วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 21:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2022, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




air-atmosphere-background-beautiful.jpg
air-atmosphere-background-beautiful.jpg [ 61.94 KiB | เปิดดู 642 ครั้ง ]
การออกจากผลสมาบัติ

ในพระบาลืมหาเวทัลลสูตรได้ระบุไว้ว่า

เทฺว โข อาวุโส ปจุจยา อนิมิตุตาย เจโตวิมุตฺติยา วุฎฺฐานาย, สพฺพนิมิตุตานญฺจ
มนสิกาโร, อนิมิตุตาย จ ธาตุยา อมนสิกาโร.

(มมู ๑๒/๔๕๔/๔๐๗)


การที่ผู้เข้าสมาบัติปล่อยอารมณ์อันเป็นนิพพานทิ้งแล้วหันมากำหนดอารมณ์
อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาขันธ์ ๕ กล่าวคือ สังขารนิมิต ๕ นั้น ท่านเรียกว่า
การลุกออกจากสมาบัติ

สัพพสังคาทิกกถา

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านได้ขยายข้อความของบาลีที่ยกมาข้างต้นนี้ว่า
สพฺพนิมิตฺตานนฺติ รูปนิมิตุตวทนาสญฺญาสงขารวิญาณนิมิตฺตานํ.
กามญฺจ
น สพุพาเนเวตานิ เอกโต มนสิกโรติ, สพุพสงคาทิกวเสน ปเนตํ วุตฺต๋.
ภวงุคสุส อารมุมณํ โทติ ตํ มนสิกโรโต ผลสมาปตฺติวุฎฺฐานํ โทติ.
(วิสุทธิ. ๒/๓๘๘)

ข้อที่ว่า "นิมิดทั้งปวง" นั้น ได้แก่ สังขารนิมิต ๕ คือ รูปนิมิต เวทนานิมิด
สัญญานิมิต สังขารนิมิต และ วิญญาณนิมิต จริงอยู่ แม้บุคคลจะไม่ใส่ใจอารมณ์
ดังกล่าวทั้งหมดโดยพร้อมกันก็ตาม แต่ที่กล่าวคำว่า "นิมิตทั้งปวง" นั้นเป็นการ
กล่าวแบบรวมเอาธรรมทั้งหมด เพราะฉะนั้น นิมิตอันใดที่เป็นอารมณ์ของภวังคจิด
แม้บุคคลจะเอาใจใส่นิมิตนั้น ก็ให้ถือว่าเป็นการลุกออกจากสมาบัติเหมือนกัน

ในท้ายของผลชวนจิตจะเกิดภวังคจิตดวงใดดวงหนึ่งโดยมีสังขารนิมิตอย่างใด
อย่างหนึ่งเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่ใช่กำหนดอารมณ์ทุกอย่างพร้อมกันไป แต่การ
ที่ท่าน กล่าวไว้ว่า สพฺพนิมิตตานํ-กำหนดอารมณ์ทั้งหมด นั้นเป็นการกล่าวโดยมี
จุดประสงค์เพื่อเอาอารมณ์ที่พึ่งเกิดขึ้น แก่เหล่าภวังคจิตซึ่งจะเกิดขึ้นในสันดาน
ของพระอริยบุคคลผู้เข้าผลสมาบัติอยู่และกำลังจะออก แม้แต่ในกรณีของปัจจักข-
วิปีสส
นาเองก็เหมือนกัน คือ วิบัสสนาจิตสามารถกำหนดอารมณ์ต่างๆ ที่เป็นทั้ง
รูปและนามได้เพียงอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเท่านั้น แต่ในที่นั้นท่านก็กล่าวแบบร
เช่นกันว่า วิปัสสนากำหนดอารมณ์ เตภูมกสังขารทั้งปวงเป็นอารมณ์ ซึ่งคำกล่าว
เช่นนี้พึงทราบว่า เป็นคำกล่าวแบบ สัพพสังคาหิกกถา (คำกล่าวแบบรวบยอด)

ในขณะที่เข้าผลสมาบัติอยู่นั้น ถ้าภวังคจิตเข้ามาแทรก ก็ถือว่าเป็นการออก
จากสมาบัติ แต่ว่าสำหรับพระอริยบุคคลทั่วไปนั้นยากที่จะกำหนดรูกวังคจิตดัง
กล่าวได้ ส่วนมากหลังจากที่ภวังคจิตดับก็จะกำหนดอารมณ์อื่นต่อ อาจจะเป็นผล
หรือนิพพานหรือไม่ก็อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจิตที่กำหนดหรือพิจารณาอารมณ์
เหล่านี้จะปรากฎชัดกว่าภวังคจิตมาก ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงกำหนดเอาจิตเหล่านี้เป็น
จุดเริ่มต้นของการออกจากผลสมาบัติ บางท่านสามารถเข้าออกผลสมาบัติได้อย่าง
รวดเร็วทั้งยังสามารถพลิกกลับไปกลับมาได้อย่างรวดเร็วซึ่งถ้าเป็นบุคคลที่ไม่มีพื้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2022, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220429_091251.jpg
20220429_091251.jpg [ 94.22 KiB | เปิดดู 483 ครั้ง ]
ความรู้(พหูสูตร)มาก่อน อาจทำให้คิดไปว่าตนสามารถกำหนดพิจารณาอารมณ์
นั้นๆได้ในขณะที่เข้าผลสมาบัติ โดยตัวอย่างในเรื่องนี้ได้แก่ พระมหาโมคคัลลาน-
เถระ องค์อัครสาวก
คือท่านได้เล่าเรื่องของท่านให้พวกภิกษุฟังว่า "เมื่อครั้งที่ท่าน
เข้าถึงอาเนญชสมาธิ ณ ที่ริมฝั่งแม่น้ำสิปปีนีอยู่นั้น ท่านได้ยินเสียงบรรลืออัน
ไพเราะของโขลงช้างที่ขึ้นลงแมน้ำ" นี้เป็นคำกล่าวของท่านมหาโมคคัลลานเถระ
แต่ที่จริงแล้วในขณะที่เข้าอาเนญชสมาธิอยู่นี้จะไม่สามารถได้ยินเสียงอะไรๆได้เลย
แม้จะเป็นเสียงดังกึกก้องกัมปนาทดุจฟ้าผ่าก็ตาม เพราะอาเนญชสมาธินี้เป็นสมาธิ
ที่ไม่มีเหตุปัจจัยที่จะสามารถทำลายหรือทำให้หวั่นไหวได้

คำว่า อาเนญชสมาธิ นี้ ในอุทานอรรถกถา ท่านอธิบายว่า เป็นรูปาวจร-
จตุตถฌาน
และอรูปาวจรจตุตถฌาน (๕) รวมทั้งอรหัตตผลสมาธิ(ผลสมาบัติ)
ซึ่งมีฌานเหล่านั้นเป็นบันไดด้วย
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้พวกภิกษุเหล่านั้นไม่เชื่อ ท่านต้องนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระพุทธองค์เพื่อให้ทรงตัดสิน พระพุทธองค์ได้ทรงตัดสินอย่างนี้ว่า

อตุเถโส ภิกฺขเว สมาธิ, โส จ โข อปริสุทฺโธ=ภิกษุทั้งหลาย สมาธิที่พระ
โมคคัลลานะได้นั้นเป็นอาเนญชสมาธิจริง แต่ไม่ชัดเจน ไม่บริบูรณ์ (หมายความว่า
เดี๋ยวก็เกิดอาเนญชสมาธิ เดี๋ยวก็เกิดวิถีจิตสามัญ ผลัดเปลี่ยน สลับกันไป จึงทำให้
ได้ยินเสียงได้) ความจริง พระมหาโมคคัลลานเระนั้น ท่านบวชได้เพียง ๗ วัน
ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์และในช่วงที่ท่านสำเร็จเป็นพระรหันต์ใหม่ๆนั้นท่านได้เข้า
จตุตถฌานทั้งๆที่ตนเองยังไม่มี วสี คือความช่ำชองในการเข้าออกสมาบัติเลย
ดังนั้น เมื่อท่านออกจากจตุตถฌานแล้วได้ยินเสียงร้องของช้าง จึงคิดว่าได้ยินใน
ขณะที่กำลังเข้าสมาบัติอยู่ ซึ่งที่จริงแล้วเป็นการได้ยินในขณะที่ออกจากฌานแล้ว
เกี่ยวกับเรื่องนี้พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายไว้ในคัมภีร์อรรถกถาของพระวินัยเช่นกัน

อนึ่ง คำว่า จตุตถฌาน ในที่นี้ ถึงแม้เป็นคำกลางๆ แต่ก็พึงทราบว่า เนื่องจาก
ท่านเพิ่งบรรลุเป็นพระอรหันต์ใหม่ๆ แล้วก็เข้าฌานต่อทันที ดังนั้น จตุตถฌาน นั้น
จึงหมายเอาจตุตถฌานของอรหัตตผลอย่างเดียว

สรุปแล้วจะเห็นว่า การที่ท่านได้ยินเสียงช้างร้องในขณะออกจากสมาบัติ
แต่กลับสำคัญว่าเป็นการได้ยินขณะเข้าสมาบัตินั้น เป็นความสำคัญผิด และด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2022, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




segment_regular_X25ADfi5qB8.png
segment_regular_X25ADfi5qB8.png [ 39.01 KiB | เปิดดู 369 ครั้ง ]
คำพูดที่ยกมาเกินหลักฐานดังกล่าวนี้ ทำให้เราสามาวถทราบได้ว่า ในเวลาที่ออก
จ าทกสมาบัๅ+นั้น ก่อนทีปัเจจเวกขณะญาณจะเกิด อาจมีการกำทนดรู้อารมณ์อย่างอื่น
ได้เช่นกัน
อนึ่ง แม้ว่าจะเป็นพระอริยะในระดับเดียวกัน แต่ก็ใซ่ว่าจะสามารถเข้าเสวย
ผลสมาบัตืได้ทัดเทียมกัน ในเรื่องนี้ฟังทราบตามที่ท่นอธิบายไว้ในอรรถกถาแห่ง
มัชเมิมนิกาย อุปริปัณณาสก็ ดังนี้

สตฺตวิหารีและโนสตตวิหารื

เทุว หิ ขีณาสวา สตตวิหารี, โนสตตวิหารี จ. ตตฺถ สตตวิหารี ยํ กิญจิ
กมุมํ กตุวาปิ ผลสมาปตุติ สมาปชฺชิตุํ สกุโกติ. โนสดตวิหารี ปน อปุปมตฺตเกบิ
กิจเจ กิจฺจปุปสุโต ทุตวา ผลสมาปตุตี อปุเปตุ๋ น สกุโกติ.

(ม.อฏ, ๘/๔๗)

พระอรหันตขีณาสพมี ๒ ประเภท คือ สดตวิทารี บุคคลผู้อยู่ด้วยสมถวิปัสสนา
อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ และโนสตตวิหารี บุคคลผู้ไม่ได้อยู่ด้วยสมถวิปัสสนา
อย่างต่อเนื่องประจำ อนึ่ง สำหรับสตดวิหารีบุคคลแม้ว่าจะเอาใจใส่ทำงานอย่างใด
อย่างหนึ่ง แต่ก็ยังสามารถเข้าผลสมาบัติได้อีก แต่สำหรับโนสตตวิหารีบุคคลแล้ว
ถ้าได้เอาใจใส่ ขวนขวายทำกิจแม้สักเล็กน้อยก็ไม่สามารถที่จะเข้าผลสมาบัติได้

นอกจากนี้ ในคัมภีร์อรรถกถาท่านยังได้ยกเรื่องราวอุทาหรณ์มาประกอบไว้
ดังนี้ว่า มีพระเถระรูปหนึ่งกับสามเณรรูปหนึ่งซึ่งเป็นศิษย์-อาจารย์กัน ได้พากันไป
อาศัยอยู่ที่วัดป่าแห่งหนึ่ง และเนื่องจากที่นั้นเป็นสถานที่คับแคบ จึงไม่มีสถานที่
สำหรับให้สามเณรพักทำให้พระเถระผู้เป็นอาจารย์ต้องคิดหนักกังวลอยู่แต่กับเรื่องนี้
จึงทำให้ท่านไม่สามารถเข้าผลสมาบัติได้ ฝ่ายสามเณรผู้เป็นศิษย์ ถึงแม้ตนเองจะ
ไม่มีที่พักเป็นที่มั่นเหมาะอย่างพระเถระ แต่ก็ไม่ได้ใสใจในเรื่องนี้มากนัก ได้แต่
เพลิดเพลินกับการเข้าสมาบัติปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปกับการเข้าสมาบัติอย่างเดียว
ครั้นออกพรรษาแล้ว สามเณรก็เข้าไปหาพระอาจารย์ เรียนถามทุกข์สุขของพระ
อาจารย์แล้วถามว่า"ท่านอาจารย์อยู่ที่นี้เหมาะที่จะทำความเพียรบ้างหรือไม่ขอรับ"
พระอาจารย์ตอบว่า "เราไม่มีความสุขเลย"

ในเรื่องนี้ สามเณรเป็นพระอรทันต์สตตวิทารี ดังนั้น ถึงแม้จะไม่ได้ที่พักดีๆ
ก็ยังสามารถเข้าสมาบัติได้ตามประสงค์ ส่วนพระเถระเป็นพระอรทันต์โนสตตวิหารี
ดังนั้น เมื่อเกิดความหนักใจเพียงเล็กน้อย ก็ไม่สามารถเข้าผลสมาบัติได้

ด้วยเหตุนี้ จึงใคร่ขอแนะนำว่า ถ้าหากผู้ใดต้องการที่จะเข้าผลสมาบัติได้ตาม
ประสงค์ในทุกขณะ ผู้นั้นจะต้องพยายามเจริญวิปัสสนาอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้
บรรลุเป็นพระอรหันต์ผู้เป็นสตตวิหารีบุคคล
การเข้าผลสมาบัติ จบ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร