วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 11:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2022, 15:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




depositphotos_46580379-stock-photo-man-holding-sign.jpg
depositphotos_46580379-stock-photo-man-holding-sign.jpg [ 44.73 KiB | เปิดดู 634 ครั้ง ]
วิปปัลลาสเป็นปทัฏฐานแก่อวิชชชา

ตสฺสา วิปลฺลาสา ปทฎฺฐานํ. วิปลฺลาสา-วิปัลลาสทั้งหลาย ปทฎฐานํ -เป็น
เหตุเกิดหรือเป็นเหตุปทัฏฐาน ตสฺสา อวิชฺชาย - ของอวิชชานั้น
อชฺโฌสานลกฺขณา ตณฺหา ตัณหามีลักษณะยึดในอารมณ์ (อชุโฌสาน โดย
ทั่วไปแปลว่า "ความดื่มด่ำ หลงใหล" แต่ในที่นี้หมายถึง "ความยึคติด" ตัณหานี้
รุนแรงเท่ากับอุปาทาน เพราะตัณหานี้เป็นพลวตัณหา

ปฏิจฺจ อซุโฌตานํ อัชโฌสานะ นี้อาศัยฉันทราคะ อชฺโฌสานํ นี้ ท่านแก้
เป็น "อหํ มมํ ติ พลวสนุนิธานํ อชฺโณสานํ "ในที่นี้หมายถึงว่า ความยึคติด อย่าง
รุนแรง ที่ว่านี่คือตัวเรา นี่คือของเรา ตัณหาประเภทนี้ท่านเรียกว่า อชฺโฌสาน
เพราะฉะนั้น ตัณหาที่ยึดติดว่า "เป็นเรา เป็นของเรา นี่คือเขา นี่คือของเขา" อันนี้
แหละคือลักษณะของตัณหา

ตสฺลา ปิยรูปั สาตรูปั ปทฏฺธานํ

ปียรูปํ -ปียรูป สาตรูปํ -สาตรูป ปทฏฺชานํ เป็นปทัฏฐาน ตสฺสา ตณฺหาย
แก่ตัณหานั้น (ปียรูป สาตรูปเป็นปทัฏฐานแก่ตัณหา) (ปียรูป หมายถึง รูปที่น่า
ใคร่น่ายินดี องค์ธรรมของปียรูปนี้รวมถึงนามธรรมด้วย สาตรูป หมายถึง น่ายินดี
.ความหมายไม่ต่างกับปียรูปเท่าไร จริง ๆ แล้วองค์ธรรมของปียรูป สาตรูป ได้แก่
โลกิยจิต ๘๑ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ ฉะนั้น ก็ ปียรูป สาตรูป นี้แล เป็นเหตุให้
ตัณหาเกิด)

ปตฺถนลกฺขโณ โลโภ, โลโภ -ความโลภ ปตฺถนลกฺขโณ มีความปรารถนา
เป็นลักษณะ มีความอยากได้หรือความต้องการเป็นลักษณะ ตสฺส อทินฺนาทานํ
ปทฎฺธานํ. อทินฺนาทานํ -ในที่นี้หมายถึง เจตนาที่จะลักทรัพย์ ปทฏธานํ -เป็น
ปทัฏฐาน(เป็นเหตุ) ตสฺส โลภสฺส ของความโลภนั้น

อทินนาทานเจตนาเป็นเหตุให้เกิดความโลภ ถ้าไม่พิจารณาจริง ๆ จะไม่
เข้าใจ อาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่า ความโลภทำให้เกิดอทินนาทาน สำหรับในที่นี้
ท่านต้องการมุ่งถึงอกุศลธรรมว่ามีอะไรเป็นเหตุเกิด ความจริงแล้วท่านบอกว่า
อทินนาทานเจตนาที่จะลักทรัพย์คนอื่น ถ้ามีขึ้นแม้เพียงครั้งเดียว ท่านก็บอกว่า
มันเป็นปัจจัยหรือเป็นเหตุให้โลภชวนะเกิดได้เป็นจำนวนมากมาย เพราะฉะนั้น
อทินนาทานเจตนานี้ เจตนาที่จะลักทรัพย์ของผู้อื่นจึงเป็นปทัฏฐานให้เกิดความ
โลภ แสดงว่าความโลภมีอยู่แล้ว เพียงแต่อยู่ในรูปของความเป็นอนุสัยที่นอน
เนื่องอยู่ เมื่อมีเจตนาที่จะลักทรัพย์ก็ทำให้ความโลภปรากฎขึ้นหรือฟุ้งขึ้น ทะลัก
เข้าสู่จิตใจ เพราะฉะนั้น ท่านจึงบอกว่า อทินนาทานเจตนาเป็นเหตุให้เกิดโลภะ
ได้ แต่ไม่ใช่เป็นการเกิดแบบเป็นวัฏฏะ อันนี้หมายความว่าท่านต้องการมุ่งถึง
โลภะว่ามีอะไรเป็นเหตุเท่านั้นเอง เราอาจจะเอาโลภะเป็นเจตนาก่อให้เกิด
อทินนาทาน (การลักทรัพย์ ก็ได้ ถ้าสมมุติเราจะมุ่งถึงเหตุของอทินนาทาน แต่ใน
ที่นี้ ท่านกำลังมุ่งถึงเหตุของความโลภ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร