วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 23:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2022, 14:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




002.jpg
002.jpg [ 93.81 KiB | เปิดดู 692 ครั้ง ]
ลักษณะของจักขุปสาท คือ สภาวะที่ใสสามารถกระทบรูปได้
เป็นภาวะที่ทำให้เห็นภาพได้ การที่ผู้ปฏิบัติกำหนเรู้สภาวัใสของจักขุ
ว่าเป็นสภาวะที่เห็นรูปได้ชัดเจน ชื่อว่าการกำหนดรู้จักขุประสาท การกำหนดรู้จักขุปสาท
การกำหนดรู้จักขุปสาทนั้นไม่ใช่เป็นการรับรู้รูปร่างกลม แบน หรือ เป็นก้อนของจักขุปสาท
แต่เป็นการรู้สภาวะใสที่ทำให้เห็นภาพได้ ดังข้อความว่า

รูปาภิฆาตารหภูตปฺปสาทลกฺขณํ
มีลักษณะคือความใสของมหาภูตรูปที่ควรกระทบรูป

หน้าที่ของจักขุปสาทมีกล่าวไว้ในคัมภีร์อรรถกถาว่า
รูเปสุ อาวิญฺฉนฺรสํ
"มีหน้าที่ดึงจิตไปในรูป"

ข้อนี้หมายความว่า จักขุปสาทมีหน้าที่เหมือนกับนำจิตไปสู่รูปารมณ์ คล้ายกับการ
จับจูงแขนของผู้หนึ่งไปโดยกล่าวว่าท่านจงมาดูรูปนี้เถิด และเมื่อรูปมาปรากฏที่จักขุปสาทแล้ว
จักขุวิญญาณจึงจะเห็นได้ จักขุประสาทมีหน้าท่เชื่อมให้จักขุวิญญาณที่เห็นรูปารมณ์ได้
ท่านจึงกล่าวว่ามีหน้าที่ดึงจิตไปในรูป หมายความว่า สนับสนุนช่วยให้รูปารมณ์มาปรากฏแก่
จักขุวิญญาณนั้นเอง

ด้วยเหตุนี้ การกำหนดรู้ว่า "เห็นหนอ" จึงเป็นการรู้เห็น ลักษณะเฉพาะ
คือ สภาวะใสของจักขุประสาท และจัดว่าได้รู้เห็นหน้าที่
คือ การนำจักขุวิญญาณไปสู่รูปารมณ์ เพราะจักขุประสาท
อุปถัมภ์ค้ำจุลให้จักขุวิญญาณสามารถรับรู้เห็นรูปได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2022, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_pfkkzqajnd1wtg8hyo1_500.png
tumblr_pfkkzqajnd1wtg8hyo1_500.png [ 234.38 KiB | เปิดดู 153 ครั้ง ]
อาการปรากฏของจักขุประสททมีกล่าวไว้ในคัมภีร๋อรรถกถาว่า
จกฺขุวิญฺญาณสฺส อาธารภาวปจฺจุปฏฺปฐานํ.
"ปรากฏแก่ปัญญาของผู้ปฏิบัติโดยความเป็นที่ตั้งของจักขุวิญญาณ"

ข้อนี้หมายความว่า จักขุประสาทปรากฏแก่ปัญญาของผู้ปฏิบัติว่าเป็นที่ตั้งของจักขุวิญญาณนั่นเอง
จะเห็นได้ว่า เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดว่า"เห็นหนอ"เขาย่อมเข้าใจว่า สภาวเห็นเกิดขึ้นโดยอาศัย
จักขุประสาท ดังนั้นจักขุประสาทจึงนับว่าเป็นที่ตั้งของจักขุวิญญาณ

ว่าเป็นที่ตั้งของจักขุวิญญาณนั่นเอง จะเห็นได้ว่า เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดว่า "เห็นหนอ"
เขาย่อมเข้าใจว่า สภาวะเห็นเกิดขึ่นโดยอาศัยจักขุประสาทดังนั้น จักขุประสาทจึงนับว่า
เป็นที่ตั้งของจักขุวิญญาณ

สรุปความว่าผู้ที่กำหนดความว่า "เห็นหนอ" ย่อมรู้ชัดลักษณะเฉพาะของจักขุประสาท
ว่าเป็นสภาพความใส เพราะเมื่อมีความใสบุคคลจึงสามารถเห็นได้ นอกจากนั้น
ยังนับว่ารู้ชัดหน้าที่ของจักขุประสาท คือ การนำจักขุวิญญาณไปสู่รูปารมณ์
มีความเข้าใจว่าจักขุประสาทจักขุประสาทอุปถัมภ์ให้บุคคลเห็นรูปารมณ์ได้ อีกทั้งยังรู้
ชัดอาการปรากฏของจักขุประสาทว่าเป็นที่ตั้งของจักขุวิญญาณ คือ จักขุวิญญาณ
อาศัยดวงตาจึงสามารถเกิดขึ้นได้ มิได้อาศัยอวัยวะส่วนอื่นของร่างกายอันได้แก่ มือ เท้า
ศีรษะ จมูก ลิ้น หรือ ปาก เป็นต้น ดังนั้น ผู้ที่กำหนดว่า "เห็นหนอ" ในขณะเห็น
ย่อมจะเข้าใจลักษณะ หน้าที่ และอาการปรากฏของจักขุประสาทตามที่กล่าวมานี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2022, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Girl-PNG-Photo.png
Girl-PNG-Photo.png [ 418.07 KiB | เปิดดู 522 ครั้ง ]
อธิบายจักขุประสาท

จักษุมีชื่อเรียกในภาษาบาลีว่า จกฺขุปสาท หรือจักขุประสาทเป็นรูปใสที่อยู่ท่ามกลางแววตาดำ
ภายในลูกตา ทำให้เห็นภาพที่อยู่ตรงหน้าตนเหมือนกระจกเงาที่สะท้อนภาพ
จึงทำให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้นรู้รูปารมณ์ได้

จักขุประสาทเป็นรูปใสที่ไม่อาจกล่าวได้ว่ามีรูปร่างกลมหรือแบน ในคัมภีร์กล่าวว่าประกอบขึ้น
มาจากรูปกลาป คือ กลุ่มรูปที่เล็กที่สุดซึ่งมีขนาดเท่ากับปรมณู ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้
และไม่อาจใช้แว่นขยายส่องดูได้ แต่คาดว่าน่าจะใช้กล้องจุลทรรศน์ที่มี
ความละเอียดอย่างสูงส่องได้

รูปกลาปแต่ละรูปมีกลุ่มรูปซึ่งเรียกว่า จักขุทสกลาป (กลาปที่จำนวน ๑๐ มีจักขุประสาทเป็นประธาน)
หมายถึงปสาทรูปคือ รูปใสที่อยู่ในจักษุ และธาตุ ๔ อันเป็นที่อาศัยของจักขุประสาทรูปนั้น คือ
ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุดินทำหน้าที่เป็นที่ตั้งของรูปใส เพราะถ้าไม่มีธาตุดินรูปใส
ก็ไม่อาจคงอยู่ได้ รูปน้ำทำหน้าที่ประสานให้รูปใสนั้นเกาะกุมกัน ธาตุไฟทำหน้าที่ทำให้อบอุ่น
และธาตุลมทำหน้าที่ค้ำจุน ถ้าไม่มีธาตุลมรูปใสก็ไม่อาจคงทนอยู่ในสภาพเดิม ธาตุทั้ง ๔
เหล่านี้เป็นที่อาศัยของจักขุประสาท และจักขุประสาทก็เป็นสภาวะใสที่อาศัยธาตุ ๔ เหล่านี้แน่นอน
จักจุประสาทนั้นอยู่ในลูกตาดำและยังประกอบด้วยรูปอื่นๆ อีก คือ วัณณะ สีต่างๆ
คันธะ กลิ่น รสะ รส และโอชา คือธาตุอาหาร

สรุปความว่า จีกขุประสาทยังปคะกอบกันกับธาตุ ๔ และวัณณะคัณธะ รสะ พร้อมทั้งโอชา
เหล่านี้รวมเป็นรูปกลาปเล็กละเอียดที่เรียกว่าปรมณู สามารถเห็นได้ด้วยทิพยจักษุเท่านั้น
เมื่อธาตุ ๔ เหล่านี้รวมตัวกันกับวัณณะเป็นต้น นับรูปกลาปได้ ๘ รูป และยังมีชีวิตรูปอีกรูปหนึ่ง
เป็นกรรมชรูป ทำหน้าที่รักษารูปอื่นๆ ให้คงอยู่ต่อไปจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เมื่อรูปชีวิตรูป
ดับลง รูปอื่นๆ ก็ไม่อาจตั้งอยู่ได้ คือไม่เกิดขึ้นอีก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร