ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=61224 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 29 ต.ค. 2021, 06:31 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป | ||
ยุคนัทธนัย สำหรับโยคีผู้ได้ฌานหรือที่เรียกว่าฌานลาภีบุคคล ย่อมสามารถที่จะนำเอาฌานนั้นมากำหนดพิจารณาเป็นวิปัสสนาหลังจากที่ได้เข้าปฐมฌานแล้ว จากนั้น เมื่อได้เข้าทุติยฌานแล้วก็จะนำเอาฌานนั้นมากำหนดวิปัสสนาอีกครั้ง ทำโดยวิธีการนี้ไปตามลำดับแห่งฌาน โดยเข้าฌานชั้นหนึ่งแล้วออก จากนั้นก็เข้าวิปัสสนา สลับกันไปอย่างนี้ เป็นการเจริญควบคู่กัน ระหว่างสมถะและวิปัสสนาพร้อมๆกันไปจนกระทั้งมรรคเกิดขึ้น ภาวนาที่โยคีผู้นี้เจริญเรียกว่า ยุคนัทธภาวนานัย"หลักการเจริญภาวนา ที่นำเอาสมถะและวิปัสสนาเจริญควบคู่กันไป" จะอย่างไรก็ตามวิธีการนี้ เนื่องจาก เป็นการเอาสมถะและวิปัสสนามาเป็นบาทในครั้งแรก ดังนั้นวิธีการนี้จึงสงเคราะห์ เข้าในสมถะปุพพังคมนัน ธัมมุทธัจจปหานนัย ไม่ว่าจะเป็นสมถยานิกกหรือวิปัสสนายานิกะ เมื่อุทยัพพยญาณเกิดขึ้นครั้งแรก วิปัสสนูปกิเลส เช่น แสงสว่างหรือโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ เป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีนั้น บางครั้งโยคีอาจจะนึกว่าวิปัสสนูปกิเลสเหล่านั้น เป็นธรรมวิเศษ นึกว่าตนเองได้ธรรมวิเศษแล้วก็ได้ ซึ่งการกำหนดรู้หรือเข้าใจเช่นนั้นท่านเรียกว่า ธัมมุทธัจจะ เป็นความฟุ้งซ่านเกี่ยวกับสภาวธรรม บุคคลผู้ที่ได้ธัมมุทธัจจะนี้ บางครั้งอาจจะทำให้มองเห็นรูปนามที่ปรากฏอยู่ได้ไม่ชัดเจน อาจทำให้การกำหนดหยุดชะงักได้ หรือในที่สุดอาจเสื่อมลงได้ หรืออาจทำให้สิ่งที่กำหนดนั้นเสื่อมลงไปได้ เพราะฉะนั้น โยคีกำหนดพิจารณาละธัมมุทธัจจะนั้นให้ได้ อย่าไปสนใจหรือให้ความสำคัญกับวิปัสสนูกิเลสเหล่านั้น แต่ให้ตระหนักถึงการกำหนด จิตที่กำหนดพิจารณาวิปัสสนาเหล่านั้น ถ้าสามารถทำได้ดังนี้ ธัมมุทธัจจะที่ว่าก็จะหายไปโดยอัตโนมัติ เมื่อเป็นเช่นนี้ รูปนามก็จะปรากฏชัดเจนมากที่สุดเป็นพิเศษ จิตนั้นก็จะกำหนดพิจารณา ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์รูปนามที่เรียกว่าโคจรัชฌัตตะ นับจากนั้น วิปัสสนาก็จะแก่กล้าขึ้นไปตามลำดับ จนถึงมรรคญาณ วิธีการที่โยคีกำจัดความฟุ้งซ่านออกแล้วยังมรรคผลให้เกิดขึ้นนั้น ท่านเรียกว่าธัมมุทธัจจปทานภาวนานัย แปลว่า หลักการเจริญภาวนาที่มีการละความฟุ้งซ่าน ที่เกียวกับสภาวธรรมออกแล้วเข้าถึงอริยมรรค ซึ่งหลักการนี้เกี่ยวข้องกับสมถยานิกะและวิปัสสนายานิกะทั้งสอง จึงสงเคราะห์เข้าในสมถปุพพังคมนัยและวิปัสสนาปุพพังคมนัย เพราะฉะนั้น ในคัมภีร์อรรถกถาท่านจึงกล่าวนัยไว้เพียงแค่ ๒ นัยเท่านั้น
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 29 ต.ค. 2021, 10:32 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป |
สำหรับบุคคลผู้เป็นวิปัสสนายานิกะไม่จำเป็นต้องนำเอาสมถะมาเพื่อให้เกิดจิตตวิสุทธิ แต่สามารถเจริญวิปัสสนาได้เลย เมื่อวิปัสสนาแก่กล้าแล้ว ขณิกสมาธิก็จะเกิดขึ้น กลายเป็นจิตตวิสุทธิสำหรับวิปัสสนายานิกบุคคลนั้น ซึ่งความหมายในประโยคข้างต้นมีหลักฐานปรากฏชัดเจนทั้งในบาลีพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกาที่ได้แสดงแล้วนั่นเทียว แม้แต่คัมภึร์วิปัสสนาชุนีที่ท่านทั้งหลายถืออยู่นี้ก็เป็นคัมภีร์ที่มุ่งแสดงวิธีการปฏิบัติโดยเอาวิธีการของวิปัสสนายานิกะเป็นวิธีการหลัก คือ นำเอาวิธีของสิปัสสนายานิกะมาแสดงไว้โดยเป็นประธาน ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ได้แสดงวิธีการปฏิบัติเพื่อจิตตวิสุทธิสำหรับสมถยานิกบุคคลไว้เป็นเอกเทศ แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับบุคคลผู้ได้เจริญขณิกสมาธิซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากวิปัสสนานั้น เมื่อได้รู้ถึงลักษณะเนยยานาวรณธรรม ๘ ประการ รู้ซึ้งในธรรมที่เป็นอันตรายแก่สมาธิ ๖ ประการ รู้จักวิธีการแก้ไขให้พ้นจากธรรมที่เป็นอันตราย ๖ เหล่านั้น ๖ ประการ และเข้าใจวิธีการทำให้วิปัสสนาจิตตั้งมั่นในอารมณ์เดียวแล้ว ย่อมได้เปรียบมากทีเดียว เพราะฉะนั้น ผู้เขียนจะยกธรรมมีนิยยานาวรณธรรม ๘ ประการเป็นต้นเหล่านั้น จากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค อาณาปานกถาพอเป็นตัวอย่างดังนี้ |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 29 ต.ค. 2021, 12:19 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป |
ปฐมนิยยานาวรนะกับอาวรณธรรม เนกฺขมฺมํ นิยฺยยานํ เตน จ เนกฺขมฺเมน อริยา นิยฺยนฺติ กามจฺฉนฺโท นิยฺยาสาวรณํ. เตน จ กามจฺฉนฺเทน นิวุตตฺจา เนกฺขมฺมํ อริยานํ นิยฺยานํ นปฺปชานาตีติ กามจฺฉนฺโท นิยฺยานาวรณํ. เนกขัมมะ คือวิปัสสนากุศล ซี่อว่าเป็นทางหลุดพ้นของพระอริยะเจ้าทั้งหลายสำหรับสาเหตุที่วิปัสสนากุศลได้ชื่อว่านิยยานะนั้น เนื่องจากเป็นเครื่องมือให้พระอริยะเจ้าทั้งหลายออกจากวัฏฏะทุกข์กามฉันทะความยินดีพอใจชื่อว่านิยยานาวรณะ เครื่องปิดกั้นนิยยานธรรม สาเหตุที่ได้ชื่อว่านิยยานาวรณะนั้น เนื่องจากกามฉันทะความพึงพอใจนี้เป็นเครื่องปกปิดกั้นไม่ให้กุศลเกิด เป็นเหตุให้บุคคลย่อมไม่รู้ซึ่งนิยยานธรรมของพระอริยเจ้าทั้งหลายอันเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏะทุกข์เพราะเหตุนั้น กามฉันทันั้นจึงได้ชื่อว่านิยยานาวรณ "ธรรมเครื่องปิดกั้น ทางออกจากวัฏฏะทุกข์" ปพฺพชฺชา ปฐมํ ฌานํ นิพฺพานญฺจ วิปสฺสนา สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา เนกฺขมฺมนฺติ ปวุจฺจเร. (อิติวุต.อัฏ.๓๓๑) ตามคาถาข้างต้นนี้พึงทราบ การบรรพชาเป็นพระภิกษุ ก็ดี ปฐมฌาา ก็ดี พระนิพพาน ก็ดี วิปัสสนาและกุศลธรรมทั้งหมดทั้งปวง ก็ดี ท่านเรียกว่า เนกขัมมะ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคมหาฎีกาท่านได้อธิบายความหมายของเนกขัมมัว่าหมายถึงกุศลที่มีอโลภเจตสิกเป็นประธานซึ่งก็ถือว่าเป็นการไขความจามสมควรแก่ฐานะนั้นๆ สำหรับในที่นี้ เนื่องจากเป็นเรื่องของวิปัสสนาและสมาธิ เนกขัมมะ จึงหมายเอาวิปัสสนากุศลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับนิยยานะตอนต่อไปก็พึงทราบโดยทำนองเดียวกันนี้ คือ ล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิปัสสนาสมาธิเท่านั้น ซึ่งจะได้แสดง ให้ทราบ พอสังเขปดังนี้ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |