วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 03:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2022, 06:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




6249999_orig.gif
6249999_orig.gif [ 74.87 KiB | เปิดดู 664 ครั้ง ]
พระพุทธเจ้าเทศน์อะไร
เ๙] สายํ ธมฺมเทสนา กี เทสยติ, จตฺตาริ สจฺจานิ ทุกขํ
สมุทยํ นิโรธ มคฺคํ อาทีนโว จ ผลญฺจ ทุกขํ, อสฺสาโท สมุทโย,
นิสฺสรณํ นิโรโธ, อุปาโย อาณตฺติ จ มคฺโค อิมานิ จตฺตาริ
สจฺจานิ อิทํ ธมฺมจกฺก.

สายํ ธมฺมเทสนา ธรรมเทสนานั้น (คำว่า นั้นㆍ สื่อถึง
ธมฺมํ ที่มีอยู่ในข้อที่ ๕ ของเนตฺติ เปฎโก หน้า ๗ เป็นการ
ย้อนกลับไปในข้อที่ ๕ จึงต้องใช้คำว่า นั้น ' เป็นตัวสื่อ] เทลยดิ
ย่อมแสดง กี อะไร ? (พระธรรมเทสนาของพระพุทธองค์แสดง
อะไร ?) เป็นการย้อนถามไปที่พระพุทธดำรัสที่ว่า "ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลายเราจักแสดงธรรมแก่พวกเธอ"

คำว่า "ธรรม " ในที่นั้นเผยให้เห็นถึงอะไรบ้าง (ธรรม
แสดงอะไร) ข้อนี้อาจารย์กัจจายนะถามเองตอบเองซึ่งคำถาม

ประเภทนี้มีชื่อทางบาฬิว่า กเถตุกมฺยตาปุจฺฉา' (ถามเพื่อตอบ)
ประ โยค สายํ ธมุมเทสนา กี เทสยติ เรียกว่าเป็นกเถตุกมุยตา-
ปูจฺฉา ถามว่า - สายํ ธมฺมเทสนา ธรรมเทสนานั้น เทสยติ ย่อม
แสดง กึ อะไร ? ตอบว่า - สายํ ธมฺมเทสนา ธรรมเทสนานั้น
ทสยติ ย่อมแสคง จตฺตาริ สจฺจานิ สัจจะทั้งหลาย ๔ คือ ทุกฺขํ
ทุกข์สัจ สมุทยํ สมุทยสัจ นิโรธ นิโรธสัจ มคฺคํ มรรคสัจ นี้คือ
คำตอบ หมายความว่า ธรรมเทสนาของพระพุทธเจ้านั้นแสคง
อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นี้เป็นคำตอบที่เป็น
แก่นธรรม กล่าวคือ อริยสัจ ๔ ก็อริยสัจ ๔ นี้เรียกว่า สามุกํสิก-
เทสนา เป็นธรรมจักร ต่อไปเรียกว่าเป็นการจับคู่ หรือจัคธรรม
เทสนาอริยสัจ ๔ นี้มาเข้ากับเทสนาหาระในเนตดินี้ อาทีนโว จ
ผลญฺจ ทุกฺขํ, อสฺสาโท สมุทโย, นิสฺสรณํนิโรธ, อุปาโย อาณตฺติ
จ มคฺโค. อิมานิ จตฺตาริ สจฺจานิ : อาทีนโว จ - อาทีนวะ
ผลญฺจ ผล ทุกฺขํ เรียกว่าทุกขสัจ, อสฺสาโท อัสสาทะ สมุทโย
เรียกว่า สมุทยสัจ, นิสฺสรณํ นิสสรณะ นิโรโธ เรียกว่า
นิโรธสัจ,อุปาโย อาณตฺติ จ อุปายะและอาณัตติ มคฺโค เรียกว่า
มรรคสัจ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2022, 07:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Meesu village women kniting berra bihar Our Vision.png
Meesu village women kniting berra bihar Our Vision.png [ 420.53 KiB | เปิดดู 631 ครั้ง ]
อิมานิ สี่อย่างเหล่านี้ จตฺตาริ สจฺจานิ เรียกว่า อริยสัจ ๔
อิทํ ธมฺมจกฺก๋ นี้เรียกว่า ธรรมจักร

จริง ๆ แล้วโดยทั่วไปเทสนาของพระพุทธเจ้าที่แสดงเกี่ยวกับอริยสัจ ทั้งหมด
สามารถ เรียกว่า ธรรมจักรได้หมด แต่ว่าที่เราทราบในนามว่าธรรมจักรนั้นคือ
เทสนาที่แสดงครั้งแรก เรียกว่า 'ธัมมจักกัปปวัดตนสูตร' ที่ทรงแสดงเป็นปฐม
เทสนา ก็แลการที่เรียกว่า 'ธรรมจักร' ก็เพราะว่าเทสนานั้นเปิดเผยธรรมจักรให้
ชัดกว่าที่อื่น ๆ จะแสดงเกี่ยวกับเรื่องธรรมจักรโดยตรง เพราะฉะนั้น จึงเรียก

ปฐมเทสนาว่า 'ธัมมจักกัปปวัดตนสุตร' ซึ่งจริงๆ แล้วธรรมเทสนาอื่น ๆ ก็เรียก
ธรรมจักรเหมือนกัน ที่เรียกว่า ธรรมจักร* เพราะว่าแสดงอริยสัจสี่ ในอริยสัจสี
นั้นท่านจะนำมาจำแนกว่าอันไหนเป็นโทมนัส ทุกขสัจ จัดเป็นโทษ (อาทีนว) และ
ผล (หมายถึง ผลของเทสนา การ ได้นอกจากการบรรลุแล้ว ผลอื่น ๆ ท่านเรียกว่า
*ทุกขสัจ' คังนั้น ผลของเทสนามีการไปเกิดบนสวรรค์ เกิดสุดติภพ เป็นต้น นี้ก็
จัดอยู่ในทุกขสัจ

ส่วน อสฺสาท องค์ธรรมหมายถึง สุข, โสมนัส, อิฎฐารมณ์ โคยทั่วไป
อสุลาทในที่นี้คือตัณหา โลภ โลภะเป็นสมุทยะ ฉะนั้น ก็เท่ากับว่าพระพุทธเจ้า
แสดงอสฺสาท ด้วยคำว่า สมุทยสจฺจํ ในธรรมจักรนั้น, นิสฺสรณ นำออกจากวัฏฏ
นิโรธ หมายถึงนิพพาน ในที่นี้ท่านนำเอานิพพานเป็นนิสฺสรณ อุปาย อุบายวิธีการ
หรือแนวทาง อาณัตติคำสั่งของพระพุทธองค์ว่าจงปฏิบัติอย่างนี้ อันนี้จัดเป็น
มรรคสัจ มรรคสัจไม่ใช่ว่ามรรคอย่างเดียว ถ้ารวมแล้ววิปัสสนาก็ถือว่าเป็นมรรค
เพราะว่าเป็นปุพฺพภาค ปฏิปทา อาณัตติ ก็เหมือนกับเชิงบังคับของพระพุทธเจ้า
อันนี้เป็นการสงเคราะห์เทสนาหาระเจ้าในอริยสัจ ๔ ก็จำไว้ว่าอันไหนคือทุกขสัจ
อันไหนคือ สมุทยสัจ ถ้าเรารู้แบบนี้แล้ว เวลาไปดูพระสูตรอื่น ๆ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้
จัดไว้ให้เห็นเราก็สามารถจัดเองได้ สามารถบอกได้ว่าอันไหนคือโทษ คือผล คือ
ตัวเหตุ อย่างนี้ อิมานิ จตฺตาริ สจฺจานิ ถือว่าเป็นคำสรุปท้าย เป็นคำลงท้าย บาฬี
เรียกว่า นิคมน คำลงท้าย หรือว่าคำสรุป ว่าที่แสดงมานี้แหละ ว่าที่กล่าวมานี้
แหละ เรียกว่า อริยสัจ ๔ อิทํ ธมฺมจกฺกํ เป็นการสรุปรวบยอด ธมฺมจกฺก คำว่า
ธมฺม ก็คือ ธรรม ส่วนคำว่า จกฺก ก็มีความหมายมาก แต่ในที่นี้คือ ธรรม เรียกว่า
สิ่งที่หมุนไปเหมือนกับจักร การแสดงธรรมพระพุทธองค์ก็จะทรงแสดงไปตาม
ลำดับเหมือนกับจักรหมุน นี้ก็เรียกว่า 'ธรรมจักร' คำว่า ธมฺมจกฺก ท่านตีความไว้
หลายนัย แต่สรุปแล้วก็ถือว่า ธมฺมจกฺก มีองค์ธรรมอันเดียวกันคือธรรมเทสนา
นั่นก็คือ อริยสัจ ๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2022, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Village_Institutions_img.png
Village_Institutions_img.png [ 57.38 KiB | เปิดดู 627 ครั้ง ]
ต่อไปเป็นการยกหลักฐานให้เห็น

ยถาห ภควา:- "อิทํ ทุกขนฺ"ติ เม ภิกฺขเว พาราณสิยํ
อิสิปตเน มิคทาเย อนุตฺตรํ ธมฺมจกฺกํ ปวตฺติต่ อปฺปฏิวตฺติยํ
สมเณน วา พุราหฺมเณน วา เทวน วา มาเรน ว่า พฺรหมุนา
วา เกนจิ วา โลกสฺมี, สพฺพํ ธมฺมจกฺกํ.
(วิ. มหา ๔/๑๓-
๑๗ ๑๓ ๑๖, ส้มหา. ๑๕ ๑๐๘๓)

ยถา ภควา ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมจักร
อันประเสริฐที่สมณะ พราหมณ์ เทพเจ้า หรือ เทวดา มาร พรหม (เทวในที่นี้ มิได้
หมายเอา มาร พรหม ซึ่งจริง ๆ แล้ว ทั้งเทพ ทั้งมาร ทั้งพรหม ก็ล้วนแต่เป็น
เทวดาทั้งนั้น แต่ว่าเมื่อมีการแสดงแยกกันทีละศัพห์อย่างนี้ ก็ต้องแยกถือเอาด้วย
คำว่าเทพ จึงไม่ได้หมายเอาทั้งหมด แด่หมายถึงเฉพาะกามาวจรเทพ เทพชั้น
กามาวจร เพราะฉะนั้นเทวในที่นี้จึงยกเว้น มารและพรหม)

ธรรมะที่ใคร ๆ ในโลกไม่สามารถปฏิเสธได้ อปุปฏิวดุติย์ คือไม่สามารถ
ที่จะคัดค้านได้ ธรรมจักร ของพระพุทธเจ้าไม่มีไครที่จะสามารถคัดด้านได้ ไม่ว่า
สมณะ พราหมณ์ เทพ มาร พรหม ก็ล้วนแต่ยอมรับ

เราได้แสดงไว้แล้วที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขดกรุงพาราณสี มีคำเป็นต้น
ว่า "อิทํ ทุกขํ" ทั้งหมดนี้เรียกว่า 'ธรรมจักร' ข้อความนี้พระพุทธเจ้าตรัสเอง
หมายความว่า เป็นธรรมจักรซึ่งแสดงไว้เมื่อตอนที่ตรัสรู้ครั้งแรก เรียกว่า ปฐม
โพธิกาล นี้แหละที่เรียกว่า ธรรมจักรอย่างแท้จริง เพราะว่าเป็นเทสนาที่เผยให้
เห็นอริยสัจ ๔ ชัดกว่าเทสนาอื่น ๆ

ต่อไปจะเป็นการขยายความในเทสนาที่แสดงอริยสัจ ๔ นั้น คือ ที่ท่าน
ย้อนกลบมาอีกก็เพื่อที่จะอธิบายธรรมเทสนาที่พระพุทธเจ้าแสดงนั้นว่าสมบูรณ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2022, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




download-african-people-png-african-people-cut-out-png-image-with-no-background-pngkeycom.png
download-african-people-png-african-people-cut-out-png-image-with-no-background-pngkeycom.png [ 375.21 KiB | เปิดดู 626 ครั้ง ]
อย่างไร เวลาที่พระพุทธจ้าแสดงธรรมมักจะมีตำบรรยายสรรพคุณว่า สาตฺถํ.
สพฺยญฺชนํ "มีความสมบูรณ์ไปด้วย อรรถ และพยัญชนะ" ถามว่าส -สมบูรณ์อย่าง
ไร ท่านต้องการอธิบายตรงนั้นคำถามดังกล่าวจึงได้แต่งประโยคนี้ว่า

พยัญชนะบท ๖

ตตฺถ อปริมาณา ปทา, อปริมาณา อกฺขรา, อปริมาณา
พฺยญฺชนา, อปริมาณา อาการา เนรุตุตา นิทฺเทสา. เอตสฺเสว
อตุถส์ส สงฺกาสนา ปกาสนา วิวรณา วิภชนา อุตฺตานีกมฺมํ
ปญฺญตฺติ, อิติปีทํ ทุกขํ อริยสจฺจํ.

อาการ

ตตฺถ ในธรรมเทสนาที่แสดงอรยิอริยสัจ ๔ นั้น ปทา
บททั้งหลาย อปริมาณา อันมีจำนวนนับไม่ถ้วน อกุขรา อักษร
ทั้งหลาย อปริมาณา อันมีจำนวนนับไม่ถ้วน พุยญฺชนา
ประโยคข้อความทั้งหลาย อปริมาณา อันมีจำนวนนับไม่ถ้วน
อาการา ขยายความข้างต้นไปเรื่อย ๆ ลักษณะการจำแนก
ความออก (อย่างเช่น ในธรรมเทสนานี้ จะมีประโยคสั้นบ้าง
ยาวบ้าง ไปต่าง ๆ นานา ประโยคเหล่านี้ เรียกว่าอาการ ข้อนี้
ขอให้เรานึกภาพว่าในธรรมจักรนี้ จะมีพบัญชนะ และ อักษร
บท และประ โยค ส่วนคำว่า "อาการ" หมายถึง ส่วนที่ขยาย
ประ โยคให้ละเอียคออกไปอีก คังนั้น 'อาการ" ก็คือการ
อธิบายชี้แจงข้อความที่ได้กล่าวมาแล้วอย่างเช่น ตตฺถ กตโม
กตเม กูสลา ธมฺมา แล้วมีประโยคอื่น ๆ ต่อไป ช่วยชี้แจง
แสดงรายละเอียดออกไปอีก ก็ประโยคลักษณะเช่นนี้เรียกว่า
'อาการ ' (ขยายความหรือ ข้อความที่ขยายประโยค)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2022, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_oxii84PDRN1wtg8hyo1_500.png
tumblr_oxii84PDRN1wtg8hyo1_500.png [ 228.58 KiB | เปิดดู 625 ครั้ง ]
วิเคราะห์ศัพท์

เนรุตฺตา รูปวิเคราะห์ หรือ การวิเคราะห์ศัพท์ การแสคงความหมายของ
ศัพท์ เรียกว่า 'เนรุตฺต' มาจาก นิรุตฺติ ซึ่งแปลว่า 'วิคฺคห' หรือรูปวิเคราะห์โดย
ทั่วไปแล้ว นิรุตฺติ หมายถึงประโยคแสดงการนิยามความหมาย อย่างเช่น ทำไม
จึงเรียกว่า 'อริยสัจ'ก็จะมีการวิเคราะห์คำว่า'อริยสัจ'ออกไป อธิบายโดยการ
วิเคราะห์คำแต่ละคำออกไป นี้เรียกว่าเป็นลักษณะของการอธิบายเชิงนิรุตฺติ เช่น
ที่เราฟังคุ้นว่า กลุ่มนิรุตดิศาสตร์ คำนี้ค่อนข้างจะใช้สับสนกันอยู่ บางทีนัก
ไวยากรณ์บาฬีมักจะใช้นิรุตฺติ ในความเดียวกับคำว่า 'เวยฺยากรณ' ความจริงแล้ว
ถ้าจะ ไปกำหนดจากต้นเดิมของการใช้ศัพท์ นิรุตติกับไวยากรณ์ จะเห็นความต่าง
กันของทั้งสองอย่างชัดเจน ซึ่งต่างก็เป็นเวทงฺค เป็นองค์ของเวทที่คนละอย่างกัน
คนละสาขากัน นิรุตฺติเกี่ยวกับการวิเคราะห์ศัพท์ การที่บอกว่า อย่างเช่น คำ ๆ นี้มี
ความหมายอย่างไร เมขลา เป็นลักษณะการนำคำย่อ เหมือนกับ AIDS "เอดส์"
ย่อมาจาก Acquired Immune Deficiency Syndrome คำนี้ก็เรียกว่า วิธีของนิรุตติ

หรืออีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ SARS (ซาร์ส) ซึ่งเป็นคำที่กำลังเขย่าขวัญคน
ทั้งโลก เพราะมันคือ "ไข้หวัดมรณะ" เนรุตฺตา แปลว่า 'รูปวิเดราะห์' การวิเคราะห์
ความหมายของศัพท์

นิทฺเทสา ข้อความที่แสคงนิทุเทส(รายละเอียด) นิทฺเทส หมายถึง อธิบาย
ขยายรายละเอียดออกไป คำว่า นิทฺเทสตรงกันข้ามกับอุทฺเทสทั้ง ๖ อย่างนี้ (อกุขร,
ปท, พฺยญฺชน, นิรุตฺติ, นิทฺเทส, อาการ) เรียก 'พุยญฺชน' ที่มาในคำว่า "สาตฺถํ-
พุยญฺชนํ" ซึ่งหมายถึง อรรถบท ๖ อย่างและ พยัญชนบท ๖)

สพฺยญฺชนํ หรือ พฺยญฺชนปท (บทพยัญชนะ) ๖

. อกุขร ก็คือ อักษรตัวหนึ่ง อย่างเช่น ปุ - ริ - โส

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 64 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร