วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2022, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




53902018-round-stage-podium-pedestal-isolated-on-white-background-illustration-.jpg
53902018-round-stage-podium-pedestal-isolated-on-white-background-illustration-.jpg [ 17.14 KiB | เปิดดู 691 ครั้ง ]
ฐานขององค์ธรรมแห่งโพธิปักขิยสังคหะ

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีองค์ธรรมเพียง ๑๔ องค์ ดังได้กล่าวแล้วบ้างต้น
บัดนี้จะแสดงฐานขององค์ธรรมทั้ง ๑๔ นั้น

ฐาน แปลว่า ที่ตั้ง หรือ ตำแหน่ง จึงมีความหมายว่า องค์ธรรม ๑๔ องค์นี้
แต่ละองค์เป็นโพธิปักชียธรรม ๓๗ ประการนั้นได้ก็ตำแหน่ง หรือมีที่ตั้งกี่แห่ง คือเป็นได้
ฐาน ฐานใดบ้าง มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๘ แสดงว่า

สงฺกปฺปปสฺสทฺธิ จ ปีตุเปกฺขา
ฉนฺโท จ จิตฺตํ วิรติตฺตยญฺจ
นเวก งานา วีวิยํ นวฏฺฐ
สติ สมาธิ จตุ ปญฺจ ปญฺญา
สทฺธา ทุฐานุตฺตมํ สตฺตตึส '
ธมฺมานเมโส ปวโร วิภาโค ฯ


แปลความว่า สัมมาสังกัปปะ ๑, บัสสัทธิ ๑. ปิติ ๑. อุเบกขา ๑, ฉันทะ ๑, จิตตะ ๑. และ
วีรตี ๓ รวมเป็นธรรม ๙ ประการนี้ มีฐานอันหนึ่ง ๆ

ส่วนวิริยะมี ๙ ฐาน, สติมี ๔ ฐาน, สมาธิมี ๔ ฐาน, ปัญญามี ๕ ฐาน และสัทธามี ๒ ฐาน
นี่เป็นการจำแนกโดยละเอียดแห่งธรรม ๓๗ ประการอันอุดม
มีความหมายดังต่อไปนี้

๑. สัมมาสังกัปปะ องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก มีฐานเดียว คือ สัมมาสังกัปปะ
๒, ปัสสัทธิ องค์ธรรมได้แก่ ปัสสัทธิเจตสิก มีฐานเดียว คือ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๓. บีติ องค์ธรรมได้แก่ ปีติเจตสิก มีฐานเดียว คือ บีติสัมโพชฌงค์
๔. อุเบกขา องค์ธรรมได้แก่ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก มีฐานเดียว คือ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
๕. ฉันทะ องค์ธรรมได้แก่ ฉันทเจตสิก มีฐานเดียว ฉันทิทธิบาท
๖, จิตตะ องค์ธรรมได้แก่ จิต มีฐานเดียว คือ จิตติทธิบาท
๗. วิรตี ๓ องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตเจตสิก และสัมมา-
อาชีวเจตสิกมีฐานองค์ละฐานเดียว คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ตามลำดับ
๘. วิริยะ องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก มี ๙ ฐาน คือ สัมมัปปธาน ๔ ฐาน, วิริยิทธิบาท
๑ ฐาน วิริยืนทรีย์ ๑ ฐาน,วิวิยพละ ๑ ฐาน, วิริยสัมโพชฌงค์
๑ ฐาน สัมมาวายามะ ๑ ฐาน
๙. สติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก มี ๘ ฐาน คือ สติปัฏฐาน ๔ ฐาน, สตินทรีย์ ๑ ฐาน.
สติพละ ๑ ฐาน, สติสัมโพชฌงค์ ๑ ฐาน และสัมมาสติ ๑ ฐาน
๑๐. สมาธิ องค์ธรรมใด้แก่ เอกัคดตาเจตสิก มี ๔ ฐาน คือ สมาธินทรีย์ . สมาธิพละ
สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ และ สัมมาสมาธิ
๑๑. ปัญญา องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก มี ๕ ฐาน คือ วิมังสิทธิบาท ๑, บัญญินทรี
ปัญญาพละ ๑, วิจยสัมโพชฌงด์ ๑ และสัมมาทิฏฐิ ๑
๑๒. สัทธา องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก มี ๒ ฐาน คือ สัทธินทรีย์ · และ สัทธาพละ.

สีแดงเจตนาบ่งบอกถึง โพชฌงค์ ๗
อิทธิบาท ๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร