วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 02:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2022, 16:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




img_2609.png
img_2609.png [ 132.7 KiB | เปิดดู 1099 ครั้ง ]
สัมมสนญาณ

อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนานํ ธมฺมานํ สงฺขิปิตฺวา ววตฺถาเน ปญฺญา สมฺมสเน
ญาณํ.

(ขุ. ปฏิ. ๓๐/๕/๑)

ปัญญาที่กำหนดรวมนามรูป ซึ่งเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เรียกว่า สัมมสนญาณ
คือญาณที่พิจารณากำหนด

จะเห็นว่า เมื่อปฏิบัติถึงที่สุดของปัจจยปริคคหญาณ แล้วย่อมสามารถมอง
เห็นความเกิดดับของนามรูปที่กำลังกำหนดอยู่ในปัจจุบันได้ชัดเจนมาก คือมองเห็น
ว่า นามรูปเกิดขึ้นประเดี๋ยวเดียวก็ดับไปอย่างรวดเร็ว และเกิดความพึงพอใจว่า
"นามรูป ที่กำหนดอยู่นี้ เนื่องจากเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป จึงเป็นสิ่งไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน
เนื่องจากถูกสภาพความเกิด-ดับกดดันอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นทุกข์ ไม่ใช่สุข และ
เนื่องจากไม่เป็นไปตามอำนาจของใครๆ จึงไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่ผู้คนหลงยึด"
พร้อมกันนี้ก็จะเข้าใจได้ว่า "ที่ไม่เที่ยงนั้นเป็นความจริง ที่เป็นทุกข์นั้นเป็นความจริง
ที่เป็นอนัตตา หรือไม่มีอัตตา ก็เป็นความจริง" จะพิจารณาเห็นเพียงครั้งเดียวหรือ
หลายครั้งก็ตาม เมื่อได้เปรียบเทียบกับนามรูปที่ตนเห็นประจักษ์ตามสภาพความจริง
แล้วย่อมสามารถรู้ได้ว่า "แม้นามรูปทั้งหมด คือทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ล้วนแต่มีสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาทั้งนั้น ไม่มีสิ่งใดล่วงสภาพเช่นนี้
ไปได้เลย"

อนึ่ง ญาณที่พิจารณารวบยอดเอานามรูปทั้งหมดพร้อมกันนี้ท่านเรียกว่า
สัมมสนญาณ ญาณที่ทำหน้าที่พิจารณา เพราะเหตุที่ญาณนี้มิได้กำหนดทีละอย่าง
แต่เป็นการรวบยอดเอานามรูปทั้งหมดมากำหนด จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลาป-
สัมมสนญาณ และเพราะเป็นการกำหนดพิจารณาโดยอาศัยนามรูปที่ตนเคยเห็น
แล้วเป็นแบบอย่าง ท่านจึงเรียกว่า นยวิปัสสนา ซึ่งชื่อดังกล่าว ท่านได้กล่าวไว้ใน
คัมภีร์วิสุทธิมรรค และยังเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า นยมนสิการ นยทัสสนะ ดังที่พระ
อรรถกถาจารย์กล่าวไว้ว่า

เอกสงฺขารสฺตาปิ อนิจฺจตาย ทิฎฺฐาย สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ อวเสเสสุ
นยโต มนสิกาโร โหติ.

๔๖๖

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2022, 16:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_pfkkw2s11k1wtg8hyo1_500.png
tumblr_pfkkw2s11k1wtg8hyo1_500.png [ 240.86 KiB | เปิดดู 1097 ครั้ง ]
สพฺเพ สงฺขาราติอาทิวจนํ นยโต ทสฺสนํ สนฺธาย วุตฺต๋, น เอกกฺขเณ
อารมฺมณโต.

(อภิ.อฎ. ๗/๒๘๕.๒๘๖)

เมื่อโยคีเห็นความไม่เที่ยงของสังขารแม้สังขารเดียวแล้ว ความเอาใจใส่ใน
สังขารทั้งหลายที่เหลือว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เทียง ดังนี้ ย่อมมีได้โดยอาศัย
นัยที่เห็นมา

คำว่า "สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา" เป็นต้นนี้ ท่านกล่าวไว้โดยมุ่งหมายเอาการ
เห็นโดยอิงอาศัยแนวทางที่เคยเห็นมาก่อนแล้ว แต่มิได้มุ่งหมายเอาการเห็นโดย
รับเป็นอารมณ์ในขณะจิตเดียวกัน

นยมนสิการกับสัมมสนะ

ตามข้อความของอรรถกถาดังกล่าวมาแล้วนี้ แสดงให้เห็นว่า สัมมนญาณ
(ญาณทำหน้าที่พิจารณา) ซึ่งมีชื่อเรียกอย่างอื่นว่า นยมนสิการ(การกำหนดทางจิต
โดยวิธีอาศัยแนวทางที่เห็นมาแล้ว หรือ นยวิปัสสนา(วิปัสสนาที่อาศัยแนวทางเดิม)
นี้มิใช่ญาณที่จะพึงให้เกิดก่อนญาณอื่น อย่างน้อยๆต้องผ่าน ปัจจเวกขณญาณ คือ
ต้องพิจารณาเห็นสภาพความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่อยู่ในอำนาจ จะครั้งเดียวหรือ
หลายๆครั้งก็ตาม แล้วหลังจากนั้น สัมมสนญาณนี้ก็จะปรากฎขึ้นโดยอัตโนมัติ

อนิจจสัมมสนะ

โยคีผู้ที่มีการศึกษาด้านปริยัติมามากคือเป็นพหูสูตหรือผู้ที่มีปัญญาหลักแหลม
มาแต่กำเนิด บางท่านอาจให้ความสำคัญกับญาณนี้มากเกินไป ก็อาจทำให้ญาณนี้
กว้างเกินไป คือพิจารณามากเกินไป ซึ่งอาจเป็นสาเหตุมิให้ญาณเบื้องสูงปรากฎได้
เพราะมัวแต่พิจารณาจนลืมกำหนด ซึ่งจะต้องระมัดระวังพอสมควร ในพระบาลี
ปฏิสัมภิทามรรคได้แสดงลักษณะความเกิดขึ้นของญาณนี้ตามความประสงค์ของ
บุคคลต่างๆไว้อย่างพิสดาร แต่จะขอยกมาในที่นี้เฉพาะบางส่วนเท่านั้น ดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 51 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร