ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
อริยมรรคหมวดสมาธิ http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=62386 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 29 ก.ค. 2022, 08:42 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | อริยมรรคหมวดสมาธิ | ||
อาสิวิโสปมสูตร อริยมรรคหมวดสมาธิ ๓ สัมมาวายามะ นอกจากอริยมรรคหมวดศีล ยังมีอริยมรรคหมวดต่อมา คือสมาธิ ซึ่งได้แก่ สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ หมายถึง ความเพียรในการ ปิดกั้นอกุศล ในการกำจัดอกุศล ในการทำกุศล และในการเพิ่มพูนกุศล กล่าวโดยย่อคือการปิดกั้นบาปเก่า กำจัดบาปใหม่ ทำกุศลใหม่ และเพิ่มพูนกุศลเก่า หมายความว่า คนทั่วไปต้องปิดประตูไว้ในเวลาอยู่ บ้านเพื่อไม่ให้ขโมยเข้าบ้าน จิตของเราก็เช่นเดียวกัน ต้องประกอบด้วย สัมมาวายามะ คือความเพียรชอบ ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สัมมัปปธาน ๔ ความเพียรประการแรก ได้แก่ สังวรปธาน คือ เพียรระวังยับยั้ง หรือปิดกั้นบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มีให้เกิดขึ้น หมายความว่า อกุศล ใดที่เรายังไม่เคยทำ เราต้องพยายามรักษาใจของเราเพื่อไม่ให้เกิดอกุศล เหล่านั้น, ความเพียรประการที่ ๒ ได้แก่ ปหานปธาน คือ เพียรละหรือ เพียรกำจัดบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว, ความเพียรประการที่ ๓ ได้แก่ ภาวนาปธาน คือ เพียรเจริญหรือเพียรก่อให้เกิด หมายความว่า เพียร ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เคยทำมาก่อนให้เกิดมีขึ้น เช่น การเจริญมตตา ภาวนาให้เกิดขึ้นในจิตของเรา ความเพียรประการที่ ๔ ได้แก่ อนุ- รักขนาปธาน คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและเจริญ ยิ่งขึ้น หมายความว่า หลังจากนั้นก็ต้องพยายามเพิ่มพูนเมตตาภาวนาให้ เจริญไพบูลย์งอกงามมากยิ่งขึ้นไปในจิตของเรา ดังนั้น สัมมาวายามะจึงเป็นองค์คุณที่จำเป็นในขณะปฏิบัติธรรม เราต้องพยายามปิดกั้นอกุศลไม่ให้เกิดในใจ หรือถ้ามันเกิดขึ้น เราก็ต้อง กำจัดมัน คือ ถ้ามีโทสะเกิดขึ้น เราต้องกำหนดว่า "โกรธหนอๆ" เพื่อ กำจัดโทสะนั้น หรือถ้ากำหนดว่า "โกรธหนอๆ" แล้ว โทสะยังไม่หาย เราก็แผ่เมตตาเพื่อทำให้โทสะเบาบางลง สัมมาสติ สัมมาสมาธิ อริยมรรคมีองค์ ๘ หมวดสมาธิ ประการต่อมาคือ สัมมาสติ การระลึกชอบ หมายถึง การเจริญสติรู้เท่าทันปัจจุบันในกองรูป เวทนา จิต และสภาวธรรม นอกจากสัมมาสติแล้ว ก็มีสัมมาสมาธิ ความตั้งมั่น มายถึง การดำรงใจไว้อย่างมั่นคงในรูปนามปัจจุบันทุกขณะๆ ที่ผู้ปฏิบัติ กำหนดรู้อยู่
|
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |