วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 14:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2021, 10:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในคัมภีร์อัฏฐกถาท่านได้กล่าวไว้ว่า เทฺว คมฺภีรตฺตา ทุทฺทสานิทั้งนิโรธสัจและมรรคสัจล้วนมีสภาวะที่เห็นได้ยาก เพราะเป็นสภาวะที่ลุ่มลึก ดังนั้น พึงทราบว่านิโรธสัจนั้น สำหรับปุถุชนผู้ไม่เคยสัมผัสอริยสัจทั้งสองนี้แล้วถือว่าเป็นสิ่งที่ยากยิ่ง

ปุถุชนย่อมไม่รู้นิโรธสัจและมรรคสัจได้ เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติเพียงแค่น้อมจิตไปตามที่ตนได้ยินว่า สภาวะคือนิโรธะและมรรคเป็นสิ่งที่ดีเป็นสิ่งที่เลิศ เป็นสิ่งที่ประเสริฐเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องทำการนึกคิดพินิจพิจารณา แต่เมื่อใดโยคีพยายามปฏิบัติจนได้อุทยัพพยญาณแล้ว ก็จะสามารถพิจารณารู้เห็นสาเหตุของ การไม่เกิดขึ้นแห่งขันธ์ ๕ ได้โดยอัตโนมัติว่าเป็นเพราะอวิชชา ตัณหา กรรม อาหาร ผัสสะ นามรูป ไม่เกิดขึ้นเอง และเมื่อใดโยคีเข้ถึงอุทยัพพยญาณก็จะสามารถรู้ได้โดยอัตโนมัติว่า ตราบใดที่ยังมีการเห็น การได้ยิน การกระทบสัมผัส การตรึก นึกคิด และการจำได้หมายรู้ ตราบนั้น ขันธ์ ๕ ก็จะยังไม่สงบระงับ หากขันธ์ ๕ ไม่ได้รับการกระตุ้นจากเหตุปัจจัยเหล่านี้แล้ว ขันธ์ ๕ นั้นจึงจะสงบระงับได้ จะอย่างไรก็ตาม เมื่อโยคีเข้าถึงญาณมีภยญาณเป็นต้นแล้ว ย่อมสามารถที่จะรู้โดยอัตโนมัติว่า ตราบใดที่ยังมีการเห็น การได้ยิน การสัมผัส การตรึดนึกคิดและการจำได้หมายรู้เป็นต้นอยู่ ขันธ์ ๕ นั้นก็จะยังคงเป็นไป ต่อเมื่ไม่มีเหตัปัจจัยเหล่านั้นเท่านั้น ขันธ์ ๕ จึงจะสงบ(ดับ)ลงได้ ถ้าหากไม่ทีการเห็นเป็นต้นเหล่านั้นก็คงจะดีเป็นแน่ ซึ่งการรู้เช่นนี้ ย่อมสอดคล้องกับพระบาลีปฏิสัมภิทามรรคที่ว่า"อุปฺปาโท ภยํ อนุปฺปาโท เขมํ การเกิดที่น่ากลัวการไม่เกิดเป็นความสงบสุข

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2021, 11:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20200207_164304.jpg
20200207_164304.jpg [ 167.61 KiB | เปิดดู 1002 ครั้ง ]
อนึ่ง การที่โยคีรูเช่นนี้ เป็นการรู้นิโรธะโดยอนุมานญาณที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังกำหนดวิปัสสนาอยู่ อนึ่ง เมื่อโยคีเข้าถึงมุญจิตุกัมมยตาญาณ ก็ อาจทำให้เกิดอาการไม่อยากกำหนดได้ ทั้งนี้เพราะได้เห็นแต่สภาวธรรมที่ไม่ดีนั้นเอง บางท่านถึงขนาดหยุดกำหนดก็มี แม้ว่าโยคีนั้นจะหยุดกำหนด แต่ด้วยอำนาจของวิปัสสนาที่ได้เจริญมาแล้วนั้น รูปนามทั้งหลายเหล่านั้น ก็จะมีปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าโยคีจะไม่เอาใจใส่กำหนดรูปนามเหล่านั้นแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีรูปนามเหล่านั้นอยู่ตลอด โยคีผู้นั้นไม่ว่าจะทำการกำหนดอยู่ หรือไม่ต้องการที่จะกำหนดอยู่ก็ตาม ก็จะเกิดการรู้เห็นที่ว่า รูปนามเหล่านี้ย่อมไม่สงบด้วยอำนาจการสักแต่ว่าอยู่โดยกำหนด แต่รูปนามเหล่านี้จะสงบได้ก็ต่อเมื่อได้เห็นพระนิพพานอันเป็นที่สงบอย่างแน่แท้จริงเท่านั้น ซึ่งญาณหยั่งรู้ที่เกิดขึ้นเช่นนี้ เป็นญาณที่รู้มรรคสัจโดยอนุมาณเกิดขึ้น ในขณะเจริญวิปัสสนาที่กล่าวมานี้เป็นลักษณะของการรับอริยะสัจ ๔ มาเป็นอารมณ์ ในขณะที่เจริญวิปัสสนา

ในบรรดาอริยสัจ ๔ นั้นพึงทราบว่าทุกขสัจเท่านั้นเรีกยกว่าวิญเญยฺยธรรมเป็นสภาวธรรมอันพึงกำหนดรู้ ส่วนอริสัจทั้งสามที่เหลือ ไม่เรียกว่า วิญเญยยธรรม ซึ่งในอริยสัจทั้งสามเหล่านั้น สมุทยสัจเป็นปหาตัพพธรรมเพราะเป็นธรรมที่ควรละ นิโรจสัยเป็นสัจฉิกาตัพพธรรมกล่าวคือ ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง มรรคสัจเป็นภาเวตัพพธรรมกล่าวคือ ธรรมที่ควรทำให้บังเกิดขึ้นในขันธสันดานของตน เพราะฉะนั้น หากโยคีสามารถละสมุทยสัจ กระทำให้แจ้งนิโรธสัจ ทำให้มรรคสัจเกิดขึ้นแล้วเรียกว่า เป็นผู้รู้อริยสัจทั้งสามเหล่านี้นั่นเทียว

ในการกำหนดแต่ละครั้งนั้น กิจทั้ง ๔ ประการ กล่าวคือการกำหนดรู้ การละ การกระทำให้แจ้ง การกระทำให้แจ้งในสันดาน ย่อมสำเร็จไปพร้อมๆกัน ในเวลาเดียวกันนั่นเอง เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าในทุกขณะของการกำหนดนั้น โยคีย่อมรู้อริยสัจ ๔ ได้นั่นเทียว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 33 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร