วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2021, 05:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อารัมมณฆานะ

โดยปกติแล้วนามธรรมทั้งหลายมีความแตกต่างกันตามอารมณ์ แต่ถึงกระนั้นถ้านักปฏิบัติไม่ได้กำหนดวิปัสสนาแล้ว ก็ย่อมมีความสำคัญผิดคิดว่า นามธรรมดังกล่าวเป็นสิ่งเดียวกัน เช่น จักขุวิญญาณมีรูปเป็นอารมณ์(หรือเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า จักขุวิญญาณเห็นรูป) โสตวิญญาณมีเสียงเป็นอารมณ์ ฆานวิญญาณมีกลิ่นเป็นอารมณ์ ชิวหาวิญญาณมีรสเป็นอารมณ์ กายวิญญาณมีสัมผัสต่างๆเป็นอารมณ์ มโนวิญญาณมีสภาวธรรมที่เหลือเป็นอารมณ์ ดังนั้น จะเห็นว่า จิตที่เห็นก็ไม่ใช่จิตที่ได้ยิน และจิตที่ได้ยินก็ไม่ใช่จิจที่ได้กลิ่น ส่วนการเห็นรูปารมณ์ต่างๆก็เช่นกัน คือจิตที่เห็นรูปารมณ์สีขาวก็ไม่ใช่จิตที่เห็นรูปารมณ์สีดำ สีเหลือง หรือสีอื่นไ หรือจิตที่เห็นรูปารมณ์ สีดำ หรือสีเหลือง ก็ไม่ใช่จิตที่เห็นรูปารมณ์สีขาว แม้ในกรณีของการได้ยินเสียงต่างๆ ก็พึงทราบโดยลักษณะเดียวกันนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเป็นการเห็นรูปารมณ์ ที่มีสีเดียวกันอย่างน่อเนื่อง จิตดวงแรก (ปฐมจิต) ที่เห็นก็ไม่ใบ่จิตดวงที่ ๒ หรือดวงที่ ๓ และ จิตดวงที่ ๒ ที่ ๓ ก็ไม่ใช่จิตดวงที่ ๔ ที่ ๕ และในกรณีของการได้ยินเสียงชนิดเดียวกันก็พึงทราบโดยทำนองนี้

ดังที่ได้กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า แม้นามธรรม(จิต)จะมีความแตกต่างกันตามอารมณ์ก็จริง แต่ถึงกระนั้น บุคคลที่ไม่ได้เจริญวิปัสสนา หามีความเข้าใจเล่นนี้ไม่ มีแต่จะสำคัญผิด คิดว่า นามธรรมทั้งหมดทีเกิดในภายใสสันดานของคนๆ หนึ่ง ล้วนเป็นสิ่งเดียวกัน ผู้เห็นก็คือตน ผู้ได้ยินก็คือตน ผู้ดมกลิ่น ผู้รู้รส ก็คือตนผู้เห็นรูปต่างๆ ได้ยินเสียงต่างๆ ก็คือตน ไม่ว่าจะรับรู้อารมณ์อะไรก็แล้วแต่ ก็มีแต่ตนเท่านั้นที่รับรู้ สิ่งที่บุคคลนั้นสำคัญผิดดังกล่าว ท่านเรียกว่า อารัมมณฆนะ ซึ่งเป็นตัวปกปิดมิให้อนัตตลักษณะปรากฏแก่บุคคลทั่วไป

เมื่อนักปฏิบัติสามารถกำหนดได้อย่างต่อเนื่อง จนสติ สมาธิและญาณแก่กล้าเต็มที่แล้ว อารัมมณฆนบัญญัตืก็จะสลายตัวลง เช่นมในขณะที่เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่ เมื่ออารัมมณฆนบัญญัตืสลายตัว ญาณก็ปรากฏแก่บุคคลนั้นว่า จิตที่อยากดู กับจิตที่กำหนดดู หรือจิตที่เห็นกับจิตที่กำหนดเห็น ต่างก็เป็นจิตคนละดวงกัน และการได้ยินเสียง ดมกลิ่น เป็นต้นก็พึงทราบ โดยทำนองเดียวกันนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2021, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


นอกจากนี้ ญาณดังกล่าวยังจะปรากฏในลักษณะอาการอื่นๆอีก เช่น เวลาได้เห็นรูปกับได้ยินเสียงนั้น ก็รู้ว่าจิตทีเห็นก็เป็นอีกดวงนึง ส่วนที่ได้ยินก็เป็นอีกดวงนึง(คือไม่ใช่จิตดวงเดียวกัน) และจิตดวงแรกที่เห็นก่อนกับจิตที่เห็นดวงที่สอง หรือที่สามเป็นต้น ล้วนเป็นจิตจ่างดวงกัน และเมื่อนักปฏิบัติสามารุกำหนดตามความต่างของจิตแต่ละดวง ตามอำนาจการรับอารมณ์แง้ว ย่อมทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง สามารถมองเห็นอนัตตลักษณะได้ตามสภาพที่เป็นจริง ดังในคัมภีร์วิสุทธิมรรคมหาฎีกาท่านอธิบายไว้ว่า
โค้ด:
ยา เทสา  อญฺญมญฺญูปตฺถทฺเธสุ  สมุทิเตสุ   รูปารูปธมฺเมสุ  เอกตฺตาภินิเวสวเสน  อปริมทฺทิตสงฺขาเรหิ คยฺหมานา สมูทฆนตา. ตถา เตสํ เตสํ ธมฺมานํ กินฺจเภทสฺส สติปิ ปฏินิยตภาเว เอกโต คยฺหมานา กิจฺจฆนตา. ตถา สารมฺมณธมฺมานํ สติปิ อารมฺมณกรณเภเท  เอดโต คยฺหมานา อารมฺมณฆนตา จ. ตาธาตูสุ ญาเณน วินิพฺภุชิตฺวา   ทิสฺสมานาสุ หตฺเถน ปริมชฺชิยมาโน เผณปิณฺโฑ วิย วิลยํ คจฺฉนฺติ. ยถาปจฺจยํ ปวตฺตมานา สุญฺญา เอเต ธมฺมา ธมฺมมตฺตาตื อนตฺตลกฺขณํ ปากฏตรํ โหติ.   
(วิสุทธิ. ฎี.๒/๔๘๒-๓)

สมูหฆนบัญญัติ คือบัญญัติที่บุคคลผู้ยังไม่ได้เอาชนัสังขารด้วยวิปัสสนายึดมั่น ด้วยความสำคัญผิดริดวาาเป็นสิ่งเดียวกันในระหว่างนามธรรมและรูปธรรมอันเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ซึ่งเกิดร่วมกันในภายในขันธสันดานของบุคคลคนเดียวกัน
กิจจฆนบัญญัติ คือบัญญัติที่บุคคลยึดถือว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ทั้งๆที่ธรรมเหล่านั้นมีความแตกต่างกันโดยกิจเป็นที่แน่นอนอยู่แล้ว
อารัมมณฆนบัญญัติ คือบัญญัติที่บุคตลยึดถือหมู่ธรรมที่สามารถรับอารมณ์ได้ว่า เป็นสิ่งเดียวกันทั้งไที่มีการรับอารมณ์แตกน่างกัน

บัญญัตืเหล่านี้ย่อมถึงซึ่งความเสื่อมสลาย เมื่อธาตุปรากฏแก่ญาณโดยอาการที่แยกเป็นส่วนๆดุจฟองน้ำที่ถึงความเสื่อมสลายไปเมื่อถูกสัมผัสฉะนั้นและเมื่อฆนบัญญัติดังกล่าวเสื่อมสลายไปแล้ว อนัตตลักษณะย่อมปรากฏชัดในลักษณะอาการแห่งอนัตตานุปัสสนาว่า"ธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นสภาวธรรมล้วนๆที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ว่างเปล่าจากอัตตาที่ถือกันว่าเป็นผู้ครอบครองผู้สร้างกรือเนรมิตสรรพสิ่ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2021, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตามอรรถกถาและฎีกาที่ยกมานี้ พึงทราบว่าถ้าฆนบัญญัต้เสื่อมสลายไปแล้วเท่านั้น อนัตตลักษณะจึงจะปรากฏชัดได้และทึกครั้งที่นัตตานุปัสสนาเกิดขึ้น อัตตสัญญาเป็นต้นก็จะถูกอนัตตานุปัสสนานั้นทำลาย เช่น ถ้านักปโบัติยังไม่รู้หรือเข้าใจนามรูปตามสภาพที่เป็นจริงแล้ว ย่อมทำให้เกิดสัญญาวิปัลลาส คือมีความสำตัญผิดคิดนามรูปเป็นอัตตา สัตว์ บุคคล นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดทิฏฐิวิปัลลาส(ความเห็นคลาดเคลื่อน)จิตวิปัลลาส(จิตรับรู้คลาดเคลื่อน)ได้เช่นกันและยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถทำให้กิเลส ยังสามารถทำให้กิเลส อกุศลกรรม และกุศลกรรม รวมทั้งวิบากของกรรมดังกล่าว เกิดมาเป็นผลของลูกโซ่ของการสำคัญผิดคิดว่านามรูปเป็นอัตตา อย่างไรก็ตาม เมื่อนักปฏิบัติสามารุเข้าใขนามรูปอย่างถ่องแท้แล้ว ว่าไม่ใช่อัตตาอย่างคนทั่วไปคิเ สัญญาวิปัลลาสก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ ทั้งนี้เพราะถูกอนัตตานุปัสสนาละได้แล้วนั่นเอง สมดังคำใน วิสุทธิมรรคซึ่งได้ยกมาเป็นหัวข้อข้างต้นแล้วว่าอนตฺตานุปสฺสนํ ภาเวนฺโต อตฺตสญฺญํ ปลหติ=ผู้เจริญอนัตตานุปัสสนาย่อมละอัตตสัญญาได้

และในปฏิสัมภิทามรรคก็ได้ตรัสไว้ว่า อนตฺตโต อนึปสฺสนฺโต อตฺตสญฺญํ ปชหติ.(ขุ.ปฏิ.๓๐/๕๒/๕๙)=ผํที่นามกำหนดรู้ว่า นี้เป็นเพียงสภาวธรรม หาใช่อัตตาไม่ย่อมสามารุละอัตตสัญญาได้

ข้อสังเกต

ในขณะที่กำลังกำหนดนามรูปตามสภาพที่เป็นจริงอยู่นั้น ถ้าญาณที่รู้อย่างถ่องแท้ว่า นี่มิใช่สัตว์บุคคล เป็นแต่เพียงสภาวธรรมเท่านั้น เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัตินั้น ซึ่งไม่ว่าจะเกิดขึ้นเพราะสาเหตุที่ได้เห็นความที่นามรูปไม่เป็นไปตามความปรารถนา หรือเห็นความไม่อยู่ในอาณัติของใครๆหรือความไม่เที่ยงความเป็นทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามความรู้หรือญาณที่เกิดขึ้นนั้น ท่านเรียกว่าปัจจักขอนัตตานุปัสสนา และเมื่อเห็นอย่างถ่องแท้ด้วยปัจจักขญาณแล้ว ย่อมสามารถนำไปเทียบเคียงกับ นามรูปที่เป็นอดีต เป็นอนาคต หรือนามรูปภายนอกทั้งหมดเท่าที่อยู่ในโลกได้ โดยนัยเป็นต้นว่า นามรูปเหล่านี้ ก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นแจ่เพียงสภาวธรรมเท่านั้นญาณที่รู้โดยลักษณะเทียบเตียงอย่างนี้ท่านเรียกว่าอนุมานอนัตตานึปัสสนา หรือ อันวยญาณ

อนึ่ง อนัตตานุปัสสนาญาณที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ มีจุดเริ่มน้นที่สัมมสนญาณและสามารถละกิเลสได้ที่ภังคญาณเป็นต้นไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร