วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 04:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2022, 07:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




istockphoto-1168868759-612x612.jpg
istockphoto-1168868759-612x612.jpg [ 48.1 KiB | เปิดดู 1175 ครั้ง ]
การปรับอินทรีย์ให้มีความสม่ำเสมอ

ในเวลาที่ทำการกำหนดรูปนามนั้น รูปนามที่ปรากฎออกมาเป็นเพียงสภาวะ
เป็นเพียงการเกิดและการดับนั้นโยคีผู้ที่ศรัทธาหรือสัทธินทรีย์แก่ยิ่งกว่าคุณธรรมอื่น
ทำให้มีศรัทธา กิดความปักใจเชื่อคิดแล้วคิดอีก พิจารณาแล้วพิจารณาอีก
อยู่เนื่องๆ ลักษณะของการคิดพิจารณานั้น ก็จะมีความดื่มด่ำปักใจเชื่อเหมือนกับ
หาที่สิ้นสุดไมได้โดยทำนองเป็นตันว่า "รูปและนามทั้งสองเท่านั้นที่มีอยู่ ส่วนบุคคล
สัตว์ ตัวตนหามีไม่ คำพูดเช่นนี้ก็เป็นความจริง, ข้อที่ว่าไม่มีสภาวธรรมใดตั้งมั่น
อยู่ได้ถึงชั่วพริบตา มีแต่สภาวะที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปโดยทันทีเท่านั้น ข้อนี้ก็เป็น
เรื่องจริง,ข้อที่กล่าวว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้สภาวธรรมทั้งหลายทั้งปวง เช่น
ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่งาม ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน มีแต่เพียง
สภาวธรรมเท่านั้นข้อนี้ก็เป็นเรื่องจริงสภาวธรรมนั้นมีอยู่ตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ตรัสไว้นั่นเทียว เป็นจริงอย่างที่ครูอาจารย์ท่านสอนไว้นั่นเทียว"

แม้ในขณะที่มีการคิดพิจารณาเชื่อด้วยศรัทธาเช่นนี้ โยคีจะไม่สามารถรู้ได้
อย่างชัดเจนถึงการเกิดการดับของความนึกคิดนั้นเลย และจะทำให้ไม่สามารถ
กำหนดการเกิดการดับของรูปนามได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากว่ามีศรัทธายิ่ง
เกินไป จึงทำให้ไม่สามารถที่จะรู้ทุกอย่างที่กำหนดนั้นอย่างชัดเจนได้ในทุกๆขณะ
ที่กำหนด นี้เป็นลักษณะที่เป็นข้อเสียของการกำหนดที่มีศรัทธายิ่งเกิน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2022, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_oxii84PDRN1wtg8hyo1_500.png
tumblr_oxii84PDRN1wtg8hyo1_500.png [ 228.58 KiB | เปิดดู 1173 ครั้ง ]
บุคคลผู้ที่มีปัญญาเฉียบแหลมมากเกิน ย่อมพิจารณาใคร่ครวญในทุกๆขณะได้
เช่น อาจมีการพิจารณาในระหว่างๆที่กำหนดอยู่ว่า "นี้เป็นรูปหรือ นี้เป็นนามหรือ
นี้เป็นผัสสะหรือ หรือว่าเป็นเวทนา สภาวะนี้ย่อมปรากฏดีหรือไม่หนอ หรือไม่ดี
หรือหนอ สภาวลักษณะปราณฎหรือหนอ กิจหรือรสะปรากฎหรือหนอ"หรือไม่ก็
พิจารณาว่า"การเกิดดับปรากฎรือไม่หนอไตรลักษณ์มีอนิจจลักษณะเป็นต้นปรากฏ
หรือไม่หนอ" ก็ผู้ที่มีปัญญาเฉียบแหลมเกินนั้น ย่อมจะทำการพิจารณาเปรียบเทียบ
สิ่งที่ตนกำลังกำหนดได้ชัดเจนกับสิ่งที่ตนได้เคยฟังเคยจำเคยเข้าใจมาก่อน
เนืองๆได้ ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นไม่สามารถที่จะรู้ชัดเจนเกี่ยวกับการเกิดการดับของจิต
ที่ทำการกำหนดนั้นได้ และไม่สามารถที่จะกำทนดรูปนามอื่นๆที่กำลังเกิดดับอยู่
ได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัญญาที่ต้องการพิสูจน์สืบสวนมีมากในแต่ละขณะที่
กำหนด จึงไม่สามารถทำให้บุคคลนั้นรู้ซึ้งถึงสิ่งที่ตนกำลังกำหนดได้อย่างชัดเจน
นี้เป็นข้อเสียของการกำหนดที่มีปัญญาตามพิจารณาสืบสวนมากจนเกินไป

แต่ด้วยอำนาจของอุเบกขาซึ่งมีลักษณะเป็นสภาวธรรมที่ทำหน้าที่ปรับ
อินทรีย์ให้มีความสม่ำเสมอกันนั้น ซึ่งทำให้ครัทธากับปัญญามีความสม่ำเสมอกัน
ครั้นศรัทธาปัญญาเหล่านั้น มีความสม่ำเสมอกันด้วยอำนาจของอุเบกขาเป็นตัวปรับ
ให้แล้ว ก็จะทำให้โยดีไม่ใช้ครัทธาความเชื่อมากเกินไป ไม่ใช้ความคิดปัญญาใน
การพิจารณามากเกินไป แต่โยคีนั้นได้เอาใจใส่กำหนดทุกอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่าง
ต่อเนื่อง โยคีผู้นั้นจะไม่ทำให้เกิดการคิดพิจารณาครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนกับแต่ก่อน
แต่จะทำการเอาใจใส่ในการกำหนดรูปนามที่เกิดขึ้นได้ตามลำดับเป็นอย่างด

ในเวลาที่วิริยะความเพียรแก่กล้ามีกำลังมากกว่าสภาวธรรมอื่นนั้นทำให้โยคี
มีความกระตือรือรันเอาใจใส่มากเกินเอาแต่รอคอยหรือแสวงหาอารมณ์ที่จะกำหนด
ทำให้โยคีเกิดความเพงพินิจพิจารณาว่าเราจะกำหนดได้หรือไม่หนอ กำหนดไปแล้ว
มันจะเล็ดลอดหรือหลงเหลืออะไรหรือไม่หนอ และทำให้โยคีเกิดความวิตกกังวล
โดยต่างๆนานา เช่น เล็ดลอดโดยไม่กำหนดไปเมื่อไร ดังนี้ เป็นต้น หรืออาจจะ
เกิดความวิตกว่า ต่อไปเราจะต้องทำการกำหนดให้ดีไปกว่านี้ นี้เป็นลักษณะของ
การเดือดเนื้อร้อนใจเอาใจใส่มากเกินไป จึงทำให้จิตไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น
ก็จะเกิดความฟุ้งช่านเพราะความฟุ้งซ่านจึงไม่สามารถทำให้กำหนดรูปนามที่
เกิดขึ้นทุกขณะได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อความตั้งมั่นมีกำลังน้อยเพราะมัวแต่มีความ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2022, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_oxii3vAgdp1wtg8hyo1_500.png
tumblr_oxii3vAgdp1wtg8hyo1_500.png [ 340.29 KiB | เปิดดู 1173 ครั้ง ]
วิตกกังวลอยู่ จึงทำให้โยคีไม่สามารถรู้สิ่งที่ตนกำหนดได้อย่างชัดเจน นี้เป็นโทษ
ของการกำหนดที่มีวิริยะมากจนเกินควร

แม้ในเวลาที่โยมีสมาธิ ความตั้งมันแห่งจิตมากเกินไป ก็จะทำให้โยดีนั้นเฝ้า
แต่กำหนดอารมณ์เดียวเท่านั้นอย่างต่อเนื่องนานเกินไป เพราะอารมณ์อื่นๆไม่
สามารถผ่านเข้ามาได้ จึงทำให้โยคีผู้นั้นปราศจากการกระตือรือร้นเอาใจใส่ที่จะ
กำหนดอารมณ์ใหม่ๆได้ เมื่อไม่มีความพยายามหรือใจจดจ่อที่จะกำหนดอารมณ์
ใหม่ๆก็จะกำหนดอยู่แต่ในอารมณ์เดิมๆโดยปราศจากการกระตือรือร้นหรือพยาปาระ
หรือความเพียร เหมือนกับในเวลาที่เราสวดสาธยายสิ่งที่เราท่องจำคล่องแล้ว เช่น
สวดมนต์ไหว้พระสวดพระปริตรเป็นต้น การที่จะเอาจิตจดจ่อในสิ่งที่คล่องแล้วนั้น
ก็จะน้อยไป เพราะ สิงนั้น เราท่องจำได้คล่องแล้วนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนั้น ทั้งอารมณ์
และ จิตที่กำหนดก็จะค่อยๆจางหายไปที่ละนิดทีละหน่อย ทำให้ไม่ปรากฎชัดทั้ง
สองฝ้าย การกำหนดนั้น ก็จะแปรสภาพไปเป็นถิ่นมิทธะความง่วงเหงาหาวนอนได้
จากกำลังของการกำหนดลดถอยลงในที่สุดก็จะทำให้โยคิไม่สามารถกำหนดรูปนาม
ทุกขณะที่เกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง ก็แล การที่ความเพียรย่อหย่อนลงแล้วทำให้การ
กำหนดไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่องจนทำให้ถิ่นมิทธะความง่วงเหงาหาวนอนแทรก
เข้ามาและส่งผลให้โยคีผู้นั้นไม่สามารถรู้ชัดประจักษ์แจ้งในสิ่งที่ตนกำหนดได้
เช่นนี้ จัดเป็นข้อเสียของการกำหนดที่มีสมาธิมากจนเกินไป

แต่เมื่อใดความเพียรคือวิริยะกับสมาธิคือความตั้งมั่นแห่งจิตมีความ
สม่ำเสมอกัน นั่นก็คือเป็นไปในลักษณะที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันด้วยอำนาจของ
อุเบกขาซึ่งทำหน้าที่ปรับให้คุณธรรมทั้งสองมีความเสมอภาคกันนั้น เมื่อนั้น
จิตของผู้กำหนดนั้น ก็จะไม่มีความจดจ่อมากจนเกินไป ไม่มีความตั้งมันเพ่งพินิจ
ในอารมณ์นั้นมากจนเกินไป ก็จะสามารถทำให้กำหนดรู้รูปนามที่เป็นอารมณ์นั้นได้
อย่างต่อเนื่อง รูปนามนั้นก็จะปรากฎชัดทุกครั้งที่กำหนด แม้เมื่ออารมณ์ทั้งหลาย
เข้ามาปรากฏ แต่จิตของบุคคลนั้นก็จะไม่ฟุ้งซ่าน ตรงกันข้าม จิตนั้นย่อมสามารถ
ที่จะรู้รูปนามทุกอย่างที่กำหนดได้โดยอัตโนมัติ และทุกอารมณ์ที่เข้าไปรู้นั้น จิตของ
โยคีนั้นก็จะตั้งมั่นแนบแน่นอยู่ในอารมณ์นั้น ถึงเวลานั้นแล้วโยคีผู้นั้นก็จะสามารถ
กำหนดรู้ได้ว่า "ไม่มีอารมณ์อันใดที่จะสามารถเล็ดลอดจากการกำหนดไปได้ เราได้
รู้อารมณ์ทุกอย่างที่มาปรากฎแล้วนั่นเทียว"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2022, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




97d630507853de7d27e943f072c09a08.jpg
97d630507853de7d27e943f072c09a08.jpg [ 64.75 KiB | เปิดดู 1172 ครั้ง ]
สภาระที่เกิดขึ้นโดยทำสภาวธรรมที่เป็นอินทรีย์ทั้งหลายให้สม่ำเสมอกันคือ
ทำศรัทธาให้เสมอกับปัญญา วิริยะให้เสมอกับสมาธืเป็นคำนั้น เรียกว่าอุเบกขา
สันโภชฌงค์เป็นสภาวะที่ทำหนัาทีปรับอินทรีย์ทั้งหลายให้สม่ำเสมอกันนั้นเอง
ในเวลาที่อุเบกชาสัมโพชฌงค์เกิดขึ้นอย่างแก่กล้าใน สภาวธรรมมีสติ
เป็นต้น ก็ย่อมจะเกิดขึ้นปรากฎชัดอย่างแก่กล้าหรือมาพร้อมๆกันเช่นเดียวกัน ซึ่งใน
ขณะนั้น โยคีไม่จำเป็นต้องแสวงหาอารมณ์ที่จะนำมากำหนด เพราะว่าอารมณ์ที่
จะกำหนดอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นได้ปรากฏอยู่ต่อหนำอย่างหร้อมเพรียงนั้นเอง

อนึ่ง แม้แต่การเอาใจไสขวนขวายเป็นพิเศษเพื่อที่จะทำให้กำทนดได้ไม่จำเป็น
โยคีจะสามารถกำหนดอารมณ์นั้นได้โดยธรรมชาติหรือโดยอัตในมัติ เมือไม่มี
ความใฝ่หาอารมณ์ที่จะกำหนด ความตั้งมั่นแน่วแนในทุกอารมณ์ที่ตนเข้าถึง
ก็จะเกิดขึ้น โยคีก็สามารถที่จะกำหนดรู้อารมณ์ดังกล่าวว่า "เป็นเพียงสภาวะรูป
สภาวะนาม สภาวะที่เกิดขึ้น สภาวะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัดตา" โดยไม่ต้องมี
การตรึกนึกคิดเพิ่มเป็นพิเศษแต่อย่างใด สิ่งเหล่านี้ก็จะมาปรากฎอย่างชัดเจนใน
จิตสันดานของโยดีนั้น

เมื่อโยคีรู้แล้ว ก็จะไม่จำเป็นต้องนำเอาอารมณ์นั้นหวนกลับมาคิดพิจารณา
เพื่อให้เกิดความมั่นใจอีกต่อไป ก็ในเวลาที่การกำหนดนั้นมีความสม่ำเสมอกัน โยคี
ไม่จำเป็นต้องมีการลงแรงเป็นพิเศษแต่ก็ไม่ควรย่อหย่อน เพราะว่าถ้าเพิ่มการ
ลงแรงหรือบากปั่นมาก ก็จะทำให้วิริยะตึงเกินไป อาจทำให้การกำหนดนั้นเสียไปได้
หรืออาจทำให้อารมณ์นั้นตกไปได้ แต่ถ้าหย่อนเกินไป วิริยะ ก็จะมีกำลังน้อย อาจทำ
ให้การกำหนดนั้นไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง

สรุปว่า โยคีนั้นควรกำหนดโดยไม่ให้เสียรูปจากของเติม คือให้เป็นไปตาม
ลำดับขั้นตอนตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มต้นกำหนดมา ควรให้การกำหนดนั้นเป็นไป
อย่างต่อเนื่องคงเส้นคงวา ก็การกำหนดรู้วิปัสสนาจิตที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์ต่าง
ได้ทันนั้นเรียกว่า ปฏิวิปัสสนา เป็นการนำเอาวิปัสสนาจิตนั่นแหละมากำหนดเป็น
วิปัสสนาอีกครั้งหนึ่ง ก็ด้วยปฏิวิปัสสนาจิตนี้แลที่ทำให้โยคีรู่โพชฌงค์ ๗ ดังที่กล่าว
มาช้างต้นนี้ ก็ จิดที่เกิดขึ้นภายหลังนี้เป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยความเป็นปฏิวิปัสสนา
กล่าวคือการนำเอาวิปัสสนาจิตนั้นมากำหนดอีกครั้ง สมกับที่พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสไว้ว่า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร