วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 21:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2022, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




7278511552_6d10806815_z.jpg
7278511552_6d10806815_z.jpg [ 90.53 KiB | เปิดดู 631 ครั้ง ]
รู้ประจักษ์คือปรมัตถ์

สภาวะที่เชื่อหรือจำตามคำพูดของคนอื่น บางครั้งจะมีอยู่จริง บางครั้ง
อาจจะไม่มีอยู่จริง เป็นไปไม่ได้ที่จะมีอยู่จริงทั้งหมด เพราะฉะนั้น สภาวะเช่นนั้น
จึงไม่ได้ชื่อว่า เป็นอุตตมัตถะหรือปรมัตถะ ส่วนความหมายหรือสภาวะที่โยคีเห็น
ประจักษ์แจ้งได้ด้วยตนเองนั้นล้วนเป็นสภาวะที่มีอยู่จริงตามที่ได้เห็นนั้นแล
เพราะเหตุนั้น สภาวะที่เห็นได้ด้วยประจักษ์แจ้งด้วยตนเองนั้น จึงได้ชื่อว่าเป็น
อุตตมัดถธรรมหรือปรมัตถธรรม หมายถึง สภาวธรรมที่ประเสริฐ

คำว่า อนุสฺสวาทิวเสน ที่มาในอรรถกถานั้น พึงทราบว่า อาทิ ศัพท์ ในคำ
นั้นประมวลเอาสภาวะทั้งหลายที่ไม่ได้ชื่อว่าปรมัตถธรรม เช่น คำว่า ปรมฺปรา อิติ
กิร ปิฎกสมุปทาน ตกฺกเหตุ นยเหตุ อาการปริวิตกฺก
และ ทิฏซฐินิชฺฌานขนฺติ
เป็นตัน ซึ่งอรรถของศัพท์เหล่านี้รวมอยู่ในบัญญัติ มิใช่ปรมัตถ์ ดังนั้น จึงเท่ากับ
ว่าเป็นการแสดงให้ทราบว่า คำว่า ปรมัตถ์ นั้น หมายเอาสภาวะที่รู้ประจักษ์แจ้ง
ด้วยตนเองเท่านั้น

ปรัมปรา

คำว่า ปรมุปรา หมายถึง คำพูดที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย ครูอาจารย์
เป็นตัน ส่วน อิติ กิร เป็นคำพูดที่แสดงถึงการได้ยินได้ฟัง ที่ตนเองไม่ได้สัมผัสมา
โดยตรง ทั้งคำพูดที่มาจากคำว่า ปรมฺปรา และ อิติ กิร ทั้งสองนี้สามารถเป็นได้
ทั้งของจริงและของปลอม คือเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ก็ได้ ไม่มีอยู่จริง ก็ได้ เพราะฉะนั้น
จึงไม่ควรที่จะได้ชื่อว่าเป็นปรมัตถ์

ปิฎกสัมปทาน

การอ้างคัมภีร์ การอ้างหลักฐานต่างๆสิ่งที่ตนเห็นเอาโดยถือว่าตรงกับตำรา
ที่ตนใช้อยู่นั้น บางครั้งจะเห็นว่า ตำรานั้นอาจจะจริง ก็ได้ อาจจะผิด ก็ได้ ถึงแม้
ตำราจะถูก แต่การตีความวินิจฉัยอาจจะผิด ก็ได้ เพราะฉะนั้น ความหมายหรือ
สภาวะที่มีลักษณะได้จากการอ้างตำราเช่นนั้น จึงไม่ได้ชื่อว่าเป็นปรมัตถะ

.ตักกเหตุ

สภาวะหรือความรู้ที่ถือเอาได้ด้วยการตรึกนึกคิดจินตนาการเอาเองนั้น อาจจะ
เป็นได้ทั้งถูกและผิด จึงไม่ได้ชื่อว่าเป็นปรมัตถ์

นยเทตุ

สภาวะหรือความรู้ที่ได้ด้วยการเทียบเคียงตามหลักการนั้น จะถูกต้องก็ต่อเมื่อ
อาศัยหลักการที่เหมาะสม แต่ในกรณีที่ได้อาศัยหลักการที่ไม่เหมาะสมนั้น ย่อมมี
ความผิดพลาดสูง เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรได้ชื่อว่า ปรมัตถ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2022, 03:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




taotie.png
taotie.png [ 455.43 KiB | เปิดดู 384 ครั้ง ]
อาการปริวิตกฺก

สภาวะหรือความรู้ที่ได้ด้วยการตรึกตามเหตุปัจจัยที่เหมาะสมนั้น ท่านเรียก
ว่าอาการปริวิตกฺก ส่วน ทิฏฐินิชฺฌานขนฺติ หมายถึง สภาวะหรือความรู้ที่ได้จาก
การดีความ ตรงกับทิฏฐิความเชื่อที่ตนเห็นด้วย ซึ่งทั้ง อาการปริวิตถฺก และ ทิฏฐิ
นิชฺฌานชนฺติ นี้อาจจะถูกบ้าง หรืออาจจะผิดบ้าง ตังนั้น ทั้งสองจึงไม่ได้ชื่อว่า
เป็นปรมัตถ์

เนื่องจากว่าสภาวะ หรือสิ่งที่บุคคลโดยอาศัยคำพูดที่ได้ยินมาอีกทอดหนึ่ง
หรือคำพูดปรัมปรานั้นไม่สามารถที่จะเป็นของจริงเสมอไป ดังนั้น ในพระสูตรต่างๆ
มีกาลามสูตรเป็นตัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงรับรองว่าสิ่งที่บุคคลเห็น
ประสบด้วยตนเองเท่านั้นเป็นความจริง ส่วนสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมา เป็นต้นนั้นไม่ควร
ยืดถือว่าเป็นของจริงหรือของแท้เสมอไป

สำหรับรูปแท้รูปจริง นามแท้นามจริงนั้น มิได้เป็นสภาวะที่บุคคลจะถือเอาได้
รู้เอาได้ด้วยสักแต่ว่าได้ยินได้ฟังและการศึกษาเล่าเรียนเป็นต้น แต่เป็นสภาวะที่
สามารถรู้ได้เชื่อได้ก็ต่อเมื่อตนได้ประจักษ์แจ้งด้วยตนเองเท่านั้น ดังนั้น ในคัมภีรั
อรรถกถาท่านจึงได้เลือกใช้คำศัพท์ว่า อนุสฺสวาทิวเสน อคฺคเทตพฺโพ "ไม่ควรถือเอา
ด้วยการได้ยินได้ฟังจากบุคคลอื่นเป็นต้น" ซึ่งในคำว่า อคฺคเหตพฺโพ นั้น ในทาง
หลักภาษาบาลี พึ่งทราบว่า คำว่า ตพฺพ ปัจจัยนั้นส่องแสดงอรรถที่เรียกว่า อรห
กล่าวคือ ความเหมาะสม สกฺก กล่าวคือความสามารถ ซึ่งตรงนี้พระอรรถกถาจารย์
ท่านได้เลือกใช้ ตพฺพ ปัจจัย ดังที่ในคัมภีร์อนุฎีกาท่านได้แสดงเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้
ซึ่งจะได้กล่าวถึง ในข้างหน้านี้

บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นผู้รู้ปรมัตถ์ด้วยเพียงสักว่าการได้ยินได้ฟังมาเป็นต้น

สำหรับผู้ที่บอดมาแต่กำเนิดนั้น แม้ว่าจะมีคนอื่นบอกว่า รูปสีขาว สีแดง
สีเหลือง สีน้ำเงิน เป็นตัน เป็นอย่างไร ผู้นั้นก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ตามความเป็นจริง
ตามที่บุคคลอื่นบอกได้ ไม่สามารถที่จะรู้สีต่างๆต่างกันอย่างไรได้ ไม่ว่าจะพูดถึง
สภาพลักษณะของสีอย่างไร เขาก็ไม่สามารถรู้เห็นตามความเป็นจริงได้ โดยทำนอง
เดียวกัน ผู้ที่บกพร่องทางฆานปสาทก็ไม่สามารถที่จะรู้ของหอมของเหม็นว่ามีสภาพ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2022, 03:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




qiongqi.png
qiongqi.png [ 503.96 KiB | เปิดดู 384 ครั้ง ]
แตกต่างกันเช่นไร ผู้ที่ยังไม่ได้กิน ไม่ได้บริโภค ไม่ได้ลิ้มรสขนมหรือผลไม้ก็ย่อม
ไม่สามารรสยันแท้จริงของสิ่งเหล่านั้นได้ ผู้ที่ยังไม่เคยประสบกับความเจ็บปวด
เวทนา เช่น ปวดศีรษะ ปวดพัน หรือจุกเสียด เป็นตัน แม้ว่าบุคคลอื่นจะบอก
อาการนั้นให้ทราบ เขาก็ไม่สามารถเข้าใจถึงทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงได้
แม้บุคคลที่ยังไม่เคยได้วิปัสสนาญาณ ยังไม่คยได้ฌานสมาบัติ ยังไม่ได้บรรลุมรรคผล
ไม่ว่าจะกล่าวอธิบายไว้ในคัมภีร์อย่างไร เขาก็ไม่สามารถที่จะรู้ประจักษ์ตาม
ความเป็นจริงได้เช่นกัน เกี่ยวกับเรื่องนี้ หมายความว่ การรู้โดยการได้ยิน
ได้ฟังหรืออนุมานญาณเพียงเท่านั้นยังไม่ชื่อว่าเป็นการรู้ตามความเป็นจริง แต่การ
รู้ของวิปัสสนาโยคีบุคคล ฌานลาภีบุคคลและพระอริยบุคคลเท่านั้น จึงจะได้ชื่อว่า
เป็นการรู้ที่ถูกต้อง รู้ตามความเป็นจริง ดังนั้น ทุกอย่างที่รู้ด้วยการอนุมานหรือ
การได้ยิน ได้ฟังมานั้น พึงทราบว่ไม่ใช่รูปนามปรมัตถ์อย่างแท้จริง เป็นแต่เพียง
บัญญัติเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร