วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 05:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2022, 12:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_ozu6yr1Qmm1wtg8hyo1_500.png
tumblr_ozu6yr1Qmm1wtg8hyo1_500.png [ 211.46 KiB | เปิดดู 664 ครั้ง ]
การให้ทานทำให้ได้ฟังธรรม

ทานมยํ ปุญฺญกิริยวตฺถุ ปรโตโมสสุส สาธารณํ ปทฎฺฐานํ ทานมยปุญญ
กิริยาวัตถุเป็นปทัฏฐานที่สาธารณะแก่ปรโตโมสะ หมายถึงไม่ใช่เป็นปทัฏฐานที่
เฉพาะเจาะจง แต่เป็นปทัฏฐานที่ทั่วไป ดังนั้น ท่านจึงใส่คำว่า สาธารณํปทฎฺฐานํ
ไม่เจาะจงซึ่งไม่เหมือนอย่าง เมล็ดทำให้เกิดหน่อ เมล็ดถือว่าเป็นเหตุจำเพาะ
เจาะจง แต่ปุญฺญกิริยวตฺถุนี้ไม่เจาะจง เป็นสาธารณปทัฏฐานแก่ปรโตโฆสะ (คือ
ธัมมสวนะ หมายความว่าผู้ที่ให้ทาน โดยส่วนมากเมื่อให้ทานเสร็จแล้วก็
สามารถได้ฟังธรรม ดังนั้น การให้ทานจึงเป็นเหตุให้ได้ฟังธรรม เพราะฉะนั้น
ทานจึงเป็นเหตุปทัฏฐานให้ได้ฟังธรรม) ในอรรถกถาอธิบายว่าการให้ทานนั่น
แหละ เรียกว่าทานมัย ฉะนั้น หากเราไปแปล ทานมยปุญฺญญกิริยาวตุถุ ว่า "บุญ
สำเร็จด้วยการให้ทาน" ความหมายก็จะไม่ตรงกัน ซึ่งถ้าบุญสำเร็จด้วยการให้
ทาน ก็แสดงว่า ทานกับบุญ เป็นสิ่งต่างกัน แต่ความจริง ทานก็คือบุญอยู่แล้ว
อนึ่ง มย ปัจจัย ใน ทานมยํ นี้ไม่มีความหมายพิเศษ เรียกว่า สกัตถปัจจัย (ปัจจัย
คือ คำสำหรับนำมาต่อท้ายศัพท์อื่น เช่น ต่อท้ายนามศัพท์ หรือ ธาตุ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2022, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_ozvo9vHXup1wtg8hyo1_500.png
tumblr_ozvo9vHXup1wtg8hyo1_500.png [ 256.58 KiB | เปิดดู 662 ครั้ง ]
การแปลทานมัยที่ถูกต้องตามหลักภาษาและหลักพระอภิธรรม

เพราะฉะนั้น ทานมย จึงแปลว่า "ทาน" หรือ "การให้ทาน" สีลมย ที่
แปลว่า "ศีล" หรือ "การรักษาศีล" ภาวนามย ก็แปลว่า"กาวนา" หรือ "การเจริญ
ภาวนา" ไม่ควรแปล ทานมย ว่า"บุญที่สำเร็จด้วยการให้ทาน" ซึ่งคำแปลนี้เป็น
การแปลแบบภามาของชาวบ้าน ถ้าจะมาจับตามหลักพระอภิธรรมจะทำให้ไม่
สามารถอธิบายได้ ฉะนั้น การแปลก็ต้องยึดหลักความสมเหตุสมผล จะอย่างไรก็
ตาม หากเป็นกรณีของ ทานมยํ พลํ ก็สามารถแปล ทานมยํ ว่า "สำเร็จด้วยการ
ให้" อย่างนี้ อันนั้นแปลได้ ทานมยํ พลํ วิปากํ "วิบากที่สำเร็จด้วยการให้ทาน"
ในกรณีอย่างนี้ เราสามารถแปล ทานมยํ เป็นนิพพัตตตัทธิดได้ สมมุติว่าถ้ามีคำ
ศัพท์ ทานมโย วิปาโก คำว่า "มย" ตรงนี้ก็ควรมีความหมายว่า "สำเร็จ" การที่เรา
จะวินิจฉัยคำศัพท์หรือบทใดบทหนึ่ง (ด้วยหลักปทวิจยหารนั้น จะต้องดูปริบท
ข้างเคียงด้วย ถ้ามีคำว่า ปุญญํ เป็นปริบทก็อย่าไปแปลว่า "สำเร็จด้วยการให้ทาน"

ทานมยํ ปุญฺญกิริยวตฺถุ "การให้ทานซึ่งเป็นปุญฺญกิริยวตุถุ เป็นบุญที่ควร
กระทำ" ปทฎฺฐานํ -เป็นปทัฏฐาน เป็นเหตุที่สำคัญที่สุด(เหตุใกล้) สาธารณํ -ที่
สาธารณะ

สาธารณปทัฏฐาน

ทานมัยนี้เป็นเหตุหนึ่งที่จะทำให้ได้ปรโตโฆสะ ฉะนั้น คำว่า "สาธารณะ"
ในที่นี้ ก็ไม่ใช่ว่าจะมีเหตุนี้เพียงเหตุเดียวที่จะทำให้เกิดปรโตโฆสะ ยังมีเหตุอื่น
ด้วย ฉะนั้น ทานมัยที่เป็นวิเสสนะ (คุณศัพท์) ของปุญญกิริยวัตถุ นี้จึงเรียกว่าเป็น
สาธารณปทัฏฐาน ซึ่งตรงกันข้ามกับ อสาธารณปทัฏฐาน ก็อสาธารณปทัฏฐาน
นั้น หมายถึงเหตุ ๆ เดียวเท่านั้น เหตุอื่นไม่มี ดังนั้น เวลาจะแปลตามบาฬีต้องใส่
ปาฐเสสะว่า "อญฺเญหิ การเณหิ" สาธารณํ (สาธารณํ -ที่สาธารณะหรือที่ทั่วไป
อญฺเญหิ การเณ -กับด้วยเหตุเหล่าอื่น]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2022, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_oytto5xmw71wtg8hyo1_500.png
tumblr_oytto5xmw71wtg8hyo1_500.png [ 209.65 KiB | เปิดดู 661 ครั้ง ]
อนึ่ง นอกจากทานแล้ว ยังมีเหตุอย่างอื่นที่ทำให้เกิดปรโตโฆสะ เช่น การ
คบกับสัตบุรุษ ทำให้เราสามารถได้ฟังธรรม ฉะนั้น การคบสัตบุรุษนี้ก็เป็น
ปทัฏฐานหนึ่งที่จะให้ปรโตโมสะเกิด เพราะะนั้น ทาน จึงเรียกว่า สาธารณ
ปทัฏฐาน เป็นหนึ่งในบรรดาเหตุที่ทำให้เกิดปรโตโฆสะ หมายความว่า ทานมัย
เป็นเหตุหนึ่งที่ร่วมมือกับเหตุอื่นได้ ไม่เหมือนกับเหตุจำเพาะอย่างเช่น "เมล็ด
ข้าวเปลือกทำให้เกิดข้าวเปลือก" อย่างเมล็ดข้าวเปลือกนี้ ท่านถือว่าเป็น อสา
ธารณเหตุ

อาเวณิกเหตุ

โสดาปัดติมรรถ ทำให้เกิดโสดาปัตติผล อันนี้ท่านถือว่าเป็น อาเวณิกเหตุ
(เหตุจำเพาะเจาะจงของใครของมัน) มรรคเป็นปทัฏฐานแก่ผล เพราะฉะนั้น
มรรค เรียกว่า"อาเวณิกเหตุ" ไม่ใช่สาธารณเหตุ อาเวณิก หมายถึงของประจำ
สำหรับสิ่งนั้น

เหตุกับผล สังเกตที่ตรงไหน

อนึ่ง การที่จะสังเกตว่าสิ่งไหนเป็นเหตุสิ่งไหนเป็นผลท่านมีหลักอยู่ว่า
ปุริมํ ปุริมํ หิ ปจฺฉิมสุส ปจฺฉิมสุส ปทฎฺฐานํ (เนตติอรรถกถา หน้า ๑๒๔)

ปุริมํ ปุริมํ -สิ่งที่เกิดขึ้นก่อน ปทฏฺฐานํ +เป็นปทัฏฐาน ปจฺฉิมสุส ปจฺฉิมสฺส
-แก่สิ่งที่เกิดขึ้นในภายหลัง : อันนี้หมายถึงหลักในการจำแนกเบื้องต้นว่า
ไหนเป็นปทัฏฐานแก่สิ่งไหน" สิ่งไหนเกิดก่อน สิ่งนั้นมักจะเป็นปทัฏฐานให้เ
ธรรมอื่น ยกตัวอย่างเช่น มรรคเกิดก่อนผล มรรคจึงเป็นปทัฏฐานแก่ผล แต่
บางครั้งที่สิ่งซึ่งเกิดภายหลังสามารถเป็นเหตุเป็นปทัฏฐานให้กับสิ่งที่เกิดก่อน
เราจะเห็นได้ในปัฏฐาน ว่าด้วยเรื่องของ "ปัจฉาชาตปัจจัย" จะอย่างไรก็ตาม โดย
ส่วนมากแล้วสิ่งที่เกิดก่อนมักจะเป็นปทัฏฐานแก่สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลัง อันนี้ก็เป็น
เกณฑ์ในการกำหนดว่าธรรมที่เป็นปทัฏฐาน เราจะเอาธรรมไหนบ้างแต่ก็มิได้
หมายความว่าจะเป็นกฏตายตัว เพราะบางครั้งไม่จำเป็นที่สิ่งนั้นต้องเกิดจากสิ่งนี้
เสมอไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2022, 14:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_ozu6yr1Qmm1wtg8hyo1_500.png
tumblr_ozu6yr1Qmm1wtg8hyo1_500.png [ 254.69 KiB | เปิดดู 658 ครั้ง ]
rolleyes rolleyes rolleyes

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 35 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron