วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 21:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2022, 17:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1654598531551.jpg
1654598531551.jpg [ 109.45 KiB | เปิดดู 953 ครั้ง ]
สมสีสีบุคคล เป็น ไฉน ?
คือบุคคล เมื่อคราวบรรลุอรหัตตมรรค ความสิ้นอาสวะ และ ความสิ้นชีวิต จะเป็นไปในคราวเดียวกัน เหตุเพราะศรีษะทั้งสองประเภท คือ อวิชชาในอกุศลจิตร อันเป็นกิเลสศรีษะ และ ชีวิตินทรีย์ในจุติจิตร อันเป็น ปวัตตศรีษะ ถึงความเสื่อมสิ้นกำลังไปพร้อมๆกัน ไม่ก่อนไม่หลังกันเลย คือ
ในขณะที่บรรลุอรหัตตมรรนั่นเอง ด้วยเหตุดังกล่าว เมื่ออรหัตตมรรคญาณ อรหัตตผลญาณ และอรหัตตปัจเวกขณะญาณสิ้นสุดลงตามลำดับแล้ว จิตรก็ลงสู่ภวังค์ถัดไปจุติจิตรก็ปรากฏขึ้น แต่เพราะความสูญสิ้นกำลังของชีวิตินทรีย์ในจุติจิตรนั่นเอง เป็นเหตุให้ปฏิสนธิจิตรเกิดขึ้นไม่ได้
พระอรหันต์จึงสิ้นภพสิ้นชาติได้ก็ด้วยประการฉะนี้แล
ถามว่า อาการสิ้นภพสิ้นชาติแบบสมสีสี มีกี่ประเภท
ตอบว่า มี 3 ประเภทคือ
๑.อริยาปถสมสีสี ที่ใช้อิริยาบถสี่ เป็นอารมณ์เจริญวิปัสสนา
๒.โรคสมสีสี ที่ใช้โรค(เวทนา)ที่รุมเร้าอยู่เป็นอารมณ์เจริญวิปัสสนา
๓. ชีวิตสมสีสี ใช้อารมณ์(อื่นจากอิริยาบถและโรค) ที่รุนแรงต่อการเบื่อหน่ายปัญจขันธ์ เช่น บาดแผลที่เกิดจากการเชือดคอเป็นต้น
เพื่อความเข้าใจประเภทอารมณ์ที่รุนแรงต่อการเบื่อหน่ายปัญจขันธ์ได้ถูกต้องชัดเจน คัมภีร์นิสสยอักษรล้านช้างจึง นำตัวอย่างเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ทรงทราบว่าหมู่ภิกษุ ๖0 รูปในอตีตชาติ ร่วมกันเป็นพรานฆ่าสัตว์เป็นอาชีพ กรรมนั้นตามมาทันในชาตินี้ คือต้องถูกฆ่าตายแล้วก็ต้องเสวยกรรมนั้นในนรก จึงทรงแนะนำให้เจริญมรณานุสติกรรมฐาน ด้วยวิบากกรรมที่รุนแรง แทนที่จะเบื่อหน่ายด้วยปัญญากลับเบื่อหน่ายด้วยโทสะ รุนแรงถึงกับยับยั้งไม่อยู่ จึงฆ่าซึ่งกันและกันบ้าง ร้องขอหรือจ้างวานด้วยของใช้สอยบ้าง เป็นความเบื่อหน่ายที่รุนแรงด้วยโทสะก็จริงแต่ก็ไม่ได้อาศัยเรือน(กาม) จึงไม่มีกำลังส่งผลนำไปปฏิสนธิในนรกภูมิได้ การที่พระพุธทองค์ทรงพระกรุณาแนะนำมรณานุสติกรรมฐานให้แก่หมู่พระภิกษุเหล่านี้ก็เพื่อกันไม่ให้พวกพระภิกษุเหล่านั้นตกนรกได้ ก็ด้วยอารมณ์เช่นนี้นั่นเอง ส่วนตัวอย่างที่เบื่อหน่ายปัญจขันธ์รุนแรงด้วยปัญญาก็ เช่น พวกโจรใช้เถาหัวด้วน มัดพระเถระรูปหนึ่ง ให้นอนอยู่ที่ตัมพปัณณิทวีป เมื่อไฟป่าลามมาถึง
เพราะความเบื่อหน่ายเห็นโทษการมีปัญจขันธ์อย่างรุนแรง และเห็นคุณของปาติโมกขสังวรศีลอย่างลึกซึ้ง จึงไม่ย่อมตัดเถาวัลย์ เจริญวิปัสสนา เป็นชีวิตสมสีสี ปรินิพพาน (วิสุทธิมรรค ปาติโมกขสังวรศีล)

https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.p ... A%D5%CA%D5

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร