วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 02:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2022, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




images.jpeg
images.jpeg [ 76.34 KiB | เปิดดู 665 ครั้ง ]
วิธีการเจริญอนุปทธัมมวิปัสสนา

พระสารีบุตรเถระนั้น ท่านได้เข้าฌานมีปฐมฌานเป็นต้นไปตามลำดับซึ่งทันที
ทีท่านออกจาฌานแต่ละขั้นนั้น ท่านได้ทำการพิจารณารู้ซึ้งถึงสภาวลักษณะของ
องค์ฌานมีวิตกเป็นต้น ก็วิธีการพิจารณารู้ของท่านนั้น พึงทราบดังนี้

เมื่อพิจารณาวิตก ก็จะรู้ซึ้งถึงสภาวลักษณะของวิตกนั้นว่าวิตกนี้มีลักษณะเป็น
ธรรมที่นำจิตเจตสิกที่สัมปยุตกับตนขึ้นสู่อารมณ์ หรือที่ภาษาชาวบ้านนิยมเรียกว่า
การตรึก ฉีดคิดนั้นเอง ซึ่งเป็นลักษณะที่พระอรรถกถาจารย์ท่านได้อธิบายไว้โดย
นัยเป็นตันว่า อภินิโรปนกฺขโณ วิตกฺโก ตตีติ ชานาติ. "โยคีย่อมรู้วิตกดังนี้ว่า
วิตกย่อมเกิดขึ้นในลักษณะเป็นธรรมที่นำจิตเจตสิกขึ้นสู่อารมณ์"

การที่โยคีรู้ว่า "การตรึกนึกคิดเกิด" เช่นนี้แล ได้ชื่อว่า "เป็นการกำหนดรู้
สภาวลักษณะของวิตก" แม้ในเรื่องของการกำหนดรู้สภาวลักษณะขององค์ฌานมี
วิจารเป็นต้น ก็พึงทราบโดยทำนองเดียวกันนี้ ตัวอย่างเช่น เมื่อโยคีกำหนดพิจารณา
วิจารก็ย่อมรู้ซึ้งถึงสภาวลักษณะของวิจารนั้นว่า "วิจารนี้เป็นธรรมที่พิจารณใคร่ครวญ
อารมณ์" เมื่อกำหนดพิจารณาปีติ ก็ย่อมรู้ปีตินั้นว่า "ปีตินี้เป็นธรรมที่ยินดีพึงพอใจ
ในอารมณ์" หรือเป็นธรรมที่มีสภาพที่อิ่มเอิบไปทั่วสรรพางค์กาย" เมื่อพิจารณาสุข
ก็ย่อมรู้สุขนั้นว่า "สุขนี้เป็นธรรมที่เบาสบายผ่อนคลายไม่เครียด" เมื่อพิจารณา
เอกัคคตา ก็ย่อมรู้เอกัคคตานั้นว่า "เอกัคคตานี้เป็นธรรมที่ตั้งมั่นแน่วแน่ไม่ฟุ้งซ่าน"
เมื่อพิจารณาผัสสะ ก็ย่อมรู้ผัสสะนั้นว่า "ผัสสะนี้เป็นธรรมที่กระทบกับอารมณ์"
เมื่อพิจารณาเวทนา ก็ย่อมรู้เวทนานั้นว่า "เวทนานี้เป็นธรรมที่รู้สึกต่ออารมณ์หรือ
ที่เรียกกันว่าเป็นธรรมที่เสวยอารมณ์" เมื่อพิจารณาสัญญา ก็ย่อมรู้สัญญานั้นว่า
"สัญญานี้เป็นธรรมที่จดจำอารมณ์" เมื่อพิจารณาเจตนา ก็ย่อมรู้เจตนานั้นว่า "เจตนา
นี้เป็นธรรมที่จับจิตให้มุ่งตรงต่ออารมณ์" (จงใจในอารมณ์) เมื่อพิจารณาจิต ก็ย่อม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2022, 04:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


รู้จิตนั้นว่า "จิตนี้เป็นธรมที่รู้อารมณ์" เมื่อพิจารณาฉันทะ ก็ย่อมรู้ฉันทะนั้นว่า
"ฉันทะนี้เป็นธรรมที่ประสงค์อารมณ์" เมื่อพิจารณาอธิโมกข์ ก็ย่อมรู้อธิโมกข์นั้นว่า
"อธิโมกข์นี้เป็นธรรมที่เด็ดขาดในอารมณ์" เมื่อพิจารณาวิริยะ ก็ย่อมรู้วิริยะนั้นว่า
"วิริยะนี้เป็นธรรมที่มุ่งมั่นบากบั่นในอารมณ์" เมื่อพิจารณาสติ ก็ย่อมรู้สตินั้นร่า
"สตินี้เป็นธรรมที่ระลึกรู้ทันอารมณ์" เมื่อพิจารณาตัตรมัชฌัตตุเบกขา ก็ย่อมรู้
ตัตร์มัชฌัตตุเบกขานั้นว่า "ตัตรมัชผัตตุเบกขานี้เป็นธรรมที่มีความเป็นกลางต่อ
อารมณ์" เมื่อพิจารณามนสิการ ก็ย่อมรู้มนสิการนั้นว่า "มนสิการนี้เป็นธรรม
เอาใจใส่ต่ออารมณ์" นี้เป็นการพิจารณารู้ธรรม ๑๖ ประการ ดังที่พระพุทธองค์
ได้ทรงแสดงไว้ว่า ตุยาสุส ธมฺมา อนุปทววถิตา โหนฺติ. "พระสารีบุตรนั้นได้กำหนด
พิจารณารู้ธรรม ๑๖ ประการไปตามลำดับ"

แม้ว่าสภาวธรรม ๑๖ ประการเหล่านั้น จะปรากฎแก่ญาณของพระสารีบุตร
เถระโดยประจักษ์แจ้งในลักษณะที่ปรากฏเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป กล่าวคือ อุปปาทะ
ฐิติ ภังคะ ก็ตาม แต่ก็ควรที่จะเข้าใจว่า ฌานจิตนั้น ย่อมไม่สามารถรู้การเกิดขึ้น
ตั้งอยู่ ดับไปของตน(ของฌานจิตเองได้ และก็ไม่ควรที่จะเข้าใจว่า "จิตที่รู้กับ

ฌานจิตนั้นเกิดขึ้นพร้อมกัน" เกี่ยวกับประเด็นนี้ พึงศึกษาข้อความจากคัมภีร์
มัชฌิมนิกายอรรถกถา ดังต่อไปนี้ด้วยว่า

ยถา หิ เตเนว องคุลคุเคน ตํ องคุลคุคํ น สกุกา ผุสิตุ๋, เอวเมว เตเนว
จิตุเตน ตสุส อุปปาโท วา ฐิติ วา ภงโค วา น สกุกา ชานิตุนฺติ เอวํ ดาว
ตํญาณตา โมเจตพุพา. ยทิ ปน เว จิตุตานิ เอกโต อุปฺปชฺเชย เอเกน
จิตุเตน เอกสุส อุปฺปาโท วา ฐิติ วา ภงุโค วา สกุกา ภเวยุย ชานิตุ๋, เทว ปน
ผสฺสา วา เวทนา วา สณุฌา วา เจตนา วา จิตุตานิ วา เอกโต อุปุปชฺชนกานิ
นาม นตฺถิ, เอกเมกเมว อุปฺปชฺชติ, เอวํ ณาณพหุตา โมเจตพุพา


อุปมาเหมือนกับว่า บุคคลย่อมไม่สามารถใช้ปลายนิ้วสัมผัสปลายนิ้วเดียวกันได้
ฉันใด จิตก็ย่อมไม่สามารถที่จะล่วงรู้อุปปาทะ ฐิติ ภังคะ ของตนได้ ฉันนั้น เหมือนกัน
ข้อนี้ย่อมปฏิเสธข้อความที่ว่า บุคคลย่อมรู้ฌานจิตนั้น ด้วยฌานจิตนั้นได้ นอกจากนี้
หากว่ามีจิต ๒ ดวงเกิดขึ้นพร้อมกัน จิตดวงหนึ่ง ก็จะสามารถรู้อุปปาทะ ฐิติ ภังคะ
ของจิตอีกดวงได้อยู่ แต่ความเป็นจริง ไม่มีจิตหรือเจตสิกใดๆเกิดขึ้นแข่งกัน เช่น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2022, 04:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Screenshot_20240110-183702_Gallery.jpg
Screenshot_20240110-183702_Gallery.jpg [ 110.46 KiB | เปิดดู 35 ครั้ง ]
ไม่มีผัลสะ ๒ ดวง เวทนา ๓ ดวง สัญญา ๒ ดวง เจตนา ๒ ตวง และจิด ๒ ดวง
เกิดขึ้นพร้อมกันได้เลย สภาวถรรมล้วนเกิดแต่ละครั้งเป็นตวงๆเท่ านั้น ข้อนี้ทำให้
เห็นว่าไม่มีญ าณเกิดขึ้นพร้อมๆกันเป็นจำนวนมากแต่อย่างใด

จะอย่างไวก็ตามในส่วนของพระสารีบุตรนั้น เนื่องจากท่านได้กำหนดพิจารณา
อารมณ์และวัตถุวันเป็นที่อาศัยของสภาวธรรมทั้ง ๑ ประการเหล่านั้น ดังนั้น
เมื่อท่านออกจากฌานและทำการพิจารณาอยู่ ลักษณะการเกิด(อุปปาทะ) การตั้งอยู่
(ฐิติ)การดับ(ภังคะ)ของสภาวธรรมทั้งทลายเหล่านั้น ก็จะปรากฎเหมือนกับว่ากำลัง
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปในขณะนั้นๆนั่นเทียว

การกำหนดพิจารณารู้ธรรมที่ปรากฏอย่างนี้แล เรียกว่า เป็นการกำหนด
พิจารณารู้ขณะปัจจุบันธรรม ซึ่งเป็นภารกิจของอุทยัพพยญาณและภังคญาณ ดังนั้น
พระพุทธองค์ จึงได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า วิทิตา อุปฺปชฺชนฺติ... อนึ่ง การรู้ว่า "นี้เป็นการ
เกิดขึ้นของสภาวธรรมที่ยังไม่เคยเกิด" ชื่อว่า เป็นญาณที่หยั่งรู้อุทยะกล่าวคือ
การเกิด ส่วนการรู้ว่า "เมื่อเกิดแล้ว ย่อมดับหายไป" ชื่อว่าเป็นญาณที่หยั่งรู้
วยะกล่าวคือการดับแห่งสภาวธรรม ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ พึงทราบว่า เป็นคำ
อธิบายที่เก็บความมาจากคัมภีร์อรรถกถา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 69 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร