วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 19:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2021, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1371676078-o.jpg
1371676078-o.jpg [ 31.91 KiB | เปิดดู 1455 ครั้ง ]
มหากุศลจิตตุปบาท แนวทางหยั่งลงในปฏิจจสมุปบาท อินทรีย์ ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ แนวทางนั้นชื่อว่า
โอตรณหาระ

โอตรณหาระ คือแนวทางในการหยั่งลงสู่ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ และปฏิจจสมุปบาท เช่น
นโม พุทฺธสฺส(ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า)องค์ธรรมคือ มหากุศลจิตตุปบาท จำแนกดังนี้ คือ

๑. ขันธ์ ๕

- เวทนาเจตสิกในจิตตุปบาทข้างต้น ชื่อว่า เวทนาขันธ์
- สัญญาเจตสิก ชื่อว่า สัญญาขันธ์
- เจตสิกอื่นเว้นเวทนาและสัญญา ชื่อว่า สังขารขันธ์
- มหากุศลจิต ชิ่อว่า วิญญาณขันธ์

๒. อายตนะ ๑๒

- มหากุศลจิต ๘ ดวง ชื่อว่า มนายตนะ
- เจตสิก ๓๘ ดวงที่ประกอบตามสมควร ชื่อว่า ธรรมายตนะ

๓. ธาตุ ๑๘

- มหากุศลจิต ๘ ดวง ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ
- เจตสิก ๓๘ ดวงชื่อว่า ธรรมธาตุ

๔. อินทรีย์ ๒๒

- เวทนาเจตสิกในมหากุศลโสมนัส ๔ ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์
- เวทนาเจตสิกในมหากุศลอุเบกขา ๔ ชื่อว่า อุเบกขินทรีย์
- ชีวิตินทรีย์เจตสิก ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์
- มหากุศลจิต ๘ ดวงชื่อว่า มนินทรีย์
- ศรัทธาเจตสิก ชื่อว่า สัทธินทรีย์
- วิริยเจตสิก ชื่อว่า วิริยินทรีย์
- สติเจตสิก ชื่อ สตินทรีย์
- เอกัคคตาเจตสิก ชือว่า สมาธินทรีย์
- ปัญญาเจตสิก ชื่อว่า ปัญญินรีย์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2021, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๕. ปฏิจจสมุปบาท (อนุโลมนัย)

- เจตนาเจตสิกในมหากุศลจิตตุปบาท ชื่อว่า สังขาร
- เหตุของสังขาร คือ อวิชชา สังขารทั้งหลายย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
- วิญญาณย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย
- นามรูปย่อมมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
- สฬายตนะย่อมมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย
- ผัสสะย่อมมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
- เวทนาย่อมมีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
- ตัณหาย่อมมีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
- อุปาทานย่อมมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
- ภพย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
- ชาติย่อมมีเพราะภพเป็นปัจจัย
- ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสัย่อมมีเพราะชาติเป็นปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2021, 15:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๖. ปฏิจจสมุปบาท (ปฏิโลมนัย)

- ปัญญาเจตสิกในมหากุศลจิตตุปบาท ชื่อว่า วิชชา
- เมื่อวิชชาเกิด อวิชชาย่อมดับไป
- สังขารย่อมดับเพราะอวิชชาดับ
- วิญญาณย่อมดับเพราะสังขารดับ
- นามรูปย่อมดับเพราะวิญญาณดับ
- สฬายตนะย่อมดับเพราะนามรูปดับ
- ผัสสะย่อมดับเพราะสฬายตนะดับ
- เวทนาย่อมดับเพราะผัสสะดับ
- ตัณหาย่อมดับเพราะเวทนาดับ
- อุปาทานย่อมดับเพราะตัณหาดับ
- ภพย่อมดับเพราะอุปาทานดับ
- ชาติย่อมดับเพราะภพดับ
- ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมดับเพราะชาติดับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2021, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริงแล้วพระสูตรเป็นบุคคลาธิษฐานเทสนา คือ
เทสนาที่มีบุคคลเป็นที่ตั้ง จึงอาจทำให้ไม่พบ
องค์ธรรมโดยตรง แต่เมื่อจำแนกองค์ธรรมตามสมควรแล้ว
แจกแจงเป็นขันธ์อายตนะ ธาตุ เป็นต้น
ตามโอตรณหาระนี้ ก็จะทำให้เข้าใจหลักธรรมที่พระศาสดาทรงแสดง
เป็นบุคคลาธิษฐานนั้นได้อย่างชัดเจน
ในสมัยก่อนบุคคลที่ได้ฟังธรรมแล้วบรรลุธรรมได้ ก็เพราะสามารถเข้าใจ
องค์ธรรมแล้วจำแนกเป็นขันธ์เป็นต้นได้ จึงทราบว่าธรรมอย่างไหนควรกำหนดรู้
ธรรมอย่างไหนควรกำหนดละ ธรรมอย่างไหนควรทำให้แจ้ง
และธรรมหมวดไหนควรอบรมให้มากขึ้น แล้วกำหนดรู้ขันธ์ ๕
จึงบรรลุคุณธรรมพิเศษในพระศาสดาได้
เช่น คาถาที่พระอัชสฌิแสดงแก่อุปติสสะมาณพว่า

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุํ ตถาคโต อาห
เตสญฺจ โย นิโรโธ เอวํวาที มหาสมโณ


ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตตรัสเหตุของธรรมเหล่านั้น
และตรัสความความดับของธรรมเหล่านั้น มหาสมณทรงมีวาทะเช่นนี้

คำว่า ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด คือ ขันธ์ ๕ ซึ่งเกิดจากตัณหา
แม้ว่าพระอัชสฌิจะมิได้ระบุธรรมดังกล่าว คืออะไร และเหตุเกิดคืออะไร
แต่อุปติสสะมาณพก็เข้าใจได้ว่าธรรมดังกล่าว คือ ขันธ์ ๕
และเหตุเกิดคือตัณหา เพราะสมมุติบัญญัติตามหลักสันสกฤตถือว่า
เป็นสิ่งไม่มีเบื้องต้น เนื่องจากเป็นบัญญัติของคนสมัยก่อนสืบทอดกันต่อๆมา
จึงถือว่าไม่มีเหตุเกิดแต่อย่างใด ดังนั้น สิ่งที่มีเหตุเกิด
ก็คือปรมัตถธรรมหรือสภาวธรรมที่เป็นขันธ์ ๕ นั่นเอง อันมีเหตุเหตุเกิด
คือตัณหาที่เป็นความทะยานอยาก
ในอารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2021, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า ความดับของธรรมเหล่านั้น คือความดับของขันธ์ ๕ นั่นเอง
อนึ่ง ขันธ์ ๕ เป็นทุกขสัจที่ควรกำหนดรู้(ปริญเญยยะ)
ตัณหาเป็นตัวสมุทัยที่ควรละ(ปหารัพพะ)
ความดับของขันธ์เป็นทุกขนิโรธที่ควรกระทำให้แจ้ง(สัจฉิกาตัพพะ)
อุปติสสะมาณพเข้าใจข้อความเหล่านี้
ได้ด้วยปัญญาของตนที่สั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติ อีกทั้งเข้าใจแนวทาง
ในการเจริญวิปัสสนาที่เป็นอริยมรรค
ที่มีองค์ ๘ อันเป็นธรรมที่ควรอบรม(ภาเวตัพพะ)

เมื่อท่านเข้าใจอริยสัจ ๓ ข้อแรกที่กล่าวไว้ในคาถาโดยตรง และเข้าใจอริยสัจที่ ๔
ที่กล่าวไว้โดยอ้อมแล้วได้เจริญสติกำหนดรู้ขันธ์ ๕ ทีปรากฏในปัจจุบันขณะ
ตามความเป็นจริง จึงบรรลุธรรมเป็นโสดาบันเมื่อฟังธรรมจบ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร