ที่ละเอียดอ่อน เขาก็กำหนดเห็นได้ และทุกขานุปัสสนาชื่อว่า ย่อมปรากฏแก่เขาโดยเป็นของแท้ และถูกต้องตามสภาวธรรม ดังที่ท่านได้กล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า
โค้ด:
ทุกฺขลกฺขณํ  อภิณฺทสมฺปฏิปิฬนสฺส อมนสิการา อิริยาปเถหิ ปฏิจฺฉนฺนตฺตา น อุปฏฺฐาติ   อภิณฺทสมฺปฏิปิฬนํ มนสิกตฺวา อิริยาปเถ  อุคฺฆาฏิเต ทุกฺขลกฺขณํ ยาถาวสรสโต อุปฏฺฐาติ.
(วิสุทธิ.๒/๓๐๒)

เมื่อไม่มีมนสิการเอาใจใส่ อาการที่ถูกความเกิด-ดับตามรัควานเบียดเบียนอยู่เป็นนิจ จึงทำให้ทุกขลักษณะไม่ปรากฏ เนื่องจากถูกอิริยถคอยปกปิดไว้ แต่อิริยาบถถูกแหวกออก เพราะเหตุที่ได้มนสิการ เอาใจใส่อาการดังกล่าวแล้ว ทุกขลักษณะก็ปรากฏตามสภาพตามความเป็นจริงของตน

ตามข้อความที่ยกมานี้ พึงทราบว่า ยังเป็นการแสดงถึงอาการของทุกขลักษณะอย่างเดียวเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว ยังเป็นการแสดงถึงสังขารทุกขลักษณะและปริณามทุกขลักษณะที่เหลือด้วย โดยสังเกตุจากคำว่า"มนสิการเอาใจใส่อาการที่ถูกความเกิด-ดับตามเบียดเบียนอยู่เป็นนิด" ดังนี้ ซึ่งเป็นข้อความที่คลุมถึงลักษณะของทุกข์ดังกล่าวด้วย
อนึ่ง ทุกครั้งที่ทุกขานุปัสสนาตัวจริงปรากฏขึ้น ก็จะทำหน้าที่ละสัญญาวิปัสลาสมีสุขสัญญาเป็นต้น โดยมีขั้นตอนการละดังจ่อไปนี้

ตราบใดที่บุคคลยังสามารถเห็นอารมณ์อันได้แก่นามรูแตามความเป็นจริง(คือเป็นทุกข์) ตราบนั้นก็จะยังมีความสำคัญอยู่ว่า อารมณ์นั้นเป็นสุขอยู่ นี้เป็นความสำคัญผิดชนิดที่เรียกว่าสัญญาวิปัลลาส และนอกจากสัญญาวิปัลลาสแล้ว ยังเกิดสภาวธรรมอื่นๆ เช่น ทิฏฐิวิปัลลาส(ความเห็นผิดเพี้ยน) และจิตตวิปัลลาส(เข้าใจผิดเพี้ยน) กิเลสเหล่าอื่นที่เหลือ ตลอดถึงกุศล อกุศล และวิบากด้วย แต่ถ้ารู้นามรูป ตามสภาพตามความเป็นจริงแล้วธรรมทั้งหลายดังกล่าวก็จะเกิดขึ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2021, 04:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนสาเหตุที่ธรรมดังกล่าว(สัญญาวิปัลลาส ฯลฯ วิบาก) ไม่สามารถเกิดขึ้นได้นั้น เป็นเพราะถูกทุกขานุปัสสนาจัดออกไปนั่นเอง ดังที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า
ทุกฺขานุปสฺสนํ ภาเวนฺโต สุขสญฺญ ปชหติ=ผู้ที่เจริญทุกขานุปัสสนาย่อมสามารถละสุขสัญญาได้ ในปฏิสัมภิทามรรคก็กล่าวไว้ในทำนองเดียวกันว่า ทุกฺขโต อนุปสฺสนฺโต สุขสญฺญํ ปชหติ. (ขุ.ปฏิ.๓๑/๕๒/๕๙)= ผู้ที่กำหนดเห็นว่าเป็นทุกข์ ย่อมสำคัญละความว่าเป็นทุกข์ได้
ข้อควรจำ
ในขณะที่กำหนดนามรูปซึ่งเป็นอารมณ์ทางทวาร(ประสาท ๖)ตามสภาพตามความเป็นจริงในขณะนั้น ไม่ว่าจะด้วยการเห็นอาการที่ถูกความเกิด-ดับเบียดเบียนอยู่ก็ดีอาการแปรเปลี่ยนแล้วแตกสลายไปก็ดี หรืออาการเจ็บปวดทางกายและจิตอย่างรุนแรง ความรู้อย่างถ่องแท้ว่า"นี้ทุกข์"ย่อมเกิดขึ้นซึ่งเรียกว่าปัจจักขทุกขานุปัสสนา หมายถึงญาณที่รู้แจ้งทุกข์โดยประจักษ์ เมื่อได้อย่างประจักษ์แจ้งโดยถ่องแท้แล้ว จะสามารถนำมาเปรียบเทียบกับนามรูป ที่เป็นอดีตหรืออนาคตนามรูปภายนอกได้ทั้งหมดซึ่งเป็นอารมณ์ที่ไม่อาจรํด้วยปัจจักขญาณได้โดยนัยว่า นามรูปที่เป็นอารมณ์ปัจจุบัน เป็นทุกข์ ฉันใด นามรูปที่เป็นอดีต อนาคต หรือนามรูปภายนอก (นามรูปของผู้อื่น)ก็เป็นทุกข์ฉันนั้น นี้เป็นการตัดสินโดยการอนุมาณ ซึ่งท่านเรียกว่าอนุมานทุกขานุปัสสนา หมายถึงญาณที่รู้แจ้งทุกข์ด้วยการคาดคะเนหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอันวยญาณคือญาณที่อนุโลมตามปัจจักขญาณ
ทุกขานุปัสสนาญาณทั้งสองนี้ ย่อมปรากฏโดยเริ่มต้นตั้วแต่สัมมสนญาณขึ้นไป และสามารถทำหน้าที่ประหาณกิเลสได้ที่ภังคญาณขึ้นไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2021, 04:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ส่วนสาเหตุที่ธรรมดังกล่าว(สัญญาวิปัลลาส ฯลฯ วิบาก) ไม่สามารถเกิดขึ้นได้นั้น เป็นเพราะถูกทุกขานุปัสสนาจัดออกไปนั่นเอง ดังที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า
ทุกฺขานุปสฺสนํ ภาเวนฺโต สุขสญฺญ ปชหติ=ผู้ที่เจริญทุกขานุปัสสนาย่อมสามารถละสุขสัญญาได้ ในปฏิสัมภิทามรรคก็กล่าวไว้ในทำนองเดียวกันว่า ทุกฺขโต อนุปสฺสนฺโต สุขสญฺญํ ปชหติ. (ขุ.ปฏิ.๓๑/๕๒/๕๙)= ผู้ที่กำหนดเห็นว่าเป็นทุกข์ ย่อมสำคัญละความว่าเป็นทุกข์ได้
ข้อควรจำ
ในขณะที่กำหนดนามรูปซึ่งเป็นอารมณ์ทางทวาร(ประสาท ๖)ตามสภาพตามความเป็นจริงในขณะนั้น ไม่ว่าจะด้วยการเห็นอาการที่ถูกความเกิด-ดับเบียดเบียนอยู่ก็ดีอาการแปรเปลี่ยนแล้วแตกสลายไปก็ดี หรืออาการเจ็บปวดทางกายและจิตอย่างรุนแรง ความรู้อย่างถ่องแท้ว่า"นี้ทุกข์"ย่อมเกิดขึ้นซึ่งเรียกว่าปัจจักขทุกขานุปัสสนา หมายถึงญาณที่รู้แจ้งทุกข์โดยประจักษ์ เมื่อได้อย่างประจักษ์แจ้งโดยถ่องแท้แล้ว จะสามารถนำมาเปรียบเทียบกับนามรูป ที่เป็นอดีตหรืออนาคตนามรูปภายนอกได้ทั้งหมดซึ่งเป็นอารมณ์ที่ไม่อาจรํด้วยปัจจักขญาณได้โดยนัยว่า นามรูปที่เป็นอารมณ์ปัจจุบัน เป็นทุกข์ ฉันใด นามรูปที่เป็นอดีต อนาคต หรือนามรูปภายนอก (นามรูปของผู้อื่น)ก็เป็นทุกข์ฉันนั้น นี้เป็นการตัดสินโดยการอนุมาณ ซึ่งท่านเรียกว่าอนุมานทุกขานุปัสสนา หมายถึงญาณที่รู้แจ้งทุกข์ด้วยการคาดคะเนหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอันวยญาณคือญาณที่อนุโลมตามปัจจักขญาณ
ทุกขานุปัสสนาญาณทั้งสองนี้ ย่อมปรากฏโดยเริ่มต้นตั้งแต่สัมมสนญาณขึ้นไป และสามารถทำหน้าที่ประหาณกิเลสได้ที่ภังคญาณขึ้นไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 88 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร