วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 16:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2022, 11:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




fisherman-cast-net.jpg
fisherman-cast-net.jpg [ 123.81 KiB | เปิดดู 670 ครั้ง ]
ปรมัตย์กับบัญญัติ
ธรรมที่โยคีพึงกำหนดพิจารณา

ในปริเฉทนี้จะได้แสดงจำแนกปรมัตย์กับบัญญัติ และจะได้แสดงสภาธรรม
ทั้งหลายที่โยคีพึงนำมาพิจาวณาเป็นวิปัสสนา รวมถึงตัวอย่างของการเจริญวิปัสสนา
จากสมถยานิกบุคคลทั้งหลาย

ปรโม อุตฺตโม อวิปวีโต อตฺโถ ปรมตฺโถ.
(อภิธัมมัตถวิภาวินี)

ความหมายหรือสภาวะที่ประเสริฐกล่าวคือไม่เปลี่ยนแปลงไม่วิปริตผิดเพี้ยน
เรียกว่า ปรมัตถ์ แปลว่า สภาวะที่ประเสริฐคือสภาวะที่มีอยู่จริง
เราไม่สามารถที่จะกล่าวสภาวะที่ผิดเพี้ยนว่า เป็นสิ่งประเสริฐได้ สภาวะที่
ถูกต้อง มีอยู่จริงเท่านั้น จึงจะเรียกว่าเป็นสิ่งประเสริฐได้ สภาวธรรม ๔ ประการ
คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน จึงได้ชื่อว่าเป็นปรมัตถธรรม ในลฐานะที่เป็นสภาวะที่มี
อยู่จริงไม่วิปริตผิดเพี้ยน

ปรโม อุตตโม อตฺตปจุจกฺโข อตฺโถ ปรมตฺโถ.
(อรรถกถาปัญจปกรณ์)

สภาวะที่ประเสริฐกล่าวคือสภาวะที่โยคีสามารถรู้ประจักษ์แจ้งด้วยตนเองได้
เรียกว่า ปรมัตถะ หมายถึง สภาวะที่โยคีสามารถรู้แจ่มแจ้งด้วยญาณของตน

สภาวะต่างๆมีอยู่มากมาย เช่น สภาวะที่รู้ได้จากการได้ยินได้ฟังเป็นต้น
ซึ่งสภาวะเหล่านั้นอาจมีอยู่จริง เป็นจริง หรือผิดเพี้ยนก็ได้ เพราะฉะนั้น จึงไม่อาจ
เรียกสภาวะ ที่ได้ยินได้ฟังเป็นตันนั้นว่าเป็นปรมัตถะได้ ส่วนสภาวะที่โยศีรู้ประจักษ์
แจ้งด้วยตนเองนั้น ไม่มีคำว่าผิดเพี้ยน มีแต่คำว่าถูกต้องเท่านั้น เพราะเหตุนั้น จิต
เจตสิก รูป นิพพาน ซึ่งเป็นสภาวธรรม ๔ ประการ ซึ่งโยคีสามารถรู้ประจักษ์แจ้ง
ด้วยตนเองได้ ดังนั้น สภาวธรรม ๔ ประการเหล่านั้น จึงเป็นสภาวะที่ประเสริฐ
สมควรได้เรียกชื่อว่า ปรมัตถธรรม ดังที่ในคัมภีร์อรรถกถาแห่งกถาวัตถุท่านได้
กล่าวไว้ดังนี้ว่า

สจุจิกตฺโถติ มายา มรีจิอาทโย วิย อภูตากาเรน อคุคเหตพุโพ ภูตตฺโถ
ปรมตฺโถติ อนุสุสวาทิวเสน อคุคเหตพุโต อุตุตมตฺโถ.

(อภิ.อฏ.๓/๑๑๒)

อตุตโน ปน ภูตตายเอว สจุจิกตฺโถ อตุตปจุจกุขตาย จ ปรมตุโถ, ตํ สนุธายาห.
(อภิ.อฏ.๓/๑๑๒)

คำว่า สัจจิกัตถะ "สภาวะที่มีอยู่จริง" หมายความว่า เป็นสภาวะที่มีอยู่จริง
เป็นสภาวะที่โยคิไม่สามารถที่จะถือเอาได้โดยอาการที่ไม่เป็นจริง หรือเป็นสภาวะ
ที่ไม่ถือเอาด้วยภาพลวงตาเหมือนกับมายากล พยับแดด ดังนี้เป็นต้นซึ่งเป็นสิ่งที่
ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงแค่ภาพลวงตา คำว่า ปรมัตถะ นั้น หมายถึง สภาวะที่ประเสริฐ
เนื่องจาก็เป็นสภาวะที่โยคิไม่สามารถถือเอาได้ด้วยการได้ยินได้ฟังต่อจากบุคคลอื่น
เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2022, 12:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




throwing-fishing-net-sunrise-29432892.jpg
throwing-fishing-net-sunrise-29432892.jpg [ 77.33 KiB | เปิดดู 665 ครั้ง ]
โดยแท้จริง สภาวธรรม ๕๗ ประการนั้นเองได้ชื่อว่าเป็นสัจจิกัตถะ สภาวะที่
เป็นจริง เนื่องจากว่าสภาพตัวตนของธรรม ๕๗ ประการนั้นมีอยู่อย่างแท้จริง
และได้ชื่อว่าเป็นปรมัตถะ เนื่องจากว่าเป็นสภาวะที่โยคีสามารถรู้แจ้งประจักษ์ด้วย
ตัวเองเท่านั้น ก็พระพุทธองค์ทรงหมายเอาสภาวธรรม ๕๗ ประการ คือ ขันธ์ ๕
อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒, นั่นเทียวว่าเป็นสัจจิกัตถะและปรมัตถะ

อนึ่ง ในคัมภีร์อรรถกถานี้พึงทราบว่าองค์ธรรมของสัจจิกัตถะและองค์ธรรม
ของปรมัตถะเป็นสภาวะเดียวกัน คือได้แก่สภาวธรรม ๕๗ ประการ ดังที่ได้กล่าว
ไว้แล้วข้างตัน สภาวธรรม ๕๗ ประการนั้นท่านกล่าวไว้โดยย่อก็มี ๔ ประการ เท่านั้น
คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน แต่ถ้าจะย่อให้เหลือ ก็จะได้แก่นามกับรูปเท่านั้น
ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ในปริเฉทนี้จะเอ่ยถึงเฉพาะชื่อสองชื่อคือรูปกับนาม
เท่านั้น ธรรมดาว่านักมายากล เมื่อจะเสกก้อนอิฐ กระดาษ ก้อนหิน เป็นต้น ให้เป็น
เงินเป็นทองหรือเป็นเพชร ผู้คนที่มุงดูก็จะมองเห็นเป็นเหมือนกับเงินทองเพชรนิล
จินดาของจริง ก็สภาวะที่ผู้พบเห็นคิดเป็นเงินเป็นทองเป็นเพชรเป็นสภาวะที่ไมมี

อยู่จริง เป็นสภาวะที่ถือเอาโดยสภาวะที่เป็นจริงไม่ได้ เรียกว่าเป็นทั้งอภูตัตถะ
และอสัจจิกัตถะนั่นเอง นอกจากนี้ ในช่วงฤดูร้อน สัตว์ปา เช่น เนื้อ เป็นต้น
ผู้กระหายน้ำ เมื่อวิ่งหาน้ำ ย่อมมองเห็นพยับแดดแต่ไกล ก็สำคัญผิดคิดว่าพยับแดด
นั้นเป็นน้ำ แต่ความเป็นจริงแล้ว ถ้าเข้าไปใกล้ ก็ไม่มีอะไร ก็ในการสำคัญผิดคิดว่า
พยับแดดเป็นน้ำนั้น สภาวะที่ถูกสำคัญผิดคิดว่าเป็นน้ำนั้นได้ชื่อว่าเป็นอภูตัตถะ
และอสัจจิกัตถะ เพราะเป็นทั้งสภาวะที่ไม่สามารถถือเอาตามความเป็นจริง และเป็น
สภาวะที่ไม่ได้มีอยู่อย่างแท้จริง

โดยทำนองเดียวกัน นามบัญญัติ ก็ดี อัตถบัญญัติ มี สตรี บุรุษ มือ เท้าเป็นต้น
ก็ดี ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถือเอาโดยอาการที่มีอยู่จริงได้ ดังนั้น บัญญัติทั้งหลาย
ทั้งปวงเหล่านั้น จึงได้ชื่อว่า อภูตัตถะ และอสัจจิกัตถะกล่าวคือเป็นสภาวธรรมที่ไม่ได้มี
อยู่จริงนั่นเทียว แต่สำหรับรูปกับนามแท้ๆนั้นมิได้มีลักษณะเช่นนั้น มิได้เป็นสภาว-
ธรรมที่เป็นภาพลวงตา แต่เป็นสภาวะที่มีอยู่จริง สามารถพิสูจน์ได้ เป็นสภาวะที่
ถือเอาได้รู้ได้ตามที่เกิดขึ้นและดับไปนั่นเอง ดังนั้น รูปและนามที่มีสภาวะอยู่จริงนั้น
ท่านเรียกว่า ภูตัตถะหรือสัจจิกัตถะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร