วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 20:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2022, 15:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1646700470196.jpg
FB_IMG_1646700470196.jpg [ 9.04 KiB | เปิดดู 399 ครั้ง ]
๘๒
โค้ด:
ปรโตโฆสา สุตมยี ปญฺญา. ปจฺจตฺตสมุฏฺฐีติ โยนิโสมนสิการา จินตามยี ปญฺญา.
ยํ ปรโต จ โฆเสน ปจฺจตฺสมุฏฺฐิเตน จ โยนิโสมนสิกาเรน ญาณํ อุปฺปชฺชติ.
อยํ ภาวนามยี ปญฺญา.
สุตมยปัญญา เกิดจากเสียงแนะนำของผู้อื่น
จินตามยปัญญา เกิดจากการใส่ใจโดยแยบคายซึ่งเกิดจากภายในตน
ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากเสียงแนะนำของผู้อื่น และการใส่ใจโดยแยบคายซึ่งเกิดภายในตน

[ข้อความข้างต้นเป็นการจำแนกปัญญา ๓ ประเภทอีกนัยหนึ่ง กล่าวคือ ปุถุชนต้องฟังคำแนะนำ
จากพระศาสดาหรือสาวก จะเข้าใจด้วยตนเองไม่ได้ ปัญญาอย่างนี้เรียกว่า สุตมยปัญญา นอกจากนี้
เขาต้องมีการใส่ใจโดยแยบคายซึ่งเกิดภายในตน เช่น การกำหนดลักษณะพิเศษของรูป
และนามว่า รูปมีลักษณะแปลปรวน นามมีลักษณะน้อมไปสู่อารมณ์ เป็นต้น ปัญญาเช่นนี้เรียกว่า
จินตามยปัญญา ส่วนปัญญาที่เกิดจากการแนะนำของผู้อื่นและการใส่โดยแยบคาย ชื่อว่า ภาวนามยปัญญา

ในคำว่า โยนิโสมนสิการ(การใส่ใจโดยแยบคาย)คำว่าโยนิโส(โดยแยบคาย)คัมภีร์อรรถกถา
อธิบายว่า อุปาเยน (โดยวิธี, นัย)หมายถึง การใส่ใจด้วยวิธีที่ถูกต้อง ซึ่งเข้าใจความต่างกันของ
รูปธรรมและนามธรรม อนึ่ง คำนี้เมื่อเกี่ยวกับจินตามยปัญญา หมายถึง การพิจารณาให้เข้าใจถึง
ลักษณะพิเศษบองของรูปนาม และการรับรู้ในลักษณะนี้มีอารมณ์เป็นสมมุติบัญญัติ แต่ปัญญา
ระดับภาวนามยปัญญาไม่ใช่พิจารณาอย่างนั้น แต่เป็นการหยั่งเห็นลักษณะพิเศษของรูปนามอย่างชัดเจน
โดยไม่มีสมมุติบัญญัติใดๆ เพราะวิปัสสนาญาณต้องมีอารมณ์เป็นสภาวธรรมเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2022, 05:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โค้ด:
ยสฺส อิมา เทฺว  ปญฺญา อตฺถิ สุตมยี จินฺตามยี จ. อยํ อุคฺฆฏิตญฺญู.
ยสฺส สุตมยี ปญฺญา อตฺถิ. จินฺตามยี นตฺถิ. อยํ วิปญฺจิตญฺญู.
ยสฺส เนว สุตมยี ปญฺญา อตฺถิ น จินฺตามย๊. อยํ เนยโย.

ปัญญาทั้ง ๒ เหล่านั้น คือ สุตมยปัญญา และจินตามยปัญญา มีแก่บุคคลใด บุคคลนี้ชื่อว่า
อุคฆฏิตัญญู (เพราะรู้แจ้งด้วยอุเทศ)

สุตมยปัญญามีอยู่ แต่จินตามยปัญญาไม่มีแก่บุคคลใด บุคคลนั้นชื่อว่า วิปจิตัญญู
(เพราะรู้แจ้งด้วยอุเทศและนิทเทศ)

ทั้งสุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา ไม่มีแก่บุคคลใด บุคคนี้ชื่อว่า เนยยะ
(เพราะเป็นผู้ควรแนะนำด้วยเทศนาอันพิสดาร)

(อุคฆฏิตัญญูเป็นผู้ที่มีปัญญาแก่กล้า เพราะได้ศึกษาเล่าเรียนและใครครวญธรรมมาแล้ว ในชาติก่อน
จึงบรรลุธรรมได้เร็วด้วยการฟังอุเทศ ส่วนวิปจิตัญญูเป็นผู้มีปัญญาไม่แก่กล้ามากนัก เพราะได้สั่งสม
สุตมยปัญญาเท่านั้น จึงบรรลุธรรมได้ด้วยการฟังอุเทศและนิเทศ ส่วนเนยยะเป็นผู้ที่มิได้สั่งสมปัญญา
ทั้งสองประการนั้น จึงมีปัญญาน้อย บรรลุได้ด้วยเทสนาอันพิศดาร)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร