วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2022, 08:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




b156d2f60f926d14bae62ed0b3866eed.jpg
b156d2f60f926d14bae62ed0b3866eed.jpg [ 58.44 KiB | เปิดดู 604 ครั้ง ]
ข้อควรคิดพิจารณา

อาจมีคำถามเกิดขึ้นว่า "เมื่อโยคีได้กำหนดพิจารณาโดยการเทียบเคียงอาศัย
ภูมิปริยัติ หรือที่เรียกว่า สุตะที่ตนเคยศึกษาเล่าเรียนมาแล้วอย่างนี้จะทำให้การ
รับรู้ถึงลักษณะที่ปรากฏของฌานเบื้องล่างทั้งหลายกับเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
มีความแตกต่างกันได้อย่างไรหรือ?"

คำตอบ ก็คือว่า "ไม่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ที่แตกต่างกันได้เลย"

ถามว่า : แล้วเมื่อเป็นเช่นนี้ จะกล่าวได้อย่างไรว่า "อนุปทวิปัสสนา" ย่อมเกิด
แก่พระสารีบุตรเถระเฉพาะในฌานระดับล่างที่มีสภาวะปรากฏชัดเท่านั้น ส่วนใน
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานชื่งมีสภาวะที่ไม่ชัดนั้น อนุปทวิปัสสนาไม่เกิด
เป็นได้เพียง กลาปวิปัสสนา เท่านั้น"

คำถามนี้หมายความว่า การกำหนดพิจารณาของพระสารีบุตรเถระนั้น มิใช่
สุดมยวิปัสสนา และจินตามยวิปัสสนา แต่เป็น ภาวนามยปัจจักขวิปัสสนา มีใช่หรือ
ปัญญานั้นมีการกำหนดพิจารณารู้สภาวธรรมทั้งหลายที่เกิดจริงในขันธสันดาน
ของตน ดังนั้น จึงทำให้สภาวธรรมที่พอจะปรากฎให้เห็นได้เท่านั้น ปรากฎแก่ญาณ
ของท่าน ส่วนสภาวธรรมที่ไม่อาจปรากฏ ก็จะไม่ปรากฏมิใช่ดอกหรือ?

ก็ถ้าหากว่า การกำหนดพิจารณาโดยอนุมานเทียบเคียงกับสุตะที่ตนเคยศึกษา
เล่าเรียนมานั้นสามารถจัดเป็นวิปัสสนาแท้จริงได้ละก็ พระสารีบุตรเถระก็ควรที่
จะสามารถกำหนดพิจารณาแยกแยะเนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิตตุปบาท
โดยอนุปทธัมมวิปัสสนานัยได้ตามพลังแห่งสุตมยปัญญาของท่านมิใช่หรือ?
แต่ความจริง ท่านทำไม่ได้ ทั้งนี้ ก็เพราะว่าการกำหนดพิจารณาโดยอาศัย
การเทียบเคียงกับสุตะนั้น ยังมิใช่วิปัสสนาแท้นั่นเองมิใช่หรือ? เมื่อเป็นเช่นนี้
เราจะชี้แจงประเด็นที่เชื่อกันว่า "แม้จะไม่มีการพิจารณารูปนามแท้ซึ่งเกิดดับตาม
ความเป็นจริง เพียงแค่นำเอารูปนามที่เป็นเพียงอารมณ์บัญญัติที่ได้จากการตรีก
นึกคิดมาเทียบเคียงเอาตามพลังแห่งสุตะที่ตนได้ศึกษาเล่าเรียนมา ก็ได้ชื่อว่าเป็น
วิปัสสนา" นี้ได้อย่างไร ? ตอบว่า เกี่ยวกับประเด็นนี้ จะขอยกพระบาลีจาก
มัชฌิมนิกายมูลปัณณาสก็ สัลเลขสูตร(๕๒) มาไว้เป็นเครื่องเตือนสติตนเอง ดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2022, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Selling-accounting-practice-ball-chain.jpg
Selling-accounting-practice-ball-chain.jpg [ 62.94 KiB | เปิดดู 420 ครั้ง ]
ปเร สนุทิฏจิปรามาสี อาธานคุคาที ทุปฺปฏินิสฺสคคี ภวิสุสนฺติ. มยเมดุถ
อสนุทิฏฺฐิปรามาสี อนาธานคุคาหิ สุปุปฏินิสุสคคี ภวิสุสามาติ สลฺเลโข กรณีโย
จิตตํ อุปุปาเทตพุพํ.


โยคีควรทำการขัดเกลาจิตใจของตนดังนี้ว่า "แม้ชนเหล่าอื่น จักเป็นผู้ที่ยึดติด
เอาแต่ความเห็นของตัวเองเป็นสำคัญโดยไม่ยอมปล่อยวาง แต่เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว
เราทั้งหลายจักเป็นผู้ที่ไม่ยึดติดความเห็นของตัวเองและพร้อมที่จะปล่อยวางหาก
เห็นว่าความเห็นนั้นไม่ถูกต้อง"

แนวทางการเจริญวิปัสสนาของวิปัสสนายานิกบุคคล

อนึ่ง พระบาลีอังคุตตรนิกายและพระบาลีอนุปทสูตรที่ได้ยกมาแสดงข้างต้น
ที่ผ่านมานั้น เป็นพระบาลีที่แสดงแนวทางการเจริญวิปัสสนาของสมถยานิกบุคคล
โดยตรง แม้ในพระบาลีสูตรอื่นๆก็พึงทราบว่า พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงไว้โดยทำนอง
เดียวกันนี้แล ด้วยเหตุนี้ เมื่อถือเอาเป็นแบบอย่างสมถยานิกบุคคลตามที่ได้แสดง
มานี้แล้ว ก็ควรที่จะทราบแนวทางการเจริญวิปัสสนาของวิปัสสนายานิกบุคคล
ไว้ด้วย ซึ่งแบบอย่างการเจริญนั้นพึงทราบ ดังนี้ :

วิปัสสนายานิกบุคคลนั้น ย่อมนำเอารูปนามที่กำลังเกิดขึ้นในขันธสันดาน
ของตนหรือที่เกิดขึ้นโดยผ่านปสาททวารทั้ง - ของตน มากำหนดพิจารณาเหมือน
กับสมถยานิกบุคคลนั่นเอง ก็สภาวธรรมที่ปรากฏชัดเจนย่อมเป็นวิสัยของอนุปท
วิปัสสนา ฉันใด แม้สภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ปรากฏชัดเจนจนทำให้สามารถ
กำหนดพิจารณาเห็นสภาวลักษณะ เป็นต้น ของสภาวธรรมเหล่านั้น ก็ย่อมเป็นวิสัย
ของปัจจักขวิปัสสนา เช่นกัน ก็และ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ย่อมเป็นวิสัย
แก่กลาปวิปัสสนา สำหรับสมถยานิกบุคคล ฉันใด แม้สภาวธรรมที่ไม่มีปรากฎใน
ขันธสันดานและสภาวธรรมทั้งหลายที่ละเอียดอ่อนยากที่จะหยั่งรู้ซึ้งถึงสภาวลักษณะ
เป็นต้น ได้นั้น ก็เป็นได้แค่เพียงวิสัยแก่อนุมานวิปัสสนาและกลาปวิปัสสนา สำหรับ
วิปัสสนายานิกบุคคล ฉันนั้นเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ โยคีจึงไม่ควรที่จะจงใจตรึกนึกคิดสร้างเอาสภาวธรรมที่ไม่ปรากฏ
มาทำการกำหนดพิจารณโดยเด็ดขาด ยิ่งถ้าหากเป็นโยดีใหม่แล้ว ยิ่งแล้วไปใหญ่

คิดอย่างไร สภาวธรรมเหล่านั้น ก็ยิ่งไม่ปรากฏนั่นเทียวดังนั้น ผู้ที่เริ่มเจริญเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานทั้งหลาย จึงไม่ควรที่จะนำฌานธรรมดังกล่าวมาพิจารณา
เป็นวิปัสสนา แต่ควรที่จะจับเอาสภาวธรรมที่ปรากฏชัดเท่านั้นมาพิจารณาให้เห็น
สภาวลักษณะเป็นต้นของธรรมเหล่านั้นด้วยปัจจักขวิปัสสนาญาณก่อน หลังจากนั้น
เมื่อปัจจักขวิปัสสนาญาณแก่กล้าแล้ว โยคีจึงจะสามารถนำเอาสภาวธรรมที่ยังไม่
ปรากฏมากำหนดพิจารณาด้วยอนุมานญาณได้ ดังที่พระสารีบุตรเถระท่านได้
ทำการกำหนดพิจารณาฌานเบื้องล่างซึ่งเป็นฌานที่ปรากฏชัดด้วยปัจจักขญาณ
เสร็จแล้ว หลังจากนั้น เมื่อปัจจักขญาณแก่กล้าเต็มที่แล้ว ท่านจึงได้ทำการกำหนด
พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนฌานด้วยกลาปวิปัสสนาเป็นลำดับต่อไป

วิธีการที่โยคีควรถือเป็นแนวทาง จบ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร