วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 10:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2022, 14:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๓๒

บุคคลย่อมห้ามกามวิตกด้วยอินทรีย์ใด อินทรีย์นี้ชื่อว่า สตินทรีย์
บุคคลย่อมห้ามพยาบาทวิตกด้วยอินทรีย์ใด อินทรีย์นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์
บุคคลย่อมห้ามวิหิงสาวิตกด้วยอินทรีย์ใด อินทรีย์นี้ย่อมชื่อว่า วิริยินทรีย์
บุคคลย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้นอกุศลธรรมอันทราม
ที่เกิดขึ้นแล้ว (คือ ไม่ยอมให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น) ด้วยอินทรีย์ใด อินทรีย์นี้ชื่อว่า ปัญญินทรีย์

ศรัทธาที่มั่นคงในอินทรีย์ ๔ เหล่านี้ ชื่อว่า ศรัทธินทรีย์

ท่านกล่าวอินทรีย์ ๕ ไว้ดังนี้ คือ

๑. ศรัทธินทรีย์ คือ ความเชื่อมั่นในอินทรีย์ ๔ กล่าวคือ ศรัทธาก่อให้เกิดวิริยะ วิริยะก่อให้เกิดสติ
สติก่อให้เกิดสมาธิ สมาธิก่อให้เกิดปัญญา และปัญญาย่อมก่อให้เกิดศรัทธา อินทรีย์ ๕ เหล่านี้เป็นเหตุ
เป็นผลของกันและกันอย่างนี้

๒. วิริยินทรีย์ ห้ามวิหิงสาวิตก เพราะวิหิงสาวิตกย่อมถูกข่มไว้ด้วสวิริยะ เนื่องจากผู้ที่ปรารภความเพียร
ในกุศลธรรมย่อมอดกลั้นโทษของผํอื่นได้ง่าย

๓. สตินทรีย์ ห้ามกามวิตก เพราะวิหิงสาวิตกย่อมข่มไว้ด้วยมติปัฏฐานภาวนาที่เป็นการเพ่งอสุภกรรมฐาน

๔. สมาธินทรีย์ ห้ามพยาบาทวิตก เพร่ะพยาบาทวิตกื่เป็นปัจจัยแก่ความฟุ้งซ่านและมีความทุกบ์ใจ
เป็นที่ตั้งย่อมถูกข่มไว้ด้วยสมาธิที่ไม่ฟุ้งซ่านและมีสุขเป็นเหตุใกล้

๕. ปัญญินทรีย์ ห้ามอกุศลธรรมทั้งหมด เพราะการละปฏิปักษ์ของสมาธิเป็นต้น ย่อมสำเร็จแก่ผู้มีปัญญาเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2022, 16:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่า : ในอินทรีย์เหล่านั้น สัทธินทรีย์พึงทราบ (ว่าเป็นใหญ่ในวิสัยของตน) ที่ไหน
ตอบว่า : ในขณะบรรลุกระแสอริยมรรคทั้ง ๔ (มรรค ๔)

ถามว่า : วิริยินทรีย์พึงทราบได้ที่ไหน
ตอบว่า : ในสัมมัปธาน ๔ (วิริยะเป็นสัมมัปธาน ๔)

ถามว่า : สตินทรีย์พึงทราบได้ในที่ไหน
ตอบว่า : ในสติปัฏฐาน ๔ (สติเป็นสติปัฏฐาน ๔)

ถามว่า : สมาธินทรีย์พึงทราบได้ที่ไหน
ตอบว่า : ใน (รูป) ฌาน ๔ (เอกัคคตาเป็นองค์ฌาน)

ถามว่า : ปัญญีทรีย์พึงทราบได้ที่ไหน
ตอบว่า : ในอริยสัจ ๔ (สัมมาทิฏฐิเป็นอริยมรรค)

โดยประการดังนี้ พระเสกขะผู้ไม่ประมาทแล้วในกุศลธรรมทั้งปวง พระผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญว่า
เป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว สมจริงดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "มีใจไม่ขุ่นมัว"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2022, 06:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอริยบุคคลผู้บรรลุมรรคนั้นต้องมีอินทรีย์ ๕ สมดุลกัน กล่าวคือ ศรัทธาเสมอกับปัญญา
และวิริยะเสมอกับสมาธิ ส่วนสติเป็นธรรมที่ปรับวิริยะกับสมาธิให้สมดุลกันเพื่อมิให้เกิดความฟุ้งซ่าน
เพราะวิริยะมากกว่าสมาธิ หรือเกิดความง่วงเหงาซึมเซา เพราะสมาธิมากกว่าวิริยะ อย่างไรก็ตาม
อินทรีย์ ๕ เหล่านี้มีกำลังมากในวิสัยของตนในแต่ละขณะ กล่าวคือ

๑. ศรัทธินทรีย์ มีกำลังมากในขณะบรรลุมรรคทั้ง ๔ กล่าวคือ
ผู้ที่บรรลุธรรมเป็นพระอริยะบุคคลนั้น เป็นผู้มีศรัทธาตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างแท้จริง เหมือน
เสาเขื่อนที่ปักลงดินอย่างมั่นคง พระอริยะบุคคลเหล่านั้นมีพระพุทธเจ้าแนะนำตนเป็นศาสดา
มีธรรมเป็นที่พึ่ง และมีพระอริยะสงฆ์เป็นเพื่อนผู้ประพฤติธรรม แม้ท่านจะไปเกิดเป็นมนุษย์
เทวดา หรือพรหม ก็รู้ตัวว่าตนเป็นพระอริยะบุคคล และไม่นับถือบุคคลอื่นเป็นศาสดา

๒. วิริยินทรีย์ มีกำลังมากในสัมมัปปธาน ๔ เพราะเป็นความเพียร
ที่มุ่งมั่นเพื่อละอกุศลและสั่งสมกุศลในกระแสจิตของตน

๓. สตินทรีย์ มีกำลังมากในสติปัฏฐาน ๔ เพราะทำให้จิตรับรู้สภาวธรรม
ปัจจุบัน โดยไม่มีสมมุติบัญญัติ ตัวเรา ของเรา บุรุษ หรือสตรี

๔. สมาธินทรีย์ มีกำลังมากในรูปฌาน ๔ เพราะบรรลุอัปปนาสมาธิ
ความจริงแล้วรูปฌาน ๔ ที่เป็นบาทของวิปัสสนา จัดเป็นสมาธินทรีย์และสัมมาสมาธิ ส่วนรูปฌาน ๔
ที่ไม่เป็นบาทของวิปัสสนา ไม่นับเข้าในเรื่องนี้นอกจากนั้น แม้มรรคจิตของบุคคลผู้ออกจากปทกฌาน
คือ ฌานที่เป็นบาทของวิปัสสนา ก็มีองค์ฌานในรูปฌานนั้นๆ ประกอบร่วมกับมรรคจิต ดังนั้น ท่านจึง
กล่าวว่าสมาธินทรีย์มีกำลังมากในรูปฌาน ๔

อย่างไรก็ตาม ข้อความนี้กล่าวไว้โดยอุกกัฏฐานัย คือ นัยที่แสดงความสูงสุด แม้อุปจารสมาธิ
ที่เป็นบาทของวิปัสสนา และวิปัสสนาขณิกสมาธิที่มีกำลังเสมอกับอุปจารสมาธิซึ่งเรียกโดยอ้อม
ว่าเป็นอุปจารสมาธิ โดยสทิสูปจาระ คือ สำนวนที่กล่าวถึงสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ก็นับว่าเป็นสมาธินทรีย์
และสัมมาสมาธิ เพราะทำให้จิตหมดจดปราศจากนิวรณ์และอยู่ใกล้อัปปนาคือมรรคผล

อนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสรูปฌาน ๔ ไว้ในที่นี้ เพราะในพระสูตรต่างๆ มักแสดงรูปฌาน ๔ เพราะ
รูปฌานที่ ๔ เป็นบาทของอภิญญาที่มักกล่าวไว้ต่อจากรูปฌาน ๔ ดังนั้น พระมหากัจจายนะจึง
กล่าวถึงรูปฌาน ๔ ไว้ตามนิเทศของสัมมาสมาธิในมหาสติปัฏฐานสูตร อย่างไรก็ตาม อรูปฌาน
ก็เป็นบาทของวิปัสสนาได้เช่นเดียวกัน

๕. ปัญญินทรีย์ มีกำลังมากในอริยสัจ ๔ เพราะอริสัจ ๔ เป็นปรมัตถธรรม
อย่างสูงสุด ผู้ที่บรรลุธรรมในพระศาสนานี้คือผู้รู้แจ้งแทงตลอดอริยะสัจ ๔ นั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2022, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: :b16: :b16: :b16: :b16:
บุคคลใดเจริญอริยสัจสี่ที่พระพุทธเจ้าผู้ทรงปัญญาอันลึกซึ้ง
ตรัสไว้ดีแล้ว แม้ว่าท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้หลงเพลินอย่างมากมาย แต่ท่านก็จะ ไม่เกิด
ในชาติที่แปดอีก ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์
ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดีๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron