วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2022, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1364820165-thTheWheel-o.gif
1364820165-thTheWheel-o.gif [ 29.16 KiB | เปิดดู 1080 ครั้ง ]
๘๖
สมจริงดังพระพุทธดำรัสที่เป็นธรรมจักรทั้งปวงว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้แสดงธรรมจักรว่า อุปาทานขันธ์ ๕ นี้ คืออริยสัจที้เป็นทุกข์ อันยอดเยี่ยม
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี เป็นธรรมที่สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ
ในโลกจะคัดค้านไม่ได้ ดังนี้เป็นต้น

ธรรมจักร แปลตามศัพท์ว่า กงล้อธรรม หมายถึงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ อันมี สติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น
ธรรมเหล่านี้จำแนกออกเป็นอริยสัจ ๔ ตามสมควร ไม่ถูกคัดต้นโดยสมณะ คือ นักบวชนอกศาสนาพุทธ
พราหมณ์ คือเชื้อชาติพราหมณ์ เทวดา คือ พรหม ๑๐ ภูมิ ตั้งแต่ปฐมฌานภูมิจนถึงจตุถฌานภูมิ
ยกเว้นอสัญญสัตตภูมิ สุทธาวาสภูมิ และอรูปภูมิ และใครๆ คือ ผู้ที่นับเข้าในขัตติยบริษัท(กลุ่มกษัตริย์)
และคหปติบริษัท(กลุ่มคหบดี)

คำว่า อิทํ ทุกขํ (อุปาทานขันธ์ ๕ คืออริยสัจที่เป็นทุกข์) หมายความว่า ธรรมที่มีในภูมิ ๓ เว้นตัณหา
ซึ่งจัดเข้าในอุปาทานขันธ์ ๕ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ที่จำแนกเป็น
ชาติ ชรา และมรณะเป็นต้นคืออริยสัจที่เป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ และมีสภาพเป็นทุกขทุกข์
คือ ทุกข์แท้ เป็นต้น

ในศาสนาพุทธ ธรรมจักรปรากฏใช้ทั่วไปเพื่อสื่อถึงธรรมของพระพุทธเจ้า, บ้างใช้เป็นสัญลักษณ์แทนพระโคตมพุทธเจ้า และใช้แทนหนทางสู่การตรัสรู้ ปรากฏใช้เช่นนี้นับตั้งแต่ศาสนาพุทธยุคแรก บางครั้งปรากฏเชื่อมโยงธรมจักรเข้ากับอริยสัจสี่, อริยมรรคแปด และ ปฏิจจสมุปบาท

ตามธรรมเนียมพุทธระบุว่า พระพุทธเจ้าทรงเริ่มหมุนกงล้อแห่งธรรมครั้งแรกเมื่อทรงแสดงปฐมเทศนา ดังที่ปรากฏใน ธัมมจักกัปปวัตนสูตร การ "หมุนกงล้อแห่งธรรม" นี้เป็นการแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่มีผลต่อจักรวาล เข้าใจว่าศาสนาพุทธรับเอาแนวคิดของกงล้อในฐานะสัญลักษณ์มาจาก แนวคิดปรัมปราอินเดียของ จักรวรรติน ("ผู้หมุนกงล้อ", หรือ "จักรพรรดิแห่งเอกภพ") แนวคิดนี้ถูกรับมาแทนพระโคตมพุทธเจ้าในฐานะมหาปุริษา ในฐานผู้หมุนกงล้อ ("จักรวรรติน") ในทางจิตวิญญาณ แทนที่จะเป็นการหมุนกงล้อในทางโลกตามความหมายดั้งเดิมของจักรวรรติน

ในการตีความ "การหมุนกงล้อแห่งธรรม" นั้น พระพุทธโฆษาจารย์ ภิกษุองค์สำคัญในธรรมเนียมเถรวาท อธิบายว่า "กงล้อ" ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงหมุนนี้ เข้าใจหลัก ๆ ในแง่ว่าเป็นปัญญา ความรู้ และญาณ ปัญญาที่ว่านี้มีสองแง่มุม คือ ปฏิเวธญาณ หรือปัญญาแห่งการรู้ตนถึงความจริง และ เทศนาญาณ ปัญญาของการประกาศความจริง

ปรากฏการออกแบบธรรมจักรมีซี่ที่แตกต่างกัน โดยที่พบมากคือ 8, 12, 24 หรือมากกว่านั้น การตีความจำนวนนี้แตกต่างกันไปตามธรรมเนียม โดยทั่วไปมักตีความถึงคำสอนต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า เช่น ในธรรมเนียมทิเบตตีความกงล้อ 8 ซี่ว่าแทนมรรคแปด และองค์ประกอบสามส่วนของจักร คือ ตุมล้อ, ขอบ และ ซี่ แทนการปฏิบัติสามประการของพระพุทธเจ้า (ศีล, สมาธิ และ ปัญญา)[ หรือในคติเถรวาทแบบไทย ตีความจักร 12 ซี่ หมายถึงปฏิจจสมุปบาทสิบสอง หรือ 31 ซี่ หมายถึง ภูมิทั้ง 31 (กามภูมิ 11 รูปภูมิ 16 และอรูปภูมิ 4) เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏการแทนความหมายของวงล้อที่หมุนไปในฐานะวงล้อของการเวียนว่ายตายเกิด (สังสารวัฏ) ซึ่งเรียกจักรในความหมายนี้ว่า "สงสารจักร" หรือ "สังสารจักร" และ "ภวจักร"
https://www.youtube.com/watch?v=sX76ScUSSSk

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร