วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 18:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2022, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_pfklhf9MZu1wtg8hyo1_1280.png
tumblr_pfklhf9MZu1wtg8hyo1_1280.png [ 396.39 KiB | เปิดดู 694 ครั้ง ]
การรักษาศีลทำให้เกิดจินตามยปัญญา

สีลมยํ ปุญฺญกิริยวตฺถุ จินตามยิยา ปญฺญาย สาธารณํ ปทฏฺฐานํ.
สีลมยํ -การรักษาศีล ซึ่งเป็นบุญที่ควรกระทำ และเป็น
ที่ตั้งแห่งสมบัติ (หรือ หากจะใช้คำว่า วตฺถุ ในความหมาย
อุปมาว่า เนื้อนา คำว่า สีลมยํ .... นี้ก็จะต้องแปลว่า เนื้อนาบุญ
อันบุคคลควรกระทำ คือ การรักษาศีล เรียกว่า สีลมัย ปุญฺญ-
กิริยวตฺถุ) ปทฎฺฐานํ เป็นปทัฏฐาน สาธารณํ อย่างหนึ่งหรือ
อันหนึ่ง ปญฺญาย แก่ปัญญา จินฺตามยิย ที่เกิดจากความคิด

ศีลเป็นหนึ่งในบรรดาปทัฏฐาน ที่ทำให้เกิดจินตามยปัญญา (จินตามยื
ปัญญา) เพร าะว่า ผู้มีศีล(สีลสัมปันนบุคคล)ย่อมไม่เกิดวิปฏิสาร "ความเดือดร้อน
ใจ" เมื่อไม่เกิดวิปฏิสาร สามารถฝึกสมาธิทำให้จิตตั้งมั่นได้ง่าย จิตที่มีสมาธิ
แน่วแน่ย่อมทำให้เกิดธรรมจินตา "การพินิจพิจารณาหรือการใคร่ครวญในธรรม
ปัญญาที่สามารถเข้าใจ หรือรู้ในธรรม(จินฺตา ความหมายเท่ากับ ปญฺญา)" ด้วย
เหตุนี้ ท่านจึงบอกว่า ศีลเป็นปทัฏฐานแก่จินตามยปัญญา" อนึ่ง พึงทราบว่า คำว่า
ศีล เป็นปทัฏฐานอย่างหนึ่งของจินตามยปัญญานั้น ไม่ได้หมายความว่าจินตามย
ปัญญามีเพียงศีลเท่านั้นที่เป็นปพัฏฐาน ด้วยว่า จินดามยปัญญานั้นยังมีปพักฐา
อย่างอื่นอยู่ด้วย คำว่า "จินฺตามย" ในอรรถกถาอธิบายไว้ว่า

........?..............................................
* ปัญญา ๓ สุตมยปัญญา -ปัญญาเกิดแต่การสดับ การเล่าเรียน, จินตามยปัญญา -ปัญญาเกิดแต่การ
พิจารณาห าเหตุผล. ภาวนามยปัญญา -ปัญญาเกิดแต่การฝึกอบรมลงมือปฏิบัติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2022, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_oxii84PDRN1wtg8hyo1_500.png
tumblr_oxii84PDRN1wtg8hyo1_500.png [ 228.58 KiB | เปิดดู 691 ครั้ง ]
ธมฺมจินฺตาสมตฺโถ โหตีติ สีลํ จินฺตามยญาณสฺส การณํ "ผู้ที่มีสมาธิดัวย
อำนาจของศิล ย่อมสามารถให้เกิดธรรมจินตา" จริงอย่างนั้น คนที่จะมีความ
สามรถในการที่จะคิด หรือพิจารณาธรรมได้นั้น จำเป็นต้องมีปัญญา ก็การที่จะ
ได้ปัญญา จำเป็นต้องมีสมาธิการที่จะ ได้สมาธิจำเป็นต้องรักษาศีล ฉะนั้น ศิลจึง
ได้ชื่อว่า เป็นปทัฏฐ านอย่างหนึ่ง แก่จินดามยปัญญ)

กาวนามยํ ปุญฺญกิริยวตฺถุ ภาวนามยิยา ปญฺญาย สาธารณํ ปทฏฺฐานํ.

(ภาวนามยิยา มาจาก คาวนามยึ เป็นอิตถีลิงค์ตาม ปญฺญาย) ภาวนามยิยา
ปัญญาที่สำเร็จากภาวนา ภาวนามยํ ปุญญกิริยวตฺถุ บุญกิริยาวัดถุกล่าวคือการ
เจริญภาวนา

ฌานต่อฌานเป็นปทัฏฐานให้กัน

ภาวนาทำให้เกิดปัญญาที่สำเร็จจากภาวนา ฟังดูแล้วเหมือนกับว่าพูดกลับ
ไปกลับมา คำว่า "กาวนามยํ" ตัวแรกในอรรถกถาอธิบายว่า "สมถสงฺขาตํ
ภาวนามยํ" ภาวนามัย ก็คือ สมถะ ซึ่งคำอธิบายนี้ก็จะสอดคล้องต้องกันกับคำว่า
"ปุริมํ ปุริมํ หิ ปจฺฉิมสฺส ปจฺฉิมสุส ปทฏฺฐานํ" เพราะฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า สมถะ
เป็นปทัฏฐานให้แก่ปัญญาที่เป็นภาวนามยปัญญา ภาวนามยปัญญาคำหลังนี้ชื่ง
เป็นผลนั้น ท่านอธิบายไว้ว่า ๑ ได้แก่ ฌานเบื้องสูง อย่างเช่น ปฐมฌานเป็น
ปทัฏฐานแก่ทุติยฌาน ทุติยฌานก็เป็นปทัฏฐานแก่ตติยฌาน ฯลฯ สมมุติว่าถ้ำ
ภาวนามัยเป็นทุติยฌาน ทุติขฌานก็จะกลายเป็นปทัฏฐานแก่ตติยฌาน อันนี้เรียก
ว่า ฌานต่อฌานเป็นปทัฏฐานแก่กันแต่ถ้าไม่เอาฌาน ภาวนามยิปัญญานี้ก็จะ ได้
แก่วิปัสสนา
อนึ่ง ในคัมภีร์เนตตินี้ ท่านใช้โวหารว่า ภาวนามยิปัญญา ซึ่งต่างจากที่เรา
ใช้คุ้นกันว่า ภาวนามยปัญญา

อนึ่งในคัมภีร์เนตตินี้ ท่านใช้โวหารว่า ภาวนามยิปัญญา ซึ่งตรงจากที่เราใช้คุ้นกันว่า ภาวนามยปัญญา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2022, 02:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_oxihx5Rk2k1wtg8hyo1_500.png
tumblr_oxihx5Rk2k1wtg8hyo1_500.png [ 327.4 KiB | เปิดดู 583 ครั้ง ]
ฌานเป็นปทัฏฐานแก้วิปัสสนา
๑. วิปัสสนา ฌานเป็นบาทให้แก่วิปัสสนา แต่บางครั้งวิปัสสนาก็เป็น
บาทให้แก่ ฌานได้ อันนี้หมายความว่า ผู้ที่เจริญวิปีสสนามาเล้วก็สามารถกลับ
มาจริญสมถะได้ ดังนั้น วิปัสสนาจึงเป็นบาทให้เแก่สมถะได้เหมือนกัน ส่วน
มากเราจะ ทราบกันว่า สมถะเป็นบาทให้แก้วิปัสสนา

อุปริฌานกับเหฏฐิมฌาน

๒. อุปริฌาน "ฌานเบื้องสูง" อย่างเช่นขณะที่เราเจริญปฐมฌานอยู่
ปฐมฌานก็จะเป็นปทัฏฐานแก่ทุติยฌาน ทุติยฌานนี้จึงเรียกว่า ฌานเบื้องสูง
หมายถึง ฌานที่สูงกว่า อนึ่ง ในกรณีของกาวนามัยนี้ เนื่องจากว่าในฝ่ายหตุก็เป็น
ภาวนามัย ในฝ่ายผลก็เป็นภาวนามัยเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ถ้าเราเถือเอาไดยไม่
แยก ก็อาจจะไม่เข้าใจ เพราะว่าทั้งสองฝ่ายต่างก็เป็นกาวนาเหมือนกัน ยกเว้น
คำว่า ปุญฺญกิริยวตฺถุ กับ ปญฺญาย เท่านั้นที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ถ้ำเราไปคิดเอา
เฉพาะปัญญา ก็จะได้คำแเปลแต่เพียง "ภาวนามัยเป็นปทัฏฐานแก่ปัญญาที่สำเร็จ
มาจากภาวนา" ซึ่งก็พอฟังใด้ แต่โดยหลักการแห่งพระอภิธรรมแล้วจะ ไม่สามารถ
ถือเอาองค์ธรรมได้

ทานมยํ ปุญฺญกิริยาวตฺถุ ปรโต จ โฆสสฺส สุตมยิยา จ
ปญฺญาย สาธารณํ ปทฏฺฐานํ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร