วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2022, 14:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1.2-52.png
1.2-52.png [ 183.94 KiB | เปิดดู 1026 ครั้ง ]
สัพพัญญูปวารณา

"ยเมตํ ปญฺหํ อปุจฺฉิ อชิต ตํ วทามิ เต;
ยตฺถ นามญฺจ รูปญฺจ อเสสํ อุปรุชฺฌติ;
วิญฺญาณสฺส นิโรเธน เอตฺเถตํ อุปรุชฺตี"ติ,

ดูก่อนอชิต ตฺวํ เธอ อปุจฺฉิ ได้ถามแล้ว ปญฺหํ ซึ่งปัญหา ยํ ใด
อหํ เรา วทามิ จะตอบ ตํ ปญหํ ซึ่งปัญหานั้น เต แก่เธอ

หมายความว่าเราจะตอบปัญหาที่เธอถาม (การเปิดโอกาสให้ถามเช่นนี้
ท่านเรียกว่า สัพพัญญูปวารณา เป็นการเชื้อเชิญให้ถามมาเถอะ เราจะตอบให้ถึง
ที่สุดแห่งคำถามของเธอคือจะทำให้กระจ่าง

สาวกปวารณา

โดยปกติหากเป็นสาวกมักจะออกตัวไม่กล้าใช้คำพูดแบบนี้ อย่างเช่น
พระสารีบุตร ก่อนตอบปัญหาคือคำถาม ท่านมักจะเจียมตนอยู่เสมอ ก็ลักษณะ
เช่นนี้ท่านเรียกว่า สาวกปวารณา เป็นคำเชื้อเชิญของสาวก โดยทั่วไปเมี่อสาวก
ถูกถามมักจะบอกว่า สุตฺวา ชานิสฺสามิ เมื่อเราฟังปัญหาของท่านแล้วเราจะรู้ ซึ่ง
เป็นการพูดถ่อมตนว่า เราไม่ใช่สัพพัญญูถ้าเรารู้เราก็จะตอบ อันนี้เป็นคำเชื้อเชิญ
ของสาวก แม้กระทั่งพระสารีบุตรผู้ทรงปัญญารองจากพระพุทธองค์ก็ต้องถ่อม
ตนขนาดนี้ ไม่เหมือนกับในยุคปัจจุบันอาจารย์ทั้งหลายมักจะเชื้อเชิญ คล้ายกับว่า
ตนเองเป็นพระพุทธเจ้า เช่นพูดว่า สงสัยอะไร ถามมาเถอะ คำเชื้อเชิญเช่นนี้เป็น
คำประเภทสัทพัญญูปวารณา สำหรับพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะใช้คำนี้ได้ เพราะ
พระพุทธองค์ทรงเป็นสัพพัญญูรู้ธรรมทั้งปวง ใครถามอะไรไม่มีคำว่า ติดหรือ
ขอเวลาไปค้นมาให้ จึงไม่ถือว่าเป็นการอวดตัวทรงรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง ส่วนมาก
อาจารย์ทั้งหลายมักจะบอกว่ายิ่งถามยิ่งชอบในลักษณะนี้จะต้องระวังให้มาก ถ้ารู้
ธรรมจริง ๆ แล้ว จะไม่พูดปวรณาแบบนั้น

ยตุถ นามญฺจ รูปญฺจ อเสสํ อุปรุชฺฌติ

นามญฺจ -นามด้วย รูปญฺจ -รูปด้วย อเสสํ อุปรุชฺฌติ
ย่อมดับไปโคยไม่มีส่วนเหลือ ยตฺถ ในที่ใด, เอตํ ปัญญา
สติ นามรูป เหล่านั้น อุปรุชฺฌติ ย่อมดับไป เอตฺถ ในที่นี้
นิโรเธน เพราะการดับไป วิญฺญาณสฺส แห่งวิญญาณ
ในสถานที่ใดนามรูปดับไปโดยไม่มีส่วนเหลือ ในที่นั้นแหละเป็นที่ดับ
ไปของนามรูปเหล่านั้น เพราะวิญญาณดับไป(แต่โดยทั่วไปแล้วเมื่อปฏิสนธิ
วิญญาณดับนามรูปก็จะดับ) ท่านอธิบายว่าคำตอบนี้เป็นคำตอบขั้นสุดท้ายเรียก
เป็นบาลีว่า อารมฺภ เมื่อปฏิสนธิวิญญาณดับทุกอย่างก็เป็นอันว่าดับ เพราะฉะนั้น
จึงเป็นการตอบแบบไม่มีส่วนเหลือ แต่เป็นการตอบที่สรุปแบบหมดเปลือก อันนี้
ต้องเข้าใจว่าคำถามคำตอบแบบนี้พระพุทธองค์ทรงตอบหมายเอาอะไร ลักษณะ
การตอบของพระพุทธองค์นั้นทรงตอบอย่างไร และลักษณะคำถามของผู้ถามเขา
มุ่งหมายเอาอะไร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2022, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Gautama-Buddha-Transparent-Image.png
Gautama-Buddha-Transparent-Image.png [ 130.41 KiB | เปิดดู 1021 ครั้ง ]
เอกลักษณ์การตอบคำถามของพระพุทธเจ้า

ยตฺถ เอวํ สุทฺโธ อารมฺโภ,โส ปญฺโท วิสฺสชฺชิโต ภวติ.

ยตฺถ ในที่ใด ตอบอารมฺภ หมายถึงตอบแบบหมดเปลือก ตอบแบบรวบ
ข้อความทั้งหมดมาลงในคำตอบเดียว ในที่นั้น ชื่อว่าตอบปัญหาจริง ๆ

ยตฺถ ปน อารมฺโภ อสุทฺโธ แต่ว่าในที่ใดไม่ได้ตอบแบทบนี้ น ตาว โส
ปญฺโห วิสฺสขฺชิโต ภวติ. ณ ที่นั้นยังไม่ได้ชื่อว่าตอบปัญหาอย่างแท้งริง หมาย
ความว่าตอบปัญหายังไม่เสร็จสิ้น ฉะนั้น เวลาเราไปอ่านพระไตรปีฎกจะต้องดู
ด้วยว่าตรงไหนที่ทรงดอบแล้วแต่ยังมีส่วนเหลือ แสดงว่าในที่นั้นยังไม่เสร็จสิ้น
การตอบ จะอย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นคำตอบของพระพุทธองค์ พึงทราบว่า จะต้อง
เป็นคำตอบโดยไม่มีส่วนเหลืออยู่แล้ว อันนี้เป็นลักษณะเฉพาะในการตอบของ
พระพุทธเจ้า

อนึ่ง คำว่า "อารมฺภ" ในที่นี้ ไม่ได้แปลว่า "ความพยายาม" หรือ "การ
ปรารภ" อย่างที่เราคุ้นกัน เพราะว่าเรายังไม่เคยมีการใช้คำนี้และยังไม่มีการเทียบ
ดูว่า อารมฺภ ในที่นี้ ตรงกับภาษาไทยคำไหน จะอย่างไรก็ตาม ขอให้นักศึกษา
กำหนดความเอาไว้ว่า อารมฺภ เป็นการตอบแบบเบ็ตเสร็จสมบูรณ์ที่สุด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร