ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ลักษณะของรูปารมณ์
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=62263
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 06 ก.ค. 2022, 12:46 ]
หัวข้อกระทู้:  ลักษณะของรูปารมณ์

ลักษณะของรูปารมณ์
ผู้ปฏิบัติไม่เพียงรู้ชัดจักขุปรสาทเท่านั้น แต่ยังต้องรู้รูปารมณ์คือสีต่างๆ อีกด้วย
รูปารมณ์ดังกล่าวมีลักษณะคือการกระทบจักขุประสาทดังมีข้อความว่า
จกฺปฏิหนนลกฺขณํ
"มีลักษณะกระทบจักขุประสาท"

ข้อนี้หมายความว่า เมื่อรูปารมณ์มากระทบจักษุแล้ว บุคคลจึงสามารถเห็นได้
แต่ลักษณะดังกล่าวไม่ปรากฏชัดเจนเหมือนกับเสียงกล่าวคือ เสียงปรากฏชัดเจนมากกว่ารูป
จะเห็นได้ว่า เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดวาาได้ยินหนอบางขณะอาจรู้สึกว่าเสียงพุ่งออกมาจากที่ไกล
มากระทบหูของเรา อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมกำหนดว่า "เห็นหนอ" ในบางขณะอาจรู้ชัด
รูปารมณ์ว่าเป็นสิ่งที่มากระทบดวงตาตามลักษณะของรูปารมณ์ที่กล่าวมาแล้ว
หน้าที่ของรูปารมณ์ คือ ความเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณดังขีอความว่า
จกฺขุวิญฺญสฺส วิสยภาวรสํ.
"มีหน้าที่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ"

ข้อนี้หมายถึง รูปเป็นสิ่งที่ถูกเห็นได้นั่นเอง คือ เป็นสิ่งที่รองรับการเห็นของผู้ทีสามารถเห็นได้
คลัายกับตัวละครที่ถูกผู้ชมผู้ฟังเห็นอยู่ในขณะแสดง จัดเป็นขณะค้ำจุนเพื่อให้บุคคลเกิดสภาวะเห็น

ถ้าไม่มีรูปารมณ์ที่บุคคลเห็นได้ การเห็นย่อมไม่อาจเห็นได้เลย ถึงแม้ว่าเราจะเเหงนหน้ามอง
ขึ้นไปบนท้องฟ้าเพื่อต้องการเห็นอะไรบางสิ่งบางอย่างก็ม่อาจเห็นได้ แต่หากเครื่องบินหรือนกกระยาง
บินผ่านมาในท้องฟ้าเราจึงจะสามารถเห็นสิ่งเหล่านั่นได้ ลำพังความต้องการจะเห็นย่อมไม่อาจ
ทำให้เห็นเกิดขึ้นได้เลย เช่นเดียวกันนี่ แส้การได้ยินเสียงก็เหมือนกัน ถ้าไม่มีเสียงเกิดขึ้น การได้ยินเสียง
ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้เพราะเราไม่อาจได้ยินเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งได้ด้วยการนึกคิดเท่านั้น
สรุปว่านี้คือหน้าที่ของรูปารมณ์ซึ่งมีหน้าที่ถูกเห็นด้วยจักขุวิญญาณ

ไฟล์แนป:
4a2a2525cfa502f39dd7a2725f1fb468 (1).jpg
4a2a2525cfa502f39dd7a2725f1fb468 (1).jpg [ 199.96 KiB | เปิดดู 709 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 07 ก.ค. 2022, 04:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ลักษณะของรูปารมณ์

อาการปรากฏของรูปารมณ์ คือ
จกฺขุวิญฺญาณสฺส โคจรภาวปจฺปฏฺฐานํ.
"ปรากฏแก่ปัญญาของผู้ปฏิบัติ ด้วยความเป็นที่คุ้มเคยของขักขุวิญญาณ"

รูปารมณ์นั้นมีอาการปรากฏที่สามรถเป็นที่คุ้นเคยของจักขุวิญญาณ เหมือนทุ่งหญ้า
เป็นที่คุ้นเคยของวัวทั้งหลาย ที่จริงแล้วจักษุไม่อาจฟังเสียง ไม่อาจรับรู้การกระทบ
เพราะเสียงหรือผัสสะไม่ใช่อารมณ์ของจักวษุ นอกจากนั้นสิ่งที่ตาเห็นก็เป็นเพียงสีต่างๆ
ที่อยู่ภายนอกเท่านั้น ไม่ใช่รูปร่างสัณฐานที่เข้าใจกันว่าเป็นบุรุษหรือสตรี เราจึงไม่อาขเห็น
รูปร่างสัณฐานดังกล่าว เห็นเป็นเพียงแต่สีที่ปรากฏอยู่ภายนอก รูปร่างสัณฐานเท่านั้น
อีกทั้งจักษุก็ไม่เคยเห็นกลิ่น ไม่อาขลิ้มรส ไม่อาจรู้สภาวะแข็งหรืออ่อนของธาตุดิน
สภาวะไหลหรือเกาะกุมบองธาตุน้ำ สภาวะหย่อนตึงของธาตุลม และสภาวะเย็นหรือร้อนของธาตุไฟ
รวมไปถึงไม่อาจเห็นเจตสิกต่างๆ ตือ โลภะ โทสะ และโมหะ เป็นต้น เพราะไม่ใล่อารมณ์ของจักขุนั่นเอง

การที่ชาวโลกเห็นแล้วรู้สึกว่าตนรับรู้รูปร่างสัณฐานได้นั้นเป็นการรู้อารมณ์ทางใจ
ไม่ใช่การเห็นรูปารมณ์ทางทางจักษุ ด้วยเหตุนี้ เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดว่า "เห็นหนอ"
จึงสามารถรู้รูปารมณ์ คือสีต่างๆอันเป็นอารมณ์ของสภาวะเห็นหรือจักขุวิญญานได้

แม้สิ่งที่เห็นอาจจะอยู่ไกลหรือใกล้สภาวะเห็นก็สามารถรู้เห็นจากที่ไกลบ้าง ที่ใกล้บ้าง
เพราะรูปารมณ์เหมือนกับทุ่งหญ้าอันเป็นสถานที่หากินของวัวซึ่งเป็นอารมณ์ที่อาศัยของ
จักขุวิญญาณตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

สรุปความว่า ผู้กำหนดว่า "เห็นหนอ" ย่อมเข้าใจลักษณะหน้าที่และอาการปรากฏของรูปารมณ์
โดยประจักว่า รูปารมณ์เป็นสิ่งที่มากระทบจักษุ(ลักษณะ)เป็นสภาวะที่เห็นได้(หน้าที่)หรือ
เป็นฐานะที่ทำให้สภาวะเห็นไปถึงได้(อาการปรากฏ)ผู้ปฏิบัติอาจเข้าใจลักษณะ หน้าที่ หรืออาการ
เหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งตามสมควรนี้ คือความรู้ชัดรูปารมณ์ และตรัสว่า รูเป จ ปชานาติ
(ย่อมรู้ชัดรูปารมณ์)และตรัสว่า ยถาภูตํ ปลานาติ (ย่อมรู้ลัดตามความเป็นจริง)

ไฟล์แนป:
background-2076337_960_720.jpg
background-2076337_960_720.jpg [ 94.62 KiB | เปิดดู 548 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/