วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2022, 08:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




feloo5.jpg
feloo5.jpg [ 137.73 KiB | เปิดดู 620 ครั้ง ]
ในบางครั้ง ธรรมบางอย่าง ถ้าไม่มีอะไรพิเศษ ท่านก็จะเอาจิตเป็นปทัฏฐาน
เพราะว่าจิตเป็นที่ประกอบหรืออาศัยของเจตสิก หากจิตเกิด เจตสิก เจตสิกก็เกิด แต่

ความจริงแล้วมันน่าจะมีเหตุของจิตที่พิเศษในจิตใคจิตหนึ่ง ในฎีกาท่านแก้ว่า
เนื่องจากนิจจสัญญานี้มีลักพณะที่ไม่พิจารณาธรรมที่เป็นสังขตะ เพราะฉะนั้น
วิญญาณกล่าวคือจิตที่ยึดว่า "รูปขันธ์ เป็นดัน เป็นของเที่ยง" จริง ๆ แล้วตัวจิตที่มี
การยึดมั่นในรูปขันธ์เป็นตันนี่แหละเป็นปทัฏฐาน ไม่ใช่จิตธรรมคาทั่วไป จิตที่มี
การยึดมั่นในนามธรรม รูปธรรมเป็นปทัฏฐานแก่นิจจสัญญา จะแยกกันไม่ออก
คือแสดงว่าเมื่อจิตเกิด เจดสิกก็เกิด (นิจจสัญญาก็เป็นเจตสิก) เพราะฉะนั้น จิตจึง
สามารถเป็นปทัฏฐานให้กับเจตสิกทุกดวงได้ แต่ว่าท่านก็ไม่พูดเพราะถ้ามีปทัฏฐาน
อื่นที่ชัดเจนกว่าท่านก็จะไม่พูดถึงจิต ก็ต้องจำไว้บางอย่างเราอาจจะตามท่านไม่ทัน

อนิจฺจสญฺญาทุกฺขสญฺญาอสมนุปสฺสนลกฺขณา อตฺตสญฺญา,

อตฺตสญฺญา -ความสำคัญผิดคิดว่าเป็นตน ว่ามีตัวตน สามารถบังคับ
บัญชาได้ อนิจฺจสญฺญาทุกุขสญฺญาอสมนุปสฺสนลกฺขณา -มีการ ไม่พิจารณาซึ่ง
อนิจจสัญญาและทุกขสัญญาเป็นลักษณะ

อัตตสัญญามีลักษณะอย่างไรคำตอบก็คือการที่เรามองไม่เห็น อนิจฺจํ มอง
ไม่เห็น ทุกฺขํ นั่นแหละคือลักษณะของอัตตสัญญา (อย่าลืม เวลาไปอ่านพระ
ไตรปีฎกจะมีคำว่า "ยทนิจฺจํ ตททุกุขํ" อยู่ อันแสดงให้เห็นว่า ถ้าเรามองไม่เห็น
อนิจฺจํ หรือถ้ามองไม่เห็นทุกข์ ก็หมายความว่าเรามองไม่เห็นอนตุตาเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น ลักษณะของการเป็นอัตตสัญญาก็คือ การที่ไม่ได้พิจารณาถึงความ
ไม่เที่ยง ไม่ได้พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อไม่พิจารณาสามัญญลักษณะสอง
อย่างนี้ อัตตสัญญาก็เกิด หมายความว่าลักษณะอย่างนี้เป็นสิ่งที่มีอยู่ด้วยกัน
เพราะฉะนั้น การไม่พิจารณา อนิจุจํ, ทุกุขํ ก็เป็นเครื่องสังเกตให้รู้ว่า "อัตตสัญญา
มีอยู่" มันเป็นเครื่องหมายบอกว่าตราบใค ถ้าเราขังยึดมั่นว่าสิ่งนี้เป็นของเที่ยง
แล้ว ตราบนี้แลความยึดมั่นว่าตัวตนกำลังมีอยู่ แต่ถ้าพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ความเป็นทุกข์แล้วอัตตสัญญาก็จะไม่มีเหมือนกัน ตสฺสา นามกาโย ปทฏฺฐานํ

นามกาโย -กาย ในที่นี้แปลว่า กลุ่มแห่งนามธรรม ก็คือพวกเจตสิก
ปทฎฺฐานํ -เป็นปทัฏฐาน ตสฺสา อตฺตสญฺญาย แก่อัดคสัญญานั้น นามกาย หมายถึง
กลุ่มแห่งนามธรรมที่มีการยึดมั่นว่านี่คือตัวเรา นี่คือตัวของเรา นามกายนี้จะเป็น
ปทัฏฐานให้เกิดสัญญาวิปัลลาส ที่เรียกว่า อัตตสัญญา ข้อนี้ชี้ให้เห็นว่า ธรรมมี
การเกิดร่วมกัน เพราะฉะนั้น ก็เอานามธรรมที่เป็นส่วนหนึ่งซึ่งประกอบกับ
วิปัลลาสนี้แหละมาเป็นปทัฏฐาน เท่ากับว่าปทัฏฐานของอัตตสัญญา นั้นหาเหตุ
อย่างอื่นไม่ได้แล้ว จึงเอานามกายที่เกิดร่วมกับตนนั่นแหละมาเป็นปทัฏฐาน ตั้งแต่
อวิชฺชา จนถึง อตฺตสญฺญา นี้เป็นฝ่ายอกุศล เรียกว่า 'อกุสลปกฺข"

ต่อแต่นี้ไปเป็นฝ่ายกุศล 'สพฺพธมฺมสมฺปฏิเวธลกฺขณา วิชฺชา'

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร