วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2022, 05:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220806_045610.jpg
20220806_045610.jpg [ 112.46 KiB | เปิดดู 647 ครั้ง ]
ผัสสะที่เจือด้วยอาสวะกิเลส

สาสวผสฺสอุปคมนลกฺขณา สุขสญฺญา, สุขสญฺญา-การสำคัญผิดคิดว่าเป็น
สุข สาสวผสฺสอุปคมนลกฺขณา ที่มีการเข้าถึงสิ่งนั้นด้วยการสัมผัสที่มือาสวะเป็น
อารมณ์ กล่าวคือ การได้สัมผัสกับผัสสะที่ยังมีอาสวะอยู่ ก็ในยุคปัจจุบันนี้ก็มีแยะ
มาก ผัสสะที่มีอาสวะทำให้เกิดสุขสัญญา ได้สัมผัสสิ่งที่ดี ๆ นุ่ม ๆ สวย ๆ งาม ๆ
อันนี้แลเรียกว่า 'สาสวผสฺสอุปคมน' ทำให้เกิดลักษณะสุขสัญญา คือ เกิดความ
เข้าใจผิดคิดว่าเป็นสุขจริง ๆ มีลักษณะการเข้าถึงอารมณ์ได้ด้วยผัสสะ ที่บอกว่ามี
อาสวะเป็นอารมณ์ก็คือ การได้ลิ้มสัมผัสกับอารมณ์เป็นอาสวะ ซึ่งเป็นเครื่องบ่ง
บอกถึงลักษณะของสุขสัญญาซึ่งมันก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นลักษณะตัวเดียวกันเท่านั้น
เพราะว่าการเข้าถึงมันก็ได้แก่การสัมผัสอารมณ์ที่ดี ๆ ซึ่งยังเป็นอารมณ์ทางโลกีย์
อยู่ จะเรียกว่าเป็นเหตุของสุขสัญญาก็ว่าได้

ตสฺสา อสฺสาโท ปทฏฺฐานํ.

อสฺสาโท -ตัณหาที่ทำให้เกิดความยินดีหรือความยินดี ปทฎฺฐานํ -เป็น
ปทัฏฐาน ตสฺสา สุขสฺญฺญาย -ของสุขสัญญานั้น

หมายความว่าแม้เราจะ ได้สัมผัสอะ ไรที่ดี ถ้าเราไม่เกิดความยินดีแล้ว มันก็
ไม่เกิดวิปีลลาสประเภทสุขสัญญา อย่างเช่น พระอรหันด์ ท่านใช้สอยอะไรก็แล้ว
แต่ ท่านไม่มีอัสสาทะ ท่านจึงไม่เกิดสัญญาวิปัลลาส คือท่านไม่คิดว่ามันเป็นสุข
แต่จะรู้ตามเป็นความจริงว่าอันนี้คืออะ ไร แต่ในกรณีของปถุชน ถ้ได้สัมผัสสิ่งที่
ดี ๆ ก็จะเกิดอัสสาทะ กล่าวคือความยินดี อัสสาทะนี้จะทำให้เกิดสัญญาวิปัลลาส

สงฺขตลกุขณานํ ธมฺมานํ อสมนุปสฺสนลกุขณา นิจฺจสญฺญา

นิจฺจสญฺญา -ความสำคัญว่าเป็นของยั่งยืน คือ ความสำคัญผิด อสมนุ-
ปสฺสนลกฺขณา
-มีการ ไม่พยายามตามพิจารณา สงฺขตลกฺขณานํ ธมฺมานํ ในธรรม
ทั้งหลายที่เป็นสังขตธรรม (ธรรมชาติที่มีลักษณะถูกปัจจัยสร้างขึ้นมา ท่านเรียก
ว่า สังขตลักขณะ) ไม่พิจารณาธรรมที่เป็นสังขตลักษณะ หมายความว่า ยกเว้น
พระนิพพานซึ่งไม่เป็นสังขตลักษณะ นอกนั้น เป็นสังขดลักษณะทั้งสิ้น

สงฺขตา ธมฺมา อสงฺขตา ธมฺมา ในที่นี้ก็เหมือนกับสงฺขตา ธมฺมานั่นเอง
การไม่พิจารณาสังขตธรรมตามที่เป็นจริงเป็นลักษณะของนิจจสัญญา เป็นเครื่อง
บ่งบอกให้ทร าบว่าเกิดนิจจสัญญา เป็นความสำคัญผิดคิดว่ามันเป็นของเที่ยงแท้
แน่นอน ลืมนึกไปว่าสังขดธรรมนั้นเป็นธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงได้ สังขต
ลักขณะ ก็อนิจจลักษณะ นั่นคือ อนิจฺจํ ทุกขํ อนตฺตา อันนี้แลท่านเรียกว่า สังขต
ลักษณะ
ถ้าไม่พิจารณาโดยถ้วนถี่ก็จะมองไม่เห็นลักษณะ ๓ อย่างนี้

ตสฺสา วิญฺญาณํ ปทฎฺฐานํ

วิญฺญาณํ-ก็คือจิต ปทฎฺฐานํ -เป็นปทัฏฐาน ตสฺสา นิจฺจสญฺญาย แก่นิจจ
สัญญานั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร