วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2022, 10:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




GettyImages-477401521.jpg
GettyImages-477401521.jpg [ 100.86 KiB | เปิดดู 925 ครั้ง ]
ระลึกชาติขาดปัญญาเป็นมิจฉาทิฏฐิได้

การระลึกอดีตชาติได้นี้ต้องเป็นการระลึกด้วยความระมัดระวังด้วยโยนิโส
มนสิการ เพราะถ้าระลึกผิดก็ทำให้หลงผิดได้เหมือนกัน ปุพเพนิวาสานุสสตินี้ ต้อง
เป็นการระลึกอย่างผู้มีปัญญา คือ จะต้องมีการพินิจพิจารณา ก็มีทั้งให้ประโยชน์
และให้โทษ ปุพเพนิวาสานุสสตินี้ ถ้เป็นการระลึกโดยขาดปัญญาใคร่ครวญก็จะ
ทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิได้ ระลึกชาติได้มากจนมองไม่เห็นว่ามีการตาย อาจกลาย
เป็นสัสสตทิฏฐิไปเลยก็มี

โอกปฺปนลกฺขณา สทฺธา อธิมุตฺติปจุจุปฎฺฐานา จ : สทฺธา -ศรัทธา
โอกปฺปนลกฺขณา -มีลักษณะดิ่งไปในอารมณ์ด้วยความเชื่ออย่างแน่นแฟ้น อธิมุตฺติ-
ปจฺจุปฎฺฐานา -มีความมุ่งมั่นในอารมณ์เป็นปัจจุปัฎฐาน จริงๆ แล้วปัจจุปัฎฐานนี้
ก็เท่ากับอาการ ลักษณะอาการที่ปรากฏ ดูคนที่มีศรัทธาแรงกล้าจะเห็นว่า มีความ
มุ่งมั่นเพียงใด การเชื่อนั้นจะต้องมีทั้งศรัทธาและปัญญาเสมอกัน

อนาวิลลกฺขโณ ปสาโท สมฺปสีทนปจฺจุปฎฺฐาโน จ. (ความจริงแล้ว ปลาโท
กับ สทฺธา โดยทั่วไปใช้เป็นไวพจน์กัน ซึ่งก็มีความต่างกันเล็กน้อย ปสาโท คือ
ความเลื่อมใส ส่วน สทฺธา บางทีก็แปลว่าความเลื่อมใสก็ได้ แต่คำว่า สทุธา ในที่
นี้ แปลว่าความเชื่อ) ปสาโท -ความเสื่อมใส อนาวิลลกฺขโณ มีลักษณะไม่ขุ่นมัว
(มีลักษณะผ่องใส) สมฺปสีทนปจฺจุปฎฺฐาโน -มีความเสื่อมใสหรือผ่องใสเป็นอาการ
แสดงออก ถึงแม้เราจะใช้ศรัทธากับปสาทะด้วยกันเป็นศรัทธาปสาทะ แต่โดย
ความก็มีความแตกต่างกันอยู่ นั่นแสดงให้เห็นว่า เราจะต้องมีความเลื่อมใสและ
ศรัทธาจริงๆ สำหรับองค์ธรรมนั้นเป็นอันเดียวกันเพราะในเจตสิกไม่มีคำว่า
"ปสาท" มีแต่คำว่า "สทุธา" เพราะฉะนั้นปสาทก็จัดอยู่ในสทุธา แต่ถึงกระนั้นก็

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2022, 11:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




qilin.png
qilin.png [ 614.63 KiB | เปิดดู 795 ครั้ง ]
สามารถแยกออกมาในลักพณะที่แตกต่างกันดังนี้ คือ ปสาทะ เป็นคุณธรรมขั้น
พื้นฐาน แล้วจึงเข้าถึงขั้นครัทธา

อภิปตฺถิยนลกฺขณา สทฺธา ตสฺสา อเวจฺจปสาโท ปทฏฺฐานํ. สทฺธา -ศรัทธา
อภิปตฺถิยนลกฺขณา มีความเชื่อเป็นลักษณะ อเวจฺจปสาโท ความเลื่อมใสที่
ประกอบด้วยปัญญา ปทฏฺฐานํ เป็นปทัฏฐาน ตสฺสา -แก่ศรัทธานั้น

ข้อนี้แสดงว่าศรัทธามาที่หลังปสาทะ ดังนั้น จะต้องมีความเสื่อมใสแล้ว
จึงจะมีความดิ่งลงไป ถ้าว่าตามบาพีก็คือ ปสาทะ นี้ยังอ่อน (ตรุณสทฺธา) เป็นช่วง
ต้น ๆ เป็นปุพฺพภาคของศรัทธา (พลวสทฺธา) พร้อมกับมีคำคุณศัพท์กำกับไว้ด้วย
ว่า อเวจฺจปสาท เชื่อด้วยความพินิจพิจารณาเชื่อด้วยปัญญา จึงจะเป็นปทัฏฐานให้
เกิดศรัทธาได้ ดังนั้น หากไม่ใช่ อเวจฺจปสาท ไม่ใช่ความเลื่อมใสด้วยปัญญา แล้ว
ก็ไม่อาจทำให้ศรัทธาเกิดขึ้น

อนึ่ง เนื่องจากศรัทธานั้นเป็นกุศล ฉะนั้น ความเสื่อมใสด้วยปัญญา จึง
เป็นปทัฏฐานที่ทำให้ศรัทธาที่แท้จริงเกิด ดังนั้น ศรัทธาในที่นี้จึงหมายถึง ศรัทธา
แท้ไม่ใช่ศรัทธาเทียม เราคงเคยได้ยินว่า คนมีศรัทธาถวายทาน ถวายไทยทานบาง
ทีก็พูดไปอย่างนั้นแหละ แต่ถ้าลองพิจารณาจริง ๆ แล้ว อาจจะไม่ใช่ศรัทธาก็ได้

ศรัทธาพาจิตผ่องใส

อนาวิลลกฺขโณ ปสาโท, ตสฺส สทฺธา ปทฎฺฐานํ. ปสาโท -ปสาทะ (ความ
เลื่อมใส) อนาวิลลกฺขโณ มีลักษณะไม่ขุ่นมัว (มีลักษณะผ่องใส) สทฺธา -ศรัทธา
ปทฏฺฐานํ เป็นเหตุปทัฏฐาน ตสฺส ปสาทะนั้น ข้อนี้แสดงว่าเป็นอัญญมัญญปัจจัย
หรือ ? ที่กล่าวแล้วปสาทะเป็นเหตุให้เกิดศรัทธา แต่ในประโยคนี้ กลับพูดว่า
ศรัทธาเป็นเหตุให้เกิดปสาทะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร