วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2022, 06:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




nak-768x658.png
nak-768x658.png [ 208.44 KiB | เปิดดู 612 ครั้ง ]
โมหะทำให้เกิดความกลัว
ถามว่า - ภยาคติมีโมหะเป็นสมุฏฐานอย่างไร ? วุตฺตํ คำที่อาจารย์เนตติ

กล่าว อิติ ว่า "ยํ ภยา จ โมหา จ อคติ กจฺฉติ, อิทํ โมหสมุฏฺฐานํ" ภยาคติ ..
มีโมทะเป็นสมุฏฐานนั้น เพราะว่า โมหวเสน สภาวํ อชานนุตสฺส ภยสมฺภวโต
เพราะความกลัวอาจเกิดขึ้นได้แก่บุคคลผู้ไม่รู้สภาวะด้วยอำนาจของโมหะ
ประโยกข้างต้นนี้ท่านให้เหตุผลว่าที่ภยาคติมีโมหะเป็นสมุฏฐานนั้น
เพราะว่าความกลัวนี้สามารถเกิดขึ้นกับบุคคลที่ไม่รู้ความจริง นั่นหมายความว่า
โมหะ ทำให้ไม่รู้ความจริง การไม่รู้ความจริงสามารถที่จะทำให้เกิดความกลัวได้
ดังนั้น ภยาคติ จึงกล่าวได้ว่ามีโมนะเป็นสมุฏฐาน
คำกล่าวท่านในที่นี้แสดงว่าเป็นการกล่าวโดยอ้อม เพราะจริงๆ แล้ว

ความกลัวจะต้องมีโทสะเป็นสมุฏฐาน แต่ว่าในที่นี้กลับบอกว่ามีโมหสมุฎฐาน
จะอย่างไรก็ตามหากมองในแง่ของการสัมปยุตในจิตแล้วอาจบอกได้ว่า เป็นคำ
กล่าวโดยตรงก็ได้ เพราะว่า โมหะ นั้นประกอบในอกุสลจิตทั้งปวง แต่ที่เรายัง
สงสัยกันนั้นก็คือว่าทำไมตรงนี้ท่านจึงเน้นโมหะ ? ต่อคำถามข้อนี้ พึงทราบว่า
ฎีกาจารย์ท่านให้เหตุผลว่า โมหวเสน สภาวํ อชานนฺตสฺส ภยสมฺภวโต คนที่ไม่รู้
ความจริงย่อมเกิดความกลัวได้ ในทางโลกเราก็พอจะนึกออกใช่ไหม ถ้าเราอยู่ใน
ความมืดที่เราไม่รู้ว่ามีอะ ไรอยู่ ในที่นั้นก็อาจจะเกิดความกลัวได้ นี้ก็ถือว่ามีโมหะ
เป็นสมุฐาน เพราะฉะนั้น คำว่า ภยาคติ จึงจัดอยู่ใด้ในธรรมที่มีโมหเป็น
สมุฏฐ าน แต่จริงๆ แล้ว พึงทราบว่า กยาคติ นี้มีโทสะเป็นสมุฏฐานโดยตรง ที่
ผ่านมาเมื่อสักครู่นี้ได้พูดถึงอกุศลไปแล้ว บัดนี้ จะขอกลับวกมาที่ฝ่ายกุศลบ้าง
เพื่อจะได้รอบรู้ว่าสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์กับฝ่ายของกุศลนั้นมีอะไรบ้าง อันนี้เรียกว่าเป็น
ลักษณะของการใช้อาวัฏฏหาระเพื่อหมุนกลับ คือ อธิบายเบบเชื่อมโยงจากสิ่งที่
เป็นอกุศลมาเป็นกุศล เป็นการอธิบายแบบกลับไปกลับมาอย่างนี้ เพื่อให้ปัญญา
ของผู้ศึกษาธรรมมีวิสัยทัศน์ กว้างเพื่อจะได้ตามทันว่าพระพุทธองค์ทรงหมายถึงอะไร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร