วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 18:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2022, 06:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




2019-04-22_182133.jpg
2019-04-22_182133.jpg [ 56.69 KiB | เปิดดู 626 ครั้ง ]
โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๒ สัมมัปปธาน ๔

สมฺมา ปทหนฺติ เอตนาติ สมฺมปฺปธานานิ ฯ ธรรมที่เป็นความเพียรพยายาม
กระทำโดยชอบนั้น ชื่อว่า สัมมัปปธาน
สัมมัปปธาน กล่าวโดยความหมายที่ง่ายแก่การจดจำก็ว่า ตั้งหน้าทำชอบ คือ
เพียรพยายามกระทำการงานที่ชอบธรรม
ความเพียรพยายามทำชอบที่จะจัดว่าถึงสัมมัปปธานนั้น ต้องประกอบด้วย

ก, ต้องเป็นความเพียรพยายามอันยิ่งยวด แม้ว่า เนื้อจะเหือดเลือดจะแห้งไปคงแต่
หนัง เอ็น กระดูกก็ตาม ตราบใดที่ยังไม่บรรลุถึงธรรมอันพึงถึงได้ ก็จะไม่ท้อถอยจากความ
เพียนนั้นเป็นอันขาด

ข. ต้องเป็นความเพียรพยายามอันยิ่งยวดในธรรม ๔ ประการ จึงจะได้ชื่อว่า ตั้งหน้า
ทำชอบในโพธิปักขิยธรรมนี้ ธรรม ๔ ประการที่ว่านี้ได้แก่

๑, อุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ ปหานาย วายาโม ฯ เพียรพยายามละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้หมดไป
๒. อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ อนุปฺปาทาย วายาโมฯ เพียรพยายามไม่ให้อกุศล-
ธรรมที่ยังไม่เกิด ได้เกิดขึ้น
๓. อนุปฺปนฺนานํ กุสลานํ อุปฺปาทาย วายาโม ฯ เพียรพยายามให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
๔. อุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ภิยุโย ภาวาย วายาโม " เพียรพยายามให้กุศลธรรมที่
เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ด้วยเหตุว่า ต้องเพียรพยายามอย่างยิ่งยวดในธรรม ๔ ประการ จึงได้ชื่อว่า สัมมัป-
ปธาน ๔

มีข้อที่ควรจะได้กล่าวไว้ในที่นี้แต่เพียงประการเดียวว่า อกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมล่วงเลย
ไปแล้ว จะละคือประหารเสียได้อย่างไร

จริงอยู่ อกุคลที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปแล้ว การที่จะลบล้างอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้สูญสิ้น
ไป ย่อมไม่ใช่สิ่งที่จะกระทำได้ การเพียรพยายามละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไปนั้น ในที่นี้มี
ความหมายว่า อกุศลใด ๆ ที่เคยได้ทำแล้วก็จงอย่าไปนึกไปติดถึงอกุศลนั้น ๆ อีก เพราะว่า
การคิดการนึกขึ้นมาอีกย่อมทำให้จิตใจเศร้าหมอง อันจะก่อให้เกิดความโทมนัส เดือดร้อน
กระวนกระวายใจไม่มากก็น้อย เมื่อจิตใจเศคร้าหมองเดือดร้อน นั่นแหละได้ชื่อว่าจิตใจเป็นอกุศล
แล้ว ฉะนั้นในประการต้น จะต้องไม่คิดไม่นึกถึงอกุศลที่ได้เคยทำมาแล้ว คือ ละเสีย ลืมเสีย ไม่
เก็บมานึกคิดอีก จิดใจก็จะไม่เศร้าหมอง ประการต่อมา เมื่อจิดใจผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมองแล้ว ก็
ตั้งใจให้มั่นว่าจะไม่กระทำการอันใดที่เป็นอกุศลอีก ดังนี้จึงได้ชื่อว่าเพียรพยายามละอกุศลที่
เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป ทั้งนี้มีมาใน วิภังคอรรถกฤา แห่ง ส้มโมหวิโนทนี

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า อกุคลที่ได้กระทำมาแล้วนั้น ที่ได้ผลแล้วก็มี ที่ยังไมให้ผลเพราะยัง
ไม่มีโอกาสก็มี ที่จะอันตรธานสูญหายไปเองนั้นไม่มีเลย แต่ถ้าในชาติใดมีความสามารถ
ประหารสักกายทิฏฐิไต้ด้วยสัมมัปปธานทั้ง ๔ นี้แล้ว ชาตินั้นแได้ประหารได้ละอกุศลที่
เคยทำมาแล้วได้สิ้นเชิง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2022, 07:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220610_054621.gif
20220610_054621.gif [ 4.22 MiB | เปิดดู 613 ครั้ง ]
องค์ธรรมของสัมมัปปธาน
องค์ธรรมของสัมมัปปธานทั้ง ๔ นี้ได้แก่ วิริยเจตสิก
ตามสัมปโยดนัย วิริยเจตสิกประกอบกับจิตได้ ๗๓ หรือ ๑๐๕ ดวง (เวันอวีริยจิต ๑๖)
แต่วิริยเจตสิกที่เป็นสัมมัปปธานได้ เฉพาะที่ประกอบกับกุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗
เท่านั้น คือ มหากุสลญาณสัมปยุตตจิต ๔. มหัคคตกุสล ๙ มัคคจิต ๔

ส่วน วิริยเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒ ที่ในอเหตุจิต ๒ (คือ มโนทวาราวัชชนจิต ๑
หลิตุปปาทจิต ๑) ที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตตจิต ๔ ที่ในมหาวิบากจิต ๘ ที่ไนมหากิริยาจิต ๘
ที่ในมหัดคดวิบากจิต ๙ ที่ในมหัคคตกิริยาจิต ๙ และที่ในผลจิต ๔ รวม ๕๖ ควงนี้ ไม่
นับเป็นสัมมัปปธาน เพราะ

ก. วิริยเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒ เป็นสัมมัปปธานไม้ได้ เพราะสัมมัปปธานหมาย
ความว่า การพยายามโดยชอบธรรม แต่อกุสลจิตหาใช่ธรรมที่ชอบไม่
ที่ในอกุสลจิตจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้ แต่เรียกได้ว่าเป็น มิจฉาปธาน

ข. วิริยเจตสิกที่ในมโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะมโนทวา-
ราวัชชนจิตไม่มีหน้าที่ทำชวนกิจประการหนึ่ง และเป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุดดเหตุเลยอีกประการ
หนึ่ง ความเพียรพยายามนั้นจึงมีกำลังอ่อนไม่เรียกว่าเป็นความพยายามอันยิ่งยวด

ค. วิริยเจตสิกในที่หสิตุปปาทจิต ๑ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิดดวงนี้เป็นจิต
ยิ้มแย้มของพระอรหันต์ การยิ้มแย้มของพระอรหันเป็นแด่เพียงกิริยา หาได้มีการละอกุศล
หรือเจริญกุศลแต่อย่างใดไม่ ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้

ง. วิริยเจตสิกที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตต ๔ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิดที่ไม่
ไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็ย่อมมีความเพียรความพยายามน้อยเป็นธรรมดา ไม่มากจนถึงกับ
เรียกว่าเป็นอย่างยิ่งยวดได้ แะถ้าหากว่าจะเกิดมีความเพียรพยายามเป็นอย่างยิ่งยวดขึ้นมา
แต่เมื่อไม่ประกอบด้วยปัญญาแล้วไซร้ ก็ไม่สามารถที่จะรู้อริยสัจ ๔ ได้ ดังนั้นจึงเป็น สัมมัป-
ปธานไม่ได้

แต่อีกนัยหนึ่งก็แสดงว่า วิริยเจตสิกที่ในมหากุสญาณวิปปยุดต ๔ ก็เป็นสัม-
มัปปธานได้ เพราะจิดที่เป็นมหากุสลญาณวิปปยุตตที่ได้เกิดขึ้นในขณะเจริญสติปัฏฐาน ก็

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2022, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220609_110659.gif
20220609_110659.gif [ 2.03 MiB | เปิดดู 613 ครั้ง ]
นับว่าเป็นสติปัฏฐานใด้งกล่าวแล้วตอนแสดงองค์ธรรมของสติปัฏฐานนั้น เมี่อเป็นเช่นนี้
วิริยะที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตตจิต ๔ อันเกิดขึ้นในขณะเจริญสติบัฏฐาน ก็ควรนับเป็น
สัมมัปปธานได้โดยทำนองเดียวกัน ส่วนที่จะบังเกิดผลเพียงใดหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ต่างหาก

จ. วิริยเจตสิกที่ในมหาวิบากจิต ๘ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะวิบาก
ชวนจิต จึงไม่มีหน้าที่ทำการละอกุศล ไม่ก่ออกุศล ทำกุศลและเจริญกุคล รวม ๔ อย่าง นั่น
อันเป็นกิจการงานโดยเฉพาะของสัมมัปปธาน มหาวิบากจิตมีหน้าที่ทำแต่ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ.
จุติกิจ และตทาลัมพนกิจเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้

ฉ. วิริยเจตสิกที่ในมหากิริยาจิต ๘ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิดทั้ง ๘ ดวงนี้
เป็นจิตของพระอรหันต์ ซึ่งเรียกว่า อเสกขบุคคล คือ บุคคลผู้จบการศึกษาแล้ว ละกิเลสได้
เป็นสมุจเฉทปหาน ไม่มีอกุศลใดที่จะต้องละ ต้องระวังอีก รวมทั้งไม่มีกุศลใดที่จะต้องก่อ จะ
ต้องรักษาให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกแล้ว รวมความมหากิริยาจิตไม่ต้องทำหน้าที่การงานของ
สัมมัปปธานนั้นเลย ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ใด้

ช. วิริยเจตสิกที่ในมทัคคตวิบากจิต ๙ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิตทั้ง ๙
ดวงนี้ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ โดยเฉพาะเพียง ๓ อย่างนี้เท่านั้น ไม่มีหน้า
ที่ในชวนกิจเลย จึงไม่มีหน้าที่ทำการ ละอกุศลไม่ก่ออกุศล ทำกุคล และเจริญกุศลทั้ง ๔
อย่างนี้แต่อย่างใดเลย
เมื่อไม่มีหน้าที่ทำกิจการงานของสัมมัปปธาน จึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้

ช. วิริยเจตสิกที่ในมหัคคตกิริยาจิต ๙ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิต ๙ ดวงนี้
เป็นจิตของพระอรหันต์ เมื่อเป็นจิตของพระอรหันต์ ก็มีเหตุผลดังกล่าวมาแล้วในมหากิริยา
จิดนั้น ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้

ญ. วิริยเจตสิกที่ในผลจิต ๔ (หรืออย่างพิสดาร ๒๐) เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะ
ผลจิตไม่ได้เป็นผู้กระทำ ละอกุศล ไม่ก่ออกุศลไม่ทำกุศล และเจริญกุศล อันเป็นหน้าที
การงานโดยเฉพาะของสัมมัปปธานแต่อย่างใด ๆ เลย เป็นแต่เพียงผู้รับผลเสวยผลที่มัดด-
จิตได้กระทำการงาน ทั้ง ๔ นั้นมาให้แล้ว เมื่อไม่ได้ทำหน้าที่ของสัมมัปปธานเลย จึงเป็น
สัมมัปปธานไม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร