วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2022, 07:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




598aa77c4a4709f3752f16d0d47a41ef_55s51_1569.jpg
598aa77c4a4709f3752f16d0d47a41ef_55s51_1569.jpg [ 73.78 KiB | เปิดดู 672 ครั้ง ]
อสุภะชนะตัณหา, เมตตาชนะโทสะ, ส่วนโมหะชนะด้วยปัญญา

ตตฺถ โลโภ อสุภาย ปหียติ. โลภะย่อมหายไปด้วยอสุภะ (หมายความว่า
บุคคลละดัณหาด้วยอสุกก้มมัฏฐาน)

โทโส เมตฺตาย โทสะละด้วยมตตา โมโห ปญฺญาย โมหะละด้วยปัญญา
อันนี้แสดงถึงการละประเภทหนึ่ง

ต่อไปนี้เป็นการแสดงอีกอย่างหนึ่ง โดยการเอาพรหมวิหารมาใช้ในการ
ละ หมายความว่า บุคคลสามารถประพฤติพรหมวิหารเพื่อสามารถที่จะละอคติ
ได้ ถ้ำเราไม่อยากมือคติไม่มีความลำเอียง ก็สามารถที่จะไช้อสุภกัมมัฏฐานทำ
การละฉันทาคติได้ เอาเมตตาไปละโทสาคติ เอาปัญญาไปละโมหคติ และ
ภยาคติได้ ในกรณีที่พูดถึงเรื่องอคตินี้จำเป็นต้องมีภยาคติคู่กับโมหาคติด้วย เนื่อง
จากว่า โมหะนี้ท่านหมายเอาทั้ง ภยาคติ และ โมทคติ

อีกนัยหนึ่ง ตตฺถา โลโภ อุเปกฺขาย ปหียติ. โลภ หรือ ฉันทาคติ ละได้
ด้วย อุเบกขา ความวางเฉย ความยุติธรรม (อุเบกขานี้เป็นหนึ่งในพรหมวิหาร)

โทโส เมตฺตาย จ กรุณาย จ. เมตตา และกรุณา ละโทสาคติ

โมโห มุทิตาย ปหานํ อพฺภตฺถํ กจฺฉติ. โมโห โมหะ กจฺฉติ ย่อมถึง ปหาน่
ซึ่งการละ อพฺภตฺถํ กล่าวคือ การดับไป มุทิตาย ด้วยมุทิตา (เมตตา กรุณา มุทิตา)
อุเบกขา อันนี้เรียกว่า พรหมวิหาร๔ ใช้ในการละอคติ๔) โมหาคติและภยาคติละ
ด้วยมุทิตา (ฉันทะ ก็คือโลภะ เพราะที่ผ่านมาท่านบอกว่า ฉันทาคติ มีโลภะเป็น
สมุฏฐาน เพราะฉะนั้น เมื่อพูดถึงการละสมุฏฐาน ธรรมะตัวที่ผลอย่างเช่น อคติ
ก็พลอยหายไปโดยปริยาย เป็นการพูดการละต้นตอ ไม่ใช่ไปละที่ผล
ดังนั้น เราจึงควรไปละที่เหตุก่อน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2022, 14:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




468 (1).png
468 (1).png [ 87.23 KiB | เปิดดู 509 ครั้ง ]
ชนะโมหะคือ "รากเหจ้าของความไม่ผาสุข" ด้วย มุทิตา

อนึ่ง โมหะเป็นเหตุของภยาคติ และโมหาคติ บุคคลละภยาคติด้วยมุทิตา
(ความพลอยยินดี) อย่างนี้ท่านเรียกว่ามุทิตา ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดอรติ
"ความไม่ยินดี" สงบลง เพราะฉะนั้น มุทิตา จึงสามารถละโมหะซึ่งเป็นรากเหง้า
ของความไม่ผาสุข อันนี้เป็นการพูดถึงรากเหง้าจริง ๆ ก็แล มุทิตานี้เป็นเหตุทำให้
ความไม่ยินดี ความไม่เป็นสุข หรือความเดือดร้อน สงบลง ดังนั้น จึงสามารถละ
โมหะที่เป็นรากเหง้าของความไม่สงบนั้นได้ มุทิตานี้เป็นความยินดี หมายถึง ยิน
ดีในความสุขของบุคคลอื่น

ในอรรถกถาท่านอธิบายไว้ว่า ธรรมชาติของมุทิตาคือการทำให้ความเร่า
ร้อน ความกระวนกระวาย หรือว่าความไม่พอใจสงบลง ถ้าคนเราไม่มีมุทิตา ก็จะ
ทำให้เกิดความไม่พอใจ ลักษณะเช่นนี้ ท่านเรียกว่าคนไม่มีมุทิตา แต่เมื่อใดที่เรา
มีมุทิตา เมื่อนั้นความไม่พอใจก็จะเหือดหายไป

ในขณะที่มุทิตาเกิดขึ้น อรติ ความไม่พอใจ ก็จะหายไป ตรงนี้ท่านถือว่า
เป็นการละโมหะไปด้วย ซึ่งเป็นการพูดโดยอ้อม ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงบอกว่าโมหะ
เป็นมูลเหตุของอรติ เมื่อละอรติได้ ก็ชื่อว่าละโมหะไปด้วย อัฎฐกถาท่านอธิบาย
ให้เหตุผลว่าในฐานที่มุทิตาละอรติโคยตรงจึงพลอยได้ชื่อว่า ละโมหะ ซึ่งเป็นมูล
เหตุของอรตีนั้นด้วย พระอาจารย์กัจจายนะจึงได้กล่าวว่า "โมหะดับเพราะมุทิตา
ถ้าเราดูไม่เป็นหรือเข้าใจก็จะมองว่าขัดกับหลักพระอภิธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร