วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 05:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2022, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1659133099365.jpg
1659133099365.jpg [ 135.76 KiB | เปิดดู 608 ครั้ง ]
ถาม-ตอบประกอบวิปัสสนา
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบปัญหาเกี่ยวกับสภาวะของกิเลสและสภาวะ
ของวิปัสสนา แก่พระภิกษุมาลุกยบุตรผู้ซึ่งมาเฝ้าเพื่อขอกัมมัฏฐาน ก่อนที่
พระพุทธองค์จะทรงประทานกัมมัฏฐานแก่เธอ ได้ทรงชี้แจงให้เธอเข้าใจถึงสภาวะ
ของกิเลสและวิปัสสนาดังต่อไปนี้

พระผู้มีพระภาคตรัสถามมาลุกยบุตรเป็นภาษาบาลี ว่า

ตํ กี มญฺณสิ มาลุกยปุตฺต, เย เต จกฺขุวิญเญยุยา รูปา อทิฏฺฐา อทิฏฺฐปุพฺพา,
น จ ปสุสสิ, น จ เต โหติ ปสุเสยุยนุติ, อตุถิ เต ตตุถ ฉนฺโท วา ราโค วา เปมิ วา.


ดูก่อนมาลุกยบุตร เธอยังไม่เห็นรูปสีสันใดๆที่สามารถเห็นได้ด้วยตาเลย
และเธอก็ยังไม่เคยเห็นมาก่อนและไม่ได้เห็นในปัจจุบัน เธอไม่ควรที่จะจินตนาการ
ว่า "เราสามารถเห็นได้" แล้วอย่างนี้ ความอยาก ความใคร่ ความรักในรูปกล่าว
คือสีสันเหล่านั้น จะเกิดขึ้นแก่เธอได้หรือ

มาลุกยบุตรทูลตอบคำถามเป็นภาษาบาลี ว่า โน เหตํ ภนเต ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ มิได้เป็นเช่นนั้นเลย ขอรับ

เกี่ยวกับเรื่องนี้ พึงทราบว่า ในคำถามแรกนี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเหตุ
แห่งการดับกิเลสโดยธรรมชาติไว้โดยตรงในเรื่องของรูปกล่าวคือสีสันที่มิได้
ปรากฎเกิดขึ้นภายในจิตใจจริงๆ เป็นแต่เพียงการจินตนาการ หมายความว่า
ในรูปสีสันที่ไม่ได้เกิดขึ้นในใจจริงๆนั้น กิเลสมันก็ดับไปตามธรรมชาติอยู่แล้ว
เพียงแต่คิดขึ้นมาเอง ซึ่งในรูปสีสันเช่นนั้นไม่จำเป็นต้องกำหนดละด้วยวิปัสสนา
เนื่องจากว่ากิเลสไม่สามารถเกิดขึ้นได้อยู่แล้ว จึงได้ชื่อว่า ดับโดยธรรมชาติ เพราะ
ฉะนั้น ก็เท่ากับว่าทรงแสดงสาเหตุการเกิดกิเลสและสาเหตุที่กิเลสสามารถเกิด
จากการนึกคิดเฉพาะในรูปารมณ์กล่าวคือสีสันที่เห็นได้หรือปรากฎได้ภายในจิตใจ
ไว้โดยพยติเรกนัยกล่าวคือนัยที่แสดงให้ทราบหรือให้รู้ด้วยวิธีคิดกลับกันกับนัยที่
ตรัสไว้ ก็ถ้าสามารถห้ามหรือเปลี่ยนแปลงด้วยวิปัสสนาญาณไม่ให้เกิดความรัก
ไม่ให้เกิดความเกลียด เหมือนกับความเกลียดในรูปารมณ์ที่ไม่ปรากฎได้ไซร้ กิเลส
ก็ไม่สามารถเกิดได้ในรูปารมณ์ที่ปรากฎนั้นเช่นกัน

ดังนั้น โยคีพึงกำหนดจดจำและเข้าใจคำอธิบายนี้ไว้โดยเนยยัตถนัยกล่าวคือ
นัยที่นำคำอธิบายอื่นเข้ามาอธิบายร่วมจึงจะเข้าใจได้หรือโดยอวุตตสิทธินัยกล่าวคือ
นัยที่เข้าใจได้โดยไม่ได้กล่าวไว้โดยตรง หรือโดยอัตถาปันนนัยกล่าวคือนัยที่ให้รู้
ความหมายโดยที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยตรง

พระพุทธองค์ทรงแสดงให้ทราบความหมายนี้ว่า โยคีหรือนักปฏิบัติจะต้อง
เจริญวิปัสสนากำหนดรูปารมณ์ทั้งหลายที่ปรากฏเท่านั้น แล้วค่อยละกิเลส
เหมือนกับกิเลสที่ละได้โดยอัตโนมัติในรูปารมณ์ที่ไม่ได้ปรากฎตามความเป็นจริง
เมื่อโยคีเห็นบุคคลคนหนึ่งอาจเกิดความรักใคร่หรือความเกลียดชังก็ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2022, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1658144942667.jpg
1658144942667.jpg [ 127.79 KiB | เปิดดู 605 ครั้ง ]
ถามว่า ในความรักใคร่หรือเกลียดชังนั้น สภาวธรรมฮันใดปรากฏ จีงรัก
และสภาวธรรมอันใดปรากฏ จึงเกลียดชังในรูปารมณ์นั้น

ตอบว่า เพราะการปรากฏเกิดขึ้นแห่งรูปารมณ์ที่มีปรากฏอยู่บนผิวหนังของ
บุคคลที่ตนเห็นนั้น จากนั้น โยศีใด้พิจารณาต่อยากรูปารมณ์กล่าวคือผิวพรรณนั้น
แล้วล้วงลึกลงไปทั้งร้างกายทุกสัตสวนทั้งที่เป็นเนื้อภายในภายนอก จึงเกิดความ
รักหรือความเกลียดชังขึ้นมาในจิตใจ

เพราะฉะนั้น ความรักความเกลียดชังจึงเกิดขึ้นในร่างกายทุกสัดส่วนของ
บุคคลผู้เห็น ถ้าว่า ไม่เห็นสีผิวพรรณที่เป็นรูปารมณ์ที่ปรากฏอยู่ภายนอกร่างกาย
นั้นไขว้ โยคีก็จะไม่สามารถฉุกนึกคิดไปถึงร่างกายที่เป็นเนื้อภายในได้ ความรัก
หรือความเกลียดชังก็จะไม่ปรากฏได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น ในตอนที่เห็นนั่นแหละ
กิเลสจึงไม่เกิดและตับไปโดยธรรมชาติ ในกรณีที่รูปารมณ์นั้นไม่ปรากฏชัดและ
ไม่ถูกนำมายืดมั่นถือมั่นภายในจิตใจ เมื่อโยคีได้พิจารณาเพ่งถึงธรรมที่ไม่ปรากฎ
ชัดอย่างนั้นแล้ว โยดีไม่จำเป็นต้องทำความพยายามเพื่อจะละด้วยการกำทนด
พิจารณาในสภาวธรรมที่ไม่ปรากฏนั้น

แต่ในกรณีมีสภาวธรรมที่ปรากฎชัดในขณะที่เห็นชื่งสามารถทำให้จิตใจเกิด
ความยึดมั่นถือมั่นได้นั้น กิเลสก็สามารถเกิดขึ้นได้ทุกๆขณะที่คิดทีเตียว กิเลสนั้นๆ
จะไม่สามารถดับไปด้วยธรรมชาติของตน เพราะฉะนั้น โยจำเป็นต้องกำหนด
ไม่ให้ความน่ารักหรือความน่าวังเกียจในธรรมที่มีปรากฏ ปฏิบัติคล้ายๆกับเป็นธรรม
ทีไม่ปรากฏ นี่แหละคือความหมายที่เป็นพุทธประสงค์ที่พระองค์ได้ตรัสตอบ
มาลุกยบุตร

พระปุจฉาคำถามที่สอง พระพุทธองค์ทรงถามว่า "ดูก่อนมาลุกยบุตร เธอ
ยังมิได้ยินเสียงชื่งเป็นธรรมชาติที่พึ่งได้ยินได้ด้วยโสตปสาท และเธอก็ยังไม่เคยได้
ยินมาก่อนด้วยและตอนนี้เธอก็ไม่ได้ยินเสียงนั้นและเธอก็ยังไม่คิดจินตนาการด้วยว่า
"เธอสามารถได้ยิน" ในกรณีเช่นนี้ ความอยาก ความรักใคร่ ความต้องการในเสียง
ที่มีสภาพดังกล่าว จะพึงมีแก่เธอได้หรือไม่"

มาดุกยบุตร ทูลตอบว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีไม่ได้ ขอรับ" พระพุทธองค์
ตวัสถามว่า "โอ มาลุกยบุตร เธอยังไม่ได้ผมกลิ่นที่พึงดมได้ด้วยมานปสาท เมือก่อน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2022, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20180913_115527.jpg
20180913_115527.jpg [ 95.75 KiB | เปิดดู 603 ครั้ง ]
เธอก็ไม่เคยดม ปัจจุวันก็ไม่ได้ดม และก็ไม่เคยคิดจินตนาการว่าจะสามารถดม
ได้ด้วย ในกรเนีเช่นนี้ เธอจะเกิดความอยาก ความรักใคร่ ความต้องการในกลิ่น
พึ่งมีสภาพดังกล่าวหรือ"
มาลุกยบุตร ทูลคอบว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีไม่ได้ ขอรับ"
พระพุทกองค์ตรัสถามต่อว่า "ดูก่อนมาลุกยบุตร เธอยังไม่ได้สีมรสที่สามารถ
ลิ้มได้ด้วยลิ้น เมื่อก่อนเธอก็ยังไม่เคยลิ้ม ปัจจุปันก็ไม่ได้กำลังลื้ม ซ้ำยังไม่คิดว่า
จะสามารถลิ้มได้ด้วย ในกรณีเช่นนี้ ความอยาก ความรักใคร่ ความต้องการในรส
ที่มีลภาพเช่นนั้น จะฟังมีแก่เธอได้หรือไม่"
มาลุกยบุตรทูลตอบว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีไม่ได้ ขอรับ"

พระพุทธองค์ตรัสถามต่อว่า "ดูก่อนมาลุกยบุตร เธอยังไม่สัมผัสโผฏฐัพพารมณ์
ที่สามารถสัมผัสได้โดยทางกาย เมื่อก่อนเออก็ยังไม่เคยสัมผัส ปัจจุบันเธอก็ไม่ได้
กำลังส้มผัส และก็ไม่เคยคิดจินตนาการว่าจะสามารถสัมผัสได้ ในกรณีเช่นนี้
ความอยาก ความรักใคร่ ความต้องการในสัมผัสนั้น จะพึงมีแก่เธอได้หรือไม่"

มาลุกยบุครทูลตอบว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีไม่ได้ ขอรับ"
พระพุทธองค์ตรัสถามต่อว่า "ดูก่อนมาลุกยบุตร เธอยังไม่คิดสภาวธรรมที่รู้ได้
ด้วยจิตใจ เมื่อก่อนก็ยังไม่เคยคิด ปัจจุบันก็ไม่ได้คิด และก็ไม่เคยคิดจินตนาการว่า
จะสามารถคิดได้ ในกรณีเช่นนี้ ความอยาก ความรักใคร่ ความต้องการใน
ธรรมารมณ์เช่นนั้น จะพึงมีแก่เธอได้หรือไม่"

มาลุกยบุตรทูลดอบว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีไม่ได้ ขอรับ"

จากคำถาม ๖ คำถามที่พระพุทธองค์ตรัสถามมาลุกยบุตร โดยอาศัยทวารทั้ง
๖ นั้น หมายความว่า กิเลลนั้นจะเกิดขึ้นเฉพาะที่ยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ทั้งหลาย
ที่ปรากฏชัดในทวารทั้ง , เท่านั้น กิเลสจะไม่เกิดขึ้นในอารมณ์ที่ไม่ปรากฎชัด
ในทางทวารทั้ง ๖ เพราะฉะนั้น จึงเท่ากับว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงหลักการ
กำหนดวิปัสสนาว่า ผู้ปฏิบัติควรเจริญวิปัสสนาเฉพาะธรรมที่ปรากฎชัด เพื่อมิให้
เกิดความรักความเกลียดชังในอารมณ์เหล่านั้นได้เหมือนกับในกรณีของสภาวธรรม
ที่ไม่ปรากฏนั้น กิเลสย่อมดับไปโดยธรรมชาติ โดยที่ไม่ต้องกำหนด ด้วยเหตุนี้นี่เอง
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกัมมัฏฐานธรรมแก่ภิกษุมาลุกยบุตร ดังต่อไปนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 55 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร