วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 22:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2022, 06:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




9adc4af088f32a9004e23eb3a56aacd6.png
9adc4af088f32a9004e23eb3a56aacd6.png [ 181.17 KiB | เปิดดู 947 ครั้ง ]
ในคำว่า นิปโก (มีปัญญาพิจารณา) หมายความว่า ปัญญาได้ชื่อว่า เนปักกะ
(ปัญญาพิจารณา) ผู้ประกอบด้วยปัญญาพิจารณานั้น (ชื่อว่า นิปกะ]
พระพุทธองค์ทรงแสดงปาริหาริกปัญญา (ปัญญาพิจารณา) ด้วยบทนี้ กล่าวคือ
ในวิสัชนาของปัญหานี้มีปัญญา ๓ ประเภท คือ
๑. ปฏิสนธิปัญญา
๒. วิปัสสนาปัญญา
๓. ปาหาริกปัญญาที่จัดการกิจทุกอย่าง

ปัญญาดังกล่าวมีคำอธิบายดังนี้ คือ
๑. ปฏิสนธิปัญญา คือ ปัญญาแต่กำเนิด ปัญญาประเภทนี้ส่งผลให้เป็นคน
เฉลียวฉลาด ไม่ไช่คนปัญญาอ่อน ส่วนคนปัญญาอ่อนเรียกว่า ทวิเหตุกปฏิสนธิ คือผู้มี
ปฏิสนธิที่มีเหตุ ๒ ยกเว้นอโมทเหตุ (ปัญญา)

๒. วิปัสสนาปัญญา คือ ปัญญาหยั่งเห็นไตรลักษณ์ ได้แก่ ความไม่เที่ยง เป็น
และไม่ใช่ตัวคนตามความเป็นจริง
๓. ปาริหาริกปัญญา คือ ปัญญาที่ประกอบในการปฏิบัติกรรมฐาน หมายถึง
สาตถกสัมปชัญญะ และสัปปายสัมปชัญญะ ดังข้อความว่า
กมฺมฏฺฐานสฺส ปริหรเณ นิยุตฺตา ปาริหาริก. อภิกฺกมาที่นิ สพฺพกิจฺจานิ สาตฺถก
สมฺปชญฺญาทิวเสน ปริจฺฉิชฺช เนตีดิ สพฺพกิจฺจปริณายิกา"

"ปัญญาที่ประกอบในการปฏิบัติกรรมฐาน ชื่อว่า ปาริหาริกา
คำว่า สัพพกิจจปริณายิกา (จัดการกิจทุกอย่าง) คือ,กำหนดกิจทุกอย่างมีการ
ก้าวไปเป็นตัน ด้วยความเป็นสาดถกสัมปชัญญะเป็นต้นแล้วนำไป"
สาตถกสัมปชัญญะ คือ ความรู้ชัดสิ่งที่มีประโยชน์ หมายความว่า ก่อนที่จะทำ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเดินและยืนเป็นต้น ผู้ปฏิบัติควรพิจารณาว่า มีประโยชน์หรือไม่ ถ้ามี
ประโยชน์ก็ควรทำ ถ้าไม่มีประโยชน์ก็ไม่ควรทำ

สัปปายสัมปชัญญะ คือ ความรู้ชัดสิ่งที่เหมาะสม หมายความว่า แม้สิ่งที่จะทำนั้น
ได้ประโยชน์ ผู้ปฏิบัติก็ควรพิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่ คือ ถ้าเหมาะ สมก็ควรทำ ถ้าไม่
เหมาะสมก็ไม่ควรทำ เช่น
- การเดินทางไปไหว้พระเจดีย์เป็นสิ่งมีประโยชน์ แต่หากไปในเวลามีงานสมโภช
ที่มีคนมากมายย่อมไม่เหมาะสม
- การเพ่งชากศพเป็นสิ่งมีประโยชน์ แต่การที่บุรุษเพ่งชากศพของสตรีย่อมไม่ เหมาะสม
- การแสดงธรรมซึ่งเป็นสิ่งดีมีประโยชน์ แต่หากแสดงธรรมในสถานที่ประชุมกัน
ด้วยธุระทางโลก หรือในเวลามีธุระวุ่นวาย ย่อมไม่เหมาะสม นอกจากนี้ การแสดงธรรมแก่
บุคคลต่างเพศในที่ลับลับตา ก็ไม่เหมาะสมเช่นเดียวกัน

สัมปชัญญะทั้งสองอย่างมีประโยชน์ทั้งทางโลกและทางธรรม บุคคลผู้พิจารณา
ใคร่ครวญในประโยชน์และความเหมาะสมย่อมประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน แม้บุคคล
ผู้เจริญสมถะหรือวิปัสสนาก็สามารถยังสมาธิและปัญญาให้เกิดขึ้นได้ง่ายโดยอาศัยสัมปชัญญะ
เหล่านี้ อย่างไรก็ตาม สัมปชัญญะเหล่านี้ไม่ใช่สมถะและไมใช่วิปัสสนา เป็นเพียงเครื่องช่วย
อุปถัมภ์ให้สมถะและวิปัสสนาก้าวหน้าได้เร็ว เพราะผู้ที่หลึกเลี่ยงจากสิ่งไร้ประโยชน์และไม่
เหมาะสมย่อมจะประสบความก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร