วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 06:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2022, 06:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cloud-black-and-white-sky-atmosphere-daytime-weather-storm-cumulus-grey-clouds-thunderstorm-gloomy-trist-end-of-the-world-slurry-storm-clouds-meteorological-phenomenon-weltuntergang-humor-942173.jpg
cloud-black-and-white-sky-atmosphere-daytime-weather-storm-cumulus-grey-clouds-thunderstorm-gloomy-trist-end-of-the-world-slurry-storm-clouds-meteorological-phenomenon-weltuntergang-humor-942173.jpg [ 50.93 KiB | เปิดดู 691 ครั้ง ]
ความตั้งอยู่ของผลสมาบัติ
ในมทาน เวทัลลสูตรกล่าวไว้ว่า

ตโย โข อาวุโส ปจฺจยา อนิมิตฺตาย เจโตวิมุตติยา ฐิติยา, สพฺพนิมิตตานญฺจ
อมนสิกาโร อนิมิตฺตาย จ ธาตุยา มนสิกาโร ปุพฺเพ จ อภิสงขาโร


ปัจจัยเพื่อกาส่งอยู่แห่งเจโตวิมุตติ(ผลสมาบัติ) ซึ่งปราศจากนิมิต มี ๓ คือ
ความไม่อาใจใส่สังขารนิมิต(รูป เจหนา ฯลฯ) ซึ่งเป็นอารมณ์ โดยประการทั้งปวง
การกำหนด.เอาใจใส่นิพพาน และการจัดแจงอธิษฐ านกำหนดระยะเวลาที่จะเข้า
เป็นต้น

อนึ่ง ก่อนที่พระอริยะจะเข้าผลสมาบัตินั้น จะต้องกำทนดระยะเวลาที่จะอยู่
ในสมาบัติให้แน่นอนก่อน ซึ่งอาจจะเป็น ๕ นาที ๑๑ นาที ๓อ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง
ก็แล้วแต่จะกำหนด โดยจะต้องอธิษฐ านก่อนว่า "ขอให้สมาบัติของข้าพเจ้าจงตั้ง
อยู่ได้นาน ดลอดระยะเวลาเท่านี้" แล้วจึงลงมือกำหนดวิปัสสนา ในขณะที่กำหนด
วิปัสสนาอยู่นั้น ไม่จำเป็นต้องไปกังวลเรื่องเวลาที่กำหนด หรืออย่าคิดหวังเอาแต่
รอคอยว่าเมื่อไรสมาบัติถึงจะ เกิดขึ้น แต่ขอให้ตั้งหน้าตั้งตากำหนดแต่วิปัสสนา
อย่างเดียว เพราะเมื่อทำได้อย่างนี้แล้ว ญาณก็จะเกิดขึ้นตามลำดับ กระทั่งถึง
สังขารุเปกขาญาณ และเมื่อสังขารุเปกขาญาณแก่กล้าเต็มที่แล้ว จิตที่กำหนด
วิปัสสนามาตามลำดับก็จะละอารมณ์เก่า แล้วแล่นไปหาอารมณ์ใหม่กล่าวคือพระ
นิพพานอันเป็นอารมณ์ที่ปราศจากสังขารโดยประการทั้งปวง และจิตนั้นก็จะตั้งอยู่
ในอารมณ์ที่เป็นนิพพานได้นาน ตลอตระยะเวลาเท่าที่ตนกำหนดไว้ก่อนที่จะเข้า
สมาบัติ(เหมือนกับที่เราตั้งนาฬิกาปลุกฉะนั้น) แต่ทั้งนี้ การดำรงอยู่ของสมาบัตินั้น
ใช่ว่าจะบริบูรณ์เสียไปหมดทุกคน เพราะต้องขึ้นอยู่กับความแก่กล้าแห่งญาณของ
แต่ละบุคคลด้วย คือถ้าผู้ใดฝึกวิปัสสนาญาณมาได้ถึงขั้นแก่กล้า ผู้นั้นก็จะสามารถ
อยู่ได้ตามระยะเวลาที่ตนกำหนด ส่วนวิปัสสนาญาณของผู้ใดยังไม่แก่กล้าพอ ผู้นั้น
อาจอยู่ได้โดยไม่ถึงเวลาที่ตนกำหนดไว้ก็ได้ แต่ถ้าเข้าโดยไม่มีการตั้งเวลาไว้ก่อนแล้ว
ส่วนมากจะเข้าได้ไม่นาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2022, 08:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220605_090208.jpg
20220605_090208.jpg [ 98.82 KiB | เปิดดู 500 ครั้ง ]
เกี่ยวกับระยะของการตั้งอๆยู่แห่งผลสมาบัตินี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ใน
พระบาลีอังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาตว่า

ในขณะที่เข้าผลสมาบัติ ย่อมไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้นนอกจากนิพพาน

อิธานนุท ภิกฺขุ เอวํ สญฺญี โหติ 'เอต๋ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ, ยทิทํ สพุพสงฺขาร-
สมโถ, สพฺพปธิปฏินิสุสคุโค ตณุหากฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพุพานนฺ'ติ. เอวํ โข
อานนุท สิยา ภิกขุโน ตถารูโป สมาธิปฏิลาโภ. ยถา เนว ปถวิยํ ปถวิสญฺญี
อสุส. น อาปสุมี อาโปสญฺญี อสุส, น เตชตุมี เตโชสญฺญี อสุส, น วายสุมี
วาโยสญฺญี อสุส, น อากาสานญฺจายตเน อากาสานณุจายตนสญฺญี อสฺส น
วิญฺญาณญูจายตเน วิญฺญาณญฺจายตนสญฺญี. อสุส, น อากิญฺจญฺญายตเน
อากิญจญฺญายตนสญฺญี อสุส. เนวสญฺญานาสญฺญายตเน เนวสญฺญา-
นาสญฺญายตนสญฺญี อสุส, น อิธโลเก อิธโลกสญฺญี อสุส, น ปรโลเก ปรโลก-
สญฺญี อสุส, ยมฺปิ ทิฏขํ สุตํ มุตํ วิญฺญาตํ ปตฺตํ ปริเยสิตํ อนุวิจริตํ มนสา,
ตตุราปิ น สญฺญี อสุส, สญฺญี จ ปน อสุสาติ.


(อง ทกส ๒๘/๖/๗. อง เอกาทสก ๒๘/๗/๒๖๕)

อานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า "พระนิพพานอันใดเป็น
สภาวะที่ปราศจากสังขารทั้งปวง สลัดจากอุปธิขันธ์ทั้งปวง เป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา
คลายความกำหนัด ดับสิ้นแห่งสังขาร ก็พระนิพพานนี้เป็นสภาวะที่สงบ ประณีต"
(นี้เป็นข้อความแสดงการกระทำนิพพานเป็นอารมณ์ในขณะที่เข้า)

อานนท์ สำหรับภิกษุผู้เข้าสมาบัติพึ่งได้สมาธิเช่นนั้น อย่างนี้คือ ภิกษุ(ผู้ได้
รูปฌาน)ก็จะไม่มีสัญญาในปฐวีกสิณ ไม่มีสัญญาในอาโปกสิณ เตโชกสิณ และ
วาโยกสิณ (ด้วยข้อความเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้จะเป็นผู้ที่ได้รูปฌานแล้ว
ก็ตาม แต่ในขณะที่เข้าผลสมาบัติก็จะไม่รับรู้อารมณ์ของรูปฌานทั้งสิ้น) และไม่มี
สัญญาในอากาสานัญจายตนะ(อากาสบัญญัติอันไม่มีขอบเขต ในวิญญาณัญจายตนะ
วิญญาณอันไม่มีขอบเขต) ในอากิญจัญญายตนะ (ไม่มีอะไรเลยแม้สักหน่อยหนึ่ง)
ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ (วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของสัญญาที่ละเอียด) (แสดง
ให้เห็นว่า ถึงแม้จะเป็นผู้ที่ได้อรูปฌาน ก็ไม่มีการรับรู้อารมณ์ของอรูปฌานใน
ขณะที่เข้าผลสมาบัติ) ไม่มีสัญญาในโลกนี้ ในโลกหน้า (ด้วยบททั้งสองนี้ แสดงถึง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2022, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220804_035728.jpg
20220804_035728.jpg [ 106.97 KiB | เปิดดู 502 ครั้ง ]
การรับรู้โลกนี้และโลกหน้า ทั้งด้วยอภิญญาจิต และจิตสามัญ เพราะฉะนั้น
จะเห็นว่า ในขณะที่ดนกำลังเข้าผลสมาบัติอยู่ ย่อมไม่รับรู้เรื่องราวของชาวโลก
แม้กระทั่งกายและจิตของตน ไม่มีสัญญาในอารมณ์ที่เคยเห็น เคยได้ยิน เคยสัมผัส
เคยดำริ เคยถึงด้วยจิต เคยแสวงหาและที่เคยวนเวียนอยู่ (ด้วยบทเหล่านี้แสดง
ให้เห็นว่าในขณะที่เข้าผลสมาบัตินั้นไม่มีความใส่ใจในอารมณ์ทั้งที่เป็นปรมัตถ์และ
บัญญัติซึ่งตนเคยประสบมาในเวลาอื่น) แต่ว่าสัญญาของภิกษุนั้น ยังมีปรากฏอยู่
(แสดงให้เห็นว่า เมื่อไม่รับรู้อารมณ์ใดๆ แล้ว ก็มีอยู่อย่างเดียว คือ รับรู้นิพพาน
อันเป็นที่ดับสังขารโดยสิ้นเชิง หมายความว่า เมื่อไม่รับรู้อารมณ์ใดๆในโลกแล้ว
รับรู้เฉพาะอารมณ์คือนิพพานเท่านั้น จึงจะเกิดสมาธิดังข้างต้นได้)

ส่วนในอรรถกถา ท่านแก้ความไว้ดังนี้

เอตํ สนุตํ เอตํ ปณีตนุติ สนุตํ สนุตนฺติ อปุเปตุวา นิสินุนสุส ทิวสํปิ
จิตฺตุปุปาโท สนุตํ สนฺตํเยว ปวตุตติ. ปณีตํ ปณีตนฺติ อปุเปตุวา นิสินุนสุส ทิวสั
จิตฺตุปปาโท ปณีตํ ปณีตนฺติ อปุเปตุวา นิสินุนสุส ทิวสปี จิตุตุปปาโท ปณีต
ปณีตนุเตว ปวตุตติ. (สพฺพสงขารสมโถติอาทีนิปิ ตสุเสว เววจนานิ. สพฺพสงขาร-
สมโถติ อปฺเปตุวา นิสินนสุส ทิ ทิวสั จิตุตุปุปาโท สพฺพสงขารสมโถเตว
ปวตุตติ ฯเปฯ

(อง.อฎ. ๒/๑๐๓-๔)

นิพุพานํ นิพุพานนุติ อปุเปตุวา นิสินุนสุส ทิวสัปี จิตุตุปุปาโท นิพุพานํ
นิพุพานนุเตว ปวตุตดีติ สพุฬเปตํ ผลสมาปตุติสมาธิ สนุธาย วุตุตํ
.
(อง.อฎ. ๗/๓๑๙)

ข้อที่ว่า "เอตํ สนตํ เอตํ ปณีต้" นั้นมีอธิบายว่า ผลจิตตุปบาท (ผลจิตฺต +
อุปปาท = ความเกิดขึ้นของผลจิตพร้อมกับเจตสิกที่สัมปยุต) ย่อมเป็นไปโดยอาการ
ที่เห็นว่า "เป็นของสงบ" ได้แม้ตลอดทั้งวันแก่พระอริยะผู้เข้าถึงด้วยอาการที่เห็นว่า
"เป็นของสงบ"

(ในขณะที่เข้าผลสมาบัตินั้น มิได้หมายความว่าจะต้องนั่งกำหนดว่า"สงบสงบ"
แต่หมายถึงลักษณะความเกิดขึ้นของผลจิตซึ่งเป็นผู้รับอารมณ์โดยเห็นเป็นของสงบ
ซึ่งการอธิบายของอรรถกถาเกี่ยวกับอาการอย่างนี้ได้เคยกล่าวมาแล้วในตอนที่ว่าด้วย
ความเกิดขึ้นของมรรค)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2022, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




segment_regular_bSpAh3o0ytQ.png
segment_regular_bSpAh3o0ytQ.png [ 117.1 KiB | เปิดดู 436 ครั้ง ]
ผลจิตตุปบาทย่อมเป็นไปโดยอาการที่เห็นว่า "ประณีตหนอๆ" ได้แม้ตลอด
ทั้งวันแก่พระอริยะผู้เข้าถึงสมาบัติด้วยอาการที่เห็นว่า "เป็นของประณีต" (แม้บท
ว่า สพฺพสงฺขารสมโถ เป็นต้น ก็เป็นไวพจน์ของนิพพานอันมีชื่อว่า สันตะ ปณีตะ
นั่นเอง จริงอยู่ ผลจิตตุปบาท ย่อมเป็นไปโดยอาการที่เห็นว่า "สังขารดับแล้วหนอๆ"
ได้แม้ตลอดทั้งวันแก่พระอริยะผู้เข้าถึงสมาบัติด้วยอาการที่เห็นว่า "สังขารดับแล้ว"
ผลจิตตุปบาท ย่อมเป็นไปโดยอาการที่เห็นว่า "ละแล้ว" ได้แม้ตลอดทั้งวันแก่
พระอริยะผู้เข้าถึงสมาบัติด้วยอาการที่เห็นว่า "ละแล้ว" ผลจิตตุปบาทย่อมเป็นไป
โดยอาการที่เห็นว่า "สิ้นแล้วหนอๆ" ได้แม้ตลอดทั้งวันแก่พระอริยะผู้เข้าถึง
สมาบัติ ด้วยอาการที่เห็นว่า "สิ้นแล้ว" ผลจิตตุปบาทย่อมเป็นไปโดยอาการที่เห็น
ว่า "คลายแล้ว" ได้แม้ตลอดทั้งวันแก่พระอริยะผู้เข้าถึงสมาบัติ ด้วยอาการที่เห็น
ว่า "คลายแล้ว" ผลจิตตุปบาทย่อมเป็นไปโดยอาการที่เห็นว่า "ดับแล้ว"ได้แม้ตลอด
ทั้งวันแก่พระอริยะผู้เข้าถึงสมาบัติด้วยอาการที่เห็นว่า "ดับแล้ว" ผลจิตตุปบาท
ย่อมเป็นไปโดยอาการที่เห็นว่า "นิพพาน" ได้แม้ตลอดทั้งวันแก่พระอริยะผู้เข้าถึง
สมาบัติโดยอาการที่เห็นว่า "นิพพานๆ"

ทั้งหมดที่แสดงมานี้เป็นการแสดงมุ่งถึงการได้ผลสมาบัติทั้งสิ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 87 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร