วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 20:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2021, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




SmartSelectImage_2020-05-20-04-37-00.png
SmartSelectImage_2020-05-20-04-37-00.png [ 397.17 KiB | เปิดดู 1109 ครั้ง ]
รูปธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปฏิสนธิมานั้นเพราะอาศัยเหตุปัจจัย ๔ ประการคือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม ที่มีมาแต่ในอดีตชาติ นามและรูปเหล่านี้สามารถดำรงค์อยู่อย่างต่อเนื่องได้จนถึงบัดนี้ก็เพราะอาศัยอาหารที่รับประทานเข้าไปในภพปัจจุบัน และรูปต่างๆ เกิดขึ้น เช่น รูปกำลังนั่ง รูปที่คู้เข้า เหยียดออก เป็นต้น ก็ล้วนเกิดขึ้นด้วยเพราะอำนาจของจิต รูปที่ร้อน รูปที่เย็น ก็เกิดขึ้นเพราะอาศัยอำนาจของธาตุความร้อน และธาตุความเย็น

ในบรรดาเหตุเหล่านี้ นักปฏิบัติสามารถกำหนดเห็นเหตุปัจจัยได้ในปัจจุบัน คือ จิต อุตุ อาหาร แต่จะไม่เห็นเหตุปัจจัยอันเป็นอดีตเหล่านี้คือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม แต่ทว่าทุกคนที่กำลังเจริญวิปัสสนาอยู่ก็ล้วนแต่มีความเชื่อมั่นว่า ภวะ (ภพ) ที่เกิดจากกุศลกรรม ต้องเป็นวิบากกรรมที่ดีส่วน ภวะ ที่เกิดจากอกุศลกรรม จะต้องเป็นวิบากกรรมที่ไม่ดี

ด้วยเหตุนี้นักปฏิบัติก็พอที่จะทราบเหตุในอดีตชาติโดยอนุมานญาณได้ ทั้งนี่ต้องหลังจากที่ได้พิจารณาเห็น อวิชชา ตัณหา อุปาทาน และ กรรม แล้ว

อธิบายว่า การไม่รู้ไม่เห็นตามความเป็นจริงว่า รูป นาม และภพล้วนแต่เป็นทุกข์ความอยากความต้องการในนามรูปและภพเหล่านั้น เป็นเหตุให้เกิดทุกข์อย่างนี้ชื่อว่า อัปปฏิปัตติอวิชชา คือ ไม่รู้ทุกขอริยสัจและสมุทยอริยสัจตามความเป็นจริงนั่นเอง นอกจากนี้ ความเห็นผิดๆ นาม รูปและภพทั้งหลายล้วนแต่เป็นความสุขเป็นของประเสริฐ ทั้งความอยากความต้องการก็เป็นสุขเป็นของประเสริฐ อย่างนี้ชื่อว่า มิจฉาปฏิปัตติอวิชชา คือ ความเห็นอย่างวิปริต ซึ่งผิดแผกจากความเป็นจริงแห่งทักขสัจและสมุทยสัจ อวิชชาทั้ง ๒ อย่างนี้ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงภายในสันดานของปุถุชน และแม้แต่จะอาศัย สุตมยญาณ มาแก้หรือมาบรรเทาอย่างไรก็ไม่สามารถหายไปได้ เพราะฉะนั้น เพื่อให้สมกับมโนรถที่ตนปรารถนาปุถุชนทั้งหลายจึงต้องให้กำลังใจตลอดทั้งวันทั้งคืน เพื่อทำให้นามรูปและภพปัจจุบันมั่นคงและแน่นอน และเพื่อให้สมบูรณ์ด้วยนามรูปและภพที่ดี จึงต้องเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง

ความไม่เกิดขึ้นอีก ก็คือความดับโดยสิ้นเชิงของนามรูป และนับตั้งแต่กิเลสและกรรมดับไปแล้วนั้น(คือ หลังจากปรินิพพาน)ก็ไม่มีคำว่า เกิดเป็นมนุษย์และเทวดา ผู้หญิง ผู้ชาย อีกต่อไป นี้เรียกว่า นิโรธสัจ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุปาทิเสสนิพพาน และความไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นิพพานนี้ประเสริฐนำมาซึ่งความสุข มรรคนี้นำไปสู่นิพพาน เป็นทางนำไปสู่สุคติตลอดไป ดังนี้ ก็ชื่อว่า อัปปฏิปัตติอวิชชา เช่นกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2021, 05:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนเข้าใจผิดคิดว่านิพพานไม่ดี หรือการปฏิบัติวิปัสสนาและปฏิบัติมรรคเป็นเหตุแห่งความทุกข์ก็ดีชื่อว่ามิจฉาปฏิปัตติอวิชชาหมายความว่าความเข้าใจผิดต่อนิโรธสัจและมรรคสัจ ซึ่งผู้มากไปด้วยอวิชชาทั้ง ๒ ย่อมคิดว่านิพพานเป็นสิ่งไม่ดีและยิ่งถ้าหากได้จินตนาการไปว่า เมื่อปรินิพพานไปแล้วย่อมไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย ไม่สามารถเสวยอะไรได้อีก ยิ่งทำให้กลัวไม่น่าบรรลุนิพพาน บางทีถึงทำให้ติเตียนพระนิพพาน หรือนินทาผู้ที่กำลังปฏิบัติเพื่อพระนิพพาน เป็นผู้แส่หาทุกข์ เป็นผู้พยายามเพื่อที่จะได้ตายแล้วไม่เกิดอีก อวิชชาคือความไม่รู้สัจธรรมตามความเป็นจริง ย่อมเกิดขึ้นในสันดานของปุถุชนทาง จิตตุปบาท ตามสมควร แต่ตามอารัมณานุสัยแล้ว อวิชชาย่อมเกิดขึ้นในทุกๆอารมณ์ที่ไม่ได้กำหนด ด้วยเหตุนี้นักปฏิบัติย่อมเห็นแจ้งซึ่งอวิชชาในทุกๆจิตตุปบาท และยังมีความยินดีอันเนื่องมาจากความเข้าใจผิดว่า นาม รูป และภพทั้งหลายเป็นสิ่งดี เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา นี้แหละคือตัว ตัณหา เมื่อเกิเความยินดี ก็จะเกิดความกังวลว่า จะทำเหตุประการไร จึงจะได้รับสุขในที่สุดก็เกิดการยึดมั่นถือมั่น อันนี้เรียกว่า [ b]อุปาทาน[/b] นั่นเอง และเมื่อเกิดการยึดมั่นถือมั่นแล้ว ย่อมสามารถทำอะไรๆไปได้ นี่แหละเรียกว่า กรรม ดังนั้นจะต้องพิจารณา ตัณหา อุปาทาน และกรรมทุกๆขณะจิต และนักปฏิบัติย่อมเห็นแจ้ง เมื่อได้ระลึกถึงสิ่งที่เคยเป็นมาแต่อดีตกาล และเมื่อรู้แจ้งว่า ถ้ากรรมเกิดขึ้น อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ก็เกิดขึ้นเช่นกัน อย่างนี้ ในขณะเดียวกันก็เข้าใจว่า รูปธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้วแต่ถือปฏิสนธิในภพนี้ เพราะอาศัยกุศลกรรมในภพก่อนมาเกื้อหนุน และย่อมสามารถใช้ดุลยพินิจพิจารณาว่า รูปธรรม ทั้งหลาบเหล่านี้ นอกจากจะอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้นแล้ว ยังต้องอาศัย อวิชชา ตัณหา และอุปาทานด้วยเช่นกัน

ลักษณะเช่นนี้เป็นกาลประมวลความคิดเห็น ความเข้าใจถึงมูลเหตุแห่งความเกิดแห่งรูปโดย ปัจจักขญาณ รู้แจ้งประจักษฺด้วยตา และโดยอนุมานญาณ ญาณที่รู้ได้โดยการอนุมานตามเหตุผล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2021, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนการประมวลเหตุแห่งความเกิดของนามนั้น พึงทราบโดยนัยนี้ คือในขณะที่กำหนดว่า เห็นหนอ นั้น นักปฏิบัติย่อมรู้ย่อมเข้าใจได้หลายนัย เช่น คนเรามองเห็นรูปได้เพราะตา และแสงสี กล่าวคือ เมื่อมีตาคือจักษุประสาทและการเห็นทั้ง ๓ อย่างนี้มาบรรจบกัน จิตและอารมณ์ก็สัมผัสกัน โดยนัยเดียวกันในขณะที่กำลังกำหนดว่า "ได้ยินหนอ" ย่อมรู้ว่าการที่คนเราสามารถได้ยินเสียงนั้น เป็นเพราะมีหูคือโสตประสาทและเสียง กล่าวคือ เมื่อสิ่งทั้ง ๓ อย่างนี้ คือ หู เสียง และได้ยินมาบรรจบกัน จิตและอารมณ์ก็เกิดความสัมผัสกัน ในขณะที่กำลังกำหนด"ถูกหนอๆ" ย่อมรู้ว่าการที่คนเราจะกระทบถูกต้องได้เพราะมีกายประสาทและโผฎฐัพพารมณ์ กล่าวคือเมื่อมีธรรมทั้ง ๓ อย่างคือ กาย โผฏฐัพพารมณ์ และการกระทบมาบรรจบกัน จิตและอารมณ์ก็สัมผัสกัน ในขณะที่กำลังกำหนดว่า"คิดหนอรู้หนอ" ย่อมรู้ว่าการที่คนเราสามารถคิดหรือสามารถกำหนดอารมณ์ได้นั้นเพราะมีหทยวัตถุ(หัวใจ)และธัมมารมณ์(สิ่งที่ใจพึงกำหนด) กล่าวคือเมื่อมีธรรมทั้ง ๓ อย่าง คือ หทยวัตถุ อารมณ์ และการรับรู้ มาบรรจบกัน จิตและอารมณ์ย่อมกระทบกันได้

นอกจากนี้ในขณะที่กำลังกำหนดเห็นหนอ ได้ยินหนอ เป็นต้น เมื่อได้กระทบกับอารมณ์แล้วก็จะรู้ได้ว่า จิตใจหรือร่างกายรู้สึกสบายดีหรือไม่สบาย หากสบายดีก็ยิ่งอยากเป็นสุขมากขึ้นไป แต่ถัาใจไม่สบายเป็นทุกข์อยู่ก็อยากหลุดพ้นจากทุกขเวทนานั้น และอยากมีความสุข และมื่ออยากมีความสุข ก็จะเกิดความหวัง และยึดถือว่า จะทำวิธีใดถึงจะมีความสุขขึ้นมา เมื่อมีการยึดถือ ก็จะทำให้เกิดการทำดีบ้าง ทำชั่วบ้าง พูดดีบ้าง พูดชั่วบ้าง คิดดีบ้าง แล้วแต่เหตุปัจจัย นี้เป็นการประมวลสั่งสมการเห็นเหตุปัจจัยต่างๆของนามธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร