ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ฝั่งนี้-ฝั่งโน้น
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=62382
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 29 ก.ค. 2022, 05:24 ]
หัวข้อกระทู้:  ฝั่งนี้-ฝั่งโน้น

อาสีวิโสปมสูตร

ฝั่งนี้ = กองรูปนาม, ฝั่งโน้น = พระนิพพาน

ฝั่งนี้คือกองรูปนาม มีภยันตรายมากมาย มีใช่แดนเกษม เรา
ต้องข้ามห้วงน้ำใหญ่จึงจะพบฝั่งโน้นซึ่งเปรียบได้กับพระนิพพาน คือ
ความดับไปของรูปนามอันเป็นแดนเกษม ในเรื่องนี้พระพุทธองค์ได้ตรัส
พระนิพพานว่าเหมือนเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่เรียกว่าแดนเกษม การตรัส
เช่นนี้จัดเป็นสำนวนทางภาษาที่กล่าวถึงสิ่งที่ไม่ใช่สถานที่ให้เหมือนเป็น
สถานที่ ตามหลักอลังการศาสตร์เป็นการใช้คำชั้นสูงที่กล่าวถึงสิ่งที่ไม่มี
วัตถุให้เหมือนมีวัตถุ สิ่งที่ไม่มีชีวิตให้เหมือนมีชีวิต หรือสิ่งที่ไม่มีร่างกาย
ให้เหมือนมีร่างกาย" ดังนี้เป็นต้น

ในเรื่องนี้พระพุทธองค์ทรงเปรียบว่า พระนิพพานคือความดับ
รูปนามขันธ์ ๕ เหมือนฝั่งโน้นที่เป็นแดนเกษม
เหตุที่เป็นแดนเกษมก็
เนื่องจากว่าพระนิพพานนั้นปราศจากรูปนามขันธ์ ๕ เมื่อไม่มีรูปนาม
ทั้งหมดจึงไม่มีธาตุ ๔ ไม่มีขันธ์ ๕ ไม่มีนันทีราคะ ไม่มีอายตนะภายใน ๖
ไม่มีอายตนะภายนอก ๖ ไม่มีห้วงกิเลสทั้ง ๔ อย่าง ดังนั้น พระนิพพาน
จึงเป็นแดนเกษมอย่างแท้จริง


การใช้มือเท้าต่างพาย = วีริยารัมภะ

บุรุษที่ต้องการจะข้ามห้วงน้ำต้องต่อแพเอง แล้วใช้มือและเท้า
ก่อน้ำต่างพายเพื่อให้เคลื่อนตัวออกไปยังอีกฝั่งหนึ่ง การใช้มือเท้าต่าง
พายเปรียบได้กับการปรารภความเพียรทางกายและใจ ซึ่งเรียกว่า วิริยารัมภะ

ผู้ข้ามฝั่ง = พระอรหันต์"

ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความเพียรทั้งทางกายและทางใจ หากเรา
ปราศจากความเพียรดังกล่าวก็ไม่อาจล่องแพหรือทำให้แพนั้นเคลื่อนตัว
สู่ฝั่งตรงข้ามได้ ส่วนผู้ที่ข้ามฝั่งแล้วเปรียบได้กับพระอรหันต์ ซึ่งสามารถ
ขจัดกิเลสทุกประการโดยสิ้นเชิง จึงนับว่าเป็นผู้ข้ามฝั่งได้

แพ = อริยมรรคมีองค์ ๘

ในเรื่องนี้พระพุทธองค์ได้เปรียบแพว่าคือ อริยมรรคมืองค์ ๘
ซึ่งจะทำให้เราสามารถข้ามห้วงกิเลสได้ อริยมรรคเหล่านั้นแบ่งออกเป็น
๓ หมวด คือ หมวดศีล หมวดสมาธิ และหมวดปัญญา

ไฟล์แนป:
121274569-raft-wood-floating-in-the-sea-at-sunset-.jpg
121274569-raft-wood-floating-in-the-sea-at-sunset-.jpg [ 89.27 KiB | เปิดดู 730 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/