ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
ปฏิปทาแห่งการบรรลุความดับของรูปนาม http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=61727 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 28 ก.พ. 2022, 06:04 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | ปฏิปทาแห่งการบรรลุความดับของรูปนาม | ||
๑๑๑ อชิตมาณพนี้ย่อมถามอนุสนธิ (ข้อความกำลังถามอยู่)(อันสืบเนื่องมาจากปัญหาก่อน) ถามว่า : เมื่ออนุสนธิ ชื่อว่าย่อมถามอะไร ตอบว่า : ถามความดับกิเลสที่ไมมีขันธ์เหลืออยู่ อนึ่ง สัจจะ ๓ คือ ทุกข์ สมุทัย และมรรค เป็นสังขตธรรม (ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง และมีสภาพที่ดับไป ส่วนนิโรธเป็นอสังขตธรรม(ธรรมที่มีปั๗๗ัยปรุงแต่ง) ในสัจจะเหล่านั้น สมุทัยย่อมถูกละในภูมิธรรม ๒ ประการ คือ ทัสสนภูมิ (โสดาปัตติมรรค) และภาวนา(มรรคเบื้องบน ๓) สังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ย่อมถูกละด้วยโสดาปัตติมรรค สังโยชน์ ๗ คือ กามฉันทะ พยาบาท รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาที่เหลือ ย่อมถูกละด้วยมรรคเบื้อบน ๓ สังโยชน์ ๑๐ เหล่านี้อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ (ปรากฏในกามภูมิ)เป็นส่วนเบื้องบน ๕ (ปรากฏในรูปภูมิ ในและอรูปภูมิ)มีอยู่ในโลกธาตุ ๓ (กามธาตุ รูปธาตุ และอรูปธาตุ) (ข้อความนี้แสดงถึงปฏิปทาแห่งการบรรลุอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ซึ่งเป็นสภาพดับรูปนาม ทั้งหมดว่า คือ อริยสัจ ๔ จำแนกเป็น ๑. สังขตธรรม ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งในอดีต คือ อวิชชา สังขาร เป็นต้น และปัจจัยในปัจจุบัน คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย และมรรค ๒. อสังขตธรรม ธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยในอดีตและปัจจุบันปรุงแต่ง คือ นิโรธ ในบรรดาอริยสัจ ๔ เหล่านี้ สมุทยสัจเป็นธรรมที่ควรละ(ปหาตัพพธรรม)จำแนกออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. สมุทยสัจที่ควรละด้วยโสดาปัตติมรรค คือตัณหาที่นำไปเกิดในอบายภูมื พระโสดาบัน ผู้ละตัณหานี้ได้จึงไม่ไปเกิดในอบายภูมื ๒. สมุทยสัจที่ควรละด้วยมรรคเบื้องบน ๓ คือ ก. ตัณหาหยาบที่เป็นการเสพเมถุน ละด้วยสกทาคามิมรรค พระสกทาคามี ผู้ละตัณหานี้แล้วจึงไม่เสพเมถุน ข. ตัณหาละเอียดที่เป็นส่วนความพอใจในกามราคะ ละด้วยอนาคามิมรรค พระอนาคามี ผู้ละตัณหานี้แล้วจึงไปเกิดในพรหมโลกชั้นสุธาวาสเป็นส่วนใหญ่ ไม่ไปเกิดในกามาวจรภูมิ ค. ตัณหาละเอียดที่เป็นความพอใจในรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ละได้ด้วยอรหัตตมรรค พระอรหันต์จึงไม่เกิดอีก เพราะละความพอใจในภพทั้งปวง
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 28 ก.พ. 2022, 07:31 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ปฏิปทาแห่งการบรรลุความดับของรูปนาม |
คำว่า สังโยชน์ แปลตามศัพท์ว่า"เครื่องผูกไว้เสมอ" หมายถึงผูกสัตว์ไว้ในภพเสมอมิให้พ้นไปได้ โดย สํ อุปสรรคใน สํโยชน มีความหมายว่า สพฺพทา(ในกาลทั้งปวง.เสมอดังคัมภีร์เนตติฎีกาอธิบายว่า สํโยชนวเสนาติ สพฺพทา โยชนวเสน พนฺธนวเสน. คำว่า สํโยชนวเสน แปลว่า การผูกไว้ในเสมอ สังโยบน์ ๑๐ ซึ่งผูกเหล่าสัตว์ไว้ในภพ ๓ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ ละได้ด้วยมรรค ๒ ประเภท คือ ๑.โสดาปัตติมรรค ละสักกายทิฎฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ๒. มรรคเบื้องบน ๓ ละกามฉันทะ พยาบาท รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ แงะอวิชชา สังโยชน์เหล่านี้จำแนกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. โอรัมภาคียสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ คือ ทำให้ภูมิเบื้องต่ำคือกามภูมิ หรือพึงละด้วยมรรคเบื้องต่ำ ๓ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปาามาส กามราคะ และปฏิฆะ ๒. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง คือ ทำให้เกิด ในภูมิเบื้องสูงคือ รูปภูมิ อรูปภูมิ หรือละด้วยอรหัตตมรรค ได้แก่ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |