วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 22:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2021, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




เปรียบเทียบญาณ ๑๖ กับ ปริญญา ๓.gif
เปรียบเทียบญาณ ๑๖ กับ ปริญญา ๓.gif [ 16.19 KiB | เปิดดู 938 ครั้ง ]
วิธีกำหนดลำดับญาณให้ปรากฏชัด

นักปฏิบัติบางคนอาจไม่กระจ่างชัดเกี่ยวกับ ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ หรือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ดังนั้น ถ้าต้องการรู้ญาณเหล่านั้นโดยแจ่มแจ้ง จะต้องตั้งเวลากำหนดในแต่ละญาณ เช่นตั้งใจว่า "ภายในครึ่งชั่วโมงนี้หรือภายในหนึ่งชั่วโมงนี้ เราจะกำหนดความเกิด-ดับ (อุทยัพพยญาณ) เท่านั้น คือจะให้แต่อุทยัพพยญาณเท่านั้นเกิดในชั่วโมงนี้" เมื่อนักปฏิบัติตั้งเวลากำหนดอย่างนี้แล้วญาณอื่นๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น คงอยู่แต่ในอุทยัพพยญาณนี้เท่านั้น เมื่อครบตามเวลาที่กำหนดไว้แล้ว ก็จะเห็นเพียงแต่ความดับคือเห็นแต่ภังคญาณเท่านั้น โดยปกติแล้วภังคญาณนี้จะปรากฏโดยอัตโนมัติของมันเองแต่ถึงแม้ว่าภังคญาณที่ว่านี้จะไม่ปรากฏโดยอัตโนมัติ แต่หากนักปฏิบัติกำหนดเวลในการปฏิบัติว่า "เราจะกำหนดแต่ความดับเท่านั้น จะทำให้ภังคญาณเท่านั้นเกิดขึ้น" ก็จะเกิดแต่ภังคญาณเท่านั้น ต่อเมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว ลำดับญาณชั้นสูงจึงปรากฏโดยอัตโนมัติเป็นขั้นตอนต่อไป

แม้ในภาวนาญาณต่อๆ ไป ก็เป็นเหมือนกับญาณนี้เช่นกัน ถ้าเกิดว่าญาณไม่เกิดในอัตโนมัติของมัน พอญาณนั้นเกิดความแก่กล้า เพียงแต่ให้น้อมจิตไปว่า ขอให้เห็นภยญาณ (สภาพที่รู้ว่าเป็นของน่ากลัวเถิด) ภยญาณก็จะเกิดขึ้น และเมื่อภยญาณมีกำลังแก่กล้ามากขึ้น และอาทีนวญาณแก่กล้าเพิ่มขึ้นไปอีก ก็ให้น้อมจิตไปว่า ขอให้เราเห็นความเบื่อหน่าย ขอให้นิพพิทาญาณเกิดแก่เรา ต่อจากนั้นในทุกๆ ระยะของการเกิดนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่ายก็จะเกิดขึ้น และเมื่อนิพพิทาญาณแก่กล้าแล้วก็ให้น้อมใจไปว่า ขอให้มุญจิตุกัมตาญาณ (ญาณที่ปรารถนาความหลุดพ้นจากสังขารจงเกิดแก่เรา) ต่อจากนั้น มุญจิตุกัมยตาญาณ คือญาณที่เบื่อหน่ายต่อสังขารทั้งหลาย ก็จะเกิดขึ้นทุกๆ ระยะที่การกำหนด เมื่อญาณนี้มีกำลังแก่กล้าพอ ก็ให้น้อมใจไปที่ญาณชั้นสูงอีก ปฏิสังขารญาณก็จะปรากฏเกิดขึ้นพร้อมทั้งเวทนาอันแรงกล้า

การอยากเปลี่ยนอิริยาบถและการไม่ได้ดั่งใจ เมื่อญาณนี้มีกำลังแก่กล้าแล้วให้เราน้อมจิตไปหาสังขารุเปกขาญาณซึ่งเป็นญาณที่ปราณีตที่สุด เพื่อให้ญาณนี้เกิดขึ้นพอถึงเวลาญาณนี้ก็จะเกิดขึ้นอย่างละเอียดตามธรรมชาติ หากนักปฏิบัติตั้งเวลากำหนดในแต่ละญาณแล้ว ญาณที่เราปรารถนาจะให้เกิดเท่านั้นจึงจะเกิดขึ้น เมื่อเราปรารถนาก้าวไปในญาณชั้นสูง ญาณที่เห็นอยู่มีความแก่กล้าทันกำหนดเวลาที่ตั้งไว้จิตจึงจะข้ามไปสู่ญาณชั้นสูงได้ ประดุจจิ้งจกไต่ข้ามไปจากบ้านหนึ่งสู่อีกบ้านหนึ่ง ฉะนั้น หากกำหนดเที่ยวเดียวแต่ยังไม่กระจ่างดี ก็ให้ทดลองกำหนดหลายๆ เที่ยว ถ้าหากว่าเราไม่ตั้งเวลาไว้ สำหรับคนที่มีสมาธิญาณแก่กล้าอยู่แล้ว พอที่จะกำหนดได้สักระยะก็จะเข้าไปถึงสังขารุเปกขาญาณ หรือแม้แต่ผลก็ยังเข้าถึงอยู่บ่อยๆ ซึ่งถ้าหากเป็นคนที่มีความสามารถจริงๆ แล้ว แม้ในขณะที่เดินอยู่หรือขณะที่กินอยู่ก็สามารถเข้าถึงผลโดยไม่ยาก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 27 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร