วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 10:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2022, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




asian-boy-sitting-on-floor-260nw-1478271164.jpg
asian-boy-sitting-on-floor-260nw-1478271164.jpg [ 24.24 KiB | เปิดดู 552 ครั้ง ]
เมื่อเบื่อหน่ายรูปนามย่อมพ้นไปจากกิเลส

พระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า
นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ, วิราคา วิมุจฺจติ.".ㆍ

"เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้นเพราะคลาย กำหนัด
ผู้ที่เบื่อหน่ายเช่นนี้จะแสวงหาทางหลุดพัน ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา
อย่างต่อเนื่องย่อมจะบรรลุถึงอริยมรรคที่คลายกำหนัดได้เด็ดขาดสิ้นเชิง

ในพระสูตรนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงวิปัสสนาญาณบางข้อเท่านั้น
มิได้ทรงแสดงโดยบริบูรณ์ จะเห็นได้ว่า เมื่อทรงแสดงนิพพิทาญาณด้วย
คำว่า นิพฺพนฺทํ (เมื่อเบื่อหน่าย) แล้วจึงแสดงถึงการบรรลุมรรคญาณด้วย
คำว่า วิรชฺชติ (ย่อมคลายกำหนัด โดยมิได้ตรัสระบุถึงวิปัสสนาญาณที่
อยู่ระหว่างญาณทั้งสองนี้ อันได้แก่ มุญจิตุกัมยตาญาณ คือ ปัญญา
ต้องการพ้นไปจากรูปนามที่เบื่อหน่ายแล้ว ปฏิสังขาญาณ คือ ปัญญา
พิจารณาทบทวนสังขารทั้งหลายโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอีก
และสังขารุเปกขาญาณ คือ ปัญญาวางใจเป็นกลางในสังขาร

ผู้ที่เบื่อหน่ายในรูปนามและเจริญวิปัสสนาต่อไป ย่อมสามารถ
บรรลุถึงมรรคญาณที่คลายกำหนัดได้ในที่สุด โดยไม่ยึดมั่นกิเลสอย่างใด
อย่างหนึ่ง จิตของเขาในขณะนั้นรับเอาพระนิพพานที่พ้นไปจากรูปนาม
เป็นอารมณ์

หลังจากนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสต่อไปว่า
วิมุตฺตสฺมี วิมุตฺตมิติ ณาณํ โหติ.

"เมื่อจิตหลุดพันแล้ว ย่อมเกิดปัญญารู้เห็นว่าหลุดพันแล้ว
ผู้ที่สามารถหลุดพันจากกิเลสได้ย่อมเข้าใจว่าจิตของเราพ้นไป
จากกิเลสแล้ว คือ การบรรลุถึงความดับรูปนามอันเป็นการพ้นไปจาก
กิเลสเพราะสามารถดับกิเลสได้โดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน การที่เขา
พิจารณาตามลักษณะนี้จัดว่าเป็นปัจจเวกขณญาณ คือ ปัญญาพิจารณาๆ
เห็นความดับกิเลส"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2022, 13:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




7b63ccd01f388f12471c6581afee6ae5.jpg
7b63ccd01f388f12471c6581afee6ae5.jpg [ 83.65 KiB | เปิดดู 488 ครั้ง ]
ปัญญารู้เห็นว่าไม่มีภพใหม่อีก

พระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า
ขีณา ชาติ, วุสิตํ พรหมจริย์, ก.ตํ กรณียํ, นาปรํ อิตฺถตฺตายาติ ปชานาติ

"อริยสาวกย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป"

ในเรื่องนี้พระพุทธองค์ตรัสระบุถึงมรรคญาณระดับสูงสุดคือของ
พระอรหันต์ มิได้ตรัสถึงมรรคญาณระดับต้น คือ โสดาปัตติมรรคญาณ
สกทาคามิมรรคญาณ และอนาคามิมรรคญาณ และเมื่อตรัสถึงมรรคญาณ
ระดับสูงสุดก็เป็นอันรวบรวมมรรคญาณระดับต่ำกว่าโดยอ้อมอีกด้วย
ข้อความนี้กล่าวถึงการพิจารณาของพระอรหันต์ว่า ท่านทราบว่าตนจะ
ไม่มีภพใหม่เกิดขึ้นอีก (ขีณา ชาติ) ความจริงแล้วเหล่าสัตว์ที่ต้องเวียน
ตายเวียนเกิดนั้นก็เพราะว่ามีความยึดติดผูกพันในภพ โดยผูกพันใน
ร่างกายของตนบ้าง เครื่องใช้สอยบ้าง ทรัพย์สินบ้าง รวมไปถึงอวัยวะ
ต่างๆ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย พร้อมทั้งใจของตนบ้าง ผู้ที่ยึดติดผูกพัน
อยู่กับอารมณ์ภายในและอารมณ์ภายนอกหลากหลายรวมไปถึงภพชาติ
ต่างๆ เหล่านี้ย่อมต้องเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในวังวนแห่งสังสารวัฏ


ส่วนผู้ที่เจริญวิปัสสนานั้น ในเบื้องแรกแม้จะไม่พอใจทุกขเวทนา
ก็พอใจสุขเวทนา เพราะได้รับความสุขสงบจากการปฏิบัติธรรม แต่
หลังจากนั้นเขาย่อมจะเกิดอุเบกขาที่วางใจเป็นกลางและมีความพอใจใน
อุเบกขาอันละเอียดอ่อน ต่อมาเมื่อสมาธิของเขามากขึ้นแล้วก็จะค่อยๆ
ขจัดความพอใจในอุเบกขาที่ละเอียดอ่อนได้ จนกระทั่งคลายความยึดติด
ผูกพันเพลิดเพลินยินดีในอารมณ์ทุกอย่าง นั่นคือสภาวะที่บรรลุอรหัตต
มรรคญาณ และพระอรหันต์ย่อมรู้เห็นโดยประจักษ์ว่าภพใหม่ของห่าน
หมดสิ้นแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2022, 14:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




9d1016c6e846c4298518515c768336d7.jpg
9d1016c6e846c4298518515c768336d7.jpg [ 82.12 KiB | เปิดดู 488 ครั้ง ]
พระอรหันต์ย่อมทราบว่าตนอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว (วุสิตํ พรหฺมจริยํ)
หมายความว่า พรหฺมจรรย์คือมรรคญาณอันเป็นข้อประพฤติสูงสุดใน
พระศาสนานี้ ท่านได้ปฏิบัติอย่างสมบูรณ์แล้ว นอกจากนั้น ท่านทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว (กตํ กรณียํ) กล่าวคือ หน้าที่อันเนื่องกับอริยสัจ ๔ เป็น
สิ่งที่ท่านเห็นประจักษ์อย่างบริบูรณ์ คือ การกำหนดรู้ทุกขสัจว่าเป็นเพียง
รูปนามและประกอบด้วยไตรลักษณ์ การขจัดสมุทยสัจโดยปราศจาก
ความยึดติดผูกพันในอารมณ์ทุกอย่าง การรู้แจ้งนิโรธสัจโดยเห็นประจักษ์
ความดับรูปนามอย่างแท้จริง และโดยการเจริญมรรคสัจคือบำเพ็ญอริย
มรรคมีองค์ ๘ อย่างบริบูรณ์ เมื่อท่านได้กระทำกิจที่เนื่องกับอริยสัจ ๔
ได้ครบถ้วนเช่นนี้ จึงนับว่าทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว

ท่านพิจารณาเห็นด้วยปัจจเวกขณญาณต่อไปอีกว่า ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีก (นาปรํ อิตฺถตฺตาย) คือ ท่านไม่ต้องปฏิบัติธรรม
ให้ยิ่งขึ้นไปอีกเพื่อให้สูงกว่าความเป็นพระอรหันต์ที่ตนได้บรรลุแล้ว"
ข้อความที่แสดงถึงปัจจเวกขณญาณนี้เป็นคำลงท้ายของพระสูตรเพื่อ
แสดงประโยชน์ของการเจริญวิปัสสนาเพื่อดับไฟทั้ง ๑๑ กองเหล่านี้ตาม
ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในอาทิตตปริยายสูตรนี้

สรุปความว่า ผู้ที่เจริญวิปัสสนาจนกระทั่งบังเกิดปัญญาเห็น
ประจักษ์ความเบื่อหน่ายในรูปนามเขาย่อมพ้นไปจากความกำหนัดได้
เขาย่อมทราบว่าจิตของตนได้หลุดพ้นแล้ว เมื่อพ้นไปจากกิเลสดังกล่าว
และเมื่อพิจารณาต่อไปย่อมทราบว่า ภพใหม่หมดสิ้นไปเพราะจิตของ
เขาหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นโดยสิ้นเชิง นอกจากนั้น เขาย่อมทราบ
ว่าได้บำเพ็ญข้อประพฤติอันประเสริฐอย่างบริบูรณ์แล้ว ไม่มีกิจอื่นที่
จำต้องทำเพื่อการบรรลุธรรมอีกต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 44 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร